Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผื่นผ้าอ้อม(Diaper dermatitis) - Coggle Diagram
ผื่นผ้าอ้อม(Diaper dermatitis)
อาการ
ตุ่มแดงหรือตุ่มใสบวม บางครั้งเป็นขลุย
แดงเป็นปื้นและบวมเล็กน้อยบนผิวที่สัมผัสความชื้นและการเีสยดสีจากผ้าอ้อมเป็นเวลานาน
สาเหตุ
ความเปียกชื้น
ผิวหนังสัมผัสกับปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ทำความสะอาดโดยเฉพาะทารกที่ใส่แพมเพิส และอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนโดยเฉพาะเชื้อราได้
การสัมผัสเสียดสี
การเสียดสีทำให้เกิดการทำลายหนังกำพร้านอกสุดโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการสัมผัสเสียดสีเกิดขึ้นในบริเวณที่ผิวหนังเปียกชื้น
ความเป็นด่างของผิวหนังบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม
ปกติผิวหนังจะมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 4.5-5.5 เพื่อให้หนังกำพร้าชั้นนอกสุดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการปะปนของปัสสาวะและอุจจาระ ส่งผลให้ค่าความเป็นด่างบริเวณผิวหนังสูงขึ้น เนื่องจากเอนไซม์ที่สร้างจากแบคทีเรียในอุจจาระ ทำการย่อยยูเรียในปัสสาวะ ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมมีค่าความเป็นด่างสูง
การสัมผัสระคายเคือง
การสัมผัสกับสารระคายเคือง ส่งผลโดยตรงต่อการทำหน้าที่และโครงสร้างของชั้นกำพร้านอกสุด เนื่องจากมีการทำลายโครงสร้างชั้น
ไขมัน ทำให้ผิวหนังยอมให้สารต่างๆผ่านเข้าออกมากขึ้น รวมถึงการทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังด้วย
การดูแลรักษา
2.ใช้ผ้าอ้อมที่นุ่ม และซักล้างผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าออกให้หมด
3.การรักษาเฉพาะที่ในรายที่เป็นผื่นแดง อาจใช้สเตียรอยด์ครีมทา ถ้าเป็นแผลตื้นๆ ทำ wet dressing เมื่อแผลแห้งอาจทาด้วย zine oxide paste เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสอุจจาระและปัสสาวะ
1.ดูแลบริเวณก้นและที่เปียกชื้นให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
พยาธิสภาพ
ปัสสาวะ/แช่ในผ้าอ้อมที่เปียกชื้น หนังกำพร้าชั้นนอกสุดสัมผัสกับความเปียกชื้นอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานานทำให้เกิดการทำลายชั้นไขมันและdemosome หนังกำพร้าชั้นนอกสุดสูญเสียหน้าที่ ผิวหนังเกิดการอักเสบจึงทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อม(diaper dermatitis)
อุจจาระ/แช่ในผ้าอ้อมที่เปียกชื้น เอนไซม์ยูรีเอสในอุจจาระย่อยสลายยูเรียในปัสสาวะ ผลจากการย่อยสลาย ทำให้ค่าความเป็นด่างของปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น มีผลทำให้ค่าความเป็นด่างบริเวณผิวหนังเพิ่มสูงขึ้นด้วย ยิ่งทำให้หนังกำพร้าชั้นนอกสุดยอมให้สารต่างๆผ่านทะลุผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไปได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อค่าความเป็นด่างบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมมากกว่า 7 จะกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไลเปสและโปรทีเอส ทำให้เกิดการย่อยสลายไขมันและโปรตีนในหนังกำพร้าชั้นนอกสุด ทำให้ผิวหนังสูญเสียหน้าที่ในการปกป้องเชื้อโรค จึงทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังและนำไปสู่การเกิดผื่นผ้าอ้อม
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อม
ระยะเวลา(ความถี่)ในการเปลี่ยนผ้าอ้อม
ในกรณีที่ถ่ายปัสสาวะอย่างเดียวในทารกแรกเกิดควรเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุก 1 ชั่วโมงหรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงและในวัยทารกควรเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเปลี่ยนทันทีเมื่อสัมผัสได้ถึงความชื้นหรือสังเกตเห็นการซึมเปื้อน
ในกรณีที่เด็กถ่ายอุจจาระควรเปลี่ยนทันทีภายหลังเด็กขับถ่าย สำหรับเด็กที่ใส่ผ้าอ้อม ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีทั้งภายหลังการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
การทำความสะอาดผิวหนัง
วิธีมาตรฐานในการทำความสะอาดหลังขับถ่ายคือ การล้างด้วยน้ำสะอาดหรือใข้ผ้าชุบน้ำสะอาดทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่สวมใส่ผ้าอ้อม
การเลือกชนิดของผ้าอ้อม
ในปัจจุบันมีผ้าอ้อมที่ผู้ดูแลเลือกใช้ในทารกหรือเด็กที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เองทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
2.ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั่วไป นั้นมีข้อดีกว่าผ้าอ้อมผ้า คือ ไม่ต้องซักทำความสะอาดภายหลังปนเปื้อนการขับถ่าย
3.ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่บรรจุสารที่มีประสิทธิภาพในการซึมซับสูงจะช่วยลดความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เนื่องจากมีความสามารถในการซึมซับปัสสาวะได้ปริมาณมากและรวดเร็ว
1.ผ้าอ้อมผ้า จะต้องมีการซักทำความสะอาดหลังการใช้และต้องทำให้แห้งก่อนนำมาใช้ใหม่