Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1, 98344886_720324822109890_2309829619332677632_n,…
กรณีศึกษาที่ 1
-
- จงระบุข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญที่สุดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และวางแผนการพยาบาล
-
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบและเข้าใจถึงภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น แนวทางการรักษาพยาบาลที่จะได้รับและความจำเป็นจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าเลือดจะหยุด
2.ให้นอนพักบนเตียงแบบสมบูรณ์ (absolute bed rest) เพื่อลดการใช้พลังงานและออกซิเจนของร่างกายเนื่องจากเสียเลือดปริมาณมาก
- ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันตามความเหมาะสม เช่น ช่วยทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะบนเตียงหรือข้างเตียง จนกว่าอาการจะทุเลาลง จึงให้สตรีตั้งครรภ์ลุกเดินเข้าห้องน้ำ และช่วยเหลือตนเอง
- ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาทีจนกว่าสัญญาณชีพจะปกติและไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อคถ้าพบความผิดปกติรายงานแพทย์เพื่อตรวจรักษา ให้การพยาบาลเพื่อแก้ภาวะช็อค เช่น จัดให้นอนหงายราบศีรษะต่ำไม่หนุนหมอน เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดี ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และเจาะส่งจองเลือดตามแผนการรักษา
- ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอดทุก 15 นาทีจนกระทั่งพบว่าปริมาณเลือดที่ออกลดลง ไม่มีการไหลอย่างรวดเร็ว คาดคะเนจากเลือดที่ชุ่มผ้าอนามัย หรือการชั่งน้ำหนัก 1 กรัมเท่ากับปริมาณเลือด 1 ซีซี.
- ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาทีเพื่อประเมินการเกิดภาวะเครียด (fetal distress) ถ้าพบความผิดปกติจัดให้นอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน ติดตามเสียงหัวใจทารกในครรภ์ด้วยเครื่องฟังเสียงหัวใจอย่างต่อเนื่อง (electronic fetalheart rate monitoring) และรายงานแพทย์ทันทีเพื่อให้การรักษา
-
- ภายหลังได้รับการรักษาและอาการดีขึ้น พยาบาลควรให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่หญิงตั้งครรภ์ราย นี้อย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
คำแนะนำที่สำคัญ มีดังนี้
- การพักผ่อนและจำกัดกิจกรรม สตรีตั้งครรภ์ควรหยุดงานและนอนพักให้มากที่สุด นอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ8-10ชั่วโมง งดเว้นการทำงานหนักและการยกของหนัก และงดเว้นการเดินทางไกลเพราะอาจกระทบกระเทือนทำให้เลือดออกซ้ำได้
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน และธาตุเหล็กเพื่อทดแทนการเสียเลือดของร่างกายและป้องกันภาวะซีด
- การนับการดิ้นของทารกในครรภ์โดยนับในช่วงพักผ่อนหลังรับประทานอาหารนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งทารกจะดิ้นไม่น้อยกว่า 3ครั้ง ให้นับ 3ครั้งหลังอาหารในแต่ละวัน ถ้ารวมแล้วทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง
- การดูแลจิตใจ โดยการทำจิตใจให้เข้มแข็งผ่อนคลายไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป เพราะความวิตกกังวลและความเครียดอาจทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก และกระตุ้นให้เลือดออกทางช่องคลอดซ้ำอีก
- การงดการมีเพศสัมพันธ์และการกระตุ้นเต้านม เพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว เกิดเลือดออกซ้ำได้
- การฝากครรภ์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำ
-
-