Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทพยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพของ มารดาเเละทารกในครรภ์, 910123BA-5FF6…
บทบาทพยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพของ
มารดาเเละทารกในครรภ์
การประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
การประเมินความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์
การประเมินอายุครรภ์ (gestational age) และพัฒนาการของทารกในครรภ์
การประเมินภาวะการมีชีวิตของทารกในครรภ์ (fetal well – being)
การประเมินทางคลินิก
การตรวจครรภ์
ประเมินการมีชีวิต ขนาด ความผิดปกติบางอย่างของทารกในครรภ์
โดยวิธี การวัดระดับยอดมดลูก การคลำขนาดทารก
การนับการดิ้นของทารกในครรภ์
การดิ้นบ่งชี้การมีชีวิตของทารกในครรภ์
ทารก เริ่มเคลื่อนไหว เมื่อ GA 7 สัปดาห์
วิธีการที่ดี ง่าย ปลอดภัยและประหยัด
การดิ้นบ่งบอกการทางานของประสาทสมองส่วนกลางของทารก ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ให้สตรีตั้งครรภ์เริ่มนับและบันทึกเมื่อ GA 28 wks. ขึ้นไป วิธีการที่นิยมมี 2 รูปแบบ
แบบกำหนดช่วงเวลา (Fixed time period) เช่น วิธีของ Sadovsky & Polishuk และ Rayburn
แบบกำหนดจำนวนครั้งที่ทารกดิ้น (fixed number) ได้แก่ วิธีของ Pearson และ Baskett & Liston
การประเมินโดยวิธีทางชีวฟิสิกส์
(Biophysical monitoring)
Ultrasonography (การถ่ายภาพด้วยคลื่นความถี่สูง)
A-mode (amplitude mode)
ใช้ในการตรวจความยาวของ biparietal diameter (BPD) ของศีรษะทารกเพื่อประเมินอายุครรภ์
B-mode (brightness mode)
ใช้ในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ในระยะแรก ตรวจหาแนวลำตัวของทารกในครรภ์ ส่วนนำและท่าของทารก หาตำแหน่งรก วินิจฉัยครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ไข่ปลาอุก
Doppler ultrasound
ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของการเคลื่อนไหว การตรวจชนิดนี้ใช้ในการตรวจหาการเต้นของหัวใจทารกทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด
M-mode (time-motion method)
ใช้ตรวจอวัยวะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา นิยมใช้ในการทำ echocardiography ถ้าใช้ตรวจทารกแรกเกิดจะสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจได้
Real-time ultrasound
ใช้ตรวจดูการเคลื่อนไหวของทารก การหายใจของทารก (fetal respiratory movement) และการทางานของหัวใจทารก
ระดับการตรวจ Ultrasound
การตรวจระดับที่ 1 (level I ultasound) เป็นการตรวจคัดกรองอย่างง่าย
ตรวจประเมินอายุครรภ์และการเจริญเติบโตของทารก การวินิจฉัยครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
ตรวจหาส่วนนำและท่าของทารก การตรวจตำแหน่งและเกรดของรก
การตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำ
ตรวจหาความพิการของทารกที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
การตรวจระดับที่ 2 (level lI ultrasound)
ความพิการของทารกที่ซ่อนรั้นอยู่
การตรวจระดับนี้จะเริ่มทำระหว่าง GA 15-20 wks.
ใช้วิธีตรวจทางช่องคลอด (transvaginal ultrasound)
การตรวจระดับที่ 3 (level llI ultrasound)
การตรวจที่ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยที่ยากรวมถึงความพร้อมทางการรักษา
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจวัตถุประสงค์และวิธีการตรวจ ขั้นตอนประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจพบ
ให้สตรีตั้งครรภ์เซ็นต์ชื่อยินยอมการตรวจ
กรณีตรวจทางหน้าท้อง รอให้กระเพาะปัสสาวะเต็มเพื่อช่วยดันมดลูกลอยสูงขึ้น
กรณีตรวจทางช่องคลอดจัดท่านอนหงายขึ้นขาหยั่ง
ทาเจล (Gel) บริเวณหัวเครื่องตรวจ (Probe) เพื่อช่วยในการหล่อลื่นและเป็นตัวนำคลื่นเสียงความถี่สูง
Radiography (การถ่ายภาพรังสี)
ประเมินอายุครรภ์จากการตรวจหา ossifcation center และความทึบแสงของกระดูกทารก
วินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้โดยจะตรวจพบโครงกระดูกของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์
การตรวจในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์สามารถวินิจฉัยภาวะครรภ์แฝดได้
Amniography (การฉีดสารทึบแสง)
การฉีดสารทึบแสง (radiopaque) เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วถ่ายภาพรังสี
ดูปริมาณน้ำคร่ำที่ผิดปกติ
ดูตำแหน่งของรกและตรวจความผิดปกติของทารกได้ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร
Amnioscopy (การส่องดูภายในถุงน้าคร่ำ)
การส่องดูภายในถุงน้ำคร่ำ มองผ่านเยื่อหุ้มทารกกรณีปากมดลูกเปิดกว้างพอ
สามารถตรวจดูลักษณะของน้ำคร่ำว่ามีขี้เทาปนหรือไม่
ใช้ส่องดูส่วนนำของทารกในรายที่ถุงน้ำทูนหัวแตกแล้วและเจาะเลือดทารกเพื่อตรวจ blood gas
Fetoscopy (การส่องกล้องดูทารกในครรภ์)
การส่องกล้องดูทารกในครรภ์โดยใช้เครื่องมือ endoscope ชนิดพิเศษที่เรียกว่า laparoamnioscope
ตรวจสอบความผิดปกติของทารกในรายที่มีประวัติภาวะเสี่ยง
ใช้เก็บตัวอย่างเลือดทารกเพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะ fetal hemoglobinopathies
ก่อนทำ fetoscopy ควรทำ real-time ulrasound ตรวจดูท่าของทารกและตำแหน่งของรกก่อน เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมสาหรับการสอดใส่เครื่องมือ
การประเมินโดยวิธีชีวเคมี
(Biochemical monitoring)
1.การตรวจระดับ estriol ในปัสสาวะ (urine estriol)
ระดับ Estriol บ่งบอกการมีชีวิตของทารกในครรภ์และการทำหน้าที่ของรก
ระดับ estriol ปกติ จะสูงตามอายุครรภ์ เมื่อ GA 32 wks. พบระดับ estriol เท่ากับ 12 มก./24 ชม.
วิธีการตรวจ
เริ่มตรวจ GA 28 wks. จนอายุครรภ์ครบกำหนด ตรวจ 3 ครั้ง/wks.
ให้ปัสสาวะทิ้งก่อน 1 ครั้ง จากนั้นเก็บ urine จนครบ 24 ชม. หากเก็บไม่ครบผลตรวจอาจผิดพลาด
การแปลผลค่า estriol ผิดปกติ
Estriol ลดลงฉับพลัน ต่ำกว่า 4 มก./24 ชม. >>> ทารกอาจตายในครรภ์
Estriol ต่่ำเรื้อรัง (chronically low) ต่ำกว่า 2 standard deviation >>> สาเหตุจาก IUGR, chronic utero-placental in sufficiency, ทารกพิการ, ทารกติดเชื้อ รกลอกตัว, ทารกมีความผิดปกติของไต, สตรีตั้งครรภ์มีภาวะ anemia,
Estriol ลดต่ำลงเรื่อยๆ
2.การตรวจเลือดในสตรีตั้งครรภ์ (maternal blood study)
การตรวจหาระดับฮอร์โมน human placental lactogen (hPL)
ค่า hPL ใกล้กำหนดคลอด 5.4 – 7.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
ระดับ hPL ต่ำกว่า 4 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แสดงถึงทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย
การตรวจหา alpha fetoprotein (maternal serum alpha fetoprotein [MSAFP]
ระดับ MSAFP ตรวจพบได้เมื่อ GA 7 wks. หลังจากนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ ใน ไตรมาสที่ 2 และค่าสูงสุดในระยะต้นไตรมาสที่ 3
ระยะเวลาเหมาะสมในการตรวจ คือ GA 16-18 wks.
ระดับ MSAFP สูง/ต่ำกว่าปกติ ควรตรวจซ้้าและทำ U/S ยืนยันอายุครรภ์
ระดับ MSAFP สูงผิดปกติจะพบได้ในกรณีที่ทารกมีภาวะ open neural tube defect หรือมีความผิดปติอื่นๆ
ระดับ MSAFP ต่ำกว่าปกติพบว่าสัมพันธ์กับ Down's syndrome และ Edward's syndrome
การตรวจระดับ estriol ในเลือด
ค่า uE3 ใน plasma สูงพบได้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน ครรภ์แฝดหรือไตทำหน้าที่บกพร่อง
ค่า uE3 ใน plasma ลดลงอาจพบในรายที่ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ
การตรวจหา akalne phosphatase และ oxytocinase
ระดับของ alkaline phosphatase ลดลง ในรายที่ทารกขาดอาหารหรือขาดออกซิเจนเรื้อรัง
ระดับของ oxytocinase ลดลงในรายที่ทารกตายในครรภ์ อายุครรภ์เกินกำหนดและ IUGR
การตรวจหาฮอร์โมน human chorionic gonadotropin [hcG]
ระดับ hCG สูงกว่าปกติมักพบในครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก และ erythroblastosis
3.การตรวจตัวอย่างเลือดจากทารก
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกผ่านทางหน้าท้อง
ตรวจหาระดับ Bilrubin ของทารกจากภาวะโรค Rh
วินิจฉัยภาวะผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น hemophelia, Thalassemia
การพยาบาล
อธิบายขั้นตอน ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
ให้คำปรึกษาแนะนำสตรีตั้งครรภ์และสามี หลังจากนั้นให้ลงนามในใบยินยอมการรักษา
วัดสัญญาณชีพและการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์
ฉีดยาชาเฉพาะที่ ในกรณีที่แพทย์คาดว่าจะทำการเจาะยากหรือใช้เวลานาน
หลังจากดูดเลือดแล้ว ถอนเข็มออก ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอีกครั้ง เพื่อประเมินเลือดออกบริเวณที่เข็มแทงผ่านและการเต้นของหัวใจทารก
หลังเจาะให้สตรีตั้งครรภ์พัก 15 – 30 นาที
ไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เว้น สตรีตั้งครรภ์มีไข้หลังเจาะ
2.การเจาะเลือดจากหนังศีรษะทารกในครรภ์
ตรวจภาวะ กรด-ด่าง ของทารกจากภาวะ fetal distress ระยะเจ็บครรภ์คลอด
แพทย์ใช้ amnioscope ส่องนำเข้าไปในช่องคลอด แล้วกรีดหนังศีรษะทารกลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร ดูดเลือดออกมาด้วยหลอดแก้ว capillary จำนวนประมาณ 0.2 มิลลิลิตร
4.การตรวจวิเคราะห์เนื้อรก (Chrorionic villus samping :CVS)
ตรวจหา chromosome, วิเคราะห์ DNA, และ enzyme เพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรมทารกในครรภ์
ใช้ Catheter เจาะและดูดเนื้อรก
การพยาบาล
อธิบายประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
การตัดชิ้นเนื้อรกทางช่องคลอดจัดท่า Lithotomy position (นอนหงายขึ้นขาหยั่ง) การตัดชิ้นเนื้อรกผ่านทางหน้าท้องจัดท่านอนหงายราบ
หลังเจาะให้สตรีตั้งครรภ์พัก 15 – 30 นาที
งดทำงานหนักหรือออกกำลังกาย 24 – 72 ชั่วโมงแรก
5.การเจาะถุงน้ำคร่ำ (amniocentesis)
นิยม GA 16-18 wks.
การพยาบาล
ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ถึงโรคที่ผิดปกติทางโครโมโซม
ดูแลให้สตรีตั้งครรภ์เซ็นใบยินยอมรับการตรวจด้วยความสมัครใจ
จัดท่าสตรีตั้งครรภ์นอนหงายราบศีรษะสูง 30 องศา เปิดหน้าท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ไปจนถึงหัวหน่าว ใช้ผ้าคลุมหน้าท้องและบริเวณหัวหน่าวไปจนถึงหน้าขา
หลังเจาะประเมินความเจ็บปวดหรืออาการผิดปกติ เช่น อาการปวดท้อง การรั่วซึมของน้้าคร่ำ
ให้สตรีตั้งครรภ์นอนพักบนเตียง 15 - 30 นาที
งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ 2 - 3 วัน การทำงานหนักๆ 1 สัปดาห์ แต่ไม่จำเป็นต้องลาหยุดงาน
6.การตรวจวิเคราะห์น้ำคร่ำ (Amniotic fluid analysis)
เพื่อประเมินอายุครรภ์และ fetal maturity
1.การตรวจ Lecithin/sphingomyelin ratio (L/S ratio)
ค่า L:S ratio ปกติ มากกว่า 2.0 แสดงถึงปอดเจริญสมบูรณ์
Foam stability test หรือ shake test
ใช้ทดสอบความสมบูรณ์ของปอด เช่น เดียวกับ L/S ratio
การตรวจหาระดับ creatinine
ระดับ creatinine ในน้ำคร่ำไม่ต่ำกว่า 2.0 มก./100 มล. แสดงว่าทารกในครรภ์เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
การตรวจ Nile blue test
เซลล์ติดสีส้มเป็นเซลล์ไขมัน การติดมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไปแสดงว่าอายุครรภ์ครบกำหนด
2.การตรวจเพื่อประเมินภาวการณ์มีชีวิตของทารกในครรภ์ สามารถตรวจได้โดย
การตรวจดูสีหรือลักษณะทั่วไปของน้ำคร่ำ ปกติจะมีลักษณะใส สีเหลืองอ่อนคล้ายฟางข้าว
การตรวจระดับ bilirubin ในน้ำคร่ำเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับ hemolytic disease
3.การตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือความพิการแต่กำเนิด
การตรวจระดับ alpha fetoprotein (AFP)
การตรวจหา enzyme เช่น phenyl alanine
การเพาะเลี้ยงเซลล์และตรวจ karyotyping
การประเมินโดยวิธีทางอิเล็คโทรนิก
1.การบันทึกจากภายนอก (external method หรือexternal monitoring)
บันทึกการหดรัดตัวของมดลูกโดยใช้ Transducer/tocotransducer
บันทึกการเต้นของหัวใจทารก ใช้ Phonotransducer
2.การบันทึกจากภายใน (internal method หรือ internal monitoring)
บันทึกการหดรัดตัวของมดลูกโดยใช้ uterine catheter
บันทึกการเต้นของหัวใจทารกใช้ fetal scalp electrode
Non-stress test (NST) หรือ Fetal activity acceleration determination (FAD)
Reactive หมายถึง มี FHR acceleration อย่างน้อย 2 ครั้งใน 20 นาทีติดต่อกัน โดยที่ FHR เร็วขึ้น 15 ครั้ง/นาที และนานอย่างน้อย 15 วินาที โดยมี FHS baseline ระหว่าง 110-160 ครั้ง/นาทีและ baseline variability อยู่ระหว่าง 6-25 ครั้ง/นาที
Non-reactive หมายถึง ไม่มี FHR acceleration หรือมีน้อยกว่า 2 ครั้งโดยที่ FHR เร็วขึ้นน้อยกว่า 15 ครั้ง/นาที่ หรือระยะเวลาที่เกิด acceleration น้อยกว่า 15 วินาที
Suspicious หรือ unsatisfactory หมายถึง เมื่อทารกดิ้นแล้วมี FHR acceleration ไม่แน่นอนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ใน 2 ข้อดังกล่าว ถ้าได้ผล suspicious ควรตรวจซ้ำภายใน 24 - 48 ชั่วโมง เมื่อตรวจซ้ำได้ผล suspicious ซ้ำอีกด้วยการตรวจด้วยวิธี OCT ต่อไป
Contraction stress test (CST) หรือ Oxytocin challenge test (OCT)
Negative หมายถึง มดลูกมีการหดรัดตัว 3 ครั้ง ใน 10 นาที มี duration อย่างน้อย 40 วินาที ไม่มี late deceleration เกิดขึ้น
Positive หมายถึง เมื่อมดลูกหดรัดตัวมี late deceleration
เกิดขึ้น baseline variability ลดลงกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจทารกไม่เพิ่มเมื่อทารกตื่น/มดลูกหดรัดตัว
Eqivocal หมายถึง ผลการทดสอบถ้้ากึ่งไม่สามารถแปลผลได้ควรทดสอบซ้้าภายใน 24 ชั่วโมง
การพยาบาล
อธิบายวัตถุประสงค์ของการตรวจ
จัดท่าให้สตรีตั้งครรภ์นอนหงายตะแคงซ้าย (Semi-fowler's position) หรือนอนตะแคง
กระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย 3 ครั้งใน 10 นาทีนานครั้งละอย่างน้อย 40 วินาที
การประเมินโดย Biophysical profile (BPP)
การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์จากการขาดออกซิเจน โดยใช้ parameters จากการ U/S 4 อย่าง ร่วมกับการตรวจ NST รวมเป็น 5 parameters
Fetal breathing movement (FBM) การเคลื่อนไหวการหายใจของทารก
Fetal movement (FM) การเคลื่อนไหวของทารกส่วนลำตัว
Fetal tone (FT) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
Amniotic fluid volume (AFV) ปริมาณของน้ำคร่ำ
Non stress test (NST)