Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก, นางสาวไอรดา รักคำ ห้อง 2A เลขที่ 102…
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก
พัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด
ช่วงอายุ3เดือน
ชันคอ ยกศีรษะจากพื้นเมื่อนอนคว่ำ
ช่วงอายุ4เดือน
พลิกตะแคงตัวได้ หันตามเสียง กางมือออกแล้วกำของเล่นได้ มองเห็นสีสันต่างๆได้ชัดเจนขึ้น เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
ช่วงอายุ6เดือน
นั่งทรงตัวได้นาน สนใจฟังคนพูด
ช่วงอายุ12เดือน
ค้นหาของเล่นที่ซ่อนไว้ใต้ผ้าคลุมได้ ดื่มน้ำจากถ้วยแก้วหรือขันเล็กๆได้
ช่วงอายุ15เดือน
พูดคำที่มีความหมายได้อย่างน้อย4คำ
ช่วงอายุ18เดือน
ชี้อวัยวะได้ 4-5 ส่วน เดินข้ามหรือหลบสิ่งกีดขวางได้
ช่วงอายุ2ปี
ชี้อวัยวะของร่างกายได้ 10 ส่วน บอกได้เมื่อต้องหารขับถ่าย
ช่วงอายุ3ปี
เดินเขย่งปลายเท้าได้ 3 เมตร ถอดเสื้อผ้าเองได้
ช่วงอายุ4ปี
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้ 2-3 ครั้ง ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ช่วงอายุ5ปี
ก้มเก็บของขณะวิ่งได้ เล่าได้ว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้าง
ความหมาย
กระดูกหัก
ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกันอาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิงหรือมีเพียงบางส่วนติดกัน หรือเป็นเพียงแตกร้าว
ข้อเคลื่อน
ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ควรอยู่หรือหลุดออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกยังส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบกระดูก หลอดเลือด น้ำเหลือง เส้นประสาท และ เส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
ลักษณะกระดูกเด็กของเด็ก
แผ่นเติบโต (growth Plate) มีความอ่อนแอ กว่าเอ็น (tendon),เอ็นหุ้มข้อ(ligament) และเยื่อหุ้มข้อ(joint capsule) เมื่อมีการแตกหักจะหักบริเวณนี้มากกว่า
เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) มีความแข็งแรงและสามารถสร้างกระดูกได้ดี กระดูกหักในเด็กจึงติดเร็ว
เยื่อบุโพรงกระดูก(endosteum) สามารถสร้างกระดูกได้มากและเร็ว เด็กอายุยิ่งน้อยกระดูกยิ่งติดเร็ว
ปัญหาด้านการวินิจฉัยกระดูกหักในเด็กการตรวจร่างกายอาจไม่แน่ชัด
การบวมของแขน ขาในเด็กจะเกิดขึ้นเร็วภายหลังมีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน แต่การบวมนี้ก็หายเร็ว
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียน (ischemic changes)การไหลเวียนของเลือดบริเวณแขน ขา จากการใส่เฝือกหรือพันผ้าแน่น เกินไปต้องระมัดระวังและแก้ไขทันที เพราะอาจเกิด
ภาวะ Volkman’s ischemic contracture
การเจริญเติบโตของเด็กเล็กเริ่มจากการทดแทนกระดูกอ่อนด้วยศูนย์กระดูกปฐมภูมิ (primary ossification center) ต่อมาจะมีการทดแทนกระดูกอ่อนที่ส่วนปลายกระดูกเป็นศูนย์กระดูกทุติยภูมิ(ossification center secondary) ทำให้กระดูกงอกตามยาว
สถิติกระดูกหักในเด็ก
อายุ ที่พบบ่อยในช่วง 6-8ปี 93 ราย และ 12-15ปี 206 ราย
เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 7 : 3
สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการหกล้มเป็นส่วนใหญ่
รองลงมาคือตกจากที่สูง และอุบัติเหตุในท้องถนน
ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือกระดูกต้นแขนหัก รองลงมาคือกระดูกแขนท่อนปลาย ( both bone of forearm ) ที่บริเวณเหนือข้อศอก เป็นตำแหน่งที่พบกระดูกหักมากที่สุดในเด็กไทย
กระดูกหักพบมากทางซีกซ้ายมากกว่าทางซีกขวาถึง 3 : 2
การรักษาส่วนใหญ่รักษาโดยใส่เฝือกดามไว้ ไม่ผ่าตัด ประมาณร้อยละ 83
ใช้เวลาในการรักษาส่วนใหญ่ 4-6สัปดาห์
สาเหตุ
มักเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุน้ามาก่อนมีแรงกระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง เช่น ถูกตี รถชน หรือจากการกระตุ้นทางอ้อม เช่น หกล้ม เอามือยันพื้นกระดูกฝ่ามือไม่แตกกลับไปแตกบริเวณเหนือข้อมือและอาจเกิดจากมีพยาธิสภาพของโรคที่ท้าให้กระดูกบางหักแตกหักง่าย เช่น มะเร็งของกระดูก กระดูกอักเสบ
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพ
บวมเนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักหรือกระดูกเกยกัน
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนัง
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
การติดของกระดูกเด็ก
สิ่งที่สร้างขึ้นมา ประสานรอยร้าวหรือรอยแตกของกระดูกมีองค์ประกอบสำคัญ คือ Collagen fiber, Calcium, เซลล์สร้างกระดูก(osteoclast) และ callus ที่เหมือนเป็นกาวธรรมชาติ ถ้าเชื่อมระหว่างคอร์เทกซ์ด้านนอกเรียกว่า external callus ถ้าเชื่อมด้านใน เรียกว่า endocallus พวกที่เป็นกระดูกนุ่มcancellous bone จะมีendocallus มากกว่าพวกกระดูกด้ามยาว (long bone)
หลังกระดูกหักเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจะมีการรวมตัวของก้อนเลือดตรงตำแหน่งปลายหักของกระดูกเพื่อเป็นฐานทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (granulation tissue)
กระดูกที่สร้างขึ้นใหม่จะเกิดขึ้นภายหลังกระดูกหักประมาณ 48 ชั่วโมงและจะใช้เวลาในการเชื่อมกระดูกหักประมาณ 6-7 วัน โดยเฉลี่ยการติดของกระดูกนานประมาณ 6-16 สัปดาห์ขึ้นอยู่ กับสาเหตุอายุ ต้าแหน่งและความรุนแรงของอันตรายที่ได้รับ
กระดูกและข้อเคลื่อนในเด็กที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
กระดูกมีแผลเปิด (open fracture)
กระดูกหักผ่านข้อ (displaceed intra articular fracture)
กระดูกหักในเด็กตามการแบ่งของ Salter ชนิด Ш , ІV
กระดูกหักจากการหดตัวของเอ็นกล้ามเนื้อ(avulsion fracture)
กระดูกคอฟีเมอร์หักและเคลื่อน(displaced fracture neck of femur)
ข้อเคลื่อนที่มีชั้นกระดูกติดอยู่ในข้อ
ข้อเคลื่อนที่ไม่สามารถจัดเข้าที่ได้โดยไม่ผ่าตัด ซึ่งมักเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีเนื้อเยื่อขวางกั้น
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
การตรวจร่างกาย ตรวจเหมือนเด็กทั่วไป และให้ความสนใจกับส่วนที่ได้รับอันตราย และทำด้วยความนุ่มนวล
ลักษณะของกระดูกที่หัก สังเกตลักษณะภายนอกว่าเป็นกระดูกหักชนิดมีบาดแผล หรือ มีกระโูกโผล่ออกมาหรือไม่
ลักษณะของข้อเคลื่อน มี2ลักษณะ คือ ข้อเคลื่อนออกจากกันโดยตลอด และ ข้อเคลื่่อนออกจากกันเพียงเล็กน้อย
การตรวจทางรังสี
การรักษา
save life before safe limb and save limb before save function
หลักการรักษากระดูกหักและข้อเคลื่อน
ระมัดระวังไม่ให้กระดูกหักหรือข้อเคลื่อนได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
แก้ไขตามปัญหาและการพยากรณ์โรคที่จะเกิดกับ กระดูกหักนั้นๆ
เป้าหมายการรักษา
ในระยะแรกจะมุ่งลดความเจ็บปวด อาจช่วยได้โดยให้ยาลดปวดจัดให้กระดูกที่หักอยู่นิ่งๆ โดยใช้เฝือกดาม ไม้ดาม หรือผ้าพันยืด และพยายามจัดกระดูกให้เข้าที่
จัดกระดูกให้เข้าที่และดามกระดูกให้มีแนวกระดูก (alignment)ที่ยอมรับได้จนกระดูกที่หักติดดี
ให้กระดูกที่เข้าที่ดีและติดเร็ว
ให้อวัยวะนั้นกลับท างานได้เร็วที่สุด
กระดูกหักที่พบบ่อย
กระดูกไหปลาร้าหัก( fracture of clavicle )
เกิดขึ้นกับเด็กมากที่สุดโดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ ากว่า 10 ปี ส่วนในทารกอาจเกิดจากการคลอดติดไหล่
อาการและอาการแสดง
Pseudoparalysis ขยับข้างที่เป็นได้น้อย ไหล่ตก
Crepitus คล้าได้เสียงกรอบแกรบ
ปวด บวม ข้างที่เป็น
เอียงคอไปด้านที่เจ็บ ยื่นตัวไปข้างหน้า แขนที่ดีประคองข้างที่เจ็บ
การรักษา
ในทารกและเด็กเล็กจะตรึงแขนข้างที่หักให้อยู่นิ่งโดยมัดแขนให้ข้อศอกงอ
90 องศา ให้ติดกับล าตัว พันนาน 10-14 วัน ระมัดระวังเรื่องการอุ้มเด็ก
ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปีอาจใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอ ห้อยแขนให้ข้อศอกงอ 90 องศา และพันแขนให้ติดกับล าตัวด้วยผ้ายืดหรือผ้าสำลี คล้องแขนไว้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
กระดูกต้นแขนหัก (fracture of humerus)
ในทารกแรกเกิด
มักเกิดในรายที่คลอดติดไหล่แล้วผู้ท้าคลอดสอดนิ้วเข้าไปเกี่ยวออกมา
ในเด็กโต
อาจเกิดการล้มแล้วต้นแขนหรือข้อศอกกระแทกพื้นโดยตรง จะพบหัวไหล่บวม ช้้า เมื่อจับข้อแขนให้มีการเคลื่อนไหวจะเจ็บปวด การหักของกระดูกบริเวณนี้ อาจให้ห้อยแขนข้างที่หักไว้ด้วยผ้าคล้องแขนไว้นานประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ ในรายที่กระดูกหักเคลื่อนออกจากกันมากๆควรตรึงแขนด้วย traction ตรึงไว้นานประมาณ 3 สัปดาห์ อาจท้า skin traction หรือskeletal traction ก็ได้
กระดูกข้อศอกหัก ( Supracondylar fracture )
พบบ่อยในเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียน โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น “ Volkman’s ischemiccontracture ” กระดูกหักบริเวณนี้อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูก Humerus
ในรายที่หักแบบ greenstick อาจใส่เฝือกแบบ posterior plaster splint ประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อยุบบวม จึงเปลี่ยนเฝือกพันต่ออีก 2-3สัปดาห์
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส (Transient subluxation of radial head,pulled elbow )
เป็นการเคลื่อนที่ของหัวกระดูกเรเดียส ออกมาจากข้อ radio-humeral ไม่หมด พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เกิดจากการหยอกล้อ แล้วดึงแขนหรือหิ้วแขนเด็กขึ้นมาตรงๆ ในขณะที่ข้อศอกเหยียด และแขนท่อนปลายคว่ำมือ
กระดูกปลายแขนหัก
พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่เริ่มหัดเดินไปจนถึงวัยรุ่น เกิดจากการกระทำทางอ้อม เช่น หกล้มเอามือเท้าพื้น ตกจากที่สูง
กระดูกต้นขาหัก ( fracture of femur )
พบได้ทุกวัย โดยเฉพาะอายุ 2 - 3 ปี ส่วนมากจะเกิดกับเด็กชายมากกว่า ตำแหน่งที่พบคือ ช่วงกลางของกระดูกต้นขา เด็กจะปวด บริเวณข้างที่หัก บวมตรงตำแหน่งกระดูกถ้าอายุต่่ำกว่า 3 ปี แก้ไขโดยให้ใส่เฝือกขาแบบยาวนาน 3-4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกเคลื่อนออกจากกันมากๆ ให้รักษาด้วยวิธี Gallow’s หรือ
Bryant’s traction ถ้าอายุมากกว่า 3 ปีแก้ไขโดยท า Russel’s traction
ภยันตรายต่อข่ายประสาท brachial plexus จากการคลอด(birth palsy)
ข่ายประสาท brachial plexus เป็นการรวมตัวของรากประสาทไขสันหลังส่วน ventral rami ระดับ C5-T1ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกจากบริเวณไหล่จนถึงปลายมือเมื่อมีภยันตรายต่อข่ายประสาทมีผลให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาทถูกดึงยึด ได้แก่ การคลอดท่าก้น ภาวะคลอดติดไหล่ เด็กมีน้้าหนักมากและการคลอดที่ใช้เวลานาน
การวินิจฉัย
จากการสังเกตเห็นแขนที่ผิดปกติเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าธรรมดา
การรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีการฟื้นตัวของเส้นประสาทโดยไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล(Nursing care of facture in children) โดยใช้ระบบ ABCDEF
1.การพยาบาลเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่ม เนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับโดยการสังเกต คลำดูความสัมพันธ์ของอวัยวะ การเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ การยกขึ้น งอหรือเหยียด ตรวจสอบความตึงตัว อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
จัดกระดูกให้อยู่นิ่งตามแผนการรักษา
เข้าเฝือกปูน
1.การจัดเตรียมเด็กก่อนเข้าเฝือก
2.ประเมินอาการภายหลังเข้าเฝือกภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งประเมินได้จาก 5 PS หรือ 6P ได้แก่
Pulselessness
ชีพจรเบา,เย็น
Pallor
ปลายมือปลายเท้าซีด หรือเขียวคล้ำ
Paresthesia
ชา ขาดความรู้สึก
Paralysis
เส้นประสาทถูกกด เคลื่อนไหวไม่ได้
Pain
มีอาการเจ็บมากกว่าเดิม
Puffiness or Swelling
มีอาการบวมมากขึ้น
3.ยกแขนที่เข้าเฝือกให้สูง
4.การยกหรือเคลื่อนย้ายเด็ก ต้องระวังเฝือกหัก
5.ระมัดระวังไม่ให้เฝือกเปียกน้้า
6.แนะนำเด็กและญาติในการดูแลเฝือก
การดึงกระดูก (Traction)
การดูแลให้การดึงกระดูกมีประสิทธิภาพตลอด
ดูแลแรงดึงสมดุลเพียงพอกับน้ำหนักผู้ป่วย 1/5 ปอนด์/น้ำหนัก 1 กก.
น้ำหนักที่ใช้ถ่วงแขวนลอยอิสระไม่แตะพื้นหรือข้างเตียงขณะดึงกระดูกควรจัดท่านอนของเด็กให้ถูกต้องตามชนิดของ Traction ควรใช้ผ้าตรึงตัวเด็กให้ถูกกับ position ของ traction นั้นๆ
สังเกตการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย
จะต้องไม่เอาน้ำหนักออก หรือถอด traction เองจนกว่าแพทย์สั่ง
รายที่ทำ Skeletal Traction ต้องสังเกตอาการติดเชื้อบริเวณที่เหล็กดึงกระดูก
ชนิดของ Traction ที่ใช้รักษาในเด็ก
Bryant’s traction
ในเด็กที่กระดูกต้นขาหัก (fracture shaft of femur ) ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 2 ขวบ หรือน้ำหนักไม่เกิน 13 กก.
Over Head traction
ใช้ในการรักษากระดูกหักที่ต้นแขน เป็นการเข้า traction ในลักษณะข้อศอกงอ 90 องศา กับล้าตัว ในรายที่ผู้ป่วยแขนหักแล้วมีอาการบวมมากยังไม่สามารถ reduce และ ใส่เฝือกได้
Dunlop’s traction
ใช้กับเด็กในรายที่มี Displaced Supracondyla Fracture ที่ไม่สามารถดึงให้เข้าที่ได้
Skin traction
ใช้ในรายที่มีfacture shaft of femur ในเด็กโต อายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป traction แบบนี้อาจเกิดปัญหาการกด peroneal nerve ท้าให้เกิด foot drop ได้
Russell’s traction
ใช้ในเด็กโตที่มีFracture shaft of femur หรือ fracture บริเวณ supracondyla region of femur การท้า traction ชนิดนี้อาจเกิดปัญหาการผ้า sling ที่คล้องใต้ขาไปกด เส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณใต้เข่าได้
ผ่าตัดทำ open reduction internal fixation (ORIF)
เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่และอยู่นิ่งโดยใช้โลหะยึดไว้อาจใช้ plate,screw, nail หรือ wire แพทย์จะพิจารณาท้าในรายที่กระดูกหักมาก เกิดอันตรายต่ออวัยวะโดยรอบ
การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
1.ด้านร่างกาย
การเตรียมผิวหนังเฉพาะที่
การดูแลความสะอาดของร่างกายอาบน้ำ แปรงฟัน ในเด็กเล็กอาจใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป การสำรวจว่ามีฟันโยกในเด็ก
การตรวจวัดสัญญาณชีพ
การประเมินอาการของระบบประสาท และหลอดเลือด รวมทั้งการบรรเทาอาการรบกวนอย่างต่อเนื่อง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ/ ยา /เซ็นยินยอม /ผล Lab / ผล X-ray
2.ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยและญาติให้ค้าแนะน้าเกี่ยวกับการผ่าตัดแก่ผู้ป่วย (เด็กโต)และญาติ เกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมภายในห้องผ่าตัด, ขั้นตอนในการผ่าตัดโดยสังเขป, การปฏิบัติตัวภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึก, การไออย่างมีประสิทธิภาพ
การพยาบาลผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ผลข้างเคียงของการวางยาชนิด GA การจัดท่านอนให้นอนราบไม่หนุนหมอน สังเกตอาการคลื่นไส้อาเจียน
การประเมินระดับความเจ็บปวดโดยใช้ pain scale ถ้าปวดอาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกบริเวณแผลผ่าตัด ถ้ามีเลือดออกมาผิดปกติให้ใช้ผ้าก๊อสหนาๆ ปิดทับพันให้แน่นห้ามดึงของเก่าออก แล้วรีบรายงานแพทย์ในรายที่มีท่อระบาย ถ้าเลือดออกมากกว่า 3 มล./กก/ ชม. หรือ 200 cc /ชั่วโมง แสดงว่ามีภาวะตกเลือดหลังผ่าตัด
ประเมินการไหลเวียนของอวัยวะส่วนปลายด้วยการทดสอบการไหลเวียนเลือด (blanching test) เพื่อตรวจสอบว่าเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เพียงพอหรือไม่ ปกติไม่ควรนานเกิน 3 วินาทีและ ประเมิน 6 P
จัดท่าเด็กโดยยกส่วนที่ท้าผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม และปวด
การท้าแผล จะเปิดท้าแผลทุกวันหรือไม่เปิดท้าแผลเลยจนกว่าจะตัดไหมขึ้นกับลักษณะของแผล การตัดไหมมักจะเอาไว้อย่างน้อย 10-14 วัน
2.การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการถูกจ้ากัดเคลื่อนไหว
กิจกรรมการพยาบาล
ป้องกันและลดอาการข้อติดแข็งและกล้ามเนื้อลีบกระตุ้นให้เด็กมีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับ ด้วยการเปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว จัดอาหารที่มีกากมาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ช่วยให้ปอดขยายตัวเต็มที่ด้วยการกระตุ้นให้เด็กหายใจเข้าออกลึกๆแรงหลายๆครั้ง
ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง
3.การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่กระดูก
เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความสะอาดบาดแผลก่อนการเข้าเฝือกที่ด้วยการชะล้างสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกให้หมด
ประเมินลักษณะอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นจาก ลักษณะแผล สิ่งคัดหลั่ง อาการบวมแดง
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
4 .การพยาบาลเพื่อลดความ เครียดวิตกกังวลเมื่อ
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพความต้องการทางด้านจิตใจของเด็กและญาติว่าต้องการช่วยอะไรบ้าง
สร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีแก่เด็กและญาติที่มีต่อการรักษาพยาบาลและตัวบุคลากร
จัดกิจจกรรมหรือเปิดโอกาสให้เด็กและญาติให้มีการระบาย
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาโดยเฉพาะในระยะแรกๆแต่ต้องประเมินอาการเจ็บปวดด้วย
5.การพยาบาลเพื่อบรรเทาปวด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับอาการปวดของผู้ป่วย
จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง
ตรวจดูว่าเฝือกคับหรือskin traction พันแน่นเกินไปหรือไม่
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาโดยเฉพาะในระยะแรกๆ
กรณีเด็กได้รับการผ่าตัด อาจมีการรัดโดยสำลีพันเฝือกบริเวณข้อศอกข้อเข่า ควรคลายสำลีพันเฝือกให้ถึงผิวหนังเด็ก
ผู้ป่วยที่ได้รับการยึดด้วย Kirschner wire ผ่านผิวหนังออกมาข้างนอกเพื่อสะดวกในการถอด ต้องหมั่นทำแผลจนกว่าจะถึงเวลาที่ถอด
6.การพยาบาลเพื่อให้ค้าแนะน้าการปฏิบัติตัวเมื่อ
กลับไปอยู่บ้านอย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
การดูแลแผลผ่าตัด ควรระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำหรือสกปรก
ห้ามผู้ป่วยและญาติแกะแผลหรือเอาเฝือกออกเอง
ควรสังเกตอาการผิดปกติที่จ าเป็นต้องมาโรงพยาบาลทันที ได้แก่ เฝือกมีกลิ่นเหม็น, ปลายมือปลายเท้าชา เขียวคล้ำ, มีไข้สูง
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้แผลหายดี
รักษาสุขภาพ อนามัยให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นออกกำลังกายกล้ามเนื้อและข้อ โดยเฉพาะการกำแบมือบ่อยๆ
ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกัน
Volkmann’ s ischemic contracture
เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณ forearm ขาดเลือดไปเลี้ยงยเนื่องจากเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำถูกกด หรือถูกเสียดสีจนช้ำทำให้เลือดไหลกลับไม่ได้
แบ่งเป็น 3 ระยะ
1.ระยะเริ่มเป็น
เจ็บ ปวด บริเวณนิ้วและบวมอย่างเห็นได้ชัด
นิ้วกางออกจากกัน กระดิกไม่ได้ การบวมทำให้นิ้วแข็ง
สีของนิ้วจะขาวซีดหรือดำคล้ำ แต่นิ้วจะยังอุ่นอยู่
มีอาการชา
2.ระยะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อบวม ตึง แข็ง และมีสีคล้ำ เนื่องจากมีเลือดปะปนอยู่ ผิวหนังพอลเนื่องจากกล้ามเนื้อมี fascia หุ้มอยู่ จึงทำให้เกิดความอัดดันภายในมาก กล้ามเนื้อจึงถูกทำลายเปลี่ยนสภาพเป็น fibrous tissue และหดตัวทำให้นิ้วหงิกงอ
ระยะกล้ามเนื้อหดตัว
การหดตัวเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ Pronator และ flexor ของแขน มือ และนิ้ว ทำให้นิ้วและมือหงิกงอ ใช้งานไม่ได้
วิธีป้องกัน
จัดกระดูกให้เข้าที่โดยเร็วที่สุด
อย่างอข้อศอกมากเกินไปขณะใส่เฝือก
ใช้ slab ใส่ทางด้านหลังของแขนแล้วพันด้วยผ้าพันธรรมดา การใช้ slab จะทำให้เฝือกขยายตัวได้บ้าง ยังไม่ควรใส่ circular cast
แนะนำผู้ป่วยปฏิบัติตัวให้ถูกต้องหลังเข้าเฝือก
ยกบริเวณที่หักให้สูงกว่าระดับหัวใจตลอดเวลา ควรนนอนพัก ยกแขน ให้สูงไว้ประมาณ 2 -3 วัน หรือจนยุบบวม
ถ้ามีอาการบวมมาก และมีอาการเจ็บปวด แสดงว่าเฝือกรัดเส้นโลหิต ทำให้เลือดไหลไม่สะดวก ควรรีบปรึกษาแพทย์
ถ้าเกิดอาการปวด บวม หรือชา จะต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตัดเฝือกออกทันที
โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Congenital muscular Torticollis)
ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลางไปด้านใดด้านหนึ่งจากกล้ามเนื้อSternocleidomastoid ที่ยึดเกาะระหว่างกระดูกหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้าหดสั้นลง ทำให้เอียงไปด้านที่หดสั้นใบหน้าจะเอียงไปด้านตรงข้าม
อาการ
มักคลำพบก้อนที่กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง และก้อนจะค่อยๆยุบลงไป การปล่อยให้มีภาวะคอเอียงอยู่นานจะส่งผลให้กระโหลกศีรษะบิดเบี้ยว ไม่สมดุล
การรักษา
ยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอที่หดสั้น
การยืดโดยวิธีดัด (passive stretch)
การยืดแบบให้เด็กหันศีรษะเอง (active streth)
การใช้อุปกรณ์พยุง (orthosis)
การผ่าตัด
polydactyly
สาเหตุจากพันธุกรรม
รักษาโดยการผ่าตัด
กระดูกสันหลังคด(Scoliosis)
พยาธิสรีรภาพ
การเจริญผิดปกติของกระดูกสันหลัง การอัมพาตของกล้ามเนื้อทำให้กระดูกเจริญเติบโตน้อย ไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ทำให้ข้อคดงอ ขา ยาวไม่เท่ากัน ทำให้ตัวเอียงและหลังคด กล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องไม่สมดุลกันทั้งสองข้าง
รายที่กระดูกสันหลังคดไม่ทราบสาเหตุ หลังจะคดมากขึ้นเรื่อยๆ กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะเอียงตัวโค้งและมีการหมุนกระดูกซี่โครง ด้านโค้งออก (Convex) จะโป่งนูนไปด้านหลัง สำหรับกระดูกซี่โครงด้านเว้า (Concave) จะเข้ามารวมตัวกันและหมุนไปด้านหน้า ท้าให้ทรวงอกด้านหน้ายื่นออกไป
รายที่หลังคดรุนแรง ทำให้ทรวงอกผิดปกติกระทบต่อการทำงานของหัวใจและปอด สมรรถภาพการทำงานอวัยวะทั้งสองลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาความคดของหลังจะเพิ่มขึ้น และเสียชีวิตเร็วด้วยโรคหัวใจหรือการหายใจล้มเหลว
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : การผ่าตัด ความพิการของกระดูกสันหลัง
การตรวจร่างกาย : สังเกตความพิการ ส่วนสูง น้ำหนักตัวแนวลำตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจพิเศษอื่นๆ
อาการแสดง
กระดูกสันหลังโค้งไปด้านข้าง กระดูกสะบักสองข้างไม่เท่ากันสะบักไม่อยู่ระดับเดียวกันคือไหล่ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง
ทรวงอกเคลื่อนไหวจำกัด มักหายใจตื้น หายใจลึกได้ยาก
พบการเลื่อนของกระดูกสันอกจากแนวลำตัว ความจุในทรวงอกสองข้างไม่สมมาตรไม่เท่ากัน
กล้ามเนื้อและเอ็นด้านเว้าจะหดสั้นและหนา ส่วนด้านโค้งออกจะฝ่อลีบและบาง
ข้อศอกและกระดูกเชิงกรานไม่อยู่ระดับเดียวกัน
การรักษา
เป้าหมายของการรักษา
ป้องกันไม่ให้โรคเป็นมากขึ้น
แก้ไขหรือลดความพิการ
ให้กระดูกสันหลังมีความสมดุลและแข็งแรง
แบบอนุรักษ์นิยม (Conservation)
กายภาพบำบัด บริหารร่างกาย
ปัจจุบันการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเพื่อที่จะ“หยุด” หรือ “ชะลอ” การคดของกระดูกสันหลังได้นั้นมีอยู่เพียงวิธีเดียวที่ได้ผล คือการ ใส่อุปกรณ์ดัดลำตัว (Brace) ซึ่งข้อบ่งชี้สำหรับการใส่ brace คือ ในเด็กอายุน้อย กว่า 11-12 ขวบ ที่มีมุมประมาณ 25-40 องศา และเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว เช่น มากกว่า 5 องศา ภายใน 6 เดือน เป็นต้น จุดประสงค์ของการใส่ brace เพื่อให้ มุมที่วัดได้ตอนเด็กโตเต็มวัยน้อยกว่า 50 องศา
การผ่าตัด
มีข้อบ่งชี้เมื่อพบว่า มีมุมการคดของกระดูกสันหลังเกิน 45-50องศา มีการเอียงของลำตัว และมีโอกาสคดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลักการในการผ่าตัดคือ การจัดกระดูกสันหลังโดยการใช้โลหะดามกระดูกสันหลัง จัดกระดูกสันหลังให้เข้าที่และ เชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้ตรง โดยการโรยกระดูกให้เชื่อมกัน
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษาและการปฏิบัติตนโดยเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความคุ้นเคย
บอกผู้ป่วยต้องนอนในหออภิบาลหลังผ่าตัด เพราะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดหลังผ่าตัดใหญ่
อธิบายวิธีการพลิกตัวหลังผ่าตัดโดยให้ไหล่และสะโพกพลิกไปพร้อมกัน(Logrolling) พร้อมสาธิตวิธีการเปลี่ยนท่านอน
แนะนำให้รายงานอาการผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดหลังผ่าตัด เช่น อาการปวด ชา สูญเสียความรู้สึก เป็นต้น
สอนและสาธิตวิธีการไอ หายใจอย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังแขนขาและหลัง
แนะนำการใช้หม้อนอน การรับประทานและดื่มบนเตียง การลุกออกจากเตียงและเข้าเตียงโดยให้หลังตรงใช้ท่าตะแคงหรือนอนคว่ำ
บอกผู้ป่วยให้ทราบวิธีการเตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป การโกนขนบริเวณผ่าตัด การงดอาหารและน้ำหลังเที่ยงคืน การสวนอุจจาระเช้าวันผ่าตัด
บอกผู้ป่วยให้ทราบหลังผ่าตัดมีสายน้ าเกลือ สายระบายจากแผลผ่าตัดแผลผ่าตัดจะมี 2 แห่งที่หลังและบริเวณ Iliac Crease
2.ดูแลความไม่สุขสบายจากความปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดย สังเกตและประเมินความปวด,เปลี่ยนท่านอนแบบ Logrolling จัดท่าให้นอนสบายโดยนอนราบ หมอนรองใต้เข่า นอนตะแคงใช้หมอนรองใต้ขาบน เพื่อลด ความตึงของกล้ามเนื้อหลัง, ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ถ้ายาไม่ได้ผลให้ รายงานแพทย์
3.ป้องกันการติดเชื้อที่แผลและเกิดแผลกดทับ โดยประเมินผิวหนังทั่วไปและ บริเวณผ่าตัดว่ามีอาการบวม แดง ชา น้ำเหลืองซึม แผลเปิดหรือไม่, ให้ยาปฏิชีวนะและยาลดไข้ตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา และทำแผลตามแผนการรักษาของแพทย์
4.แนะนำการปฏิบัติตัวในการใส่อุปกรณ์ดัดลำตัว คือ ใส่อุปกรณ์ดัดลำตัว โดยมีเสื้อรองก่อนเพื่อป้องกันการกดทับผิวหนัง ดูแลสกรูหมุดทุกวัน ถ้าหลวมขันให้ แน่นสนิทก่อนใช้ ส่วนที่เป็นหนังความสะอาด โดยใช้ยาขัดไม่ให้ตากแห้ง
นางสาวไอรดา รักคำ ห้อง 2A เลขที่ 102 รหัสนักศึกษา 613601108