Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis gravidarum)
เป็นส่วนหนึ่งของอาการที่เรียกว่าแพ้ท้อง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปกติพบในช่วงไตรมาสแรกของของการตั้งครรภ์ เริ่มมีอาการประมาณปลายสัปดาห์ที่ 4-6 อาการดีขึ้นเมื่ออายุ ครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการคลื่นไส้ อาเจียนมีมากกว่าปกติไม่ดีขึ้น และยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อ สัปดาห์ที่ 14-16 เป็นต้นไป แสดงว่ามีภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง
สาเหต
:red_flag: ระดับของฮอร์โมนที่สร้างจากรก Human chorionic gonadotropin และ estrogen สูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว ในเดือนแรกๆของการตั้งครรภ์ และทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
:red_flag: ผลของฮอร์โมน Progesterone ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง อาหารคั่งค้างอยู่นาน ยิ่ง กระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
:red_flag: ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ มีผลทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการเวียน ศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
:red_flag: สภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ไม่ปกติ เช่น สตรีตั้งครรภ์กลัวการคลอดบุตร ไม่อยากตั้งครรภ์ หรือมี ปัญหาทางเศรษฐกิจและครอบครัว ก็อาจแสดงโดยการคลื่นไส้ อาเจียน ตรงกันข้ามสตรีตั้งครรภ์ที่อยากมีบุตร หรือดีใจมากไปก็อาจมีอาการแพ้ท้องมากเช่นกัน
:red_flag: ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน เช่น estrogen , HCG ที่ปริมาณมากเกินไป ซึ่งสัมพันธ์กับอายนุ้อย ครรภ์แรก การตั้งครรภ์แฝด แฝดน้ำ และครรภ์ไข่ปลาอุก
ปัจจัยส่งเสริม
อายุน้อย ครรภ์แรก
การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งรกใหญ่กว่าปกติ
ครรภ์ไข่ปลาอุก ซึ่งรกเจริญผิดปกติแต่ไม่มีตัวเด็ก
เคยมีประวัติ คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะตั้งครรภ์ก่อน
มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต
เป็นสตรีที่มีลักษณะอารมณ์ตึงเครียดมาก่อน
ผลต่อมารดาและทารก
ด้านมารดา
ทางชีวภาพ => มีไข้ ขาดน้ำ น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
ผิวหนัง => แห้งแตก ความตึงตัวและความยืดหยุ่นไม่ดี อาจตัวเหลือง
ตาเหลือง => ขุ่นลึก มองภาพไม่ชัดเจน
ช่องปากและทางเดินอาหาร => ลิ้นเป็นฝ้า ขุ่น หนา แตกเป็นแผลมีเลือดออกที่เยื่อบุช่องปาก ท้องผูก
ระบบการไหลเวียน => ความดันโลหิตลดลง ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น มีภาวะเลือดเป็นกรด ค่า อิเล็คโทรไลต์ลดลง
ระบบการหายใจ => หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
ระบบกล้ามเนื้อ => แขน ขา อ่อนแรง มีอาการชาเส้นประสาทส่วนปลายจากการขาดวิตามินบี 1
ตับถูกทำลาย => ตัวเหลืองระดับ SGOT Liver function test สูงขึ้น
ไต => ปัสสาวะออกน้อยลง ขุ่น BUN ยูเรีย และกรดยูริคสูงขึ้น
ระบบสมองส่วนกลาง => ซึม กระสับกระส่าย เพ้อ จำอะไรไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว หมดสติ และถึงแก่กรรม (Korsakoff’s syndrome)
ด้านจิตใจ => มารดามีความวิตกกังวล ซึมเศร้า
ด้านทารก
ถ้ามารดาอาการไม่รุนแรงรักษาได้ถูกต้องทันที ทารกไม่มีความผิดปกติใดๆ
ถ้ามารดาน้ำหนักลดลงกว่า 5 ปอนด์ ขาดน้ำนานๆ ทารกจะขาดอาหาร เลือดไปเลี้ยงรกน้อยลง ทารกจะมีการเจริญเติบโตน้อยลง น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
ถ้ามารดามีอาการรุนแรง ขาดสารอาหารมาก มีภาวะเลือดเป็นกรด ทารกจะมีอาการทางสมอง และถึงแก่กรรมได้
อาการและการตรวจพบ
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนเมื่อได้กินอาหาร หรือเพียงแค่นึกถึงอาหารบางอย่าง
อาการจะเป็นมากขึ้น จนไม่สามารถจะ รับประทานทั้งน้ำและอาหารได้
จะมีอาการกระหายน้ำ สะอึก จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่หรือเจ็บหน้าอก
บางรายมี น้ำลายออกมาก ชอบบ้วนน้ำลายอยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่อาเจียนออกมาช่วงแรกๆ เป็นอาหารที่ยังไม่ย่อยกับมูก และน้ำดี ต่อไปส่วนใหญ่จะเป็นมูกและน้ำดี และในที่สุดอาจจะมีเลือดปน
เมื่อมีอาการรุนแรง
คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ต่อเนื่่องเป็นระยะเวลายาวนาน
น้ำหนักลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์
มีอาการแสดงของการขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง ผิวหนังขาดความตึงตัว ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลง หน้ามืด เป็นลม เวียนศีรษะ เป็นต้น
ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน
ตรวจพบ ketonuria
บางรายอาจมีอาการแสดงของภาวะวิตกกังวล
ภาวะซึมเศร้า
อาการแสดง
อาการไม่รุนแรง
อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้ง/วัน
สามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะอาเจียนไม่มีน้ำหรือเศษอาหาร
น้ำหนักตัวลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการขาดสารอาหาร
มารดาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
อาการรุนแรงปานกลาง
อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 5-10 ครั้ง/วัน
อาเจียนติดต่อกันไม่หยุดภายใน 2-4 ชั่วโมง
อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
มีภาวะเลือดเป็นกรด
อาการรุนแรงมาก
อาเจียนมากกว่า 10 ครั้ง/วัน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ นอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
อาเจียนทันทีภายหลังรับประทานอาหาร และอาเจียนติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์
เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย
ประวัติการตั้งครรภ์
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โซเดียม โปตัสเซียม และคลอไรด์ต่ำ SGOT และ Liver function test สูง, Hct สูง, BUN สูง และโปรตีนใน
เลือดต่ำ
การตรวจปัสสาวะ พบว่ามีความถ่วงจำเพาะสูง
ไข่ขาวในปัสสาวะเพิ่มขึ้น พบคีโตนในปัสสาวะ
ถ้ามี อาการรุนแรงมากอาจพบน้ำดีในปัสสาวะ
จากการตรวจร่างกาย
การดูแลรักษา
:pencil2:
อาการไม่รุนแรง
ให้ดื่มของอุ่นๆ ทันทีที่ตื่นนอน เช่น นมชง โอวัลตินหรือน้ำอุ่น ประมาณครึ่ง
ถึงหนึ่งถ้วย แล้วนอนต่อ อีกประมาณ 15 นาที ก่อนจะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตร
ประจำวัน ทั้งนี้เพื่อมิให้กระเพาะอาหารว่างเปล่า อันเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากขึ้น ในช่วงเช้าที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติค มีความตึง ตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหารบีบตัวมากขึ้นกว่าปกติ
แนะนำให้รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้ง หรือขนมปัง
แครกเกอร์ อาหารที่มีกลิ่น หรืออาหารที่ทอดมีไขมันมากควรงดเว้น
ระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ไม่ควรดื่มน้ำร่วม แต่ควรดื่มหลังจาก
รับประทานอาหารแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง
ให้ยาระงับประสาท หรือยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ที่นิยมใช้
ได้แก่ Dimenhydrinate, Promethazine, Dicylomine และ Doxylamine
ป้องกันมิให้ท้องผูก โดยให้ยาระบายอ่อนๆ จำพวกสกัดจากพืช
และสวนอุจจาระให้ เมื่อท้องผูก
ให้วิตามินและแร่ธาตุ วิตามินที่สำคัญ ได้แก่ บี 1 บี 6 และบี 12
บันทึกอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง ตามความจำเป็น
ตรวจปัสสาวะหาความถ่วงจำเพาะ คีโตน คลอไรด์ และโปรตีนทุกวัน
ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
อยู่ในที่สงบไม่มีผู้มารบกวน ให้ความเห็นอกเห็นใจและดูแลอย่างใกล้ชิด
:pencil2:
อาการรุนแรง
ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
ควรงดอาหารทางปากตลอด 24 ชั่วโมงแรก
ให้สารน้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ รวมทั้งกลูโคสและ
วิตามินด้วย เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ
หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว หรือเมื่ออาการดีขึ้น จึงให้อาหารแข็ง
ร่วมกับน้ำทางหลอดเลือดดำ
วิตามิน แร่ธาตุ ยา ระงับประสาท และยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ยังคงให้
ในขนาดที่สูง
หากอาการรุนแรงมากขึ้น อาจต้องให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
เพื่อความปลอดภัยของมารดา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะขาดสารน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็น เวลานาน
การตั้งครรภ์แฝด (Multiple pregnancy)
สาเหตุ
กรรมพันธุ์ (Heredity)
เชื้อชาติ (Race)
ชาวนิโกร (ผิวดำ) พบอุบัติการณ์ของครรภ์แฝด
มากกว่าชาวคอเอเชียน (ผิวขาว)
ชาวเอเซียน (ผิวขาว) พบอุบัติการณ์ของครรภ์แฝด
มากกว่าชาวเอเซียน (ผิวเหลือง)
อายุและจำนวนครั้งของการคลอดบุตร
ยากระตุ้นดารตกไข
Clomiphene citrate
Gonadotropin
ความสูงของร่างกายซึ่งพบว่าคนสูงจะมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น
การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป การเรียกชื่อจึงแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จำนวนทารก ได้แก่ แฝดคู่ (Twins) แฝดสาม (Triplets) แฝดสี่ (Quadruplets) แฝดห้า (Quintuplets) แฝดหก (Sextuplets)
การดูแลสุขภาพสตรีตั้งครรภ์แฝด
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกของการตั้งครรภ์ และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน
ควรหลีกเลี่ยงงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ควรงดการทำงานหนัก การเดินทางในเส้นทางที่
กระทบกระเทือน
นอนหลับวันละ 8-10 ชม. และพักผ่อนในช่วง
กลางวัน 1-2 ชม. ควรนอนในท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อให้
เลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น และลดแรงกดดันที่ปากมดลูก
การทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย
ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป
งดการมีเพศสัมพันธ์และการกระตุ้นเต้านม
การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว บวม
เด็กดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น แน่นอึดอัดมาก
หายใจไม่สะดวก เจ็บครรภ์คลอด มีน้ำเดินหรือมีเลือดออก
ทางช่องคลอด ให้มาพบแพทย์ก่อนกำหนดวันนัด
ควรรับไว่ในรพ.เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์
ซึ่งจะช่วยลดอันตรายของทารกแรกเกิด
ระยะคลอด
ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดโดยการผ่อนคลาย นวด
ลูบหน้าท้อง การควบคุมการหายใจ ระยะแรกของ การเจ็บครรภ์คลอดควรลดขนาดของยาระงับปวด
และยานอนหลับลง
จัดให้นอนพักผ่อนบนเตียงในรายที่มีถุงน้ำคร่ำแตก
เพื่อป้องกันสายสะดือพลัดต่ำ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ลดกิจกรรมบางอย่างที่จะรบกวนผู้ป่วย เพื่อให้พักผ่อนได้ ไม่อ่อนล้าในระยะเบ่งคลอด
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำ
เจาะเลือดหากลุ่มเลือดเตรียมจองเลือด
ช่วยแพทย์ในการทำคลอดทางช่องคลอด การทำคลอด
ควรระมัดระวัง การผูกสายสะดือทางด้าน มารดาให้แน่น
เพื่อป้องกันการเสียเลือดของทารกคนที่ 2
ภายหลังทารกคนแรกคลอดแล้ว ควรตรวจหน้าท้องมารดา
เพื่อหาส่วนนำของทารกคนที่ 2 ถ้าเป็นท่าปกติ ควรเจาะถุงน้ำ
คร่ำเพื่อเร่งคลอด แต่ท่าผิดปกติรีบทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ไม่ควรให้ทารกคนที่ 2 คลอดหลังจากทารกคนแรกคลอด
นานเกิน 20 นาที
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ประเมินภาวะติดเชื้อ
การให้ธาตุเหล็กทดแทนปริมาณเลือดที่เสียไป
ช่วยเหลือให้มีการปรับตัวที่เหมาะสม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งครรภ์แฝด พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
แฝดคู่ (Twins)
Monozygotic (Identical) twins
แฝดชนิดนี้เป็นแฝดแท้ (True twins) เกิดจากการผสมของไข่ใบ เดียว กับเชื้ออสุจิตัวเดียวจนได้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว แยกตัวเองเป็น 2 ใบ
:silhouettes: Diamniotic dichorionic monozygotic twins pregnancy
เกิดภายใน 3 วัน หลังปฏิสนธิ
มีสองตัวอ่อน 2 amnion และ 2 Chorions และมีสองรกแยกจากกัน
:silhouettes: Diamniotic mono chorionic monozygotic twins pregnancy
เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-8 วันหลังปฏิสนธิ
ตัวอ่อน 2 ตัว เยื่อหุ้มเด็ก 2 ถุงที่แยกจากกัน ภายใต้เยื่อหุ้มชั้น Chorion ถุงเดียว และมีรกเพียง 1 อัน
:silhouettes: Monoamniotic mono chorionic monozygotic twins pregnancy
เกิดขึ้นหลังวันที่ 8 หลังปฏิสนธิ
ตัวอ่อน 2 ตัวในเยื่อหุ้มเด็กถุงเดียวกัน แต่มีรกเพียง 1 อัน
:silhouettes: แฝดติดกัน (Conjoined twins)
เกิดขึ้นภายหลังการสร้าง embryonal disc สมบูรณ์
มีได้หลายแบบ เช่น ติดกันที่ทรวงอก (Thoracopagus) ศีรษะ (Craniopagus) สะโพก (Pyopagus) ก้น (Ischiopagus)
Dizygotic (Fraternal) twins
คนละรอบเดือน (Different or subsequent cycle)
Superfetation
รอบเดือนเดียวกัน (Same cycle)
Superfecundation
แฝดชนิดนี้เป็นแฝดเทียม (False twins) เกิดจากการผสมของไข่ 2 ใบ กับเชื้ออสุจิ 2 ตัว
แฝดสาม (Triplets)
เกิดจากไข่ใบเดียวกับเออสุจิตัวเดียว Twinning ของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (Fertilized ovum) 2 ครั้ง (Repeat or double or Super twinning) แล้วภายหลังตัวอ่อนตัวหนึ่งตาย
การตรวจรกและเยื่อถุงน้ำคร่ำ ถ้าพบเป็น Monoamniotic monochorionic หรือ Diamniotic dichorionic (รกอาจแยกกันหรือเชื่อมติดกัน) อาจเป็นแฝดชนิดไหนก็ได้
การตรวจหมู่เลือด (Blood group) ทั้ง Major และ Minor group ถ้าหมู่เลือดต่างกันแสดงว่า เป็นแฝดจากไข่ 2 ใบ ถ้าเหมือนกันทุกกลุ่มน่าจะเป็นแฝดจากไข่ใบเดียว
การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือและนิ้วเท้า (Dermatographics) ถ้าต่างกันแสดงว่าเป็นแฝดจากไข่ 2 ใบ แต่ถ้าเหมือนกันจะเป็นแฝดจากไข่ใบเดียว
การทำ Reciprocal skin grafts พบว่าแฝดเกิดจากไข่ใบเดียวจะเป็นแบบ Autograft
การเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ เป็นระยะเวลานานๆ ถ้าเหมือนกันน่าจะเป็นแฝดจากไข่ใบเดียว
การหาเอนไซม์บางตัวของเม็ดเลือดแดง โดยวิธี Starch gel electrophoresis สามารถบอก Genetic types ของเม็ดเลือดแดงได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกายและหน้าท้อง
น้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ
มีอาการบวมมากโดยเฉพาะที่ขา
ขนาดมดลูกโตมากกว่าระยะของการขาดประจำเดือน
คลำพบได้ Ballottement หรือคลำได้ทารกมากกว่าหนึ่งคน
คลำได้ส่วนเล็ก (Small part) มากกว่าธรรมดา
คลำได้ส่วนใหญ่ (large part) สามแห่งหรือมากกว่า
พบมีครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios)
ฟังเสียงหัวใจทารกได้ 2 แห่ง อยู่ห่างจากกันคนละด้าน และมีอัตราแตกต่างกันอย่างน้อย 10 ครั้ง/นาที
การตรวจภายใน
การตรวจพิเศษ
การถ่ายภาพรังสี
Ultrasonography
ภาวะแทรกซ้อนในมารดา
โลหิตจาง (Anemia)
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Gestation hypertension)
การคลอดก่อนกำหนด (Premature labor)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอด (Premature rupture of membranes)
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae)
Vasa previa
ครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
การคลอดยืดเยื้อ (Uterine dysfuction)
การคลอดติดขัด (Obstructed labor)
Locked twins
ทารกพิการโดยกำเนิด
สายสะดือย้อย
การตกเลือดหลังคลอด
การติดเชื้อหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อนในทารก
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Fetal death in utero)
คลอดก่อนกำหนด
ภาวะอันตรายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น
การติดเชื้อ
การบาดเจ็บจากการคลอด
การคลอดก่อนกำหนด
อื่นๆ เช่น จากการที่มีเส้นเลือดติดกันระหว่างแฝดทั้งสอง
จากสายสะดือย้อย จากภาวะรกลอตัวก่อนกำหนด
จากการคลอดติดขัด หรือการคลอดยืดเยื้อ
จากการที่ทารกมีรูปวิปริตแต่กำเนิด