Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormal of passenger - Coggle Diagram
Abnormal of passenger
ความผิดปกติของขนาดและรูปร่าง
1.ทารกตัวโต(macrosomia) คือ ทารกมีน้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไปทำให้คลอดยากเพราะศีรษะโตและอาจคลอดติดไหล่
2.ทารกหัวบาตร(hydrocephalus) คือ มีการอุดตันการไหลเวียนและการดูดซึมของน้ำไขสันหลัง ทำให้เกิดการคั่งในสมองมากเกินไป
3.ทารกแฝดติดกัน (conjoined twins) มักทำให้ทารกมีขนาดใหญ่กว่าปกติส่งผลให้เกิดการคลอดยาก
4.ทารกท้องโตผิดปกติ พบในทารกท้องมานน้ำ ตับและไตโต ทารกบวมน้ำและส่งผลให้เกิดการคลอดยาก
ผลกระทบ
มักเกิดการคลอดยาก คลอดยาวนาน หรือคลอดติดดขัด
ช่องทางคลอดอ่อนแีกขาด
การดูแลรักษา
ใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดในรายที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
รายที่ประเมินได้ล่วงหน้าหรือรายที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้มักพิจารณาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
การพยาบาล
งดน้ำแลพอาหารทางปากทุกชนิด และดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลนอนพักผ่อนบนเตียง
ประเมินและบัทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ติดตามความก้าวหน้าในการคลอด
จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการใช้สุติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด และอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการคลอด
การคลอดไหล่ยาก (Shoulder dystocia)
สาเหตุ
ทารกตัวโตมาก
ผู้คลอดเป็นเบาหวาน / อ้วน โดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 15 กิดลกรัมในระหว่างตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์เกิดกำหนด
ทารกมีเนื้องอกหรือพิการบริเวณต้นคอ
ช่องเชิงกรานแคบ
ผลกระทบ
สานสะดือถูกกดทับ ตรงตำแหน่งระหว่างลำตัวทารกกับกระดูกช่องเชิงกราน
ทารกบาดเจ็บจากการช่วยคลอด
ทารกขากออกซิเจนขณะคลอด
ทารกเสียชีวิต จากภาวะ chromic brain injury
ผู้คลอดทางช่องคลอดฉีกขาดหรือชอกช้ำ
ผู้คลอดตกเลือดหลังคลอด
ผู้คลอดได้รับอันตราย ได้แก่ มดลูกแตก การติดเชื้อหลังคลอดเป็นต้น
การพยาบาล
ประเมินสภาพความเสี่ยงให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาช่วยคลอดด้วยวิธีการที่เหมาะสม
กรณีที่มีภาวะคลอดไหล่ยยากภายหลังจากศีรษะคลอดออกมาแล้ว ให้รีบรายงานแพทย์ กุมารแพทย์
ดูแลทารกแรกคลอดต้องประเมินอาการผิดปกติ โดยเฉพาะอัมพาตของแขนขา
ตรวจสอบการฉีกขาดของช่องคลอดทางคลอดอ่อน
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกมาทางช่องคลอดและอาการแสดงของการตกเลือด
กรณีที่ทำคลอดไหล่จมปกติไม่สำเร็จ มีวิธีการดังนี้
รีบขอความช่วยเหลือจากทีมบุคลากรการพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
รายที่ทารกมีสานสะดือพันคอ ห้ามตัดสานสะดือ เนื่องจากอาจขาดออกซิเจน
สวนปัสสาวะทิ้ง ช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยวิธีการขอ Mx Roberts ทำให้ผู้คลอดมีแรงเบ่งคลอดให้เต็มที่
วิธีนี้ช่วยให้กระดูสันหลังและกระเบนเหน็บเหยียดตรงขึ้น หระดูกหัวเหน่าถูกยกสูงขึ้น ส่งผลให้ไหล่สามารถคลอดออกมาได้ โดยให้ผู้คลอดสอดมือเข้ามาจับข้อพับดึงเข่าเข้าหาตัวให้ชิดหน้าอก พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้คลอดเบ่งคลอดให้เต็มที่
กรณใช้วิธีของ Mc Roberts ไม่ได้ผล ใช้วิธี การกดเหนือหัวเหน่า(Suprapubic compression) ร่วมด้วย
วิธีนี้ช่วยให้ไหล่หน้าลอดผ่านไต้กระดูก หัวเหน่าออกมา โดยให้ผู้ช่วย 1 คน ใช้อุ้งมือวางบริเวณหัวเหน่าแล้วกดลงด้านหลังและด้านล่าง ขณะผู้คลอดโน้มศีรษะทารกลงด้านล่างจนไหล่คลอดออกมา
กรณีช่วยเหลือวิธีทั้ง Mc Roberts และ การกดเหนือหัวเหน่า ไม่ได้ผล ให้ช่วยวิธีการหมุนไหล่แบบไขควง (Wood screw maneuver)แพทยืมักเป็นผู้ลงมือทำเอง
แพทย์ให้ยาสลบ ตัดฝีเย็บให้กว้างขึ้น ให้ออกซิเจนแก่ผู้คลอด สวนปัสสาวะทิ้ง ลงมือสอดนิ้วกลางเข้าไปในช่องคลอดทางด้านไหล่หลังจนถึงรักแร้ทารก แล้วออกแรงดันไปให้ไหล่หมุนไป 180 องศาตามเข็มนาฬิกา พร้อมกับดึงศีรษะทารกลง ช่วงนี้ให้ช่วยแพทย์กดเหนือหัวเหน่าบริเวณสะบักพร้อมทั้งผลักให้ไหล่หมุนไปด้านเดียวกับการหมุนของแพทย์ จะช่วยให้ไหล่หน้าคลอดออกมาได้ แล้วจึงทำคลอดไหล่หลังต่อไป
ใช้วิธีการช่วยคลอดไหล่หลัง (Delivery of posterior arm)หากใช้วิธีอื่นไม่สำเร็จ
สอดมือเข้าไปล้วงปลายแขนหลัง ดันที่ข้อพับของข้อศอก ให้แขนงอแล้วจึงจับมือทารกดึงให้ผ่านหน้าอกออกมา พร้อมหมุนไหล่หน้าไปแนวเฉียงจะทำให้คลอดไหล่หน้าออกมาได้ มักพบกระดูกต้นแขนหักได้มาก
ใช้วิธี Zavaneli maneuver กรณีใช้วิธีการทั้งหมดไม่ได้ผล
หมุนและดันศีรษะทารกย้อนกลับเข้าไปอุ้งเชิงกรานให้อยู่ในท่าเดิมก่อนคลอด และนำไปผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง อาจพิจารณาให้ยาคลายการหดรัดตัวของมดลูก มีภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือสมองของททารก ผู้คลอดมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง เป็นต้น
ความผิดปกติของส่วนนำและท่าของทารก
1.ท้ายทอยอยู่ด้านหลังแล้วไม่หมุนมาด้านหน้า (Occiput posterior persistant : OPP)
เมื่อส่วนนำเคลื่อนเข้าสู่ช่องเชิงกราน กระดูกท้ายทอยของทารกจะกดลงบนกระดูกเชิงกรานของมารดาทำให้มารดาปวดหลังอย่างมาก
สาเหตุ
ศีรษะทารกก้มน้อยหรือช้าไปเมื่อเข้าสู่ช่องเชิงกราน
ศีรษะทารกใหญ่หรือเล็กเกินไป ทำให้ไม่กระชับกับช่องคลอด
เชิงกรานแคบ โดยแคบในแนวขวางของ midpelvic
ผนังหน้าท้องหย่อนยานมาก
มีสิ่งกัดขวางการหมุน เช่น รกเกาะด้านหน้าของมดลูก เป็นต้น
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือแรงเบ่งน้อย
กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานหย่อน
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อมารดา
การคลอดยาวนาน คลอดยากหรือหยุดชะงัก
อาจต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดหรืือทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ผู้คลอดปวดหลังและเอวมาก
ผนังช่องคลอดและฝีเย็บยืดขยายและฉีกขาดได้มาก
ปากมดลูกบวม และอาจฉีกขาดได้
ผู้คลอดเหนื่อยล้า ติดเชื้อและตกเลือดได้ง่าย
ผลกระทบต่อทารก
ขาดออกซิเจน
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องมือช่วยคลอด
การพยาบาล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด
จัดท่าผู้คลอดเพื่อช่วยการหมุนของทารกดีขึ้น
นอนตะแคง (lateral position or sim's position)
ท่าศีรษะและลำตัวสูง (upright position) เป็นท่าที่ทำให้เกิดการหมุน การก้มและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกได้ดี
ท่าคุกเข่าฟุบหน้าบนหมอน (modified knee - chest position) ท่านี้ได้ผลดีกว่านอนตะแคง
ท่าคลาน (four-leg position) ได้ผลดีกว่าท่าอื่นๆ แต่อาจเมื่อยมือและแขน จึงควรพักในท่านอนตะแคงหรือท่าคุกเข่าฟุบหน้าบนหมอนเป็นระยะ
งดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิด
สอนแนะนำกระตุ้นผู้คลอดใช้เทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวดด้วยวิธีต่างๆ
กระตุ้นให้เบ่งอย่างถูกวิธีเมื่อเข้าสู่ระยะที่2
เตรียมอุปกรณ์ทางสูติศาสตร์หัตถการไว้ให้พร้อม
ช่วยคลอดท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังทางช่องคลอด โดยการตัดฝีเย็บเเบบเฉียง ให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อย
ประเมินทารกด้วย APGAR SCORE แล้วให้กานช่วยเหลือตามสภาพ
ประเมินเลือดออกทางช่องคลอด
2.ท่าก้น (Breech presentation)
ท่าก้นประกอบด้วย
complete Breech : ทารกมีการงอเข้าของทั้งข้อสะโพกทั้งสองข้างและข้อเข่าทั้งสองข้าง
Fank Breech : ทารกมีการงอเข้าของข้อสะโพกทั้งสองข้างและมีการเหยียดออกที่ข้อเข้าทั้งสองข้าง
Footing Breech : ทารกมีส่วนนำที่เป็นขา1หรือ2ข้างอยู่ต่ำกว่าก้น
สาเหตุ
การคลอดก่อนกำหนด
ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ
ผนังหน้าท้องหรือกล้ามเนื้อมดลูกหย่อน
กระดูกเชิงกรานแคบ
ทารกดตช้าในครรภ์ ทารกตายในครรภ์ หรือทารกพิการหรือรูปร่างผิดปกติ
มีสิ่งกีดขวางดขเาสู่ช่องเชิงกราน เช่น รกเกาะต่ำ เป็นต้น
ผลกระทบ
ระยะการคลอดยาวนานโดบเฉพาะระยะที่ 2 ของการคลอด
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
การฉีกขาดของช่องคลอดอ่อน
การติดเชื้อหลังคลอด
ตกเลือดหลังคลอดช่องทางคลอดฉีกขาดมากขึ้น
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
เลือดออกในสมองทารก จากการดึงศีรษะที่รวดเร็ว ทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มสมอง
ทารกได้บาดเจ็บจากการคลอดจาการการใช้สุติศาสตร์หัตถการ
การพยาบาล
งดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิด
ดูแลพักผ่อนบนเตียงในท่านอนตะแคง
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์เป็นระยะๆ
ประะเมินการดิ้นของทารกเป็นระยะๆ
จัดเตรียมอุปกณ์การช่วยทำคลอดท่าก้น
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
3.ท่าหน้า (face presentation)
เกิดจากการเงยของศีรษะทแนที่จะก้มตามปกติเมื่อผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกราน ท้ายทอยอยู่ชิดกับหลัง มีคางเป็นส่วนนำ ถ้าคางอยู่ด้านหน้าของเชิงกราน จะคลอดได้เองทางช่องคลอด ถ้าคางอยู่หลังเชิงกรานมีประมาณร้อยละ70 ที่สามารถหมุนมาอยู่ด้านหน้าและคลอดทางช่องคลอดได้แต่อาจจะล่าช้า แต่ถ้าหมุนมาด้านหน้ามักพบในรายที่ทารกตัวโตมากหรือเชิกรานแคบมาก อาจต้องทำการผ่าตัดทางหน้าท้อง
ท่าหน้าผาก (Brow presentation)
ท่าที่อยู่ระหว่างการก้มกับการเงย มักทำให้เกิดการคลอดที่ล่าช้า ระยะที่ 2 ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำมากและติดเเน่นโดยไม่สามารถก้มหรือเงยได้อีก จนเดิกภาวะส่วนนำติดค้างอาจต้องผ่าคลอดโดยด่วน ถ้าปล่อยไว้มดลูกอาจแตกได้
สาเหตุ
เชิงกรานแคบหรือศีรษะทารกโต พบได้บ่อย
ทารกมีรูปร่างผิดปกติ
ผนังหน้าท้องหย่อยมาก
ครรภ์แฝดน้ำ
มีสิ่งกีดขวางในช่องเชิงกรานที่ขัดขวางการลงของท้ายทอย
ผลกระทบ
การคลอดยาวนานและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดที่ยาวนานได้
มดลูกแตกจากการคลอดติดขัด
ฝีเย็บและช่องคลอดฉีกขาดมาก
ทารกในครรภ์เสี่ยงขาดออกซิเจน
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนดและอาจเกิดภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นของทารกบสมผิดรูปร่าง อาจมีอาการหายใจลำบาก
การพยาบาล
งดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิดและดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลนอนพักผ่อนบนเตียงเพื่อป้องกันถุงน้ำแตก
ดูแลความสุขสบายของร่างกายและประคับประคองด้านจิตใจ
ดูแลทารกอย่างใกล้ชิด
ตัดฝีเย็บแบบเฉียงและยาวกว่าปกติเล็กน้อย
ประเมินการหดรัดตัว พร้อมฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
ท่าขวาง (Tranverse lie)
ทารกอยู่ขวางกับลำตัวมารกา มักมีไหล่และลำตัวเป็นส่วนนำ ถ้าถุงน้ำแตกอาจะแขนเป็นส่วนนำ ซึ่งท่าขวางไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ จึงไม่มีกลไกการคลอด
สาเหตุ (ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยส่งเสริม)
ปัจจัยที่ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้น
ผนังหน้าท้องหย่อนยาน
ครรภ์แฝดน้ำ
คลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยที่ทำให้ ทารกเข้าสู่ช่องเชิงกรานไม่ได้
รกเกาะต่ำ
ช่องเชิงกรานแคบ
สายสะดือสั้นกว่าปกติมาก
ทารกหัวบาตร
มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
ผลกระทบ
การคลอดยาวนาน
สายสะดือพลัดต่ำหรือถูกกดได้มาก
เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้มาก
มดลูกแตก
ปากมดลูกและผนังช่องคลอดฉีกขาดได้มาก
ทารกขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้มาก
ผู้คลอดมีความวิตกกังวล หวาดกลัวต่ออันตรายจากการคลอด
การพยาบาล
ดูแลพักผ่อนบนเตียง ลดการกระตุ้นต่างๆ
ถ้าถุงน้ำแตกแล้ว ให้ฟังเสียงหัวใจอย่างใกล้ชิด
งดอาหารและน้ำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด