Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord), การจัดท่านอนท่าTrendelenbu…
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord)
หมายถึง ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆหรือต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ หรือสายสะดือโผล่ออกมาภายนอกช่องคลอด
ชนิดของสายสะดือย้อย
1.สายสะดือย้อยลงมาต่ำกว่าปกติ หรือลงมาอยู่ข้าง ๆ ส่วนนำของทารกในครรภ์ สายสะดือส่วนถูกกดกับช่องทางคลอดได้ เมื่อทารกเคลื่อนต่ำหรือเมื่อมดลูกหดรัดตัวถุงน้ำคร่ำอาจจะแตกหรือไม่แตก (Occult prolapsed cord)
2.สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ และถุงน้ำ Forelying น้ำคร่ำยังไม่แตก (cord/Funic presentation / Cord presentation)
3.สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกมักจะอยู่ในช่องคลอด หรือบางรายจะออกมานอกช่องคลอด และถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว (Overt prolapsed cord / Prolapsed of cord presentation)
สาเหตุ
1.ทารกท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้นชนิดมีเท้ายื่นเป็นส่วนนำ ท่าขวาง
2.ภาวะที่มีการผิดสัดส่วนของส่วนนำทารกกับช่องทางคลอด
3.การตั้งครรภ์แฝด / ครรภ์แฝดน้ำ
4.ทารกไม่ครบกำหนด
5.การตั้งครรภ์หลัง
6.การเจาะถุงน้ำ หรือถุงน้ำแตกก่อนที่ส่วนนำจะลงสู่ช่องเชิงกราน
7.สายสะดือยาวกว่าปกติ
8.รกเกาะต่ำหรือสายสะดือเกาะบริเวณริมขอบรก
อาการและอาการแสดง
1.คลำพบสายสะดือจากการตรวจภายใน อาจจะจับได้ชีพจรบนสายสะดือเต้นเป็นจังหวะ
2.เห็นสายสะดือโผล่พ้นช่องคลอดออกมา
3.เสียงหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ โดยหาสาเหตุอื่นไม่พบ ถ้าสายสะดือพลัดต่ำชนิด occult prolapsed cord และตรวจไม่พบส่วนของสายสะดือโผล่ออกมา หรือคลำไม่พบสายสะดือจากการตรวจทางช่องคลอด ถ้าบันทึกการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ด้วยเครื่องตรวจสภาพทารกในครรภ์ (fetal monitoring) พบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ (variable deceleration) และมีอัตราการเต้น ของหัวใจทารกลดลง (fetal bradycardia)
4.การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) อาจจะช่วยในการวินิจฉัยสายสะดือย้อยชนิดForelying cord หรือoccult prolapsed cord ได้
ผลกระทบ
ต่อมารดา
ผลกระทบทางด้านจิตใจของมารดาถ้าทารกในครรภ์เสียชีวิต
ต่อทารก
สายสะดือย้อยเป็นภาวะวิกฤตต่อทารกในครรภ์เพราะทารกจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน เนื่องจากสายสะดือถูกส่วนนำกดทับกับช่องทางคลอดจากการรายงานพบว่าทารกจะตายภายในนาที 3 หลังจากสายสะดือถูกกดทับอัตราตายของทารกที่มีภาวะสายสะดือย้อยพบร้อยละ-16.8 10.7
การรักษา
วิธีการช่วยเหลือเพื่อให้ทารกมีโอกาสรอดชีวิต จะต้องรีบให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
ถ้าระยะเวลาตั้งแต่วินิจฉัยโรคจนถึงทารกคลอดนานเกินกว่า 30 นาที อัตราตายของทารกพบประมาณร้อยละ 50 แต่ถ้าระยะเวลาสั้นกว่า 30 นาที อัตราตาย ลดเหลือร้อยละ 15
1.การช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน
1.1.จัดให้ผู้คลอดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าสายสะดือย้อยนอนในท่านอนหงายยกก้น(Trendelenburg position), นอนตะแคงยกก้นสูง(Elevate Sim’s position), นอนในท่าโก้งโค้ง(Knee-chest position)ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้คลอดเพื่อส่งต่อในระยะไกล ๆ ควรรักษาในท่า Elevate Sim’s position
1.2.สอดมือเข้าไปในช่องคลอด แล้วดันส่วนนำไว้ไม่ให้ส่วนนำเคลื่อนลงมากดสายสะดือ
1.3 ให้ออกซิเจนแก่มารดา อาจจะท าให้ทารกได้รับออกซิเจนมากขึ้น
1.4 ถ้าสายสะดือมีแนวโน้มจะโผล่อกมานอกช่องคลอด ควรพยายามให้อยู่ในช่องคลอด เพราะอุ่น และไม่แห้ง ลดการหดเกร็งของหลอดเลือด(vasospasm)
1.5.หากสายสะดือย้อยออกมานอกช่องคลอด ให้ใช้ก๊อซชุบ NSS คลุมปิดสายสะดือไว้ป้องกันไม่ให้สายสะดือแห้ง ลดการหดเกร็งของหลอดเลือด(vasospasm)
1.6.ทำให้กระเพาะปัสสาวะโปุงตึงโดยการใส่น้ำเกลือ-1,000 มิลลิลิตรทางสายสวนปัสสาวะ500 เพราะเชื่อว่ากระเพาะปัสสาวะโปุงตัวขึ้นจะช่วยดันมดลูกและส่วนนำของทารก เป็นการช่วยเหลืออ หนึ่ง เพื่อลดความรุนแรงในการหดรัดตัวของมดลูกและลดการกดทับสายสะดือจากส่วนนำของทารก
2.การช่วยเหลือการคลอด
2.1 ถ้าทารกในครรภ์มีชีวิตอยู่ ปากมดลูกเปิดหมด ศีรษะทารกลงมาต่ำให้ช่วยคลอดด้วยคีม
2.2 ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เป็นวิธีที่ดีที่สุดยกเว้นกรณีที่ทารกเสียชีวิต
2.3กรณีที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตให้ดำเนินการคลอดทางช่องคลอดยกเว้นกรณีที่มีการผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับช่องเชิงกราน อาจจะต้องทำหัตถการทำลายทารก หรือผ่าท้องคลอด
2.4 Breech extraction ในกรณีที่เป็นท่าก้น ปากมดลูกเปิดหมด ไม่มีภาวะผิดสัดส่วนของทารกช่องเชิงกราน
2.5ใช้เครื่องดึงสุญญากาศในรายที่เป็นครรภ์หลังปากมดลูกเปิดเกือบเต็มที่แล้วและท่าศีรษะการผิดสัดส่วนของทารกกับช่องเชิงกรานมารดา ซึ่งจะช่วยลดอัตราตายของทารกในกรณีที่ห้องผ่าตัดพร้อม
2.6ในครรภ์หลังที่ปากมดลูกเปิดตั้ง 7-8 cm.ขึ้นไปที่เป็นชนิด Forelying cord ท่าของทารกปกติมีความก้าวหน้าของการคลอดเร็ว ทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจน(fetaldistress) พยายามไม่ให้ถุงน้ำแตก อาจจะรอเพื่อให้คลอดเองทางช่องคลอดได้
การพยาบาล
1.ประเมินสภาพมารดาและทารกในครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย เช่น ทารก ท่าผิดปกติมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์ เป็นต้น เพื่อปูองกันไม่ให้เกิดภาวะสายสะดือย้อย
2.ดูแลให้นอนพักบนเตียงเมื่อถุงน้ าคร่ าแตก
3.ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อประเมินสภาพทารกในครรภ์
4.ตรวจภายในด้วยความนุ่มนวล ระมัดระวังไม่ให้ถุงน้ำแตกเพื่อประเมินการเกิดภาวะสายสะย้อย
5.ถ้าตรวจพบสายสะดือย้อย ใช้นิ้วมือดันส่วนน าไว้ไม่ให้เคลื่อนต่ าลงมา และจัดท่านอนให้ยกก้นสู เพื่อลดการกดทับสายสะดือ
6.ดูแลให้มารดาได้รับออกซิเจน เพื่อให้ทารกได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น
เตรียมการคลอดฉุกเฉินหรือเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และรายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือโดยรีบด่วน
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการช่วยเหลือ เพื่อความร่วมมือและคลายความวิตกกังวล
ประเมินสภาพจิตใจมารดาหลังคลอดในกรณีที่สูญเสียบุตร เพื่อให้การดูแลด้านจิตใจ ประคับประคองด้านจิตใจ ตลอดจนส่งเสริมครอบครัวให้การสนับสนุนด้านจิตใจด้วย
ข้อวิจนิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อยเนื่องจากทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนให้การช่วยเหลือมารดา เพื่อความร่วมมือและคลายความวิตกกังวลในมารดาที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย เนื่องจากทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
2.ตรวจภายในด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวังไม่ให้ถุงน้แตกในมารดาที่ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
3.ฟังและบันทึกเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุก1ชั่วโมง ในระยะปากมดลูกเปิดช้า(latent phase) และทุก 30 นาที ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว(active phase) แต่ถ้าเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์มากกว่า 160 ครั้ง/นาทีอน้อยกว่าหรื 110 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือท เหมาะสมต่อไป
4.ให้มารดาสังเกตลักษณะการดิ้นของทารกในครรภ์ เพื่อประเมินสภาพทารกในครรภ์
2.เสี่ยงต่อการเกิดสายดือย้อย เนื่องจากมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนให้การช่วยเหลือมารดาเพื่อความร่วมมือและคลาความวิตกกังวลในมารดาที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อย เนื่องจากมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ
2.ดูแลให้มารดานอนพักห้ามลุกจากเตียง เพื่อปูองกันไม่ให้เกิดภาวะสายสะดือย้อย
3.ฟังและบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์อย่างสส่ำเสมอทุก 30 นาที เพื่อประเมินภาวะสายสะดือย้อย
4.ให้มารดาสังเกตลักษณะของน้ำคร่ำหากมีthickหรือ thin meconium stained จัดให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้ายให้ออกซิเจนตรวจภายในเพื่อประเมินภาวะสายสะดือย้อยและรายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
3.ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เนื่องจากเกิดภาวะสายสะดือย้อย
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนให้การช่วยเหลือในมารดาที่มีภาวะสายสะดือย้อย หรือสายสะดืออยู่ต่ำกว่าระดับส่วนนำของทารกเพื่อความร่วมมือและคลายความวิตกกังวล
2.ทันทีที่ตรวจพบสายสะดือย้อย ใช้นิ้วมือดันส่วนนำไว้ไม่ให้เคลื่อนต่ำลงมาทับสายสะดือทารก
3.จัดให้มารดานอนยกก้นสูง เพื่อลดการกดของส่วนนำทารกกับช่องทางคลอด
4.ดูแลให้มารดาได้รับออกซิเจน เพื่อให้ทารกได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น
5.Monitor EFM และบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของสภาพทารกในครรภ์
6.รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือโดยรีบด่วนโดยให้มารดางดน้ำและอาหารให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเจาะเลือดหาหมู่เลือดและจองเลือดไว้เตรียมทำความสะอาดหน้าท้องใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้เพื่อเตรียมการคลอดฉุกเฉิน หรือเตรียมผ่าท้องทำคลอด
7.อธิบายมารดาเกี่ยวกับการช่วยเหลือการคลอดในกรณีต้องผ่าตัดเพื่อให้มารดาเข้าใจและเซ็นใบยินยอมผ่าตัดและอธิบายให้ครอบครัวของมารดาเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นรวมทั้งแนะนำการรักษาพยาบาลเพื่อให้คลายความวิตกกังวลและให้เกิดความมั่นใจในการช่วยเหลือมารดา
4.มารดาและครอบครัวมีความเศร้าโศก เนื่องจากการสูญเสียทารก
1.ประเมินภาวะจิตใจของมารดาและครอบครัวต่อการสูญเสียทารก เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมต่อไป
2.รับฟังมารดาได้ระบายความรู้สึกเงียบๆและรับฟังอย่างตั้งใจด้วยท่าทีที่อบอุ่นเป็นกันเองมิให้มารดารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งยอมรับปฏิกิริยาตอบสนองที่มารดาแสดงออกมาโดยการนั่งเป็นเพื่อนหรือในการทำกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งที่มารดาต้องการ
3.ส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวต่อความเครียดอย่างเหมาะสม เช่นคิคการผ่อนคลายการใช้เทคนิคการหายใจการบริหารร่างกาย การพูดคุยกับมารดาหมกมุ่นเพื่อมิให้อยู่กับภาวะเศร้าโศก
4.ส่งเสริมและแนะนำให้สมาชิกของครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มารดารับรู้ถึงความรักความห่วงใยจากครอบครัวและมีกำลังใจในการผชิญกับภาวะเศร้าโศก
การจัดท่านอนท่าTrendelenburg position
การจัดท่าElevate Sim’s position
การจัดท่าKnee-chest position