Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism) - Coggle…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
(Amniotic fluid embolism)
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา เข้าไปในหลอดลมฝอยในปอด ไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารประกอบน้ำคร่ำ ทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของการทำงานของระบบหายใจ ระบบหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด
"ภาวะฉุกเฉินทางการคลอด*
" ที่มีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ
ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) จากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด
ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Consumptive coagulopathy)
ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
อุบัติการณ์
พบได้น้อยมากประมาณ 1 : 20,000 ของการคลอดทั้งหมด
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้คลอดส่วนใหญ่จะเสียชีวิตมากกว่าที่จะให้การช่วยเหลือได้ทันที
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอดโดยการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานาน
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
การบาดเจ็บในช่องท้อง
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
มารดามีบุตรหลายคน
มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อขยายปากมดลูก
การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
อาการและอาการแสดง
มีอาการหนาวสั่น (chill)
ชัก
หายใจลำบาก (Dyspnea) เกิดภาวะหายใจล้มเหลวฉันทีทันใด เขียวตามใบหน้า และลำตัว (Cyanosis)
คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (Pulmonary edema)
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก(Low blood pressure)
เหงื่อออกมา
หมดสติ (Unconscious) และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชั่วโมงผู้คลอดยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียเลือดไป และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการแก้ไขภาวะการหดรัดตัวของมดลูกที่ดีพอ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงที่สำคัญ 5 อย่าง
ระบบหายใจล้มเหลว (Respiratory distress)
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง (Cardiovascular collapse)
เลือดออก
ไม่รู้สติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
ตรวจไหลเวียนเลือดในปอดพบความผิดปกติในการกำซาบ (Perfusion defect)
ตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง จนอ่อน (Lanugo hair)
ผลกระทบต่อมารดา
ผู้คลอดเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อกพบว่าร้อยละ 39 ของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการปรากฏ
1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดมักเสียชีวิตภายใน 30 นาที
ผู้รอดชีวิตมักมีอาการทางประสาท เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ผลกระทบต่อทารก
มารดาที่หัวใจและปอดหยุดทำงาน โอกาสรอดของทารกมีค่อนข้างน้อย
โอกาสรอดของทารกทั่วไปมีร้อยละ 70
เกือบครึ่งของทารกที่มีชีวิตรอด จะมีอาการบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
ให้ Oxytoxin ด้วยความระมัดระวัง เช่น ในขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
ไม่เจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
เจาะถุงน้ำคร่ำต้องทำอย่างละมัดละวัง ไม่ถูกปากมดลูก
การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ในรายที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์ การใช้ Oxytocin drip ควรทำอย่างไรมัดระวัง พร้อมทั้งดูอาการหดรัดตัวอย่างใกล้ชิด
ในรายที่รกเกาะต่ำ ควรทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจาก อาจมีการแยกรกจากผนังมดลูกด้านริมรกทำให้เส้นเลือดดำขอบรกขาดได้
จัดท่านอนศีรษะสูง ให้ Oxygen mask with bag 6-8 LPM
สังเกตอาการในผู้คลอดที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว และมดลูกมีการหดรัดตัวรุนแรง และการฉีกขาดผนังมดลูกหรือปากมดลูก
ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์มากเกินหรือผู้คลอดพักน้อยลงให้รีบรายงานแพทย์ให้ทราบทันที
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์ด้วย วิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการจัดท่า Fowler's position ให้ออกซิเจน 100% และถ้ามีระบบหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อช่วยหายใจ
ดูแลระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เพิ่มปริมาณเลือดพลาสมา และไฟบริโนเจนแก้ไข ภาวะสารไฟบริโนเจน ในเลือดต่ำ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกโดยให้ยา Oxytocin หรือ Methergin ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก และรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง อย่างเร่งด่วน
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำ เช่น Dopamine, Norepinephrine, Epinephrine
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
การรักษาด้วยยา
ให้ Morphine เพื่อลดการคั่งของเลือดดำในปอด อาการหอบและเขียว
ให้ Digitalis ช่วยให้หัวใจบีบช้าลง แรงขึ้น เลือดออกจากหัวใจมากขึ้น
ให้ Hydrocortisone 1 gm iv drip เพื่อช่วยภาวะหดเกร็งของหลอดเลือดแดงฝอยของปอดการดูดซึมกลับของสารน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆดีขึ้น
ให้ Isoprenaline 0.1 gm iv เพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดในปอดและการทำงานของหัวใจดีขึ้น
ให้ Fresh whole blood,FFP,Platelet consentrated แก้ไขภาวะ Fibrinogen ในเลือดต่ำ หรือ เพิ่ม Blood volume
หาก Post platum hemorrhage ให้ยาช่วยหดตัวมดลูก หรือ คลึงมดลูกตลอดเวลา หากไม่ได้ผลให้พิจารณาการตัดมดลูกออก
ถ้าทารกมีชีวิตอยู่ในครรภ์ ให้ใช้วิธีการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้องด่วน
ถ้าผู้คลอดรอดชีวิต ให้ติดตามแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น Pneumonia, Renal failure, Sheehan's syndrome
การพยาบาล
ดูแลให้กำลังใจต่อครอบครัวถ้ามารดา และทารกเสียชีวิต
ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก
เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายหัวใจล้มเหลว (Cardiac arrest)
เตรียมช่วยเหลือการคลอดโดยครีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี และกลไกการแข็งตัวสูญเสียไป
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดในปอด เช่น การให้ยาเร่งคลอด การเจ็บครรภ์คลอดที่รุนแรง
ถ้ามีอาการและอาการแสดง คือ มีภาวะชักเกร็งโดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนมีภาวะเขียวทั่วทั้งตัว ควรปฏิบัติ ดังนี้
จัดให้มารดานอนในท่า Fowler
ให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำและเลือดตามแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดในปอด เนื่องจาก มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
การให้ยาเร่งคลอด
การเจ็บครรภ์คลอดที่รุนแรง
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การตกเลือดหลังคลอด
สี่ยงต่อการตกเลือดอย่างรุนแรงและเกิดภาวะช็อค เนื่องจากการขาดกลไกการแข็งตัวของเลือดและมดลูกไม่หดรัดตัว
เกิดภาวะขาดออกซิเจนทั้งมารดาและทารก เนื่องจากการหดรัดเกร็งของหลอดเลือดที่ปอดมารดา