Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาทารกที่มีความผิดปกติ ของปัจจัยการคลอด (6P),…
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาทารกที่มีความผิดปกติ
ของปัจจัยการคลอด (6P)
การคลอดยาก
หมายถึง
การคลอดที่ไม่ดําเนินไปตามปกติ หรือ ขบวนการของการคลอดผิดปกติ ไม่มีความก้าวหน้าของการเปิดขยายของปากมดลูก ความบางของปาก มดลูก หรืการเคลื่อนตําลงมาของระดับส่วนนํา สาเหตุของการคลอดยาก
ประเภทของการคลอดยาก
จําแนกตามระยะเวลาของการคลอดที่ผิด ปกติ
การผิดปกติของการคลอดในระยะ latent phase
ความผิดปกติของการคลอดเนื่องจากปากมดลูกเปิดขยายช้ากว่า
ปกติหรือส่วนนําเคลื่อนตําลงช้ากว่าปกติในระยะ active phase
2.1 Protracted active phase เป็นระยะที่มีการเปิดขยายของปากมดลูกช้ากว่า 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ในครรภ์แรกหรือช้ากว่า 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ในครรภ์หลังในระยะ Phase of maximum slope ระยะ active ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง ในครรภ์ แรกและมากกว่า 6 ชั่วโมง ในครรภ์หลังสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากCPD
2.2 Protracted descent (Prolong descent) การที่ส่วนนําของศีรษะ ทารกเคลื่อนต่ําลงช้ากว่า 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรกและช้ากว่า 2 เซนติเมตรต่อ ชั่วโมงในครรภ์หลัง
2.3 Prolong deceleration phase ระยะลดลงนานเกิน 3 ชั่วโมง ใน ครรภ์แรกและนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
2.4 Secondary arrest of dilatation คือปากมดลูกไม่เปิดขยายอีกต่อ ไปนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
ความผิดปกติของการคลอดในระยะที่ 2 ของการคลอด
จําแนกได้
3.1 Arrest of descent หมายถึง ส่วนน้ําไม่เคลื่อนต่ําลงมาอีกเลยนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง ในครรภ์หลังและ 2 ชั่วโมง ในครรภ์แรก
3.2 Failure of descent หมายถึง ส่วนนําไม่มีการเคลื่อนต่ํา ระดับ ส่วนนําไม่เคลื่อนต่ําลงมากกว่าระดับ ischial spine (station 0) การชะงัก งันของการคลอดนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก CPD
ผลของการคลอดยากต่อผู้คลอด
ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อยและหมดแรง (Exhaustion) เพราะการคลอดเป็นการทํางานของกล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อ ของร่างกายเกือบทุกส่วนร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียง
เกิดภาวะขาดน้ํา (dehydration) เนื่องจากการสูญเสียน้ําและเกลือแร่ออกไปกับเหงื่อทางผิวหนัง อาการที่พบได้แก่ผิวหนังและริม ฝีปากแห้ง มีไข้ ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ํา ผู้คลอดมี อาการกระสับกระส่าย ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียนซึ่งเกิดได้ในรายที่ เจ็บครรภ์คลอดนานๆ
ระดับน้ําตาลกลูโคสในเลือดลดต่ําลง (Hypoglycemia) เนื่องจากร่างกายมีการใช้กลูโคสเป็นแหล่ง พลังงานของการทํางานของกล้ามเนื้อประกอบกับผู้คลอดต้องงด อาหารและน้ําทางปากเป็นเวลานาน ถ้าระดับน้ําตาลกลูโคสใน เลือดต่ําลงมากอาจจะทําให้ผู้คลอดเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้
เกิดภาวะเลือดเป็นกรดเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการใช้พลังงานมาก
เกิดการติดเชื้อในระยะคลอด
สาเหตุที่ทําให้มีการติดเชื้อได้แก่
1) ปากมดลูกมีการเปิดขยายก้อนเมือกที่จุกอยู่หลุดออกไปเชื้อ โรคผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่าย
2) การฉีกขาดของถุงน้ําทูนหัวในระยะเริ่มแรก บริเวณที่ฉีกขาด เลือดไปเลี้ยงทําให้บริเวณนั้นอ่อนแอลงและติดเชื้อได้ง่าย
3) น้ําคร่ํามีคุณสมบัติทําลายเชื้อแบคทีเรียได้ เมื่อไม่มีน้ําคร่ํา เนื่องจากถุงน้ําทูนหัวแตกจึงติดเชื้อได้ง่าย
4) มีการตรวจภายในบ่อยรวมทั้งการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์ หัตถการเป็นการนําเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก
5) ผู้คลอดอยู่ในภาวะอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ํา 6. ลําไส้มีการเคลื่อนไหวลดน้อยลง ผู้คลอดที่มีการคลอดยากจะยิ่ง เป็นมากขึ้น จึงทําให้มีอาการท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน อาจทําให้ผู้คลอด สําลักอาหารและน้ําเข้าปอดถ้าผู้คลอดนั้นได้รับยาสลบ หรือยาระงับ ประสาท
มดลูกแตก (Uterine rupture) เกิดจากมดลูกมีการหดรัดตัวอยู่นาน จึงดึงรั้งมดลูกส่วนล่างให้บางลง หรืออาจแตกจากการใส่อุปกรณ์หรือ มือเข้าไปเมื่อหมุนหรือดึงทารก
เกิดการยืดหย่อน ชอกช้ํา และฉีกขาดมากผิดปกติของหนทาง คลอดจากการกดทับของทารก หรือการใช้อุปกรณ์เข้าไปในห้องคลอด
ผู้คลอดได้รับความทุกข์ทรมานทางจิตจากการเจ็บปวดเป็นเวลา นาน
ผู้คลอดเสียชีวิตจากการตกเลือด ติดเชื้อ หรืทอจากภาวะ แทรกซ้อนจากการดมยา
ผลกระทบที่มีต่อทารก
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress) เกิดการขาดออกซิเจน
1.1 มดลูกมีการหดรัดตัวเป็นเวลานาน ขณะที่มีการ หดรัดตัวการไหลเวียนเลือดบริเวณมดลูกและรกลดลง
1.2 สายสะดือถูกกด จากสายสะดือพลัดต่ําเนื่องจากส่วนนําไม่ลง ช่องเข้าเชิงกราน
1.3 น้ําคร่ําน้อยลง
ทารกติดเชื้อในทางเดินหายใจ บริเวณสะดือ ตา หูถ้าผู้คลอดมีภาวะ เยื่อหุ้มทารกอักเสบติดเชื้อ ทําให้ทารกสัมผัสกับเชื้อที่มีอยู่ในน้ําคร่ํา และในหนทางคลอด
ทารกได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injury)
ทารกเกิดความพิการ ปัญญาอ่อน หรืออาจเสียชีวิตจากการขาด ออกซิเจน การติดเชื้อ หรืออวัยวะต่างๆได้รับบาดเจ็บ
มารดาพักผ่อนได้น้อย เครียด กลัวและวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอการเกิดการคลอดเนิ่นนานเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่และแรง
มีโอกาสตกเลือดในระยะคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
มีโอกาสติดเชื้อในระยะคลอดเนื่องจากการคลอดเนินนานและถุงน้ําคร่ําแตกหรือรัวก่อนการเจ็บครรภ์
มีความกลัวและความวิตกกังวลเนื่องจากการคลอดยากและขาดความรู้
ทารกมีโอกาสเกิดภาวการณ์ขาดออกซิเจน เนื่องจากการคลอด
การคลอดยากจากความผิดปกติของแรง (Abnormality of power)
1.1 แรงจากการหดรัดตัวของมดลูกมีอยู่ 2 ลักษณะ
1.1.1 มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
หมายถึงการที่หดรัดตัวเป็นจังหวะแต่ การหดรัดตัวไม่แรงมดลูกยังนุ่มและไม่สามารถทําให้ปากมดลูกเปิด ขยายได้ การหดรัดตัวของมดลูกจะห่างออกไป
1.1.2 มดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติ
หมายถึง การที่มดลูกหดรัดตัวแรงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อมดลูกในระยะพักมีความตึงตัวมากกว่าปกติ และการหดรัดตัว ไม่มีจุดรวมของการหดรัดตัวที่ยอดมดลูก (Fundus) ทําให้มารดามี ความเจ็บปวดมาก แต่ปากมดลูกไม่เปิดขยายและส่วนนําของทารกไม่ เคลื่อนต่ํา
การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่า ปกติมี 3 ชนิดดังนี้
1) มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน
คือ การที่มดลูกหดรัดตัวถี่และแรงแต่ไม่สม่ําเสมอและใยกล้ามเนื้อทํางาน ไม่ประสานกันทําให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ มดลูกหดรัดตัวแรงมาก แต่ไม่ได้หดรัดตัวแรงที่บริเวณยอดมดลูก แต่หดรัดตัว แรงบริเวณตอนกลางหรือตอนล่าง นอกจากนี้ยังพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ สม่ําเสมอและในระยะพักกล้ามเนื้อ มดลูกคลายตัวไม่เต็มที่
2) มดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติชนิดหดรัดตัวไม่คลาย
คือการที่มดลูกหดรัดตัวแข็งตึงมากกว่าปกติ ผู้คลอดมี ความเจ็บปวดมาก แทบจะไม่มีระยะพักเลย การหดรัดตัวนานมากคือ นานกว่า 90 วินาที ระยะห่างของการหดรัดตัวน้อยกว่า 90 วินาที
3) มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนบนรอยคอดของทารก
คือการที่กล้ามเนื้อมดลูกชนิดวงกลม มีการหดรัดตัว ไม่คลายเฉพาะที่จนเกิดเป็นวงแหวนโดยรอบตําแหน่งรอยคอดบนตัว ทารก
1.2 แรงจากการเบ่ง
แรงเบ่งที่ถูกต้องจะสามารถเพิ่มแรงดันในโพรง มดลูกให้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
2.การคลอดยากเนื่องจากช่องทางคลอดที่ผิดปกติ (abnormality of passage)
เชิงกรานเป็นช่องทางที่ทารกคลอดผ่านออกมา สําคัญมากในการ คลอดเพราะเป็นส่วนที่แข็งและยืดขยายไม่ได้ ถ้าเชิงกรานมีรูปร่างผิดรูป ไปหรือมีขนาดแคบเกินไปจะเป็นสาเหตุให้เกิดการคลอดยาก
ความผิดปกติของช่องทางคลอด แบ่งได้เป็น 2 ส่วน
ส่วนที่เป็นกระดูก
ส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึด
ช่องเชิงกรานที่ผิดปกติที่พบได้ มาก แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
เชิงกรานแคบที่ช่องเข้า
เชิงกรานแคบที่ช่องกลาง
เชิงกรานแคบที่ช่องออก
4.เชิงกรานแคบทุกส่วน
การคลอดยากจากหนทางคลอดส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ
มีสาเหตุมาจาก
เนื้องอกของมดลูก มีถุงน้ําที่รังไข่ มะเร็งที่ปากมดลูก
ปากมดลูกผิดปกติ เช่น ปากมดลูกมีการตีบตัน แข็งและไม่ยึดอาจ
ช่องคลอดผิดปกติ เช่น แคบหรือตีบมาแต่กําเนิด หรือ เกิดขึ้นภายหลัง
4.ปากช่องคลอดและฝีเย็บผิดปกติ เช่น แข็งและไม่ยึดอาจเป็นมา แต่กําเนิดหรือภายหลังการทําผ่าตัด การจี้ด้วยไฟฟ้าเนื่องจากเป็นเนื้องอกประเภทหงอนไก่หรือเกิดจาการติดเชื้อ
มดลูกอยู่ผิดที่
5.1 มดลูกคว่ําหน้า
5.2 มดลูกคว่ําหลัง
ปากมดลูกบวม
กระเพาะปัสสาวะเต็มหรือมีอุจจาระมากจะขัดขวางการเคลื่อนต่ํา
3.การคลอดยากจากความผิดปกติของตัวเด็ก รกและน้ําคร่ํา (Abnormality of passenger)
ดังนี้
a. ส่วนนําผิดปกติ (Faulty presentation)
b. ทารกมีขนาดใหญ่ เช่น มีน้ําหนัก 4,000 กรัม
c. มีแนวลําตัวผิดปกติ เช่น เด็กอยู่ในแนวขวาง
d. จํานวนทารกในครรภ์ที่มีมากกว่า 1 คน เช่น ครรภ์แฝด
e. ทารกมีรูปร่างผิดปกติ พิการเช่นเด็กตัวโต เด็กหัวบาตร เด็กแฝดตัวติดกัน เด็กท้องโต
f. ท่า (position) และทรงของเด็ก (Attitude) เช่น ท่าหน้า (Face presentation) ท่าหน้าผาก
g. ตําแหน่งที่รกเกาะผิดปกติ คือ รกเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกหรือที่เรียกว่ารกเกาะตํา
h. ปริมาณน้ําคร่ําน้อยกว่าปกติ (Oligohydramnios) หรือน้ําคร่ํามากกว่าปกติ(polyhydramnios) หรือถุงน้ําคร่ํารั่วก่อน
ภาวะสุขภาพร่างกายของผู้คลอด (Physical condition)
คลอดที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีอาการอ่อนเพลีย พักได้น้อย
เนื่องจาก
เจ็บครรภ์คลอดในเวลากลางคืน หมดแรง ขาดน้ํา
ได้รับอุบัติเหตุ บริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน
มารดามีพยาธิสภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหืด หอบ โรคไต โรคตับ ภาวะความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์จะกระทบ ต่อ แรงเบ่งคลอดได้
6.ท่าของผู้คลอด(Position)
ท่าของผู้คลอดมีผลต่อแรงหดรัดตัวของมดลูก แรงเบ่ง ขนาดเชิงกราน และการหมุนภายในของทารก ท่าในแนวตรงหรือดิ่งเช่นท่ายืน หรือท่า นั่งยองๆ ท่าเดินจะทําให้การหดรัดตัวของมดลูกแรงและช่วยเสริมให้ ทารกเคลื่อนต่ําลงด้วย
ท่าทําคลอด
ท่านอนหงายชันเข่า ขึ้น(Dorsal position)
ท่านอนพาดขาไว้บนขาหยั่ง (Lithotomy position)
ปัจจัยอื่นที่ทําให้เกิดการคลอดยากผิดปกติ
7.1 มารดาตั้งครรภ์หลายๆ ครั้ง
7.2 มารดาอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปหรืออายุน้อยกว่า18 ปีลงมา
7.3 ได้รับยาระงับปวดหรือกล่อมประสาทในเวลาที่ไม่ควร หรือ ทําคลอดแบบไม่เจ็บครรภ์ (painless labour) เช่น ให้ยาชาเข้า ไขสันหลัง (Epidural nerve block)
ภาวะสุขภาพจิตของผู้คลอด (Phychological Condition)
ความกลัว ความวิตกกังวลที่สูงมาก และความเจ็บปวดที่มากจะทําให้ผู้ คลอดหวาดกลัวต่อการคลอดมีความรู้สึกไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยจาก การคลอด ไม่สามารถเผชิญหรือควบคุมความเจ็บปวดได้
ผลของ ความเครียดต่อการคลอด
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลงเนื่องจากระดับกลูโคสลด
ลงและ Epinephrine เพิ่มขึ้น
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หลอดเลือดส่วนปลายหดรัดตัวและเลือดไป
เลี้ยงมดลูกลดลง
ระดับกลูโคสที่เก็บสะสมไว้ลดลง ทําให้การทํางานของกล้ามเนื้อมดลูกน้อยลง
ลดการทํางานของกล้ามเนื้อมดลูก
จัดทำโดยนางสาวน้ำทิพย์ สุดยอดสุข รหัสนักศึกษา 600015