Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลและการเปลี่ยนแปลงมารดาระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลและการเปลี่ยนแปลงมารดาระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์
มดลูก
ขนาดและน้ำหนัก
ทันทีหลังคลอดขนาดลดลง 16 wks.Pregnancy กว้าง 16 cm. หนา 8-10 cm.
การลดระดับ
ทันทีหลังรกคลอด ความสูงของยอดมดลูกจะลดลงอยู่ระดับกึ่งกลางระหว่างสะดือกับกระดูกหัวเหน่า 1-2 cm. ลักษณะกลมแข็ง หดรัดตัวดีวัดได้ประมาณ 1 นิ้วมือ (finger-breadth:FB) ต่ำกว่าสะดือ ภายใน 12-24 ชั่วโมง และจะลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง
เยื่อบุโพรงมดลูก
ทันทีหลังรกคลอด บริเวณตำแหน่งที่รกเกาะจะเกิดแผลผลจากการเกิด uterine contraction and arterial vasoconstriction เพื่อป้องกันการเกิด PPH ทำให้เกิดการหายของแผล คือ มีการหลุดลอกของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกจะลดขนาดลง 9 cm.
ชั้นนอก spongy layer ส่วนที่อยู่ติดกับโพรงมดลูกจะมีเนื้อตายสลายหลุดออกมาปนกับสิ่งที่ขับออกจากโพรงมดลูกเป็นน้ำคาวปลา การหดตัวของมดลูกเกิดในระยะนี้หากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีจะทำให้หลอดเลือดปิดไม่สนิทเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
ชั้นใน basal layer อยู่ติดกับผนังมดลูกมีต่อมและเนื้อเยื่อ connective -ทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก วันที่ 7-10 วันหลังคลอด จะมี epithelial cell ปกคลุมทั้งหมดและกลับคืนสู่ปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
น้ำคาวปลา
คือ สิ่งที่ถูกขับออกมาจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณตำแหน่งที่รกเกาะ
lochia rubra : 1-3 วันหลังคลอด สีแดงสด มีปริมาณมากอาจมีก้อนเลือดปน
lochia serosa : 4-9 วันหลังคลอด สีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลือง มีปริมาณลดลง แผลเรียบเริ่มหาย
lochia alba : 10-21 วันหลังคลอด สีเหลืองข้นหรือครีมขาว มีปริมาณลดลงมาก
การพยาบาลบรรเทาอาการปวด
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
แนะนำให้นอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัด
ห้ามประคบความร้อนบริเวณหน้าท้องวันแรกเพราะมดลูกจะคลายตัวทำให้เกิด PPH
รับประทานยาแก้ปวดก่อน BF อย่างน้อย 30 นาที
ปากมดลูก
บริเวณ external os ฉีกขาดไปทางด้านข้างอย่างถาวร มีรูปร่างเป็นวงรี มีรอยฉีกขาดด้านข้าง สิ้นสุดสัปห์ดาที่ 1 cervix แคบลง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm.
ช่องคลอด
หลังคลอดช่องคลอดบางตัวลง Rugae หายไป Hymen ขาดกะรุ่งกะริ่งเป็นติ่งเนื้อเล็กๆเรียกว่า carunculae myriformes และภายใน 3-4 สัปห์ดาหลังคลอด ผนังช่องคลอดจะค่อยๆฟื้นตัวและภายใน 6-10 สัปห์ดาจะกลับคืนสู่ปกติแต่หากมีเพศสัมพันธ์ก่อนอาจจะเกิดความเจ็บปวดได้
ฝีเย็บ
หลังคลอดบริเวณฝีเย็บจะร้อนแดง erythematous เกิดจากการคั่งและบวมช้ำ
หัวนมและเต้านม
ฮอร์โมน estrogen and progesterone ลดลงอย่างรวดเร็วมีการไหลเวียนเพื่มที่เต้านม ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมน prolactin เพิ่มขึ้นทำให้มีการสร้างน้ำนม ระยะนี้เกิดกลไกการผลิตน้ำนม production of milk หลั่งน้ำนม let-down reflex
การพยาบาล
ฝีเย็บและน้ำคาวปลา
ice pack วางถุงน้ำแข็งใน 24 ชั่วโฒงแรกหลังคลอดเพื่อบรรเทาอาการปวด
sitz bath การนั่งแช่ก้น ใช้บรรเทาอาการปวดริดสีดวงทวาร
hot sitz bath การนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่น ทำวันละ 2 ครั้งประมาณ 20 นาที ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
cool sitz bath การนั่งแช่นก้นในน้ำเย็น ช่วนลดอาการบวมของฝีเย็บ
การอบฝีเย็บด้วย intra red light ช่วยลดอาการบวมแห้งไว
การทำความสะอาดเปลี่ยนผ้าอนามัย
1.ล้างมือให้สะอาด
2.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุด้วยน้ำสะอาดและซํบให้แห้ง
3.เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกชุ่ม
4.สังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลาขณะเปลี่ยนผ้าอนามัย
การมีเพศสัมพันธ์
ควรงดประมาณ 4-6สัปห์ดาหลังคลอดหรือจนกระทั่งมารดาตรวจร่างกายแล้วและถ้ามีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องใช้สารล่อลื่น
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
Progesterone
วันที่ 3 หลังคลอดใน plasma จะลดลงต่ำกว่าระยะ luteal phase และ 1 สัปดาห์จะตรวจไม่พบ progesterone serum
Prolactin
มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ มารดาที่ไม่ได้ BF นั้น Prolactin จะลดลงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ 2 สัปห์ดาและมารดาที่ BF จะมีระดับสูงคงอยู่นาน 6-12 เดือนแตกต่างกันออกไปตามความถี่ของการให้นมบุตรในแต่ละวัน
Estrogen
ลดลงร้อยละ 10 ภายใน 3 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์จะเพิ่มระดับเท่ากับระยะ follicular phase ซึ่งเป็นระยะของการมีประจำเดือน
FSH
มารดาหลังคลอดจะไม่มีการตกไข่จากระดับ estrogen and progesterone ในเลิดลดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับ prolactin เพิ่มขึ้นจึงกดการทำงานของรังไข่ทำให้กดการหลั่ง FSH and LH ทำให้ไม่มีการตกไข่
HCG
มีระดับต่ำลงอย่างรวดเร็ว
LH
มารดาที่ไม่ได้ BF จะกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งภายใน 7-9 สัปห์ดา พบว่าร้อยละ 50 ของประจำเดือนครั้งแรกจะไม่มีการตกไข่เนื่องจาก corpus luteum ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ มีระดับ LH และ Progesterone ในเลือดต่ำ
HPL
มีระดับลดลงและตรวจไม่พบในระยะหลังคลอด 24 ชั่วโมง
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะ
ระยะแรกหละงคลอดพบ lactosuria ระดับ BUN สูงในมาร BF อาจจพบ mild proteinuria +1 เกิดจากกระบวนการย่อยสลายโมเลกุล
การขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะในระยะหลังคลอด
2-3 วันแรกหลังคลอด มารดาจะรู้สึกไม่สุขสบายเพราะมีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน เนื่องจากมีการลดลงของ estrogen , blood volume,adrenal aldosterone และ venous pressure ที่ขา
ไต
การทำงานลดลง ท่อไตและกรวยไตที่ขยายในระยะตั้งครรภ์จะกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ภายใน 4-6 สัปห์ดา
การพยาบาล
แนะนำให้ทานผักผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอและขับถ่ายเป็นเวลา
กระตุ้นให้เกิด early ambulation และบริหารร่างกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการท้องผูก 3-4 วันให้ยาระบายอ่อนและสวนอุจจาระ
ส่งเสริมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนัก
ควรได้รับ Ca อย่างน้อย 1200 mg/day เพื่อทดทแนการสูญเสีย
มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมควรได้รับพลังงานอาหาร 2500-2700 kcal/day ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ รวมทั้งอาหารสุกๆดิบๆ งดดื่มน้ำไพลป้องกันการเกิด PPH
ไม่ควรลดน้ำหลักก่อน 6 สัปห์ดา ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
สัญญาณชีพ
ชีพจรเกิด bradycardia ประมาณ 50-60 ต่อนาที เนื่องจาก cardiac output เพิ่มขึ้น และ 8-10 สัปดาห์หลังคลอดจะกลับเข้าสู่ระดับปกติ
RR : ลดลงจากการลดลงของมดลูก เข้าสู่ระดับปกติในสัปห์ดาที่ 6-8 หลังคลอด
Systolic murmur : เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์หายไปในวันที่ 8 หลังคลอดหรือคงอยู่นานถึง 4 เดือน
ความดัน : BP อาจสูงขึ้นเล็กน้อย เกิด orthostatic hypotension จากการที่ความดันในช่องท้องลดลง
อุณหภูมิร่างกาย : 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะสูงขึ้นเล็กน้อยเรียกว่า Reactionary Fever จากการสูญเสียน้ำ เลือด แต่ถ้า BT สูงเกิน 38 องศาอาจจะติดเชื้อ
ส่วนประกอบเลือด
ความเข้มข้น
3 วันแรกหลังคลอด Hct และ Hb สูงเล็กน้อยเนื่องจากสูญเสีย plasma จะลดลงเป็นปกติเมื่อสู่สัปห์ดาที่ 4-5
WBC
สูงกว่ากอ่นตั้งครรภ์จากการกระบวนการอักเสบ ความปวดและ 10-12 วันหลังคลอดอาจพบ WBC สูงถึง 20000-25000 cell/cm2
การแข็งตัว
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด clotting factor,fibrinogen ยังสูงอยู่ อาจเกิดจาก hypercoagulation ได้ มารดาหลังคลอดที่เคลื่อนไหวน้อยจึ่งเสี่ยงต่อการเกิด thromboembolism ง่าย
ปริมาณเลือด
2-3 ชั่วโมงแรกจะสูงขึ้นชั่วคราวเนื่องจากมดลูกมีขนาดเล็กลงและแรงกดที่บริเวณมดลูกลดลง ปกติ cardiac output จะสูงระมาณ 48 ชั่วโมงหลังคลอดและ 6-12 สัปห์ดาจะเข้าสู่ปกติ
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร
ท้องผูก
พบได้บ่อย 2-3 วันหลังคลอดเนื่องจาก progesterone ทำให้สำไส้เคลื่อนไหวช้าลง
น้ำหนัก
ลดลงทันทีหลังคลอด 5-6 กก. จากการคลอดรกและเสียเลือด สัปห์ดา 6-8 มารดาที่มี BMI ปกติก่อนการตั้งครรภ์และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นปกติและมารดาที่ให้นมบุตรจะน้ำหนักลดลงเร็วกว่ามารดาที่ไม่ได้ให้
ความอยากอาหาร
มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นจากการสูญเสียพลังงานและ NPO
การเปลี่ยนแปลงของระบบผิวหนัง
Linea nigra,Facial chloasma สีผิวที่เข้มขึ้นบริเวณลานนมจะจางลงและหายไป
Striae gravidarum บริเวณหน้าท้อง เต้านม และต้นขาจะค่อยๆจางเป็นสีเงินและหายไป
การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
กล้ามเนื้อและข้อต่อ
1-2 วันหลังคลอดมารดามักมีอาการล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการเบ่งคลอด การลดระดับ relaxin ช้าๆและประมาณ 6-8 สัปห์ดาหลังคลอดข้อต่อจะกลับคืนสู่ปกติ
กล้ามเนื้อและหน้าท้อง
ผนังกล้ามเนื้อมีการยืดขยายจากการคลอด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง พ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคม
ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงการนอนหลับ ความอายากอาหาร จัดการปัญหาไมไ่ด้ กลัว สับสน ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากอารมณ์เศร้าหลังคลอดคือมีอาการรุนแรงกว่าอาการอยู่นานเกิน 2 สัปห์ดา
โรคจิตหลังคลอด
เป็นอาการที่มีความรุนแรงและมีความผิดปกติ อาการเริ่มต้น 48-72 ชั่วโมงหลังคลอดและพัฒนาอาการใน 2 สัปห์ดามักจะแสดงอารมณ์เศร้าหรือมีความสุข
อารมณ์เศร้าหลังคลอด
เกิดระยะแรกคลอดและต่อเนื่อง 3-4 วันอาการแสดงได้แก่ มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ วิตกกังวล