Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่9 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ - Coggle Diagram
หน่วยที่9 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ
ประโยชน์ของการเฝ้าระวัง
เป็นประโยชน์ทำให้ค้นพบปัญหาโรคหรือภัยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างทันท่วงที นำไปสู่การดำเนินการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์ก่อนจะลุกลาม
เป็นประโยชน์ในการติดตามแนวโน้มสถานการณ์ของปัญหาโรคหรือภัยสุขภาพที่พบในพื้นที่ และพยากรณ์การเกิดโรคในภายหน้า
เป็นประโยชน์ในการใช้จัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุข ในชุมชนและจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม
กับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่
เป็นประโยชน์ช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาข้อบกพร่อง
ในการป้องกันหรือควบคุมโรคในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ
เป็นประโยชน์ในการชี้แนะหาแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม
ในการควบคุมป้องกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เป็นประโยชน์ในการชี้แนะแนวทางในการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ได้ผลดีรวมทั้งค้นหาภาวะการดื้อยา
เป็นประโยชน์ในการเร่งรัดการดำเนินงานของวงการสาธารณสุข
ให้ได้ผลมากที่สุด
แหล่งข้อมูลของการเฝ้าระวัง
รายงานการตาย (Mortality reports)
รายงานการป่วย (Morbidity reports)
รายงานการระบาด (Epidemic reports)
รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Report of lab utilization)
รายงานการสอบสวนโรคเฉพาะราย (Report of individual case investigations)
รายงานการสอบสวนการระบาด (Report of epidemic investigations)
การสำรวจ (Special surveys)
ข้อมูลสัตว์รังโรคหรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(Information on animals and vectors)
ข้อมูลเวชภัณฑ์ (Information on pharmaceutical products)
ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและประชากร
(Demographic and environmental data)
ความหมายของการเฝ้าระวัง หมายถึงกระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการวางแผน กำหนดมาตรการและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข รวมทั้งนำข้อมูลข่าวสารที่ได้เผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ และนำไปผนวกใช้ในการควบคุมป้องกันโรคหรือปัญหาสุขภาพ ได้ทันเวลา
ความสำคัญของการเฝ้าระวังโรค
ตรวจพบโรคหรือภัยที่มีผลต่อสุขภาพของชุมชนอย่างรวดเร็ว
ติดตามการเกิดโรคหรือภัยที่เปลี่ยนแปลงและอาจจะก่อให้เกิด
อันตรายต่อชุมชนได้ทุกขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ติดตามภาวะของผู้สัมผัสโรค หรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและภัยสุขภาพอย่างใกล้ชิด
วัดระดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขทั้งในเรื่องของโรค และภัยสุขภาพในท้องถิ่นที่รับผิดชอบได้ถูกต้อง รวดเร็ว
ชนิดของการเฝ้าระวัง
การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance)
การเฝ้าระวังเชิงรับ (Passive surveillance)
การเฝ้าระวังตัวแทน (Sentinel surveillance)
การเฝ้าระวังเฉพาะ (Special surveillance)
ขั้นตอนการดำเนินงานเฝ้าระวัง
การเก็บรวบรวมและเรียบเรียงนำเสนอข้อมูลเฝ้าระวัง
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเฝ้าระวัง
การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเฝ้าระวัง