Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พิษสุนัขบ้า(การตรวจทางห้องปฏิบัติการ) - Coggle Diagram
พิษสุนัขบ้า(การตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
เมื่อสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าตายลงให้ตัดหัวหรือถ้าสัตว์นั้นมีขนาดเล็กให้ส่งตรวจได้ทั้งตัว ใส่ถุงพลาสติกให้มิดชิด ห่อด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น และใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ปิดปากถุงให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายจากนั้นนำใส่ในภาชนะเก็บความเย็นที่บรรจุน้ำแข็ง
ปิดฉลาก ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ผู้ส่งตรวจ และวัน เดือน ปี ที่เก็บตัวอย่างส่งตรวจให้ชัดเจน รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
สิ่งที่ต้องระวังคือผู้ที่ตัดหัวสัตว์ต้องไม่มีแผลที่มือ และต้องใส่ถุงมือยางหนา ซากสัตว์ที่เหลือให้ฝังดินลึกประมาณ 50 ซม. มีดที่ใช้ตัดหัวสัตว์ เครื่องมือที่ใช้ ต้องต้มในน้ำเดือด 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ และบริเวณที่ตัดหัวสัตว์ต้องล้างทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่
1.1 น้ำลาย : เก็บโดยวิธี Suction จากบริเวณต่อมน้ำลาย หรือเก็บจากน้ำลายที่ไหลออกมา ใส่ภาชนะปราศจากเชื้อประมาณ 5-10 มล.
1.2 ปัสสาวะ : เก็บใส่ในภาชนะปราศจากเชื้อ ประมาณ 20 มล.
1.3 น้ำไขสันหลัง : เก็บน้ำไขสันหลังประมาณ 3-5 มล. ใส่ภาชนะปราศจากเชื้อ
ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว
เก็บเนื้อสมองส่วน Hippocampus และ Brain stem ใส่ภาชนะปราศจากเชื้อ
วิธีตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาแอนติเจนต่อเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าด้วยวิธี Fluorescent Antibody Test (FAT)
เป็นวิธีการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในตัวอย่างโดยอาศัยปฏิกริยาของแอนติบอดีที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสงจับกับแอนติเจนที่จำเพาะของไวรัสพิษสุนัขบ้าในเนื้อสมอง สามารถตรวจสอบโดยดูจากกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์
ตรวจยืนยันด้วยการแยกเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า
ในกรณีที่ผลการตรวจหาแอนติเจนด้วยวิธี FAT เป็นลบ สามารถตรวจยืนยันได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้
2.1 Mouse Inoculation Test (MIT)เป็นการตรวจยืนยันโรคพิษสุนัขบ้าโดยนำตัวอย่างมาฉีดเข้าในสมองหนูทดลอง และตรวจสอบดูอาการของหนูทดลอง ในช่วงหลังจากฉีด 5 -30 วัน ถ้าหนูทดลองแสดงอาการป่วยและตายจะเก็บเอาสมองหนูทดลองนั้นมาตรวจสอบด้วยวิธี FAT
2.2 Cell Isolation เป็นการตรวจยืนยันอีกวิธีหนึ่งโดย นำตัวอย่างมาเพาะลงในเซลล์เพาะเลี้ยง Mouse Neuroblastoma (MNA) แล้วอบไว้ เมื่อครบเวลา จึงนำเซลล์เพาะเลี้ยงมาตรวจสอบด้วยวิธี FAT วิธีนี้ให้ผลได้รวดเร็วกว่าวิธี MIT
ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสพิษสุนัขบ้าโดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR)
ใช้เป็นวิธีพิเศษในกรณีที่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจหาแอนติเจน และ วิธีการแยกเชื้อ ไวรัส หรือ กรณีตัวอย่างที่ไม่ใช่เนื้อสมอง
4.ตรวจหาระดับนิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดี
เป็นวิธีการตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อโรคพิษสุนัขบ้าในน้ำเหลืองของผู้ที่ได้รับวัคซีน จะใช้ประกอบกับวิธีอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคมีวิธีตรวจ 2 วิธี
4.1 Mouse Neutralization Test (MNT)เป็นการตรวจโดยนำเอาน้ำเหลืองตัวอย่างมาเจือจาง และ เติม Challenge Virus Strain แล้วนำไปฉีดเข้าหนูทดลองและตรวจสอบดูว่ามีหนูตายหรือรอดชีวิตเท่าใด จากนั้น นำมาคำนวณ หาค่าระดับแอนติบอดี
4.2 Rapid Fluorescent Focus Inhibition Test (RFFIT)หลักการเดียวกับวิธี MNT แต่จะนำมาทดสอบใน เซลล์เพาะเลี้ยง BHK21 แทนการฉีดหนู