Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor), นางสาวพิชณ์สินี ศักดิ์เสือ …
การคลอดเฉียบพลัน
(Precipitate labor)
ความหมาย
การคลอดที่เกิดเร็วผิดปกติ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง หรือทั้งหมดในการคลอด 24 ชั่วมง และมีการเปิดขยายปากมดลูกในระยะปากมดลูกขยายเร็ว 5 ซม/ชม
อาการและอาการแสดง
มดลูกมีการหดรัดตัวถี่และรุนแรง มากกว่า 5 ครั้งในเวลา 10 นาที
ตรวจภายในพบปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็ว ครรภ์แรกปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ครรภ์หลังปากหมดลูกเปิด 10 เซนติเมตรหรือมากกว่าต่อชั่วโมง
มีอาการเจ็บครรภ์เป็นอย่างมาก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อที่ช่องคลอดไม่ดี
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
และกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติโดยเกิดขึ้นเองหรือจากการให้ยาเร่งคลอดมากผิดปกติ
ผู้คลอดครรภ์หลัง มีการยืดขยายมากจึงทำให้ส่วนต่าง เช่น คอมดลูก พื้นเชิงกรานช่องคลอและฝีเย็บหย่อนตัว
ผู้คลอดที่มีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกบปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง
ทารกตัวเล็กหรืออายุครรภ์น้อบกวากำหนด ทำให้เคลื่อนต่ำลงมาง่าย
ผู้คลอดที่ไวต่อการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
วินิจฉัย
มีการหดรัดตัวของมดลูกถี่และรุนแรง มีการหดรัดตัวทุก 2
นาทีหรือบ่อยกว่านั้นและระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกนานมากกว่า 90 วินาทีหรือไม่มีการคลายตัวในระยะที่ควรเป็นระยะพัก
ความดันภายในโพรงมดลูกประมาณ
50-70 มิลลิเมตรปรอท
ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์คลอดและคลอดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง
อัตราการเปิดขยายของปากมดลูก เปิดมากกว่า 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์แรก และเปิดมากกว่า 510 เซนติเมตร ในครรภ์หลัง
การรักษา
ให้การดูแลตามอาการ ถ้าประสบกับการคลอดเฉียบพลันให้ช่วยคลอด
การให้ยารายที่ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรหยุดให้และดูแลอย่างใกล้ชิดอาจให้ ยาช่วยยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
การผ่าตัดคลอดทําในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก(uterine rupture) น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดของผู้คลอด (amniotic fluid embolism)
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
มีการติดเชื่อที่แผลฉีกขาด
ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีเลือดออกจากแผล
และระยะหลังคลอด กล้ามเนื้อมดลูกอ่อนล้าจึงหดรัดตัวไม่ดี
อาจเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตัน
มดลูกแตกจากมดลูกหดรัดตัวรุนแรง
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด
เกิดการคั่งของเลือดใต้ชั้น ผิวหนังที่ฉีกขาด
อาจเกิดมดลูกปลิ้น เนื่องจากความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว
ต่อทารก
เลือดออกในสมอง (subdural hemorrhage) อาจเกิดมาจากศีรษะทารกมากระทบกับแรงต้านของพื้นเชิงกราน
ช่องคลอดและฝีเย็บอย่างรวดเร็ว ทาให้ความดันภายในสมองลดลงอย่างรวดเร็วจึงเกิดเลือดออกในสมอง
ถ้าคลอดออกมาทั้ง ถุงน้ำคร่ำ (caul delivery) ทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน (asphyxia) เนื่องจากรกลอกตัวก่อนกาหนดหรือจากการที่มดลูกหดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
สายสะดือขาดขาดเนื่องจากสายสะดือสั้น หรือรกยังไม่ลอกตัว
ทารกอาจเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากไม่ได้เตรียมทําความสะอาดก่อนคลอด
รกลอกตัวก่อนกําหนด
ถ้าให้การช่วยเหลือช้า ทารกอาจเกิดภาวะหนาวสั่นหรือการช่วยฟื้นคืนชีพช้าทําให้เสียชีวิต
ทารกได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการกระทบกระแทกเพราะการช่วยคลอดไม่ทัน
อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อแขนถูกดึงมากเกินไป ทารกไม่สามารถยกมือได้แขนข้างที่เป็นจะบิดไปติดกับลำตัว ฝ่ามือหันไปทางด้านหลัง กางแขนออกไม่ได้ภาวะนี้เรียกว่า Erb’palsy
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติเนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
หยุดการให้ยา Oxytocin ในมารดาที่มีอาการแสดงภาวะที่จะคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
กระตุ้นและควบคุมให้มารดาหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบาๆ เข้าออกทางปากและจมูกเมื่อปากมดลูกเปิดหมด เพื่อลดความรู้สึกอยากเบ่ง หรือไม่ให้เบ่งเร็วเกินไป
ไม่ทอดทิ้งผู้คลอดให้อยู่ตามลําพัง และพิจารณาการย้ายผู้คลอดเพื่อเตรยีมการคลอดโดยเร็ว
ประเมิน probable sign หากมีอาการแสดงเหล่านี้ให้ตรวจภายใน เพื่อเตรียมคลอดทันที
ประเมินความรู้และให้ข้อมูลที่จําเป็น เกี่ยวกับกระบวนการคลอดเทคนิคการหายใจและการฝึกผ่อนคลาย
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทําคลอดและอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม
ทําคลอดทารกโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
ถ้าถุงน้ำยังไม่แตก และผู้คลอดเบ่งคลอดให้เจาะถุงน้ำคร่ำ ขณะที่มดลูกคลายตัว เพื่อป้องกันทารกสําลักน้าคราและช่วยให้ทารกหายใจได้สะดวกภายหลังคลอด
ถ้าทรกคลอดขณะถุงน้ำยังไม่แตก ไม่ควรจับทารกมากเกินไป เพราะจะทำให้กระตุ้นให้ทารกหายใจ ทำให้สำลักน้ำคร่ำ ควรรีบฉีกถุงน้ำให้แตก และจับทารกให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัว
ใช้ลูกสูบยางแดงดูดเมือกและนออกจากปากและจมูกของทารกโดยจัดให้ทารกนอนต่ำกว่าศีรษะและลําตัว
ประเมินคะแนน APGAR ใน 1 นาทีและ5 นาทีถ้าคะแนนต่ำกว่า 7 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต้องรีบให้ความช่วยเหลือ
เตรียมอุปกรณ์และให้ความช่วยเหลือในการประเมินสภาพทารก
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามดลูกนุ่มคลึงมดลูกและไล่ก้อนเลือด
สังเกตปริมาณเลือดที่อกทางช่องคลอด ถ้าออกมากกว่า 100 มิลลิลิตร/ชั่วโมง
ให้รายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ตรวจสอบความสมบูรณ์ในการลอกตัวและการคลอดของรก เพื่อเป็นการยืนยันว่า ไม่มีส่วนใดของรกหรือเศษเยื่หุ้มรกค้างอยู่ในมดลูก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อไม่ใหขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจสอบการฉีกขาดของช่องทางคลอด และรีบทำการเย็บ ซ่อมแซม เพื่อช่วยให้เลือดหยุด ป้องกันการสูญเสียเลือดมาก
วิตกกังวล/กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะจิตใจของมารดาต่อภาวะผิดปกติและการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ให้ข้อมูลที่เป็นจริงในสิ่งที่มารดาสงสัย เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและแผนการรกัษา
เปิดโอกาสให้มารดาและครอบครัวซักถามข้อสงสัย ระบายความรู้สึกและรับฟังอย่างตั้งใจ
ให้มารดาและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกกลัว และวิตกกังวลต่างๆ และรับฟังด้วยความสนใจด้วยท่าทีที่อบอุ่นเป็นกันเอง
เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
กิจกรรมการพยาบาล
ช่วยนวดบริเวณหลังและต้นขา เพื่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อและช่วยให้มารดามีความสุขสบายขึ้น
สอนเทคนิคการหายใจและการผ่อนคลาย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดที่มารดาเผชิญอยู่
จัดให้มารดานอนตะแคงซ้าย เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัด ตัวประสานกันดีป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อมดลูกและทารก
อยู่เป็นเพื่อน ให้กำลังใจแก่ผู้คลอด หรือหมั่นดูอาการอย่างสม่ำเมอ
ดูแลความสะอาดของร่างกาย และจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด
ไม่ควรให้ยาบรรเทาปวด เพราะจะทําให้การคลอดดำเนินไปเร็วและยาจะกดศูนย์หายใจของทารก
การพยาบาล
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรกัษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
ระยะหลังคลอดให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ในกรณีที่มีการฉีกขาดของช่องทางคลอดและมดลูกหดรัดตัวไม่ดีเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ให้การดูแลตามอาการ
กรณีที่จะมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบอื่นๆ เร็วๆ เบา ๆ เข้าออกทางปากและจมูก
2 ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บพร้อมทั้งใช้มืออีกข้างกดศีรษะทารกให้ก้มลงก่อนที่ศีรษะทารกจะคลอด
ในกรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง
และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว ให้กางขามารดาออก
จับให้ทารกนอนศีรษะตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งและดูดน้าคร่ำ 6 ในปากและจมูกทารกออก
มารดาที่มีประวัติการคลอดเร็วต้องระมัดระวังในการให้การพยาบาลโดยการประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
ประเมินและบันทึกการหดรดั ตัวของมดลูก และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ทุก 30 นาที
ประเมินการเปิดขยาย และความบางของปากมดลูกเมื่อมารดาอยากเบ่ง
พิจารณาย้ายมารดาเข้าห้องคลอด
ในมารดาที่มีประวัติการคลอดเร็วควรย้ายเข้าห้องคลอดเมื่อปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติ
ประวัติการคลอดเฉียบพลัน
หรอืการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน
ลักษณะอาการเจ็บครรภ์
อาการอื่นๆ ร่วมกับการเจ็บครรภ์
ความไวต่อการเร่งคลอด
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายใน เพื่อประเมินอัตราการเกิดขยายของปากมดลูก
2 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
3 การฟังเสียงหวัใจทารกในครรภ์ร่วมกับการ monitor EFM
ภาวะจิตสังคม
ประเมินความวิตกกังวล และความหวาดกลัวของผู้คลอด
นางสาวพิชณ์สินี ศักดิ์เสือ
601001091