Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ - Coggle Diagram
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ความหมาย
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis membran) แตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด พบได้ทั้งในอายุครรภ์ครบกำหนด
เมื่ออายุครรภ์ < 37สัปดาห์ (Marowitz & Jordan,2007)
ถุงน้ำคร่ำแตกเมื่ออายุครรภ์ ≥ 37สัปดาห์
หรือในครรภ์ก่อนกำหนด
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ด้านสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การติดเชื้อในโพรงมดลูก การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การทำหัตถการ เช่น การเจาะตรวจน้ำคร่ำ
ประวัติการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนด หรือประวัติถุงน้ำคร่ำแตกในครรภ์ก่อน
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทำให้มดลูกยืดขยายมาก ความดันในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น
มดลูกภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ด้านทารก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด ทารกตายในครรภ์
ทารกติดเชื้อจากมารดา เช่น หัดเยอรมัน
อาการและอาการแสดง
มีน้ำใสๆ ไหลออกทางช่องคลอด โดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรือก่อนที่จะมีอาการเจ็บครรภ์ อาจไหลซึมตลอดเวลา หรือไหลแล้วหยุดไป
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ควรซักประวัติให้ได้เวลาเริ่มต้นที่ถุงน้ำแตก
อายุครรภ์ เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของปอดทารก
ลักษณะและปริมาณของน้ำคร่ำที่ไหลออกมา เพื่อวินิจฉัยแยกจากน้ำปัสสาวะ น้ำเมือกในช่องคลอด รวมทั้งอาการอื่นๆที่เกิดร่วมด้วย และควรซักประวัติอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุได้
การตรวจร่วงกาย
สัญญาณชีพ เพื่อประเมินอาการแสดงของการติดเชื้อ
Coughing หรือ valsalva โดยให้หญิงตั้งครรภ์ไอหรือเบ่งลงด้านล่างเบาๆ
sterile speculum examination คือ การประเมิน pooling เพื่อยืนยันว่ามีน้ำคร่ำอยู่ภายในหรือเห็นน้ำคร่ำอยู่ภายในหรือการกดยอดมดลูก จะเห็นน้ำคร่ำออกจากปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
nitrazine test คือ ตรวจความเป็นด่างของน้ำคร่ำปกติค่า pH จะมากกว่า 6.5 กระดาษจะเปลี่ยนสีน้ำเงินเป็นกรมท่า
ferning test คือ ตรวจการตกผลึกของ sodium chloride ในน้ำคร่ำ ให้ผลบวกเมื่อพบผลึกรูปใบเฟิร์น
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อกำหนดอายุครรภ์ ประเมินขนาดของทารกและประมาณน้ำคร่ำที่เหลืออยู่นอกจากนี้ยังใช้ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์เป็นระยะ
การรักษา
มีการยืนยันการวินิจฉัยภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก
ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน ถ้า > 37 สัปดาห์ขึ้นไปให้พิจารณาคลอด ถ้า < 37 สัปดาห์ ให้การรักษาแบบเฝ้าระวัง เพื่อยืดอายุครรภ์ (Expectant management)
ประเมิน lung maturity โดยวิธี Shake test หรือ foam test ให้ผลบวกตั้งแต่ 3 ใน 5 หลอด การหาค่า (L/S ratio) ได้ค่ามากกว่า 2:1 หรือค่า PG มากกว่าร้อยละ 3
ประเมินการติดเชื้อ หากมีการติดเชื้อ อาจพิจารณาชักนำให้คลอด
การให้ยา antibiotics ในกรณีที่มีการติดเชื้อแล้วจะให้เพื่อเป็นการรักษา ส่วนในกรณีที่ยังไม่มีการติดเชื้อจะให้เพื่อเป็นการป้องกัน นอกจากจะช่วยลดการติดเชื้อแล้วยังช่วยยืดอายุครรภ์ เนื่องจากยามีผลให้ latent period นานขึ้น
48 ชั่วโมงแรก ให้ ampicillin 2 กรัม ร่วมกับการรับประทานerythromycin 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง
ตามด้วย amoxycillin 500 มิลลิกรัม และ erythromycin 500มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง นาน 5 วัน
การให้ยา glucocorticoid เพื่อกระตุ้น lung maturity ยาให้ผลเด่นชัดสุดในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
การให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด (tocolysis)