Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) - Coggle Diagram
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum Hemorrhage)
ความหมายการตกเลือดหลังคลอด
ภาวะที่มีการเสียเลือดหลังคลอด ตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป หลังจากเสร็จสิ้นการคลอดในระยะที่ 3 (ภายหลังรกคลอด) หรือเมื่อมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือด ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1ของน้ำหนักตัว
ชนิดของการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early or immediate postpartum hemorrhage) เป็นการตกเลือด
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delay postpartum hemorrhage) เป็นการตกเลือดระยะที่เกิดขึ้นภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปแล้วจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุ
สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
การหดรัดตัวของมดลูก (Tone)
การฉีกขาดของช่องทางคลอด (Trauma)
รกหรือเศษรกค้างภายในโพรงมดลูก (Tissue)
4 ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Thrombin)
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการตกเลือดระยะหลังคลอด
มีก้อนเลือด หรือเศษรกค้าง
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด
สาเหตุร่วมกันที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก
อาการและอาการแสดง
ระยะแรก
การมีเลือดออก
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี จะคลำได้มดลูกนุ่ม ไม่ตึงตัว เนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่ภายในโพรงมดลูก ระดับของมดลูกจะสูงและโต อาจถึงระดับสะดือหรือเหนือสะดือได้ ในกรณีที่มดลูกหดรัดตัวดี แต่ยังมีเลือดออกจากช่องคลอดมาก
อาการแสดงของภาวะตกเลือด หน้าซีด ชีพจรเต้นเร็ว ระยะแรกจะหายใจเร็วต่อมาจะหายใจช้า ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลี ความดันหิตต่ำ หมดสติและถึงแก่ชีวิตได
ระยะหลัง
มีเลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบระหว่างวันที่ 7 – 14 หลังคลอด ส่วนอาการอื่นๆ คล้ายกับการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ระยะก่อนคลอด
การซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดการตกเลือดหลังคลอด
การตรวจร่างกาย ค้นหาภาวะโลหิตจาง
ระยะคลอด
ดูแลไม่ให้เกิดการคลอดยาวนาน
ระวังการให้ยาแก้ปวดในขนาดที่มากเกินไป
ทำคลอดในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 อย่างถูกต้องเหมาะสม
หลีกเลี่ยงการทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
ตรวจรกและช่องทางคลอดอย่างละเอียด
ระยะหลังคลอด
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ในรายที่ได้รับยากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ อาจให้ Oxytocin ต่อภายหลัง การคลอดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
กระตุ้นให้บุตรดูดนมมารดาทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นให้ฮอร์โมน Oxytocin หลั่งมากขึ้นเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี
การรักษาการตกเลือดหลังคลอด
ระยะแรก
การตกเลือดก่อนรกคลอด
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ
ให้สารน้ าทางหลอดเลือดดำร่วมกับ Oxytocin 10 – 20 unit โดยเร็ว
เจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด พร้อมทั้งขอเลือด
ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้
ให้ยา Oxytocin 10 – 20 unit เข้าทางกล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ เมื่อไหล่หน้าหรือศีรษะทารกคลอดแล้ว
ทำคลอดรกโดยวิธี Cord traction
ตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียด
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำอีก ถ้าจำเป็น เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
การตกเลือดภายหลังรกคลอด
กรณีมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
สวนปัสสาวะออกให้หมด แล้วคาสายสวนไว้
ให้ 5%D/W หรือ 5% D/NSS หรือ Ringer lactase solution (RLS) 1,000 ml. ร่วมกับOxytocin 10 – 20 unit ผสมอยู่ (กรณีที่ยังไม่ได้ให้) และขอเลือดเตรียมไว้ 2 – 4 unit
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
วางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้อง และคลึงให้มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา
กรณีมีการฉีดขาดของช่องทางคลอด
ให้ใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นภายในช่องคลอด และปากมดลูกได้ชัดเจนตรวจหารอยฉีกขาด บริเวณที่พบได้บ่อยคือ มีการฉีกขาด ต่อจากแผลฝีเย็บและบริเวณด้านข้างของปากมดลูกให้เย็บรอยฉีกขาดเหล่านั่นจนเลือดหยุด
ระยะหลัง
รายที่มีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูก
ให้Oxytocin แล้วทำการขูดมดลูกด้วยความระมัดระวัง
รายที่มีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
พิจารณาให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูก
หดรัดตัวดี ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ
3.รายที่มีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด
ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือดหยุด
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
1.1 ประวัติส่วนตัว เช่น ภาวะโลหิตจาง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
1.2 ประวัติทางสูติศาสตร์ เช่น การคลอดเร็ว การท าสูติศาสตร์หัตถการ มี
ประวัติเคยตกเลือดหลังคลอด มดลูกแตกหรือการผ่าตัดมดลูก การทำคลอดรกขณะที่รกยังไม่ลอกตัว
1.3 ประวัติความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ Aminionitis และทารกตายในครรภ์ ภาวะรกเกาะต่ า ภาวะครรภ์แฝดน้ า หรือการตั้งครรภ์แฝด
การตรวจร่างกาย ตามระบบต่างๆ
2.1 การหดรัดตัวของมดลูก ตรวจระดับยอดมดลูก
2.2 การฉีกขาดของช่องทางคลอด
2.3 การบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธ์
2.4 การมีรกหรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
2.5 มีเลือดสดออกทางช่องคลอด
2.6 ซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย
2.7 ความรุนแรงของการเสียเลือด
2.8 ความสามารถในการเข้าอู่ของมดลูก ประเมินจากระดับยอดมดลูก
2.9 อาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย
2.10 การตรวจทางช่องคลอด พบเศษเยื้อหุ้มรกที่ปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น
CBC, การตรวจหาหมู่เลือด และการตรวจเลือดเพื่อประเมิน
การแข็งตัวของเลือด เช่น Platelets, PT, PTT , Fibrinogen depression