Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ภาวะผู้นำทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 4 ภาวะผู้นำทางการพยาบาล
ผู้นำ
หมายถึง
ผู้มีความสามารถหรือศิลปะจูงใจให้ผู้อื่นคิดตามหรือปฏิบัติตาม
Trait theory ทฤษฎีคุณลักษณะ
คุณลักษณะที่สำคัญ 4 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
ความมีมนุษยสัมพันธ์
วุฒิภาวะทางสังคม
ความเฉลียวฉลาด
แรงจูงใจภายในและแรงขับด้านความสำเร็จ
ศึกษาจากบุคลิกภาพผู้นำโดยตรง
คุณลักษณะผู้นำไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และจากประสบการณ์ สามรถฝึกฝนได้
Behavioral theory ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม
การศึกษาผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งโอไฮโอ
เพื่อบ่งชี้พฤติกรรมผู้นำ
เพื่อค้นหาแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการทำงานของผู้ตาม
เพื่อค้นหาแบบผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
ใช้แบบสอบถาม
LBDQ (The Leader Behaviour Descriptive)
LOQ (The Leader Opinion Questionnaire)
ผลการศึกษา
พฤติกรรมริเริ่ม (initiating structure)
ชอบกำหนดบทบาทตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา กำหนดวิธีการทำงานและเวลาที่งานจะเสร็จ
ผู้นำที่มุ่งผลสำเร็จของงาน
พฤติกรรมคำนึงถึงผู้อื่น (Consideration)
ให้ความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงมีความพอใจในงาน
การวิจัยพบว่า
รูปแบบที่ดีที่สุดของพฤติกรรมผู้นำ คือ ควรมี intiating และ consideration สูงทั้ง 2 อย่าง
การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน
เพื่อค้นหาหลักการและวิธีการของภาวะผู้นำ
ผลการศึกษา
พฤติกรรมมุ่งงาน (Production Oriented)
เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ โดยมองคนหรือพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้เกิดผลงาน
พฤติกรรมมุ่งคน (Employee Oriented)
เน้นความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน สนใจและยอมรับความคิดเห็นของพนักงาน ดูแลช่วยเหลือพนักงานเป็นอย่างดี
แนวความคิดนี้เสนอว่า
พฤติกรรมมุ่งคน
ผู้ตามมีขวัญและกำลังใจในการทำงานสูงกว่าผู้บริหารที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน
การศึกษาผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งไอโอวา
Kurt Lewin. Ronald Lippitt. Ralph White
ผู้นำแบบอัตาธิปไตย (Autocratic leaders)
เผด็จการ ชอบสั่งการ
จุดเด่น
เหมาะในสถานการณ์ที่ต้องการความรวดเร็ว ใช้กับบุคคลที่ไม่ต้องการจะรับผิดชอบใดๆ
จุดอ่อน
ลดโอกาสการได้ใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้ตามในการวางแผน และการตัดสินใจ
ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic style)
เป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม การสื่อสารจะเป็นแบบสองทาง คือ จากผู้นำไปสู่ผู้ตาม และจากผู้ตามไปสู่ผู้นำ
จุดเด่น
ผู้ตามมีส่วนร่วม เพิ่มความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
จุดอ่อน
อาจทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez fair style)
ให้อำนาจความรับผิดชอบทั้งหมดแก้ผู้ตาม
จุดเด่น
ทำให้ผู้ตามได้ดูแลตนเอง มีอิสระในการทำสิ่งต่างๆ
จุดอ่อน
ขาดเป้าหมายและทิศทางของกลุ่ม
Kurt Lewin
ได้ทำการศึกษาในปลายทศวรรษที่ 1930
พบว่ากลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยโดยทั่วไป ทำงานได้ในจำนวนเหมือนๆกับกลุ่มที่นำโดยผู้นำแบบประชาธิปไตยมีความพอใจในงานมากกว่า
Managerial Grid of Leadership Theory
แบบเรื่อยเฉื่อย (impoverished) (1,1)
ไม่สนใจผลสำเร็จของงาน ไม่กระตุ้นจูงใจสมาชิก หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ ไม่มีข้อมูลป้อนกลับการทำงาน สร้างบรรยากาศแบบเฉื่อยชา
แบบมิตรภาพสังสรรค์ (country club) (1,9)
เน้นความเป็นมิตรและความพอใจของสมาชิก ทำหน้าที่ตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ สร้างบรรยากาศแห่งมิตรภาพ สนใจกิจกรรมทางสังคมมากกว่าที่จะมุ่งผลงานจริง
แบบเน้นงาน (task) (9,1)
ให้ความสำคัญผลงานเป็นหลัก ไม่สนใจความรู้สึกของสมาชิก
แบบเดินสายกลาง (middle of the road) (5,5)
ตัดสินใจด้วยการโหวต ให้ความสำคัญทั้งงานและคนในระดับปานปลาง ทำงานเพื่อรักษาสภาพการให้ปกติเท่านั้น
แบบทำงานเป็นทีม (team) (9,9)
เปิดโอกาสในสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาและข้อขัดแย้ง
ร่วมกำหนดวัตถุประสงค์
สร้างบรรยากาศบนพื้นฐานของการยอมรับเชื่อถือ และศรัทธราซึ่งกันและกัน
ป้อนกลับด้วยการประเมินอย่างมีเหตุผล
ศึกษาพฤติกรรมผู้นำที่แสดงออก
พยายามหาผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้ทุกสถานการณ์
ทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ Contingency leadership theory
Hersey and Blanchard theory
The situational leadership
ผู้นำจะประสบผลสำเร็จในการนำ ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกใช้แบบผู้นำของตนเหมาะสมกับความพร้อมในการทำงานของผู้ตาม
วุฒิภาวะของผู้ตาม
R1 - ไม่เต็มใจรับผิดชอบงาน และไม่มีความสามารถรับผิดชอบงาน
R2 - เต็มใจรับผิดชอบงาน แต่ไม่มีความสามารถรับผิดชอบ
R3 - มีความสามารถในการรับผิดชอบ แต่ไม่เต็มใจรับผิดชอบ
R4 - เต็มใจรับผิดชอบงานและมีความสามารถรับผิดชอบ
Leader behaviour
S1 - ผู้นำแบบสั่งการ (telling)
เหมาะกับ R1
S2 - ผู้นำแบบขายความคิด (selling)
เหมาะกับ R2
S3 - ผู้นำแบบมีส่วนร่วม (participating)
เหมาะกับ R3
S4 - ผู้นำแบบกระจายอำนาจ (delegating)
เหมาะกับ R4
Fiedler's Contingency Leadership Theory
แบ่งเป็น 2 แบบ
ผู้นำแบบมุ่งงาน (Task-Oriented)
เหมาะกับสถานการณ์ที่ดี คือ สถานการณ์ที่ 1,2,3,7,8
ผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ (Relationship-Oriented)
เหมาะกับสถานการณ์ที่ดีคือ สถานการณ์ที่ 4,5,6
ภาวะผู้นำตามสถานการณ์
เมื่อนำทั้ง 3 องค์ประกอบ มารวมกันจะได้เป็น 8 สถานการณ์ ซึ่งแต่ละสถานการณ์จะเหมาะกับรูปแบบการบริหารของผู้นำต่างกัน
เชื่อว่า
รูปแบบการบริหารงานของผู้นำ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร
สถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพความเป็นผู้นำ 3 องค์ประกอบ
Leadership-Member Relations
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ปฏิบัติงาน หากทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อมั่น ไว้ใจและเคารพต่อกันถือว่า ความสัมพันธ์ดี (good) หากตรงกันข้ามถือว่าไม่ดี (poor)
Task Structure
โครงสร้างของงาน หากจัดโครงสร้าง และการแบ่งงานชัดเจนถือว่ามีความแน่นอนสูง (high ) แต่หากไม่ชัดเจนถือว่ามีความแน่นอนตำ่ (low)
Position Power
อำนาจจากตำแหน่งของผู้นำที่เป็นทางการที่องค์การกำหนดไว้ ถ้ากำหนดไว้มาก ก็มีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นมาก (strong) แต่ถ้าอำนาจของผู้นำไม่สามารถจัดการผู้ตามได้ถือว่าอ่อนอแ (weak)
Path Goal theory
ทฤษฏีการเส้นทางไปสู่เป้าหมายของ House
Robert J House
สมมติฐานของทฤษฎีเส้นทางไปสู่เป้าหมาย ( path-goal theory) ได้ระบุว่าผู้นำที่มีประสิทธิผลจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้บรรลุเป้าหมาย
โดย
ค้นหารางวัลหรือผลที่บุคคากรต้องการได้รับจากงานและองค์การ
กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทาย ตลอดจนสร้างการรับรู้ว่าการบรรลุเป้าหมายจะทำให้ได้รับรางวัลตามที่ต้องการ
สร้างความชัดเจนในเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายให้กับบุคลากร ซึ่งขึ้นกับตัวแปรเชิงสถานการณ์
เชื่อว่า
พฤติกรรมผู้นำสามารถยืดหยุ่น หรือเปลี่ยนรูปแบบได้ (ตรงข้ามกับ Fiedler Model) หมายความว่า ผู้นำคนเดียวกันอาจมีรูปแบบพฤติกรรมเป็น Directive หรือ Supportive หรือ Participative หรือ Achievement Oriented ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
แบ่งผู้นำเป็น 4 แบบ
ผู้นำแบบชี้นำ (Directive Leader Behaviour)
ผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive Leader Behaviour)
ผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative Leader Behaviour)
ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (Achievement-Oriented Leader)
ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงเป้าหมาย หรือ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำปฏิรูป
ภาวะผู้นำเชิงเป้าหมาย หรือภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน Transactional leadership
เป็นรูปแบบที่อยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำและผู้ตาม โดยผู้นำจะทำให้ผู้ตามรู้ว่าถูกคาดหวังว่าควรจะทำอะไร เพื่อที่จะได้สิ่งที่ตนต้องการตอบแทน
ผู้นำช่วยกำหนดเป้าหมายการทำงาน เมื่อผู้ตามทำได้สำเร็จก็จะได้รับรางวัลที่ต้องการจากผู้นำ
จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้นำได้เปลี่ยนแปลงบุคลากร 3 วิธีการ
บุคลากรต้องการรับรู้ว่าตนคือผู้มีความสำคัญต่องานขององค์การ
บุคลากรต้องรับรู้ถึงความต้องการของตนเองเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและการประสบความสำเร็จ
ผู้จัดการต้องจูงใจบุคลากรให้ทำงานเพื่อสิ่งที่ดีต่อองค์การโดยส่วนรวม
ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป Transformational leadership
ผู้นำแบบปฏิรูป คล้ายกับภาวะผู้นำเชิงเป้าหมาย
ต่างกันตรงที่รางวัลที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเองจากภายในของผู้ตาม
เช่น
ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงานนั้นสำเร็จ
โดยผู้นำไม่ได้ให้รางวัลจากภายนอกเป็นการตอบแทน
ผู้นำมีอิทธิพลเหนือผู้ตามเพราะผู้ตามมีใจอยากทำงานจากความรู้สึก ชื่นชม เคารพนับถือ และความรู้สึกที่ดีต่อผู้นำ
องค์ประกอบ 3 ประการ
บุคลิกภาพน่านับถือ มีบารมี
การกระตุ้นความคิดอย่างมีเหตุผล
การใส่ใจผู้ตาม
คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการพยาบาล
มีสติปัญญาและความเชี่ยวชาญ
มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
การได้รับเกียรติและยอมรับจากวิชาชีพอื่น
เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การใช้ความรู้เพื่อถ่ายทอดแก่บุคคลและต่อยอดเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
มีบุคลิกภาพและมีความคิดที่ดี
การอุทิศตนและเสียสละการให้และสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
มีความคิดดีและเข้าใจผู้อื่น
มีคุณธรรมจริยธรรม
มีความมุ่งมั่นความศรัทธาในสิ่งที่ทำ
มีวัยวุฒิที่เหมาะสม
มีความอดทนสูง
มีการดำเนินชีวิต แนววิถีพุทธศาสนาและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
มีความสามารถสูง
ความสามารถด้านบริหารจัดการ
การก้าวทันเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การทำงานเป็นทีม/สร้างทีม/เครือข่าย
มีทักษะการฟังที่ดี
ความเป็นผู้นำ
หมายถึง
กระบวนการจูงใจให้กลุ่มหรือองค์การปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์การนั้น
ผู้นำและผู้บริหาร
การนำคือส่วนหนึ่งของผู้บริหาร
การที่งานของผู้บริหารต้องเกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดองค์การ การนำและควบคุม ดังนั้นการนำและการจัดการ จึงไม่สามารถแบ่งแยกกันได้ในทางทฤษฏี