Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลของไลนินเจอร์ - Coggle Diagram
ทฤษฎีการพยาบาลของไลนินเจอร์
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี
การดูแล (care ) หมายถึง
ปรากฏการณ์ที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมเกี่ยวข้องกับการ ช่วยเหลือ สนับสนุน พัฒนาความสามารถ หรือพฤติกรรมของมนุษย์ใหดีขึ้น เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และ วิถีชีวิตของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นจุดเนนของการพยาบาล
ความเอาใจใส (caring)
การกระทำและแบบแผนการกระทำโดยตรง ในการ ช่วยเหลือ สนับสนุน ใหบุคคล หรือกลุมคน มีความสามารถที่จะตอบสนองความตองการของตนเอง เพื่อปรับปรุง สภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิต
การดูแลบนพื้นฐานของวัฒนธรรม (culture care)
การเรียนรูทั้งที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม และมีการถ่ายทอดค่านิยม ความเชื่อ และแบบแผนวิถีชีวิต ซึ่งช่วยเหลือ สนับสนุน อำนวยความ สะดวกหรือการทำใหผู้อื่น ซึ่งเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ในการธำรงไวซึ่งสุขภาวะ สามารถปรับปรุงสภาพความ เป็นอยู่ และวิถีชีวิตใหดีขึ้น หรือเผชิญกับความเจ็บป่วยความพิการหรือความตาย
การพยาบาล (nursing)
เป็นสาขาวิชาและวิชาชีพเพื่อใหการดูแลที่ตองใชหลักวิทยาศาสตร และการศึกษามนุษย์ข้ามวัฒนธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใหการดูแลมนุษย์โดยกระทำการช่วยเหลือ สนับสนุน อำนวยความสะดวก หรือทำใหบุคคล กลุมคน มีความสามารถในการธำรงไว้ หรือฟนคืนซึ่งสุขภาวะ
การให้การดูแลบนพื้นฐานวัฒนธรรม (culture care)
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษา และการ ฟื้นหาย การรักษาไม่สามารถเกิดได้หากปราศจากการดูแล แต่การดูแลสามารถคงอยู่ได้โดยปราศจากการรักษา
. ในทุกวัฒนธรรมของมนุษย์ มีความรู มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลพื้นบ้าน และความรู้ และ การปฏิบัติเชิงวิชาชีพอยูด้วยกันเสมอ ซึ่งอาจมีบางสวนเหมือนและบางสวนต่างกัน
แนวคิดการดูแลเชิงวัฒนธรรม
การแสดงออก รูปแบบ กระบวนการ และรูป แบบโครงสร้างของการดูแลหลายๆ วัฒนธรรม มีทั้งความต่างและความเป็นสากล
ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างทัศนะการดูแลเชิงวิชาชีพ และการดูแลพื้นบ้าน ยังคงมีอยู่ในวัฒนธรรมของมนุษย์
คุณคา ความเชื่อ และการปฏิบัติการดูแลเชิงวัฒนธรรม ได้รับอิทธิพลจากทัศนะ ภาษา ปรัชญา ศาสนา เครือญาติ สังคม การเมือง กฎหมาย การศึกษา เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ชาติพันธุ์ และบริบทสิ่ง แวดลอมของวัฒนธรรม
การใหการพยาบาลที่มีประโยชนและสอดคลองกับวัฒนธรรมสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อ พยาบาลรูเกี่ยวกับค่านิยม ความเชื่อ การแสดงออก หรือรูปแบบการดูแลตามวัฒนธรรมของเขา และนำมาใช้ อย่างเหมาะสม ระมัดระวัง
การดูแลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อสุขภาพและสุขภาวะของบคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชนภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมนั้น
การบริการพยาบาลที่ลมเหลวเกิดขึ้นเมื่อไม่สอดคลองกับความเชื่อ การใหคุณคา และ การดูแลในวิถีชีวิตของผู้รับบริการ ซึ่งจะทำใหผู้รับบริการเกิดความเครียด และฟนหายชา
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุวรรณาด้านการพยาบาล (ethnonursing research)
เครื่องมือที่ใชค้นหา และตีความมุมมองการใหคุณค่าเกี่ยวกับปรากฏการณที่ซ่อนเร้น ซับซ้อน ของคนในและ นอกวัฒนธรรม รวมถึงขอมูลการดูแลเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างถูกตองแม่นยำ
กระบวนทัศน์หลัก 4 ประการของทฤษฎีไลนินเจอร์
บุคคล (Person)
ปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กร หรือกลุ่มที่มีวัฒนธรรม เหมือนกัน แต่มีแบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน โดยเชื่อว่าจะได้รับการดูแลด้วย ความเอื้ออาทร มีความตระหนักถึงความต้องการ ความมีสุขภาวะ และความปลอดภัย
สุขภาพ (Health)
เป็นภาวะที่มีสุขภาพดี ประกอบด้วย คุณค่าและการปฏิบัติ ซึ่ง สะท้อนความสามารถของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่จะปฏิบัติกิจกรรมตามบทบาทแห่งวิถีวัฒนธรรม คุณค่า และแบบ แผนการดำเนินชีวิต
สิ่งแวดล้อม (Environment)
บริบทของสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทางด้านกายภาพ ดา้น นิเวศวิทยา ด้านสังคม-การเมือง และทางด้านวัฒนธรรม
การพยาบาล (Nursing)
เป็นสาขาวิชาและวิชาชีพ เพื่อใหการดูแลที่ตองใชหลัก วิทยาศาสตร และการศึกษามนุษย์ข้ามวัฒนธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใหการดูแลมนุษย์โดยกระทำการ ช่วยเหลือ สนับสนุน อำนวยความสะดวก หรือทำใหบุคคล กลุมคน มีความสามารถในการธำรงไว้
หลักการจัดกิจกรรมการพยาบาลสำหรับการดูแลผู้รับบริการต่างวัฒนธรรม ไว้ 3 ประการ คือ
การต่อรองหรือปรับเข้าหากันของการดูแลเชิงวัฒนธรรม
การปรับเปลี่ยนหรือปรับรูปแบบของการดูแลเชิงวัฒนธรรม
การคงไว้ซึ่งการดูแลตามวัฒนธรรมที่เป็นอยู่
องค์ประกอบที่มีความสำคัญสำหรับการสร้างแนวคิด 8 ประการ
ความขัดแย้งที่นำไปสู่การต่อสู้และสงครามระหว่างกลุ่มคนที่นับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน
การท่องเที่ยวโยกย้ายถิ่นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพในสังคมโลกและเมืองใหญ่ๆ
การให้บริการสุขภาพที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
ชุมชมมีความคาดหวังเกี่ยวกับการยอมรับจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีความเป็นสากล ให้เกียรติ และยอมรับในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม และการดำเนินวิถีชีวิตของบุคคลท่มีี วัฒนธรรมที่แตกต่าง
มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิสตรี และการกีดกันทางเพศมากขึ้น
การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคน
ปริมาณความต้องการบริการสุขภาพที่คำนึงถึงพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมของ ผู้รับบริการในชุมชนมีมากขึ้น
กรอบแนวคิด
ได้ค้นพบหลักการทางมานุษยวิทยาที่มีความสำคัญต่อการพยาบาล คือ วัฒนธรรมมี อิทธิพลอย่างใกล้ชิดต่อสุขภาพและความเจ็บป่วย จึงได้พัฒนาหลักการนี้มาเป็น แนวคิดการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม และได้ตั้งทฤษฎีการดูแลเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายและเป็นสากล โดยมี จุดเน้นที่การบรรยายและทำนายความแตกต่าง และคล้ายคลึงของกิจกรรมการพยาบาลที่ควรปฏิบัติใน ผู้รับบริการที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ไลนินเจอร์ ได้ให้ความหมายว่า การพยาบาลต่างวัฒนธรรม หมายถึง การพยาบาลที่เน้นการให้ คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้ง วิเคราะห์พฤติกรรมการดูแล และการให้บริการทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบแผน ของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนองที่สอดคล้องกับความ ต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของทฤษฎีการดูแลเชิงวัฒนธรรม คือ ค้นหา บันทึก ตีความ บรรยาย และทำนายเหตุการณ์บางอย่างของหลาย ๆ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแล จากมุมมองของคนในและ นอกวัฒนธรรม เพื่อให้เกี่ยวโยงถึงพื้นฐานของวัฒนธรรม