Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่8 การคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง - Coggle Diagram
หน่วยที่8 การคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง
ข้อควรพิจารณาในการตรวจคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง
โรคที่จะทำการคัดกรองต้องเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุข
ธรรมชาติของโรคที่จะคัดกรอง ควรเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่ามีการดำเนินโรคเป็นอย่างไร
โรคที่จะทำการตรวจคัดกรองต้องมีระยะก่อนมีอาการป่วย
โรคที่จะทำการตรวจคัดกรอง ควรที่จะสามารถตรวจพบได้ในระยะก่อนมีอาการ
การรักษาโรคตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการ มีประโยชน์เหนือกว่าการรักษาตอนที่มีอาการป่วย
วิธีตรวจคัดกรองควรมีคุณสมบัติเหมาะสม
การตรวจคัดกรองควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
ขั้นตอนในการคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง
คัดเลือกประชากรที่ต้องการตรวจ
อธิบายข้อดีข้อเสียของการตรวจคัดกรองและผลที่อาจเกิดขึ้น
ขอคำยินยอมจากผู้มารับการตรวจคัดกรอง
ดำเนินการตรวจคัดกรองตามวิธีที่เลือกไว้
แจ้งผลการตรวจและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม
ความถูกต้อง (Validity)
ความถูกต้องของเครื่องมืออาจพิจารณาได้ 2 ด้าน
ความไวของการทดสอบ (Sensitivity)
ความจำเพาะของการทดสอบ (Specificity)
ความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้
(Reliability and Repeatability) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือตรวจคัดกรองในการวัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายครั้งแล้วได้ผลคล้ายคลึงกัน ถ้าผลการวัดแต่ละครั้งยิ่งใกล้เคียงกันมากก็ยิ่งแสดงว่า เครื่องทดสอบนั้นยิ่งมีความเที่ยงตรงมาก
ค่าพยากรณ์ (Predictive value) หมายถึง โอกาสที่ผลการคัดกรองที่ได้จะเป็นจริง ค่าพยากรณ์ขึ้นอยู่กับ ค่าความชุกของโรค, ค่าความถูกต้องของเครื่องมือตรวจคัดกรอง
ค่าพยากรณ์บวก (Positive predictive value : PPV)
ค่าพยากรณ์ลบ (Negative predictive value : NPV)
แนวคิดการคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง
การคัดกรองโรค
การคัดกรองโรค หมายถึง การค้นหาโรคโดยผู้ที่ถูกคัดกรองยังไม่มี
อาการป่วยปรากฏให้เห็น
วัตถุประสงค์การคัดกรองโรค เพื่อค้นหาผู้ที่ป่วยในระยะเริ่มต้นแต่ยังไม่แสดงอาการ หรือผู้ป่วยในระยะแรกของโรค เพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
การคัดกรองปัจจัยเสี่ยง
การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงหมายถึง การค้นหาปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เพื่อช่วยคัดแยกผู้ที่อาจป่วยเป็นโรคได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์การคัดกรองปัจจัยเสี่ยง เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้สามารถปรับเปลี่ยน เพื่อลดความเสี่ยง โดยการส่งเสริมสุขภาพหรือใช้มาตรการป้องกันโรคจำเพาะ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ในอนาคต