Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข่าวผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า, image, image, image - Coggle Diagram
ข่าวผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
https://www.sanook.com/news/7932982/
สาเหตุ
ภรรยาผู้ตาย อายุ 58 ปี ให้การว่า สามีเคยเป็นอาจารย์เกษียณอายุราชการ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง คาดว่า สาเหตุที่ผูกคอฆ่าตัวตาย น่าจะเกิดจากอาการโรคซึมเศร้า
โดยก่อนหน้านี้ ได้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจังหวัดนนทบุรี แพทย์แนะนำให้คอยดูแลอย่างใกล้ชิด จึงพามาพักที่จังหวัดจันทบุรี ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นวันครอบรอบวันคล้ายวันเกิด ทางครอบครัวได้พาไปทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งสามียังขอบคุณทุกคนที่พาไปทานข้าว โดยวันนี้ ตนเองพร้อมลูกชายออกไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ปล่อยให้สามีพักผ่อนอยู่บ้าน ดูแลคนงาน แต่กลับมาพบเป็นศพแล้ว
อดีตเศรษฐีนีเครียดจัด ผัวหอบสมบัติไปหาเมียใหม่ ผูกคอตายคาคฤหาสน์ผุพัง
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1.ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
2.รับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ใส่ใจ โดยไม่ตัดสิน อารมณ์ของผู้ป่วย
3.การรักษาด้วยยา ดูแลเรื่องการกินยา
4.ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเกิดการทำร้ายตัวเองเนื่องจากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
ข้อมูลสนับสนุน
S: ภรรยาเล่าให้ฟังว่า “สาเหตุที่ผูกคอฆ่าตัวตาย น่าจะเกิดจากอาการโรคซึมเศร้า”
S: “ซึ่งคาดว่าเคยเป็นอาจารย์เกษียณอายุราชการ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งมีความเครียดจึงเป็นโรคซึมเศร้า
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
1.เพื่อให้ผู้ป่วยหยุดทำร้ายตัวเอง
2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเครียดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
1.เพื่อผู้ป่วยไม่ทำร้ายตัวเอง
2.เพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีความเครียด
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.สร้างทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้หรือข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคซึมเศร้า
2.แนะนำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดใส่ใจ สนใจในคำพูดที่สะท้อนความคิดของผู้ป่วยในความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย
3.แนะนำการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยทางร่างกายแล้ว จิตใจก็ยังจะดีขึ้นด้วย ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคม ไม่รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว
4.เลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆ โดยมักจะเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ เช่นไปเที่ยวสวนสาธารณะ ไปเที่ยวชายทะเล ชวนเพื่อนมาที่บ้าน
5ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
6.พยายามให้เขาทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่นมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว
7.ให้ญาติรับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ใส่ใจ โดยไม่ตัดสิน อารมณ์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
8.ชวนผู้ป่วยคุยบ้างเล็กน้อย ด้วยท่าทีที่สบายๆ ใจเย็น พร้อมที่จะช่วยเหลือ โดยไม่กดดัน ไม่คาดหวัง ไม่คะยั้นคะยอว่าผู้ป่วยต้องพูดคุยโต้ตอบได้มาก
9.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิดความรู้สึก ที่ไม่ดี ที่รู้สึกแย่ต่างๆ ออกมาโดยเฉพาะความคิดอยากฆ่าตัวตาย การที่ผู้ป่วยได้พูดได้ระบายออกมาจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในใจลงได้ อย่างมาก
10.ดูแลผู้ป่วยด้วยความใกล้ชิด
พยาธิสภาพ
A: โรคซึมเศร้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในสมองสมองส่งสัญญาณจากเซลล์สมองหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยสารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาท (neurotransmitters) สารสื่อประสาท เหล่านี้รวมถึง
เซโรโทนิน นอร์อิพิเนฟรินและ โดพามีนซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทางร่างกายและจิตใจต่างๆเช่นอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม สารสื่อประสาทจะไม่สมดุลและทำงานไม่ปกติในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นหากคนไข้ไปพบแพทย์ในขั้นที่เป็นรุนแรงมาก มีอาการหลอนทางจิต หรือขนาดคิดฆ่าตัวตาย แต่กลุ่มคนที่มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่แสดงออก อาจมีเพียงจิตใจไม่แจ่มใส ความสามารถในการดำเนินชีวิตลดลง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน จะถูกปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นอันตรายในที่สุดซึ่งผู้ป่วยรายนี้จึงก่อให้เกิดการทำร้ายตัวเอง
การประเมินผลทางการพยาบาล
1.ผู้ป่วยไม่ทำร้ายตัวเอง
2.ผู้ป่วยไม่มีความเครียด