Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัด (Measles หรือ Rubeola), นางสาวชลลดา จงอักษร รหัส 611001011 เลขที่ 12 …
หัด (Measles หรือ Rubeola)
ความหมาย
เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบบ่อยในเด็กเล็ก พบได้ประปรายตลอดปีส่วนใหญ่พบในช่วงอากาศหนาว วัยที่เด็กมักเป็นโรคหัด คือ 8 เดือน ถึง 5 ปี แต่พบน้อยมากในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันซึ่งได้รับจากมารดาผ่านทางรกหลงเหลืออยู่ เว้นแต่กรณีมารดาไม่เคยเป็นโรคหัดมาก่อน
อาการและอาการแสดง
(ระยะฟักตัว หลังจากติดเชื้อประมาณ 8 - 12 วัน จะเริ่มมีอาการของโรค)
2. ระยะออกผื่น
ระยะนี้นาน 2 – 3 วัน อาการมักรุนแรงและหนักช่วง 3 – 5 วันหลังจากไข้จะเริ่มมีผื่นขึ้น อาการต่างๆ ที่เริ่มในระยะแรกจะมีความรุนแรงที่สุดในระยะนี้ ไข้สูง ตาแดงจัด น้ำตาไหล กลัวแสงสวาง (photo - phobia) อาจไมมีทุกราย เยื่อบุกระพุ้งแก้มอาจจะลอกเป็นแผล อาการหวัดและไอรุนแรงขึ้น
ลักษณะผื่นเปนผื่นนูนแดงเม็ดเล็ก ๆ คล้ายผดอยูรวมกันเป็นกลุม (Maculopapular rash) โดยขึ้นที่หลังหู ไรผม หน้าผาก ใบหน้า แล้วลามลงมาตามคอ หน้าอก ลำตัว แขนและขา ตามลำดับ การลามของผื่นจากศีรษะถึงเท้าหรือระยะที่ผื่นขึ้นเต็มที่ใชเวลาประมาณ 2 3 วัน หลังจากนั้นผื่นที่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำอาจจะมีอาการคันขณะที่มีผื่นขึ้นได้
3. ระยะพักฟื้น
ประมาณวันที่ 5 – 8 ของโรค ซึ่งเป็นวันที่ผื่นขึ้นเต็มที่แล้ว หากไมมีภาวะแทรกซ้อนไข้จะลดลงและหายภายใน 72 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น ผื่นจะค่อย ๆ จางลงเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีคลํ้าขึ้น บางครั้งจะลอกเป็นแผ่นบางๆ เริ่มจากหนามาถึงหลังเท้าทำให้ดูตัวลาย (hyperpigmentation) จากนั้น และหายไปภายใน 7 -10 วัน หรืออาจใช้เวลานานถึง 1 เดือน
1. ระยะก่อนผื่นขึ้น
ช่วง 3 – 5 วัน เริ่มแรกเด็กจะมีไข้สูง มีการหวัด คือ ไอ นํ้ามูกไหล ตาแดง ตาแฉะมีขี้ตามาก จะตรวจพบ Koplik’s spot ที่กระพุ้งแก้มด้านในบริเวณใกล้ฟันกรามล่างหรือ ฟันกรามด้านบนสองซี่สุดท้าย มีลักษณะเป็นจุดขาวเล็กๆ ขนาดเทาหัวเข็มหมุด ล้อมรอบด้วยผื่นแดง ซึ่งจะหายไปหลังจากผื่นขึ้นแล้ว 1 - 2 วัน
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูกหรือปากและแพร่ไปตามต่อมนํ้าเหลือง เข้าสู่กระแสเลือดและไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม ไขกระดูก แล้วกลับออกมาในกระแสเลือดอีกครั้ง ทำให้มีอาการทั่วร่างกาย
การป้องกัน
แยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหัดจนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ในเด็กที่สัมผัสกับผูปวยโรคหัด
2.1 เด็กที่อายุตํ่ากว่า 6 เดือน หรือเด็กที่เคยเป็นโรคหัด ให้การดูแลตามอาการ
2.2 เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือน และไม่เคยเป็นโรคหัดมาก่่อน
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจาก Measles virus ติดต่อทางการหายใจ โดยการไอ จาม รัดกัน หรือสัมผัสนํ้ามูกนํ้าลาย เสมหะ หรือปัสสาวะและเลือดของผู้ป่วย
ระยะที่ติดต่อได้ง่ายอยู่ในช่วงก่อนผื่นขึ้น 3 - 5 วัน จนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้นแล้ว
การวินิจฉัย
2.ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหา antibody ต่อ measles โดยการเจาะเลือด
ตรวจในระยะที่มีผื่น และครั้งที่สองห่างไป 2 - 4 สัปดาห์
ตรวจนับเม็ดเลือดขาว วันแรกของโรคอาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเล็กน็อย มี neutrophile สูง เมื่อมีผื่นขึ้นจำนวนเม็ดเลือดขาวมักปกติและมี lymphocyte สูงขึ้น
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
มักพบตอมนํ้าเหลืองที่ขั้วปอดโตมี perihilar และ peribronchialinfiltration ในรายที่มีปอดบวมแทรกซ้อน
จากประวัติการสัมผัสโรค และอาการทางคลินิก
ตรวจในระยะ 1 - 2 วันก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดสีขาวๆ เหลือง ขอบมีสีแดงขนาดเล็กๆเท่าหัวเข็มหมุดที่กระพุ้งแก้มด้านในบริเวณใกล้ฟันกรามล่าง
ลักษณะการเกิดผื่นในวันที่ 5 และการแพร่กระจายของผื่นจากหน้าไปยังแขนขา
ไข้สูง 38.5 40.5 องศาเซลเซียส หรือบางรายอาจสูงกว่านี้
การรักษา
ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง เช่น ยาลดไข้ Paracetamol ร่วมกับการเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในรายที่มีอาการท้องเสียอาจให้ดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย ในรายที่มีตาอักเสบดูแลไม่ให้ถูกแสงจ้ามากเกินไป รักษาตามอาการแทรกซ้อนที่ปรากฏ อาจให้วิตามินเอเพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามินเอที่อาจเกิดตามมา
ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่ระยะแรกเพราะไม่มีความจำเป็น แต่อาจใหยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีภาวะแทรกซอนจากแบคทีเรีย
การพยาบาลที่สำคัญ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยแยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหัดจนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น
ทำความสะอาดตาอย่างน้อยทุก 8 ชม. เพื่อลดการระคายเคืองหรือป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ดูแลให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะชักจากไข้สูง
ประเมินอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
ดูแลให้ได้รับอาหารและนํ้าอยางเพียงพอ
ภาวะแทรกซ้อน
ปอดอักเสบ
สมองอักเสบ
ช่องหูอักเสบ
อุจจาระร่วง
นางสาวชลลดา จงอักษร รหัส 611001011 เลขที่ 12