Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord) - Coggle Diagram
สายสะดือย้อย
(Prolapsed of the umbilical cord)
ความหมาย
ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆ หรือต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ หรือสายสะดือโผล่ออกมาภายนอกช่องคลอด
ชนิดของสายสะดือย้อย
สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก (Forelying cord/Funic presentation / Cord presentation)
สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ มักจะอยู่ในช่องคลอด หรือบางรายจะออกมานอกช่องคลอดและถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว (Overt prolapsed cord / Prolapsed of cord presentation)
สายสะดือย้อยลงมาต่ำกว่าปกติ หรือลงมาอยู่ข้างๆส่วนนำของทารกในครรภ์สายสะดือส่วนนี้จะถูกกดกับช่องทางคลอดได้ เมื่อทารกเคลื่อนต่ำลง หรือเมื่อมดลูกหดรัดตัวถุงน้ำคร่ำอาจจะแตกหรือไม่แตกก็ได้ (Occult prolapsed cord)
สาเหตุ
ทารกท่าผิดปกติ
ภาวะที่มีการผิดสัดส่วนของส่วนนำทารกกับช่องทางคลอด
การตั้งครรภ์แฝด / ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกไม่ครบกำหนด
การตั้งครรภ์หลัง
การเจาะถุงน้ำหรือถุงน้ำแตกก่อนที่ส่วนนำจะลงสู่ช่องเชิงกราน
สายสะดือยาวกว่าปกต
รกเกาะต่ำหรือสายสะดือเกาะบริเวณริมขอบรก
อาการและอาการแสดง
เห็นสายสะดือโผล่พ้นช่องคลอดออกมา
เสียงหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติโดยหาสาเหตุอื่นไม่พบ ถ้าสายสะดือพลัดต่ำชนิด occult prolapsed cord และตรวจไม่พบส่วนของสายสะดือโผล่ออกมาหรือคลำไม่พบสายสะดือจากการตรวจทางช่องคลอด ถ้าบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ด้วยเครื่องตรวจสภาพทารกในครรภ์ ( fetal monitoring) พบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ (variable deceleration) และมีอัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลง (fetal bradycardia)
คลำพบสายสะดือจากการตรวจภายในอาจจะจับได้ชีพจรบนสายสะดือเต้นเป็นจังหวะ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) อาจจะช่วยในการวินิจฉัยสายสะดือย้อยชนิด Forelying cord หรือ occult prolapsed cord ได้
ผลกระทบต่อมารดา
มีผลกระทบทางด้านจิตใจของมารดาถ้าทารกในครรภ์เสียชีวิต
ผลกระทบต่อทารก
สายสะดือย้อยเป็นภาวะวิกฤตต่อทารกในครรภ์เพราะทารกจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน
การรักษา
การช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน
จัดให้ผู้คลอดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าสายสะดือย้อยนอนในท่านอนหงายยกก้นสูง (Trendelenburg position), นอนตะแคงยกก้นสูง (Elevate Sim’s position), นอนในท่าโก้งโค้ง (Kneechest position) ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้คลอดเพื่อส่งต่อในระยะไกล ๆ เพื่อรักษาต่อควรให้นอนในท่า Elevate Sim’s position
สอดมือเข้าไปในช่องคลอดแล้วดันส่วนนำไว้ไม่ให้ส่วนนำเคลื่อนลงมากดสายสะดือ
ให้ออกซิเจนแก่มารดา อาจจะทำให้ทารกได้รับออกซิเจนมากขึ้น
ถ้าสายสะดือมีแนวโน้มจะโผล่อกมานอกช่องคลอด ควรพยายามให้อยู่ในช่องคลอด เพราะอุ่นและไม่แห้ง ลดการหดเกร็งของหลอดเลือด (vasospasm)
หากสายสะดือย้อยออกมานอกช่องคลอด ให้ใช้ก๊อซชุบน้ำเกลือ NSS คลุมปิดสายสะดือไว้ป้องกันไม่ให้สายสะดือแห้ง ลดการหดเกร็งของหลอดเลือด (vasospasm)
ทำให้กระเพาะปัสสาวะโป้งตึงโดยการใส่น้ำเกลือ 500-1,000 ml ทางสายสวนปัสสาวะ เพราะเชื่อว่ากระเพาะปัสสาวะโป้งตัวขึ้นจะช่วยดันมดลูกและส่วนนำของทารก
การช่วยเหลือการคลอด
ถ้าทารกในครรภ์มีชีวิตอยู่ปากมดลูกเปิดหมดศีรษะทารกลงมาต่ำให้ช่วยคลอดด้วยคีม
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเป็นวิธีที่ดีที่สุด ยกเว้นกรณีที่ทารกเสียชีวิตหรือมีความผิดปกติแต่กำเนิด
กรณีที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตให้ดำเนินการคลอดทางช่องคลอด ยกเว้นกรณีที่มีการผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับช่องเชิงกราน อาจจะต้องทำหัตถการทำลายทารกหรือผ่าท้องคลอด
Breech extraction ในกรณีที่เป็นท่าก้น ปากมดลูกเปิดหมด ไม่มีภาวะผิดสัดส่วนของทารกกับช่องเชิงกราน
ใช้เครื่องดึงสุญญากาศในรายที่เป็นครรภ์หลัง ปากมดลูกเปิดเกือบเต็มที่แล้ว และท่าศีรษะที่ไม่มีการผิดสัดส่วนของทารกกับช่องเชิงกรานมารดา
ในครรภ์หลังที่ปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 7-8 เซนติเมตรขึ้นไปที่เป็นชนิด Forelying cord ท่าของทารกปกติมีความก้าวหน้าของการคลอดเร็ว ทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจน (fetal distress) พยายามไม่ให้ถุงน้ำแตก อาจจะรอเพื่อให้คลอดเองทางช่องคลอดได้
การพยาบาล
ดูแลให้นอนพักบนเตียงเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
ประเมินสภาพมารดาและทารกในครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย
ตรวจภายในด้วยความนุ่มนวลระมัดระวังไม่ให้ถุงน้ำแตก
ถ้าตรวจพบสายสะดือย้อยใช้นิ้วมือดันส่วนนำไว้ไม่ให้เคลื่อนต่ำลงมาและจัดท่านอนให้ยกก้นสูง
ดูแลให้มารดาได้รับออกซิเจน
เตรียมการคลอดฉุกเฉินหรือเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และรายงานแพทย์
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการช่วยเหลือ
ประเมินสภาพจิตใจมารดาหลังคลอดในกรณีที่สูญเสียบุตร