Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อ, สุนัดดา ธรรมาธิกุล…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อ
โรคติดเชื้อผิวหนัง
กลากน้ำนม
สาเหตุ
กลากน้ำนมเกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) ที่ชั้นหนังกำพร้าไม่สามารถสร้างเม็ดสี (Pigment) ได้ตามปกติ จึงทำให้ผิวหนังในส่วนนั้นกลายเป็นรอยด่างขาว สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากการแพ้แสงแดด แพ้คลอรีน อาการนี้พบบ่อยในเด็กที่ว่ายน้ำในสระกลางแดดจ้า
อาการ
1.ระยะเริ่มแรกรอยโรคจะเกิดเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ก่อน อาจมีอาการคันร่วมด้วย
2.จุดแดงนี้จะแผ่ขยายเป็นวงสีแดงหรือสีชมพูจาง ๆ ขนาดตั้งแต่ 0.5-4 เซนติเมตร มีขุยบาง ๆ
3.จุดแดงจางลงทำให้เห็นเป็นวงสีขาว ๆ มีขุยบาง ๆ ติดอยู่ โดยรอยโรคจะมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ขอบเขตไม่ชัดเจน ขอบมักจะค่อย ๆ กลืนไปกับสีผิวหนังปกติ
การรักษาและป้องกัน
ถ้าเป็นผื่นแพ้คลอรีน อาจใช้ prednisolone 1% ทาบาง ๆ และหลีกเลี่ยงคลอรีน
แนะนำว่าไม่มีอันตราย พบว่าหายเองได้
หลีกเลี่ยงแสงแดด และการตากลม
ถ้าผิวหนังแห้ง ทาครีม โลชั่นหรือวาสลินบาง ๆ
5.การอาบน้ำหรือการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็นรอยโรค ควรใช้สบู่อ่อน ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน
อาบน้ำอุณหภูมิปกติหรืออุ่นพอประมาณ ไม่อุ่นมากจนเกินไป
โรคติดเชื้อป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ไข้สุกใส
สาเหตุและการติดต่อ
สาเหตุ
จากเชื้อไวรัส varicella virus ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับเชื้องูสวัด (varicellr zoster virus)
การติดต่อ
1.จากการสัมผัสเชื้อจะอยู่ในตุ่มพองใส
จากการแพร่กระจายเชื้อทางระบบทางเดินใจ
สะเก็ดของไข้สุกใสอาจสามารถแพร่เชื้อได้ในระยะที่มีการติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือดก่อนแสดงอาการของโรค
4.จากการผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้
ระยะติดต่อของไข้สุกใสคือ 1 วัน ก่อนผื่นขึ้นถึงประมาณ 7 วันหลังผื่นขึ้น หรือจนกว่าผื่นจะตกสะเด็ก
อาการ
ในเด็กมักจะมีผื่นพร้อม ๆ กับมีไข้ มักเป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่อาจจะมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหารนำมาก่อน 1-2 วันจึงจะมีผื่นขึ้น
อาการไข้ จะเป็นไปตามความรุนแรงจะสัมพันธ์กับอาการแสดงของผื่น ถ้ามีผื่นน้อยอาจไม่เป็นไข้หรือเป็นไข้ต่ำ
ผื่น เริ่มจากผื่นลักษณะแบนราบ (macule) สีแดง ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มนูน (papule) อย่างรวดเร็วภายใน 8-12 ชั่วโมง ต่อมาตุ่มนูนเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส (vesicle)ซึ่งจะมีผนังที่บางและแตกได้ง่าย รูปร่างกลมหรือหยดน้ำ ตุ่มหนอง (pustule) และตกสะเก็ด (crust) ตามลำดับ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วร่างกาย
ทารกแรกเกิด
1.ได้รับเชื้อขณะมารดาตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ทารกมีโอกาสเกิดไข้สุกใส ตั้งแต่กำเนิด (congenital varicella syndrome) ทารกจะมีความผิดปกติทางผิวหนัง เป็นแผลกระจายตาม dermatome และอาจมีความผิดปกติของตาร่วมกับความผิดปกติของสมอง
2.ได้รับเชื้อจากมารดาในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนคลอด โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับระยะเวลาที่มารดาเป็นไข้สุกใส ถ้ามารดาเป็นไข้สุกใสภายใน 5 วันก่อนคลอด ทารกจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมารดายังสร้างภูมิต้านทานมายังทารกไม่ทัน โดยทารกจะมีอาการทางผิวหนัง เช่นเดียวกับเด็กโต รวมทั้งอาจมีความผิดปกติทางสมองได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ตุ่มน้ ากลายเป็นหนองและอาจทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อยคือ ปอดอักเสบและสมองอักเสบ
การรักษา
ให้ Antihistamine และยาทา Calamine Lotion เมื่อมีอาการคัน
ใช้หลัก Airborne precautions และ ควรพักผ่อนอยู่บ้านจนตุ่มแผลแห้ง
รักษาความสะอาดของเล็บและผิวหนัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตุ่มแผล ไม่แกะเกาแผล
ให้ยาปฏิชีวนะ ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรีย
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน เพราะอาจก่อให้เกิด Reye’s syndrome ซึ่งมีอาการสมองและตับอักเสบรุนแรง
ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัวและรับประทานยาพาราเซลตามอล
โรคติดเชื้อที่ไม่สามารป้องกันได้ด้วยวัคซีน
เอดส์
สาเหตุ
ระหว่างการตั้งครรภ์ เอชไอวีจากมารดาเข้าสู่ระบบไหลเวียนของทารกในครรภ์โดยผ่านทางรกตั้งแต่อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ระหว่างการคลอด ทารกจะสัมผัสกับเลือด น้ำคร่ำ สารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
หลังคลอด ติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของมารดาซึ่งส่วนใหญ่คือน้ำนมของมารดา
อาการ
จำแนกตามความรุนแรง
กลุ่มที่เกิดอาการเจ็บป่วยรวดเร็วและรุนแรง
อาจมีอาการตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ได้แก่ เลี้ยงไม่โต มีเชื้อราในช่องปาก อุจจาระร่วงเรื้อรัง ปอดอักเสบ เป็นต้น ทารกจะได้รับเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา และไวรัสทำลายการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน
กลุ่มที่มีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป
ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า มีอาการคือ น้ำหนักตัวน้อย ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดอักเสบ ต่อมน้ำลายอักเสบ ผื่นคันบริเวณผิวหนัง เป็นต้น
จำแนกตามอาการ
A: ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 2 ตำแหน่ง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเรื้อรัง
B: ซีด นิวโตรฟิวหรือเกล็ดเลือดต่ำ ติดเชื้อรุนแรง เป็นฝ้าขาวในปากนานเกิน 2 เดือนในเด็ก อุจจาระร่วงบ่อยๆ หรือเรื้อรังตับอักเสบ ติดเชื้อ Herpes simplex virus (HSV) มีไข้นานเกิน 1 เดือน
C: ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรงเกิน 2 ครั้งภายในเวลา 2 ปี เช่น ติดเชื้อในกระดูก ติดเชื้อ candidiasis ในทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจส่วนล่าง มีภาวะหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กอายุมากกว่า 1 เดือน มีพยาธิสภาพที่สมอง
N: ไม่มีอาการ
การรักษา
หลักการรักษา
1.ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARVs) และอาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น
2.ให้ยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
3.รักษาภาวะแทรกซ้อนเช่น การติดเชื้อฉวยโอกาส
4.การให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
ให้ยารักษาโรคอื่นๆ ตามอาการ
การให้คำแนะนำ
1.หลีกแหล่งชุมชนแออัดหรือ สถานที่ที่มีเชื้อโรค
2.รับประทานยาอย่าสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
3.ดูแลเรื่องทัศนคติและ อัตมโนทัศนของผู้ป่วย
4.สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
สุนัดดา ธรรมาธิกุล 611001056 เลขที่ 56