Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด การส่งเสริมสัมพันธภาพม…
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
Bonding (ความผูกพัน)
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีต่อทารกฝ่ายเดียว
Attachment (สัมพันธภาพ)
ระหว่างทารกกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู
การพัฒนาสัมพันธภาพในระยะหลังคลอด
เริ่มตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอดจนกระทั่งถึง 1ชั่วโมงแรกหลังคลอด
เป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด Sensitive period
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
มีพัฒนาการตามลำดับ 9 ขั้นตอน
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่1 การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 2 การยืนยันการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3 การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4 การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5 การยอมรับว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ขั้นที่ 6 การสนใจดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7 การมองดูทารก
ขั้นที่ 8 การสัมผัสทารก
ขั้นที่ 9 การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก ในระยะแรกเกิด
การสัมผัส (Touch,tactile sense)
การประสานสายตา (eye-to-eye contact)
พัฒนาการด้านความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
การใช้เสียง (Voice)
การตอบสนองเริ่มทันทีที่ทารกเกิด
การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด (entrainment)
สัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดา
จังหวัดชีวภาพ (Biorhythmcity)
ทารกร้องไห้ มารดาอุ้มทารกไว้แนบอก เพราะเด็กจะได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจมารดา ซึ้งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์
การรับกลิ่น (Odor)
มารดาจำกลิ่นกายของทารกแยกกลิ่นกับทารกอื่นได้ภายใน 3-4วันหลังคลอด
การให้ความอบอุ่น (Body warmth) หรือ Heat)
ทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อน
การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม ( T and B lymphocyte)
การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ (Bacteria nasal flora)
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ความสนใจ
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์
การปฏิบัติบทบาท
ตอบสนองความต้องการของทารก
พฤติกรรมของมารดาและทารกที่แสดงถึงการขาดสัมพันธภาพ (Lack of attachment)
ไม่สนใจมองบุตร
ไม่ตอบสนองต่อบุตร
พูดถึงบัตรในทางลบ
แสดงท่าทางไม่พึงพอใจ
ขาดความสนใจในการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุตรและการเลี้ยงดูบุตร
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
ระยะตั้งครรภ์
ยอมรับการตั้งครรภ์
ครอบครัวคอยให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดา มารดา
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ระยะคลอด
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
ให้ข้อมูล เป็นสื่อกลางระหว่างผู้คลอดและครอบครัว
ส่งเสริมให้การคลอดผ่านไปอย่างปลอดภัย
ระยะหลังคลอด
ส่งเสริมให้มารดาสัมผัสโอบกอดทารกทันทีหลังคลอด ในระยะ sensitive period
Rooming in โดยเร็วที่สุด
ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร
ตอบสนองความต้องการของมารดา
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับทารก
เป็นตัวแบบในการสร้างสัมพันธภาพกับทารก
ให้มารดา ทารก บิดา ได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 มารดาสร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูก (Bonding & Attachment) ไม่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาได้รับยา pethidline เพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ก่อนคลอด
มารดามีอาการสะลึมสะลือเล็กน้อยขณะเบ่งคลอดและหลังคลอด
อ่อนเพลียจากการเสียเลือดหลังคลอด
วัตถุประสงค์
มารดาสามารถสร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การประเมิน
มารดาโอบกอดทารกและจ้องมองด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและพึงพอใจ
มารดาใช้ปลายนิ้วสำรวจทารกด้วยการสัมผัสเบา ๆ
มารดาพูดคุยกับทารก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้มารดาดูเพศของทารกพร้อมทั้งผูกป้ายผ้าที่มีชื่อมารดาก่อนตัดสายสะดือจึงเช็คตัวทารกและใส่หมวกเพื่อให้ความอบอุ่น
นำผ้าเย็นมาเช็ดหน้าให้มารดาเพื่อช่วยให้มารดาตื่นมากขึ้น
3.จัด Position ให้มารดานอนศีรษะสูงเล็กน้อยนำทารกมาให้มารดาโอบกอดโดยนำทารกวางบนหน้าท้องหรือระหว่างเต้านมทั้ง 2 ข้าง
4.ประเมินผลมารดามีอาการสะลึมสะลือเล็กน้อยโอบกอดทารกนาน 10 นาทีและจ้องมองด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและพึงพอใจพูดคุยกับทารก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 มารดามีความกังวลและไม่มั่นใจในการให้นมบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
มารดาครรภ์แรกไม่มีประสบการณ์ในการให้นมมาก่อน
ใช้เวลานานในการช่วยเหลือให้ทารก latch on ได้ถูกต้องในครั้งแรก
วัตถุประสงค์
มารดามีความกังวลลดลงและมีความมั่นใจในการให้นมบุตร
เกณฑ์การประเมิน
มารดามีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมากขึ้นมารดามีความมั่นใจและสามารถให้ทารกดูดนมได้สำเร็จในห้องคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
1.เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆตอบคำถามด้วยความเต็มใจโดยอธิบายอย่างง่ายๆ
และชัดเจนเพื่อให้มารดาเข้าใจและคลายความกังวล
2.แนะนำวิธีการให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธีช่วยจัดท่าให้มารตานอนตะแคงศีรษะสูงเพื่อจะให้นมในท่านอน (side lying)
3.ให้คำแนะนำและให้มารดาปฏิบัติตามด้วยตนเองเน้นเทคนิคการเอานมเข้าปาก (latch on) และการจัดท่ามารดาและทารกอย่างถูกต้องเหมาะสม
4.แนะนำวิธีประเมินว่าทารกอมหัวนมและดูดนมได้ถูกต้องหรือไม่เพื่อช่วยมารดาให้มีทักษะและมั่นใจในการให้นมแม่ได้อย่างถูกต้องในบรรยากาศที่สงบและไม่รีบร้อน
5.ให้กำลังใจชื่นชมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับมารดา
6.ประเมินผลมารดาบอกว่ามีความกังวลลดลงและมีความมั่นใจในการให้นมบุตรเพิ่มขึ้นมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมากขึ้น
นางสาวนาลิตา พรมบุตร เลขที่ 22 ห้องB
อ้างอิง
นิภา เพียรพิจารณ์. (2558). การส่งเสริมสายพันธ์แม่ – ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/222/sins_nursing_manual_2558_10.pdf?fbclid=IwAR1hNmxz1aR0ar64YLhrP5G2fsbyK0PrGmp7mnA_Nc4cbdH1B2FCNAr7YDo
. (วันที่ค้นข้อมูล 28 พฤษภาคม 2563)