Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การบริหารการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 6 การบริหารการพยาบาล
ความหมาย
ผู้จัดการพยาบาล (Nurse Manager) หมายถึงพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งบริหารมีหน้าที่นำนโยบายขององค์การพยาบาลไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตำแหน่ง“ ผู้จัดการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลเอกชน
ผู้บริหารการพยาบาล (Nurse Administration) หมายถึงพยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริการมีหน้าที่กำหนดนโยบายงานในองค์การพยาบาล“ ผู้บริหารการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลรัฐบาล
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ
ระดับปฐมภูมิ (Primary care level)
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
๑. การวางแผน (Planning)
๑.๑ กำหนดจุดมุ่งหมายขององค์กร กำหนดขอบเขตนโยบายทางการพยาบาลชุมชนเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานโดยเป้าหมายต้องครอบคลุมจะทำในท้องที่ใดระยะเวลาที่จะให้บรรลุตามเป้าหมาย
๑.๒ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและประเมินศักยภาพขององค์การโดยประเมินสถานการณ์และภาวะสุขภาพอนามัย
๑.๓ การจัดทำแผนกำหนดทางเลือกและเกณฑ์ปฏิบัติซึ่งอาจจะเป็นโครงการหรือกิจกรรมโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับเป้าหมายวัตถุประสงค์
๑.๔ ปฏิบัติตามแผนหลังจากได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการแล้วเตรียมความพร้อมและชี้แจงทีมงานให้ทราบเกี่ยวกับแผนและปฏิบัติตามแผนที่ทำผังกำกับไว้
๑.๕ ประเมินผลและทบทวนแผนการประเมินผลงานพยาบาลชุมชนควรประเมินทั้งความเพียงพอประสิทธิผลประสิทธิภาพ
การจัดสรรงบประมาณ (Budget)
ประกอบด้วย
ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับกับงบจัดสรรว่าตรงกันหรือไม่
จัดทำหรือปรับแผนปฏิบัติงานประจำปีในงานที่พยาบาลรับผิดชอบ
เตรียมการเพื่อเบิกเงินงบประมาณล่วงหน้าเพื่อให้ทันกับโครงการ
จัดทำบัญชีในการควบคุมใช้งบประมาณตามจริง
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรายการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
รายงานความก้าวหน้าในการใช้งบประมาณตามงวด
ตระหนักในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒. การจัดองค์กรการพยาบาลในชุมชน
๒.๑ วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือจุดมุ่งหมายขององค์กรในการก่อตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานขององค์กร
๒.๒ โครงสร้างขององค์กรต้องมีการกำหนดโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่ามีการแบ่งงานกันอย่างไรมีการจัดกลุ่มงานการบังคับบัญชาการประสานงานภายในองค์กร
๒.๓ กระบวนการปฏิบัติงานเป็นการกำหนดระเบียบแบบแผนวิธีปฏิบัติงานในองค์กร
๒.๔ บุคคลต้องมีการกำหนดมอบหมายงานภารกิจในแต่ละบุคคลและกำหนดการประสานงานที่เหมาะสม
๓. การนำหรืออำนวยการ (Directing)
การดำเนินการในองค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่การนำหรือการอำนวยการนับว่ามีบทบาทมากเนื่องจากต้องมีการสั่งการมอบหมายงานต่าง ๆโดยทั่วไปใช้หลักการทฤษฎีภาวะผู้นำแรงจูงใจหรือการนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
๔. การควบคุมกำกับงาน (Controlling)
๔.๑ การกำหนดเป้าหมายในการควบคุมกำกับงานโดยมีการกำหนดอย่างชัดเจนมีการใช้เครื่องมือในการควบคุมกำกับงาน
๔.๒ การพัฒนามาตรฐานในการปฏิบัติงานโดยการสร้างมาตรฐานก่อนปฏิบัติงาน
๔.๓ การวัดผลงานและเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน
๔.๔ การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนอกจากนี้ยังมีการนิเทศงานซึ่งจะเป็นการควบคุมกำกับและพัฒนาบุคลกรด้วย
ระดับทุติยภูมิ (Secondary care level)
ระดับตติยภูมิ (Tertiary care level) และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center)
ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาล
๑. ผู้บริหารระดับสูง (Top level administration) ได้แก่ ผู้อำนวยการพยาบาลหรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลหรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
๒. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle level administration) ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
๓. ผู้บริหารระดับต้น (First level administration) ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisor nurse) และหัวหน้าหอผู้ป่วย (Head nurse หรือ Nurse manager)
บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล / หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
๑. รับนโยบายจากผู้อำนวยการ
๒. กำหนดปรัชญานโยบายวิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายทางการพยาบาล
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรตรวจการ
๑. ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพยาบาลนอกเวลาราชการ
๒. ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการพยาบาลการจัดอัตรากำลังในกรณีฉุกเฉินและอื่น ๆ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วย
๑. รับนโยบายจากกลุ่มการพยาบาล
๒. กำหนดปรัชญานโยบายวิสัยทัศน์และพันธกิจในหน่วยงาน
ทีมการพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการทำงานเป็นทีมการพยาบาล
ดังนี้
๑. เพื่อปรับปรุงบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
๒. ช่วยพัฒนาความรู้และทักษะของสมาชิกทีม
๓. ช่วยแบ่งเบางานที่ไม่จำเป็นต้องให้พยาบาลรับผิดชอบและแก้ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย
๔. เพื่อฝึกฝนให้เป็นผู้นำที่ดี
ลักษณะเฉพาะของทีมการพยาบาล
ประกอบด้วย
๑. หัวหน้าทีมจะต้องเป็นพยาบาลวิชาชีพ
๒. การบริหารงานภายในทีมเน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
๓. แผนงานของทีมเกิดจากความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิก
๔. มีแผนการพยาบาล (nursing care plan) หรือแบบแผนการดูแล (care map) ซึ่งวางแผนไว้สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
๕. มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกทีมการพยาบาล
องค์ประกอบของทีมการพยาบาล
๑.ผู้นำหรือหัวหน้าทีมการพยาบาล: เป็นผู้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทำหน้าที่จัดให้มีการพยาบาลที่มีคุณภาพและบริหารคนให้มีประสิทธิภาพ
๒. แผนงานในทีมต้องมีการวางแผนงานของทีม: เพื่อนำไปสู่การพยาบาลที่มีคุณภาพสนองความต้องการของผู้ป่วย
๓. สมาชิก: เป็นองค์ประกอบสำคัญของทีมสมาชิกในทีมประกอบด้วยบุคลากรหลายระดับทั้งที่เป็นวิชาชีพและไม่ใช่วิชาชีพเข้ามาทางานร่วมกันอย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง
๔. การประสานงาน: จะเกิดขึ้นภายในทีมระหว่างทีมและระหว่างวิชาชีพซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือการสื่อสารนำไปสู่การบริการสุขภาพตามเป้าหมาย
๕. การรายงาน: ตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงานต้องมีการรายงานอยู่เสมอระหว่างสมาชิกกับหัวหน้าทีม
๖. การประเมินผลการพยาบาล: เพื่อหาข้อแก้ไขและปรับปรุงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้าเวรหัวหน้าทีมและสมาชิกทีม
หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
ประกอบด้วย
๑. สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
๒. นำประชุมปรึกษากับทีมงานกำหนดแผนการพยาบาล
๓. วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
๔. ตัดสินแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
๕. ประสานงานกับทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์, นักกายภาพบำบัด, เภสัชกรเป็นต้น
๖. กำหนดระบบและกระบวนการดำเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
๗. บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล บริหารทรัพยากรในการดำเนินการพยาบาล
๘. บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
หัวหน้าทีม (Nurse Leader)
ประกอบด้วย
๑. ร่วมประชุมปรึกษาทางการพยาบาลของผู้ป่วยในทีม
๒. ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
๓. ประสานงานกับหัวหน้าเวร
๔. ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๕.ปรึกษาและร่วมมือแก้ปัญหาทางการพยาบาลกับหัวหน้า
๖.รายงานการทำงานกับหัวหน้าเวร
๗.ดูแลเครื่องมือและจัดเก็บการบำรุงรักษา
๘.บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
สมาชิกทีม (Member)
ประกอบด้วย
๑. ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
๒. ให้การพยาบาลเฉพาะโรคได้ทุกระดับปัญหาและทุกระดับความรุนแรงของโรค
๓. ตรวจร่างกายวินิจฉัยโรคขั้นต้น
๔. การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ
๕. การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ
๖. วางแผนและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ
๗. สังเกตบันทึกสรุปรายงานการเปลี่ยนแปลง
การการจัดหอผู้ป่วย
หลักการจัดหอผู้ป่วย
คือ
๑. ความเป็นสัดส่วน (Privacy)
๒. ความปลอดภัย (Safety
๓. การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ (Infection Control)
๔. ควบคุมเสียง (noise Control)
การจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล (Nursing Staffing)
การจัดบุคลากรเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆดังต่อไปนี้
คือ
๑. การพิจารณาประเภทและจำนวนของการพยาบาล
๒. การตัดสินเลือกประเภทของบุคลากรที่จะสามารถให้การพยาบาลตามที่ต้องการ
๓. การคำนวณหาจำนวนบุคลากรแต่ละประเภทการสรรหาบุคลากร
๔. การคัดเลือกบุคลากร
๕. การจัดเวลาการปฏิบัติงานตามที่บุคลากรต้องการ
๖. การมอบหมายงานและความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ของการจัดอัตรากำลัง
๑. เพื่อกำหนดปริมาณอัตรากำลังให้มีบุคลากรทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและให้บริการพยาบาลอย่างเพียงพอเหมาะสมและสมดุลกับปริมาณภาระงานในแต่ละช่วงเวลาตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๒. เพื่อจัดให้มีสัดส่วนการผสมผสานการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละระดับ / ประเภทอย่างเหมาะสมในการให้บริการที่มีคุณภาพ
๓. เพื่อออกแบบหรือรูปแบบการจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมกับองค์การ