Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา และทารกหลังคลอด image - Coggle Diagram
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา
และทารกหลังคลอด
การพัฒนาสัมพันธภาพในระยะหลังคลอด
ระยะแรกหลังคลอดทันที มารดาจะแสดงความรัก
ความผูกพันกับลูกตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอด
จนกระทั่งถึง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด
(Sensitive period )และทารกมีความตื่นตัว
เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เหมาะสมต่อการ
สร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพ
ระหว่างมารดากับทารก
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 1 การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 2 การยืนยันการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3 การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4 การรับรู้ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5 การยอมรับว่าทารกในครรภ์
เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ระยะคลอดและระยะ
ขั้นที่ 6 การสนใจดูแลสุขภาพตนเองและ
ทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7 การมองดูทารก
ขั้นที่ 8 การสัมผัสกับทารก
ขั้นที่ 9 การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดา
และทารกในระยะแรกเกิด
การสัมผัส (Tactile sense)
คือความสนใจของมารดา ในการสัมผัส
บุตรและทารก จะมีการจับมือและดึงผมมารดา
เป็นการตอบสนองกลับ
การประสานสายตา(Eye to eye contact)
เป็นสื่อที่สำคัญต่อการเริ่มต้นพัฒนาการ
ด้านความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและ
ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มารดาจะรู้สึกผูกพัน
ใกล้ชิดมากขึ้น เมื่อทารกลืมตาและสบตาตนเอง
ระยะที่ทารกสามารถมองเห็นมารดา
ได้ชัดเจนคือ 8-12 นิ้ว
การใช้เสียง (Voice)
เป็นการตอบสนองเริ่มทันทีที่ทารกเกิด
ซึ่งมารดาจะรอฟังเสียงทารกร้องครั้งแรก
เพื่อยืนยันภาวะสุขภาพของทารก
ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อระดับเสียงสูง
ได้ดีกว่าเสียงต่ำ
การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด
(Entrainment)ทารกจะเคลื่อนไหวร่างกาย
เป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงผู้สูงต่ำของมารดา
เช่น ขยับแขน ขา ยิ้ม หัวเราะ เป็นต้น
จังหวะชีวภาพ (Biorhythcity)
หลังคลอด ทารกจะปรับตัวให้เข้ากับ
สิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจาก
ในครรภ์ของมารดา
มารดาจะช่วยทารก ให้สร้างจังหวะชีวภาพได้
โดยขณะที่ทารกร้องไห้ มารดาจะอุ้มทารก
ไว้แนบอก เพื่อให้ทารกรับรู้เสียงการเต้นของหัวใจ
มารดา ซึ่งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์
การรับกลิ่น (Oder)
มารดาจำกลิ่นกายของทารกได้ตั้งแต่
แรกคลอดและแยกกลิ่นทารกออกจาก
ทารกอื่นได้ ภายใน 3-4 วันหลังคลอด
ทารกสามารถแยกกลิ่นมารดาและหันเข้าหา
กินน้ำนมมารดา ภายในเวลา 6-10 วันหลังคลอด
การให้ความอบอุ่น(Body warmth)
หลังทารกคลอด ควรได้รับการเช็ดตัวให้แห้ง
ห่อตัวทารกและนำทารกให้มารดาโอบกอด
เพราะทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อน
และเกิดความผ่อนคลาย เมื่อได้รับความอบอุ่น
จากมารดา
การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม
(T and B lymphocyte) ทารกได้รับภูมิคุ้มกัน
จากนมแม่
T lymphocyte, B lymphocyte
และ Immunoglobulin A ช่วยป้องกัน
และทำลายเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ
(Bacteria nasal flora) เมื่อมารดาอุ้มทารก
จะมีการถ่ายทอดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ
ทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
จากสิ่งแวดล้อมภายนอกของทารก
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ใช้การสังเกตและการสอบถาม
ความสนใจในการดูแลตนเองของมารดาและทารก
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดา
ความสามารถในการตอบสนอง
ความต้องการของทารก
พฤติกรรมของมารดาและทารกที่แสดง
ถึงการขาดสัมพันธภาพ
ไม่สนใจมองบุตรศรีหน้าเมืองเฉยหรือหันหน้าหนี
ไม่ตอบสนองต่อบุตร เช่น ไม่สัมผัส
ไม่ยิ้ม ไม่อุ้มปอดทารก
พูดถึงบุตรตัวเองในทางที่ลบ
แสดงท่าทางหรือคำพูด ที่ไม่พึงพอใจ
ขณะดูแลบุตร
ขาดความสนใจการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรม
ของบุตรและการเลี้ยงดูบุตร
บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริม
สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะตั้งครรภ์
ยอมรับการตั้งครรภ์
ครอบครัวให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดามารดา
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
กระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์
ระยะคลอด
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
ให้ข้อมูลเป็นสื่อกลางระหว่างผู้คลอด
และครอบครัว
ส่งเสริมให้การคลอดผ่านไปอย่างปลอดภัย
ระยะหลังคลอด
ส่งเสริมให้มารดาสัมผัสโอบกอดทารก
ทันทีหลังคคลอดในระยะ sensitive period
Rooming in โดยเร็วที่สุด
ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร
ตอบสนองความต้องการของมารดา
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับทารก
เป็นตัวแบบในการสร้างสัมพันธภาพกับทารก
ให้มารดาทารกบิดาได้อยู่ร่วมกันตามลำพัง