Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการพยาบาลแบบองค์รวม, image, image -…
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการพยาบาลแบบองค์รวม
ความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูก (Constipation)
การไม่ถ่ายอุจจาระต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป หรือถ่ายอุจจาระแห้ง แข็ง ต้องออกแรงเบ่ง (American Gastroenterological Association, 2008) โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับการบีบตัวของลำไส้ลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้รู้สึกไม่สบาย แน่นอึดอัดบริเวณทวารหนัก แต่ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือความอยากอาหารลดน้อยลง
สุขนิสัยส่วนตัว เช่น ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง
การรับประทานยาระบายเป็นประจำ ทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอจนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้
ยารักษาโรคบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน
สาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการและอาการแสดง
มีอาการถ่ายลำบากเวลาถ่ายใช้เวลาเบ่งมาก
อุจจาระแข็งจับตัวเป็นก้อน หรือถ่ายแล้ว แต่ยังรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด หรือถ่ายไม่สุด
ปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/อาทิตย์
แนวทางการดูแลและการป้องกัน
รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ใยอาหารจากผลไม้เช่น ลูกพรุน แอบเปิ้ล กล้วย ส้ม ข้าวโอ๊ต ถั่ว
ใยอาหาร ที่มีชื่อเฉพาะว่า "พรีไบโอติกส์" (Pre-biotics) ได้แก่ ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์(สายสั้น) และ อินนูลิน(สายยาว) เป็นใยอาหารละลายน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ (จุลินทรีย์สุขภาพ คือจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ที่ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรค) ทำให้ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายไปพร้อมๆกัน
2.ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่างๆ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง
ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป
ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่ายๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ ฟังดนตรีเบาๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อน
ไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บในขณะขับถ่าย
แต่หากเกิดอาการท้องผูกบ่อยมากขึ้นอาจส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแห้งและแข็ง
ทำให้ถ่ายออกได้ลำบากหรือไปเสียดกับผนังลำไส้และทวารหนักขณะถ่าย
จึงอาจทำให้ถ่ายเป็นเลือด ในบางรายอาจพัฒนาเป็นแผลแตกรอบ ๆ ทวารหนักหรือโรคริดสีดวงทวารขึ้นได้ เนื่องจากต้องใช้แรงเบ่งในการขับอุจจาระ
ความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร
โรคท้องร่วง (Diarrhea)
ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว ถ่ายมูก หรือมูกปนเลือด ท้องร่วงเป็นอาการที่พบได้บ่อย และมีสาเหตุได้หลายประการ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และมักจะหายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการรุนแรง ทำให้มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาการถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลวหรือถ่ายมีมูกเลือดปนแล้ว อาจมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียนร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เป็นโรค
สาเหตุ
ท้องร่วงชนิดเฉียบพลัน เกิดจาก
การติดเชื้อ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ อาจเกิดจากเชื้อไวรัส บิด ไทฟอยก์ อหิวาต์ มาลาเรีย พยาธิบางชนิด เช่น ไทอาร์เดีย พยาธิแส้ม้า
อาหารเป็นพิษ โดยการปะปนของเชื้อโรคที่อยู่ในอาหาร
สารเคมี เช่น สารตะกั่ว สารหนูไนเตรท ยาฆ่าแมลง ทำให้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง และชักร่วมด้วย
ยา เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ
พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย
ท้องร่วงเรื้อรัง
การที่มีอาการท้องร่วงติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ นานหลายๆ เดือน หรือเกือบทั้งปี ทั้งที่ร่างกายยังแข็งแรงดี อาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้
อารมณ์ ความเครียด
การติดเชื้อ เช่น บิด อะมีบา วัณโรคลำไส้ และพยาธิแส้ม้า
โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
ขาดน้ำย่อย สำหรับย่อยน้ำตาลที่อยู่ในนม จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหลังดื่มนม
ความผิดปกติของการดูดซึมอาหารที่ลำไส้
เนื้องอก มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งตับอ่อน
ยา เช่น รับประทานยาถ่าย หรือยาลดกรดเป็นประจำ
สาเหตุอื่นๆ เช่น ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ การฝังแร่อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินเรื้อรังได้
อาการและอาการแสดง
อาการของโรคที่พบได้บ่อย จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
แนวทางการดูแลและการป้องกัน
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ