Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด, นางสาวธนภรณ์ ไตรทิพย์ เลขที่ 51 ห้อง A…
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
การตรวจสอบสัญญาณชีพจร
ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เมื่อรับย้ายจาก LR ควรประเมินสัญญาณชีพ ทั้ง BT, PR และ BP ทุก 4 ชั่วโมง
ถ้าพบว่ามีไข้ต่ำๆ ควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ และประเมิน BT อย่างน้อยวันละครั้ง *ยกเว้น ในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์หรือมีการประเมิน V/S บ่อยขึ้น
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
และการเปลี่ยนผ้าอนามัย
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยสบู่และน้ำสะอาดโดย
ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากทวารหนัก และซับให้แห้งหลังขับถ่าย
เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกเปียกชุ่มหรือทุกครั้งหลังขับถ่าย และล้างมือก่อนและหลังจับผ้าอนามัยทุกครั้ง
วิธีจับผ้าอนามัย ควรจับกับด้านที่ไม่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์ ใส่และถอดผ้าอนามัยจากด้านหน้าไปด้านหลัง โดยใส่ให้กระชับไม่เลื่อนไปมา เพราะอาจนำเชื้อโรคจาก ทวารหนักมายังช่องคลอดได้
สังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลาขณะขับถ่ายและเปลี่ยนผ้าอนามัย
การดูแลแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา
การประเมินแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ควรประเมินอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้หลักการ REEDA
การบรรเทาความไม่สุขสบายจากการปวดแผลฝีเย็บ
การบรรเทาอาการปวด (afterpains)
อธิบายให้ทราบว่าอาการปวดมดลูกเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ใน 1-2 วันแรกหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาครรภ์หลังที่มีอาการปวดมากกว่าครรภ์แรก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง กระตุ้นปัสสาวะทุก 3 – 4 ชั่วโมง
แนะนำให้นอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกด เป็นการกระตุ้นให้มดลูก หดรัดตัว และน้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก
ห้ามประคบความร้อนบริเวณหน้าท้องในวันแรก เพราะมดลูกจะคลายตัวและทำให้เกิด PPH ตามมา
รับประทานยาแก้ปวดก่อน BF อย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดมดลูกมาก
ส่งปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดมดลูกมากกว่าปกติ และนานมากกว่า 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาจมีเศษรก และก้อนเลือดค้างในโพรงมดลูก
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
และการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทันทีที่รับย้ายจาก LR ควรประเมินการหดรัดตัว ของมดลูกทุก 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อมดลูกหดรัดตัวดีแล้ว
ควรประเมิน Bladder full ร่วมด้วย ถ้ามดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา เช่น methergin และ syntocinon
การประเมินการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก ควรทำภายหลังมารดาคลอดทางช่องคลอดครบ 24 ชั่วโมง ประเมินโดยการวัดความสูงของมดลูกทุกวัน (ควรลดลงวันละ 0.5-1 นิ้วฟุต หรือ 1 FB)
การขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
การขับถ่ายปัสสาวะ
เบื้องต้นช่วยเหลือในการราดน้ำอุ่นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือเปิดน้ำ
ถ้า 4-8 ชั่วโมงหลังคลอด ยังไม่สามารถปัสสาวะได้เอง และกระเพาะปัสสาวะเต็มหรือถ่ายปัสสาวะเองไม่หมด ต้องสวนปัสสาวะทิ้ง (singer catheter) ถ้าปัสสาวะไม่ออกเกิน 8 ชั่วโมง ต้องสวนปัสสาวะและติดตามความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ
ถ้ามีปริมาณน้ำปัสสาวะค้างมากกว่า 100- 150 ml. อาจพิจารณาคาสายสวนปัสสาวะคาไว้ 12 – 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานปกติ
การขับถ่ายอุจจาระ
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และขับถ่ายเป็นเวลา
กระตุ้นให้เกิด early ambulation และบริหารร่างกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการท้องผูก 3- 4 วัน และมารดารู้สึกท้องอืด ให้ยาระบายอ่อนๆ หรือสวนอุจจาระ
ดูแลบรรเทาอาการริดสีดวงทวารในช่วง 2 – 3 วันแรก โดยทำ hot sitz bath นอนในท่า sim’s position เพื่อช่วยการไหลเวียนของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักดีขึ้น
ดูแลให้ยาเหน็บทางทวารหนัก หรือให้ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวตามแผนการรักษา
การควบคุมน้ำหนักในมารดาหลังคลอด
มารดาหลังคลอดไม่ควรลดน้ำหนักก่อน 6 สัปดาห์ และไม่ควรลดน้ำหนักมากกว่า 2 กก./เดือน เพื่อให้ร่างการฟื้นฟูจากการคลอดและมีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ
การลดน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กก./เดือน จะไม่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนมลดลง
แต่ในขณะควบคุมน้ำหนักควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ทั้งนี้การควบคุมน้ำหนักจะได้ผลดีควรกระทำร่วมกับการออกกำลังกาย
การกระตุ้นให้มี early ambulation
ประเมินความพร้อม ของร่างกายและให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมารดาอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะและเป็นลม
ส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเริ่มปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเบาๆ ในระยะแรกหลังคลอด
มารดาที่ต้องนอนบนเตียงนานเกิน 8 ชั่วโมง แนะนำให้บริหารเท้าและขา กระดกปลายเท้าขึ้นลงสลับกัน หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม งอขาและเหยียดขาสลับกัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทำงานหนัก เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องสูงขึ้น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่แข็งแรง อาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำได้
ควรเริ่มทำงานบ้านเบาๆ ได้ภายหลัง 2 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนงานหนักควรเริ่มทำภายหลัง 6 สัปดาห์หลังคลอด
ส่งเสริมการนอนหลับผักผ่อน
ให้คำแนะนำมารดาในการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาหารที่ทำให้ท้องอืด
แนะนำให้มารดาหลังคลอดปรับเปลี่ยนเวลานอน เช่น ให้นอนหลับพักผ่อนพร้อมบุตรหรือหาบุคคลอื่นช่วยดูแลบุตรเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
ปรับกิจกรรมการพยาบาลอย่างเป็นระบบ รบกวนมารดาน้อยที่สุด เพื่อให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ และส่งเสริมการพักผ่อน
การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด คือ จนกระทั่งมารดาตรวจร่างกายแล้ว
การมีเพศสัมพันธ์อาจจำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น และเลือกใช้ท่าที่เหมาะสม สามารถควบคุมได้ เนื่องจากหลังคลอดช่องคลอดจะค่อนข้างแห้ง
มารดาสามารถให้นมบุตรก่อนมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะส่งผลให้มีการหลั่งของน้ำนมได้
4 - 6 สัปดาห์นี้ แผลโพรงมดลูกและแผลฝีเย็บต้องการเวลา เพื่อให้แผลหายสนิทและไม่มี การติดเชื้อตามมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ระยะหลังคลอดช่องคลอดจะค่อนข้างแห้ง และการมีเพศสัมพันธ์อาจมีน้ำนมไหลออกมาเนื่องจากมีการหลั่ง Oxytocin
อาหารสมุนไพรเร่งน้ำนม
ปลีกกล้วย
เหง้าขิง
เมล็ดของลูกซัด
การบริหารร่างกายของมารดาหลังคลอด
มารดาหลังคลอดปกติ ควรเริ่มบริหารร่างกายภายใน 24 ชม.แรก สำหรับมารดา C/S อาจเริ่มช้ากว่านี้
ควรบริหารวันละ 20-30 นาที จนครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด
มารดาควรปัสสาวะและให้นมบุตรอิ่มก่อนเริ่มบริหาร
กรณีรู้สึกเหนื่อยมาก ปวดแผลมาก น้ำคาวปลาไหลมาก หรือ หน้ามืดให้หยุดพัก และลดระยะเวลา ความแรงในการบริหารร่างกายในครั้งถัดไป
ที่มา
ชีทประกอบการเรียนบทที่ 5 การส่งเสริมการพยาบาลในระยะหลังคลอด อาจารย์ทัศน์วรรณ สุนันต๊ะ
นางสาวธนภรณ์ ไตรทิพย์ เลขที่ 51 ห้อง A รหัสนักศึกษา 613020110607