Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเอดส์(AIDS), เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวี แล้วทำให้ T helper…
โรคเอดส์(AIDS)
-
สาเหตุและภาวะแทรกซ้อน
-
-
-
ภาวะแทรกซ้อน
-
2.โรคคริปโตค็อกคัสในระบบประสาท เป็นการติดเชื้อราที่ทำให้เยื่อหุ้มบริเวณสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง
-
4.อุจจาระร่วงจากโปรโตซัว โปรโตซัวเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่รบกวนระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้
5.เริม โรคผิวหนังที่เกิดการอักเสบบริเวณปากหรืออวัยวะเพศจากการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดแผลอักเสบรุนแรงขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในภาวะเอดส์
-
-
8.การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส ทำให้มีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตาจนอาจนำไปสู่การตาบอด เกิดแผลเป็นหนองอักเสบ และอาการท้องร่วงรุนแรงได้ด้วย
9.โรคมะเร็ง เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชไอวี จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งลามไปทั่วต่อมน้ำเหลือง ทั้งบริเวณลำคอ รักแร้ หรือตามข้อพับต่าง ๆ นอกจากนี้ ในบางรายอาจเป็นมะเร็งหลอดเลือดคาโปซี ที่เกิดเซลล์เนื้อร้ายก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อผนังหลอดเลือด เกิดเป็นบาดแผลสีแดง หรือสีม่วงตามผิวหนัง
-
ความหมาย
เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) เป็นภาวะป่วยขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้กำจัดการติดเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย จึงเกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดรักษาเอดส์ให้หายขาด มีเพียงแต่ยาที่ช่วยชะลอการพัฒนาโรคและลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์ หากผู้ติดเชื้อรู้ตัวและได้รับการรักษาแต่แรกเริ่ม ก็อาจช่วยไม่ให้การติดเชื้อเอชไอวีลุกลามไปสู่ระยะที่เป็นเอดส์ได้
เอดส์ เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและการเกิดเนื้องอกบางชนิด เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งมีเชื้อ เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ
อาการเเละการรักษา
-
การรักษา
ในการรักษาเอดส์นั้น ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาใดที่จะกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปได้ แต่มียาที่จะช่วยชะลอการพัฒนาของโรค คือ ยาต้านเอชไอวี หรือยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARVs) ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาภายใต้การพิจารณาการตอบสนองต่อยาแต่ละชนิด และจะจ่ายยารักษาทันทีเมื่อปริมาณของ CD4 อยู่ที่ระดับ 350 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร หรือต่ำกว่า
ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARVs) จะช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์ของไวรัสมีการแบ่งตัวขยายตัวแล้วแพร่กระจายลุกลามไปสร้างความเสียหายแก่เซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณอื่น ๆ ต่อไปได้
1.Non-nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs): ได้แก่ ยาเอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) และเนวิราปีน (Nevirapine)
2.Nucleoside หรือ Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) เช่น ยาอาบาคาเวียร์ (Abacavir) ยาที่ใช้ร่วมกันอย่างทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) กับเอ็มตริไซตาบีน (Emtricitabine) และลามิวูดีน (Lamivudine) กับซิโดวูดีน (Zidovudine)
3.Protease Inhibitors (PIs): ยายับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส เช่นยาอะทาซานาเวียร์ (Atazanavir) และอินดินาเวียร์ (Indinavir)
ยากลุ่มใหม่
1.Entry หรือ Fusion Inhibitors: ยายับยั้งไม่ให้ไวรัสจับตัวหรือเข้าสู่เซลล์เป้าหมาย (เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4) เช่น เอนฟูเวอไทด์ (Enfuvirtide) และมาราไวรอค (Maraviroc)
2.Integrase Inhibitors: ยายับยั้งกระบวนการทำงานของเอนไซม์อินทีเกรส เช่น ราลทีกราเวียร์ (Raltegravir) เอลวิทีกราเวียร์ (Elvitegravir) และโดลูทีกราเวียร์ (Dolutegravir)
-
พยาธิสรีรวิทยา
เชื้อเอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Lentivirus ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มไวรัส Retrovirus ไวรัสกลุ่มนี้ขึ้นชื่อในด้านการมีระยะแฝงนาน การทำให้มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดนาน การติดเชื้อในระบบประสาท และการทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง เชื้อเอชไอวีมีความจำเพาะต่อเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 T lymphocyte และ Monocyte สูงมาก โดยจะจับกับเซลล์ CD4 และฝังตัวเข้าไปภายใน เชื้อเอชไอวีจะเพิ่มจำนวนโดยสร้างสายดีเอ็นเอโดยเอนไซม์ reverse transcryptase หลังจากนั้นสายดีเอ็นเอของไวรัสจะแทรกเข้าไปในสายดีเอ็นเอของผู้ติดเชื้ออย่างถาวร และสามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้
-
เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวี แล้วทำให้ T helper lymphocyte ถูกทำลายและมีจำนวนลดลง เป็นผลให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาส
-