Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convusion)
ความหมาย
อาการชักที่สัมพันธ์กับการมีไข้ โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของระบบประสาทหรือความไม่สมดุลย์ของเกลือแร่ ในเด็กที่อายุมากกว่า1เดือนโดยที่เด็กไม่เคยมีอาการชักโดยไม่มีไข้มาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงชักซ้ำ
อายุ โดยเฉพาะครั้งแรกที่มีอาการชักครั้งแรกในช่วงอายุก่อน1ปี
มีความผิดปกติของระบบประสาทก่อนมีอาการชัก
ประวัติการชักของสมาชิกในครอบครัว
ไข้ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ
สาเหตุ
การติดเชื้อในระบบต่างๆที่ไม่ใช่ระบบประสาท เช่น ติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ หรือระบบทางเดินหายใจ
อาการ
อุณหภูมิสูงกว่า39องศาเซลเซียส อาการชักเกิดภายใน24ชั่วโมง แรกเริ่มมีไข้ มักเกิดกับอายุ3เดือนถึง5ปี พบมากสุดช่วง17-24เดือน
ชนิด
Simple febrile seizre
มีไข้ร่วมกับการชัก ในเด็กอายุ6เดือน ถึง5ปี
การชักเป็นแบบทั้งตัว(Genaralized seizure)
ระยะเวลาชักสั้นๆ ไม่เกิน15นาที
ไม่มีอาการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกันก่อนและหลังชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
เป็นการชักแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว()
ระยะเวลาในการชักมากกว่า15นาที
เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
หลังชักมักมีอาการทางระบบประสาท เด็กที่เป็นชนิดนี้มีอัตราการเสี่ยงสูงที่เป็นลมชัก แพทย์จะให้ยาป้องกันชัก เช่น phenobarbital หรือ Valpronic acid
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ :ไข้ การติดเชื้อ ประวัติครอบครัว การได้รับวัคซีน โรคประจำตัว ประวัติการชัก ระยะเวลาการชัก
ประเมินสภาพร่างกาย: ตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศาอื่นๆ เช่น การเจาะน้ำไขสันหลัง
โรคลมชัก(Epilepsy)
ความหมาย
ภาวะทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดการชักซ้ำๆอย่างน้อย2ครั้งขึ้นไป และอาการชักครั้งที่2ต้องห่างมากกว่า24ชั่วโมงโดยไม่ได้เกืดจากสาดหตุมีปัจจัยกระตุ้น จากการที่มีเซลล์ประสาทสมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ เป็นครั้งคราวทันทีทันมดและรุนแรง มีความผิดปกตืที่กล้ามเนื้อลาย ความรู้สึก พฤติกรรมความรู้สึกตัวลดลง
อาการและอาการแสดง
Preictal period คือ ระยะก่อนชัก
อาการนำ() มีอาการนำก่อนชักอาจหลายนาทีหรือชั่วโมงโดยไม่มีอาการเฉพาะระหว่างเกิดเซลล์ประสาทสมองจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้า
อาการเตือน()แตกต่างตามตำแหน่งสมอง เช่น ปวด ชา เห็นภาพหลอน
Ictal event หรือ peri-ictalperiod คือ ระยะที่เกิดการชัก ระยะเวลาตั้งแต่วินาที จนถึงนาทีแต่ไม่เกืนครึ่งชั่วโมง
เกิดขึ้นทันทีทันใด
เกิดระยะเวลาไม่เกิน5นาทีและหยุดเอง
เกิดขึ้นเองแต่บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น
ลักษณะเหมือนกันทุกครั้งที่ชัก
Postical period คือ ระยะเมื่ออาการชักสิ้นสุด มีอาการทางคลินิกคือคลื่นไฟฟ้าสมองเปลี่ยนแปลง อาจเกิดนานหลายวินาทีถึงวัน ไส่วนมากไม่เกิน24ชั่วโมง มีอาการ สับสน อ่อนเพลีย ปวดหัว
Postical paralysis หรือ Todd's paralysis กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่
Automatism การเคลื่อนไหวร่างกายไปโดยอัตโนมัติขณะชักเป็นการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์ของกล้ามเนื้อไม่มีจุดประสงคืแต่เลียนแบบท่าทางปกติ เช่น เคี้ยวปาก กระพริบตาถี่ๆ ตีมือคว่ำหงายสลับกัน
Interictal period คือ ระหว่างการชัก เริ่มตั้งแต่เวลาหลังการชักหนึ่งครั้งสิ้นสุดถึงเริ่มการชักครั้งใหม่ โดยทั่วไปไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่พบคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ
สาเหตุ
ทราบสาเหตุ
การติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง อันตรายขากการคลอดหรือหลังคลอด การเกิดอันตรายที่ศรีษะ ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ
ความผิดปกติของ Neurotransmission ซึ่งเกืดจากความผิดปกติของยีน
หาสาเหตุไม่ได้
พยาธิสภาพในสมอง จัดอยู่ในกลุ่ม Symtomic epilepsy
ชนิดของโรคลมชักและกลุ่มอาการชัก
จำแนกตามลักาณะของอาการชัก
อาการชักเฉพาะที่(Partial seizure)
ชักแบบมีสติ(Simple partial seizures)ขณะชักผู้ป่วยรู้ตัวตลอดเวลา บอกได้ว่ามีลักษณะอย่างไร ดำเนินไปอย่างไร
ชักแบบขาดสติ(Complex paetial seizures) ขณะชักสูญเสียการรับรู้ เมื่อสิ้นสุดการชักไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดได้
ชักเฉพาะที่ตามด้วยอาการชักทั้งตัว(Focal with secondaryseizures) ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว โดยเริ่มจากชักส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายก่อนแล้วค่อยๆกระจายไปส่วนที่ใกล้ต่อไปเรื่อยๆ
ชักทั้งตัว(Genaralized seizures )เกิดการเสียหน้าที่ของสมอง2ซีก
อาการเหม่อ(absence) เหม่อลอยไม่รู้สึกตัวชั่วครู่
ชักเหม่อแบบตรง(Typical absence seizures)ชักลักษณะเหม่อลอยไม่รู้สึกตัว เวลา5-10วินาที อาการเกิดขึ้นและหายทันที
อาการชักเหม่อที่ไม่รู้ตัวไร้สติเท่านั้น
ชักเหม่อที่มีอาการหนังตากระตุกหรือสะดุ้งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
ชักเหม่อที่มีอาการตัวอ่อนร่วม
ชักเหม่อแบบมีอาการเกร๊งกล้ามเนื้อร่วม อาจเกร็งเฉพาะใบหน้าหรือลำคอ
อาการเกร็งกระตุก(Clonic seizures) เป็นการชักที่มีลักษณะเป็นจังหวะของการชัก
อาการชักเกร็ง(Tonic seizires) มีการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อมีความตึงตัวมากขึ้น นาน2-10วินาที แขนขาเหยียดตรง เกิดทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไป อาจสั่นจากกล้ามเนื้อหดตัว ผู้ป่วยไม่รู้สติ
ชักตัวอ่อน(Autonic seizures) ชักที่เสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อทันทีทันมดเมื่อเกืดการชัก เวลา1-2วินาทีพบในอายุน้อยกว่า5ปี หรือพัฒนาการช้า
ชักสะดุ้ง(Myoclonic seizures) ชักที่มีการสะดุ้งจากการหดของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและรวดเร็วมาก คล้ายตกใจและชักแต่ละครั้งสั้นมากใช้เวลาไม่กี่วินาที
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis)
ความหมาย
การอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมองชั้นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบๆสมองและไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า5ปี เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus ,Neisseria meningitidis,streptococcys pnuemoniae
มักเกิดช่วงหน้าหนาวเพราะเป็นช่วงที่ระบบค้านทานในระบบทางเดิยหายใจทำงานลดลง เกิดจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ไข้หวัดใหญ่ และเมนิงดดคอคคัส มักเกิดกับเด็กอายุ 2เดือนถึง7ปี มักทำลายให้หูชั้นกลางอักเสบ โพรงอากาศจมูกอักเสบมักระบาดตามสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ติดทางน้ำมูก น้ำลาย ทางเดินหายใจ
อาการและอาการแสดง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะรุนแรง ปวดข้อ ซึมลงจนหมดสติ มีอาการคอแข็ง Kernig sign,Brudzinski signเป็นบวก รีเฟล็กไวเกินมีอาการว่าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3,4,5,6,7,8 ถูกทำลาย Babiskiเป็นบวก
เชื้อเมนิงโกคอคคัสจะตรวจพบผื่นแดงที่ผิวหนัง จุดเลือดออก กระจายทั่วๆไป รวมถึงมีเลือดออกที่ต่อมหมวไตพบ Neutrophil 85-95%ในCSF
การประเมินสภาพ
maningeal Irritation
Babies and Toddlers
ตรวจน้ำไขสันหลัง CSF
ค่าน้ำไขสันหลังปกติ ไม่มีสี
ความดันระหว่า75-180 มม.น้ำ (5-15มม.ปรอท)
ไม่มีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
โปรตีน 15-45mg. /100ml.
กลูโคส 50-75mg./100ml.
Culture&Latax agglutination
ชนิดของ้ยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เฉียบพลันจากแบคทีเรีย พบ กลูโคสต่ำ โปรตีนสูง เซลล์PMNมากกว่า300/mm3
เฉียบพลันจากไวรัส พบ กลูโคสปกติ โปรตีนปกติหรือสูง Mononuclearน้อยกว่า300/mm3
วัณโรค พบ กลูดคสต่ำ โปรตีนสูง MononuclearและPMNน้อยกว่า300/mm3
ไข้กาฬหลังแอ่น(Meningococcal Meningitis)
เชื่อสาเหตุ
แบคทีเรียNeisseria meningitidisเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลม รูปร่างกลม แบ่งเป็น13กรุ๊ป ส่วนมากพบกรุ๊ปA B C Y และ W135
การเก็บและส่งตัวอย่างตรวจ
ชีวเคมีและวิธี PCR
ตรวจหาค่า Minicium inhibitionconcentration (MIC)
วิธี seminested-PCR
ระยะติดต่อ
ผู้แพร่เชื้อ คือ ผู้ที่ไม่มีอาการ และผู้ป่วยสามารถแพร่โรคได้จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในน้ำมูก น้ำลายแล้วโดยปกติเชื้อจะหมดไปจากโพรงจมูกทางด้านหลังภายใน24ชั่วโมงที่ได้ Penicilin อย่างเหมาะสมจะช่วยยับยั้งเชื้อได้ชั่วคราว
วิธีการติดต่อ
คนสู่คน ทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากปากหรือจมูกผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ป่วยมีระยะฟักตัว2-10วัน
กระจายจากช่องปาก ช่องจมูกผ่านระบบทางเดินหายใจ
แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย เชื้อเจริญในนาโซฟาริง ทำให้เกิดการอักเสบเฉพาะที่เล็กน้อย มักไม่มีอาการและมักเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อต่อไป
แพร่เชื้อเข้ากระแสเลือดหรือเป็นพิษ Meningococcemia เชื้อเข้าในกระแสสเลือดโดยเลือดมาหล่อเลี้ยงปลายหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยมีผื่น เลือดออกตามผิวหนัง ถ้ารุนแรงอาจพบเลือดออกทางลำไส้และต่อมหมวกไต
แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ(mENINGITIDID) เกิดอาการเบื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศรีษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้ำเลือดPink macules ช็อกอย่างรวดเร็ว
Meningococcemia
Acute Meningococcemia เกิดอาการเฉียบพลัน ปวดหัว เจ็บคอและไอเป็นอาการนำ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อโดยส่วนมากที่ขาและหลัง อาจมาด้วยไข้ผื่นแดงจ้ำขึ้นตามตัว2-3วัน เป็นสีคล้ำจนเป็นสะเก็ดสีดำ ส่วนมากผื่นเกิดหลังไข้24-48ชั่วโมง
Chronic Meningococcemia พบได้น้อย มักมีไข้ ผื่นตามผิวหนัง อาจเป็นผื่นแดงจ้ำ ปวดข้อเจ็บข้อเป็นเดือน ไข้จะเป็นๆหายๆ
Fulminant Meningococcemia เป็นอย่างรุนแรง ระะไหลเวียนโลหิตไม่ทำงานอาจช็อคถึงเสียชีวิตได้ ในเวลาไม่นานที่มีอาการส่วนมากเริ่มมาจากมีไข้สูงทันที อ่อนเพลียมากแล้วเสียชีวิตเนื่องจากหลอดเลือดตีบทั่วร่างกาย ไม่มีอาการยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การรักษา
Glucocorticiod therapyก่อนให้ยาปฏิชีวนะ15นาที
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone/PGS/choloramphenicol
ประคับประคองตามอาการ
การป้องกันผู้สัมผัสโรค
ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ต้องได้รับRifampicin,ceftriaxoneหรือ ciprofloxacin
การควบคุมป้องกันโรค
ให้ความรู้ประชาชนโดยเลี่ยงสัมผัสละอองน้ำมูก น้ำลาย จากปากหรือจมูกผู้ป่วย ไม่อยู่ที่แออีด เป็นต้น
ใช้วัคซีนป้องกันโรค Serogroup A,C,Yและw135ทั้งผู้ใหญ่และเด็กโต
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปที่มีการระบาดของโรคต้องฉีดวัคซีน
เฝ้าระวังการแพร่กระจายอย่างเข้มงวด
ลดความแออัดหนาแน่น จัดห้องนอนให้มีการระบาย ถ่ายเทอากาศได้ดี
มตราการควบคุมป้องกันโรคระหว่างประเทศ
ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ที่ซาอุดิอาราเบีย ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยทางประเทศซาอุออกกฎผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีดังกล่าวต้องได้รับการฉีดวัคซีนและแสดงเอกสารใบรับรองการฉีดมาแล้วไม่น้อบกว่า10วันและไม่เกิน2ปีก่อนออกเดินทาง
ผู้ที่จะเดินทางไปพื้นที่ที่มีความชุกของโรคเช่น ประเทศแถบแอฟริกากลางและผู้ที่จะไปพื้นที่แออัดควรปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันก่อนเดินทาง
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับความดันในสมองสูง
โรคอุทกเศียร:น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง:ภาวะน้ำคั่งในกระโหลกศรีษะ(Hydrocephalus)
อาการ
ศรีษะโตแต่กำเนิด กระหม่อมหน้าโป่ง ศรีษะโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับทรวงอก ปวดศรีษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
อาการทางคลินิก
หัวบาตร(Cranium enlargement)
หัวโตกว่าปกติเมื่อเทียบกับ Growth curveปกติ
รอยต่อกระโหลกศรีษะแยกออกจากกัน(suture separation)
รอยเปิดกระโหลกโป่งตึง(Fontanelle bulging)
หนังศรีษะบางเห็นเส้นเลือดดำ(Enlargement&engorgement of scalp vein)
เสียงเคาะกระโหลกศรีษะเหมือนหม้อแตก(Macewen sign cracked pot sound )
อาการแสดงถึงการมีความดันในกระโหลกศรีษะสูง(ปวดหัว ตามัว อาเจียน)
ตากลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้(setting sun sign)เนื่องจากถูกกดบริเวณmid brain ที่superior coliculus
ตาเขเข้าในมองไปด้านข้างไม่ได้เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่6 ถูกทำลายมองเห็นภาพซ้อน
รีเฟล็กไวเกิน
การหายในผิดปกติ(Irregular respiration)
พัฒนาการช้ากว่าปกติ
สติปัญญาต่ำกว่าปกติ ปัญญาอ่อน
เด็กเลี้ยงยากไม่รับประทานอาหาร
สาเหตุ
Congenital hydrocephalus ความผิดปกติจากการสร้างน้ำไขสันหลัง
obstructive hydracephalus ความผิดปกติในการอุดกั้นทางเดินน้ำไขสันหลัง
Communicate hydrocephalus ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง
การรักษา
รักษาด้วยยา ยาขับปัสสาวะAcetazolamideช่วยลดการสร้างน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกาย ใส่สายระบาย
โพรงสมองลงช่องท้อง(ventriculo-peritoneal shunt)
โพรงสมองลงช่องหัวใจ(ventriculo-atrial shunt)
โพรงสมองลงเยื่อหุ้มปอด(ventriculo-pleural shunt)
โพรงสมองลงช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง(ventriculo-cistern magna shunt)
โพรงสมองทารกในครรภ์ลงถุงน้ำคร่ำ(Transabdomanal percutaneous ventriculo-amniotic)
สายระบายน้ำในโพรงสมอง(CSF shunt)
ทำV-P shunt venticuloperitonial shhunt
สายระบายน้ำในโพรงสมองประกอบด้วย3ส่วน
1.สายระบายน้ำจากโพรงสมอง(Ventricular shunt) 2.วาล์ว(Valve)และส่วนที่เก็บน้ำหล่อสมอง(Reservoir) 3.สายระบายลงช่องท้อง(peritoneal shunt)
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมองมีการอุดตันหรือระบายมากเกินไป
การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะระบายน้ำในโพรงสมองมากเกิน
การอุดตันสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะสมองตีบแคบ
ไตอักเสบ
การรักษาIICP
รักษาเฉพาะ:รักษาเฉพาะสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น เนื้องอก การอุดกั้นทางเดินน้ำไขสันหลัง
การรักษาเบื้องต้น กรณีที่มีIICPสูงอย่างเฉียบพลัน
จัดท่านอนราบศรีษะสูง15-30องศาเพื่อช่วยให้การไหลเวียนของน้ำไขสันหลังกลับสู่หลอดเลือดดำได้ดีขึ้น
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทอย่างรวดเร็ว ซึม ไม่รู้สึกตัว แพทย์จะใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจเพื่อลดความดันPaco2ในหลอดเลือดแดงให้อยู่ระหว่าง30-35mmhg.
การให้ยาขับปัสสาวะทางหลอดเลือดดำ
Osmotic diuratic ได้แก่20%manital เป็นต้น
furosemideเพื่อลดปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียน
Corticosteriod คือ Dexamethasone
Hypothermia ช่วยลดCerebral metabolismโดยคุมอุณหูมิกายระหว่าง27-31องศา
รักษาความผิดปกติที่เกิดต่อเนื่องจากพยาธิสภาพเดิมหรือเกิดร่วม Hypocephalus: Obstructive, Communicating,ถาวะสมองบวม
Spina Bifida
ชนิด
1.Spina bifida occulta: ผิดปกติกระดูกสันหลังส่วนVetebral arches ไม่รวมตัวกันเกิดเป็นช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลังบริเวฯL5หรือS1สมองและเยื่อหุ้มสมองยังอยู่ในกระดูกสันหลัง
2.Spina bifida cystica: ผิดปกติของการปิดของส่วนโค้งของกระดูกสันหลังทำให้มีการยื่นของขสันหลัง หรือเยื่อหุ้มสมองผ่านกระดูกออกมาให้เห็นเป็นถุงหรือก้อน
2.Myelomeningocele กระดูกสันหลังผิดปกติ มีก้อนยื่นออกมา ก้อนหรือถึงมีเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลังและไขสันหลัง อันตรายอาจเกิดความพิการ ความรุนแรงขึ้นกับตำแหน่ง พบระบบขับถ่ายผิดปกติ เท้าปุก การหดรั้งของข้อ สมองบวมน้ำ
1.Meningocele :ก้อนหรือถุงน้ำประกอบไปด้วยเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลัง ไม่มีเนื้อเยื่อประสาทไขสันหลัง ไขสันหลังอยู่ตำแหน่งปกติ ไม่เกิดอัมพาต
การวินิจฉัย
การซักประวัติ:มารดาไม่ได้รับกรดโฟลิกขณะตั้งครรภ์ ได้ยากันชักประเภทValporic acid
การตรวจร่างกาย: แขนขาอ่อนแรง พบก้อนหรือถุงตามแนวกระดูกสันหลัง
การตรวจพิเศษ: ตรวจระดับalpha fetoproteinขณะตั้งครรภ์ผิดปกติ อาจมีMyelomeningoceleต้องตรวจน้ำคร่ำซ้ำ CTพบความผิดปกติ ใช้ไฟฉายส่องมีก้อนหรือถุง(Transillumunation test)
การรักษา
spina bifida occultaไม่จำเป็นต้องรกษาแต่ชนิดCysticaต้องผ่าตัดใน24-48ชั่วโมงภายหลังการเกิด เพื่อลดการติดเชื้อ หลังผ่าตัดขึ้นกับความรุนแรงของโรคหรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก มักทำ PV shuntภายหลังทารกมักต้องผ่าตัดหลายครั้ง
การป้องกัน
ให้หญิงตั้งครรภ์ทานกรดโฟลิค
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่่่อง
อาการสำคัญ
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น หายใจไม่มีประสิทธิภาพ การดูดกลืนบกพร่อง เลี้ยงไม่โต ข้อติดแข็ง พัฒนาการล่าช้า
ประวัติสมองขาดออกซิเจน นึกถงCerebral palsy
Cerabral palsy
ความหมาย
ความบกพร่องทางสมองทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ทารทรงตัว
ชนิด
1.ชนิดกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Splastic)
splasticquadriplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง2ข้าง คอและลำตัวอ่อนผิดปกติ ศรีษะเล็ก น้ำลายไหล
splastic diplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง2ข้าง ขาเป็นมากกว่าแขน
splastic hemiplegiaผิดปกติที่แขนขาีกใดซีกหนึ่ง
2.Extrapyramidol cerebral palsy การเคลื่อนไหวผิดปกติตลอดเวลาขณะตื่น บังคับส่วนต่างๆของร่างกายไปทิศทางที่ต้องการไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
3.Ataxia cerebral palsy มีเดินเซ ล้มง่าย กล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ทรงตัวไม่ดี สติปัญญาปกติ
4.Mixed type หลายอย่างรวมกัน
อาการและอาการแสดง
มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า โดยเฉพาะด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัวผิดปกติ
ปัญญาอ่อน
อาการร่วม เช่น ชัก หูหนวก ตาบอด การพูดผิดปกติ
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ:มารดาติดเชื้อขณะคลอด เช่น หัดเยอรมัน คลอดท่าก้น เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าวัย
ประเมินร่างกาย: เส้นรอบศรีษะไม่เพิ่ม ท่าทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ พัฒนาการไม่เป็นตามวัย
เป้าหมายของการพยาบาลเด็กที่ไม่รู้สึกตัว
5.ให้ความรู้และคำแนะนำ
รับประทานให้ครบ5หมู่
ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่ววยเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหมที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ
พักผ่อนให้เพียงพอ
สุขวิทยาทั่วไป ระบบขับถ่าย ระวังท้องผูก
ตรวจสุขภาพตามนัดทุกครั้งหากมีอาการผิดปกติให้มาก่อนนัด เช่น ชักมากขึ้นทั้งที่ไม่ขาดยา
แพทย์จะเจาะเลือดหาระดับยากันชัก แนะนำงดยากันชักมื้อเช้าก่อนเจาะเลือด
4.ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการไม่เคลื่อนไหว
การขับถ่าย
ดูแลให้ได้รับน้ำเพียงพอและสอดคล้องแผนการรักษา
ถ้ามีสายสวนปัสสาวะ ต้องดูแลทำความสะอาดให้เพียงพอ
ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งที่ขับถ่ายอุจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ยาระบายเพื่อป้องกันท้องผูกตามแผนการรักษา
ประเมินหน้าท้องเพื่อตรวจสอบกระเพาะปัสสาวะตึงหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ
หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก2ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีความดันสมองสูงป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ปอดเช่น ปอดอักเสบ
ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจเข้าใกล้ชิดเด็ก
ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสเด็ก
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
สังเกตประเมินอาการบ่งชี้ของการระคายเคืองหรืออักเสบของตา
อาจใช้ผ้าปิดตาเพื่อไม่ให้ตาแห้ง
ถ้าตาแห้งอาจใช้น้ำตาเทียม
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆตรวจความผิดปกติของผิวหนัง
หมั่นเปลี่ยนท่านอน พลิกตะแคงตัวบ่อยๆป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ดูแลทำความสะอาดและชุ่มชื้นตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ศรีษะส่วนท้ายทอย แนวกระดูกสันหลัง ส้นเท้า
ทาครีมบำรุงและนวดผิวหนังทุกวันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ฝีเย็บและทวารหนักให้สะอาดหลังการขับถ่ายทุกครั้ง
3.การดูแลขั้นพื้นฐาน
ด้านอาหาร
ให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามสภาวะของบุคคล
รับอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
บันทึกปริมารน้ำดื่ม และปัสสาวะ
ชั่งน้ำหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
การได้รับยากันชัก
รับประทานยาสม่ำเสมอต่อเนื่องตามเวลา ห้ามหยุด เพิ่มหรือลดยาเอง
ถ้าลืมกินยาวันเดียวกันให้กินทันทีที่นึกได้
ลืมข้ามวันแล้วชักให้รีบพบแพทย์
ลืมข้ามวันไม่มีอาการให้ทานยาต่อ ถ้าลืมแล้วอาเจียนในครึ่งชั่วโมง ให้ทานยาซ้ำขนาดเดิม ถ้าเกินครึ่งชั่วโมงไม่ควรได้ยาซ้ำอีก
ห้ามซื้อยาทานเองหากไม่สบาย
2.แรงดันภายในสมอง ไม่เพิ่มขึ้น
จัดเด็กนอนศรีษะสูง15-30องศา
หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่ทำให้เกิดแรงดันภายในสมองเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ การก้มหรือแหงนหน้าไปด้านหลังอย่างเต็มที่ การหมุนศรีษะไปมา การกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด การดูดเสมหะเป็นต้น
จัดท่านอนให้สะโพกงอไม่เกิน90องศา
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
ถ้าพบเด็กแสดงการเจ็บปวด เช่น กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตรการหายใจเพิ่ม แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น ความอิ่มตัวออกซิเจนลดลงพยาบาลต้องดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
วางแผนการพยาบาลให้รบกวนเด็กน้อยที่สุด
ติดตามอาการที่บ่งชี้ว่าเด็กเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง วัดรอบสรีษะทุกวัน สังเกต จดบันทึกพฟติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก
1.ระบบหายใจ
การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
จัดท่านอนโดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปากเพราะเด็กอาจสำลักได้
ดูดเสมหะเป็นระยะๆ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจเพื่อช่วยเหลือทันที
บทบาทพยาบาลในการดูแลเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท
รวบรวมข้อมูลสุขภาพ
ประเมินสัญญาณชีพ
ประเมินทางระบบประสาท ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัว การสื่อสารทางคำพูด การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การลืมตา และรูม่ายตา
การตรวจพิเศษต่างๆ เช่น การตรวจน้ำไขสันหลัง การตรวจคลื่นสมอง MRIเป็นต้น
ดูแลเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท
ให้คำแนะนำบิดามารดาและผู้ดูแลเด็กโรคระบบประสาท