Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism/AFE),…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism/AFE)
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดลมในปวด คือภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสลือดของมารดา จะเข้าไปในหลอดลมฝอย แล้วอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด
ลักษณะเฉพาะ 3 ประการ
1.ภาวะความดันโลหิตต่ำ(hypotension) อย่างทันทีทันใด
2.ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
3.ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
(consumptive coagulopathy)
อุบัติการณ์พบได้น้อยมาก 1:20,000 ของการคลอด ถ้าเกิดภาวะนี้อัตราตายมารดามากกว่าร้อยละ 80 ส่วนใหญ่จะเจอในครรภ์หลังมากกว่าครรภ์แรก
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอด ใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานานทำให้มีการเปื่อยยุ่ย ขาดง่าย อาจเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด ทำให้น้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือด
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
การบาดเจ็บของช่องท้อง
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
มารดามีบุตรหลายคน
มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อเปิดขยายปากมดลูก
การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
พยาธิสภาพเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วส่วนประกอบน้ำคร่ำจะเข้าสู่ระบบไหลเวียน ผ่านเข้าสู่หัวใจและปอดทำให้การแลกเปลี่ยนเลือดไม่ดี เกิดการคั่งในปอด หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวได้ เกิดภาวะปอดบวมน้ำ ส่งผลการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในหลอดเลือดแดงและลิ่มเลือดเล็กแพร่กระจายในหลอดเลือดซึ่งผู้คลอดจะเสียเลือดและเสียชีวิตในที่สุด
อาการและอาการแสดง
หนาวสั่น
เหงื่อออกมาก
คลื่นไส้ อาจียน วิตกกังวล
หายใจลำบาก (dyspnea) เกิดภาวะหายใจล้มเหลวทันทีทันใด เขียวตามใบหน้า และลำตัว(cyanosis)
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary edema)
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก (low blood pressure)
ชัก
หมดสติ (Unconscious) และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชม.ผู้คลอดยังมีชีวิตเกิดการแข็งตัวของเลือดเสียไปและตกเลือดรุนแรง
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง ที่สำคัญ 5 อย่าง
ระบบหายใจล้มเหลว (respiratory distress)
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง (cardiovascular collapse)
เลือดออก
ไม่มีสติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน (lanugo hair) เมือกของทารกหรือเซลล์จากรก (fetal
squamous cell, fetal debris, trophoblasts) ซึ่งต้องอาศัยการย้อมสีพิเศษ
การชันสูตรศพ (autopsy)
เลือดจากกระแสเลือดไปปอดของมารดา หรือจากในสายของซีวีพี (CVP line)
เสมหะ
2.2การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ส่วนใหญ่จะไม่พบความผิดปกติแต่อาจพบลักษณะ pulmonary edema
2.3 การตรวจคลื่นไฟฟูาหัวใจ (ECG) จะพบลักษณะ tachycardia STและ T wave เปลี่ยนแปลง และมีRV strainได้
2.4ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอดพบความบกพร่องในการกำซาบ (perfusion defect) ได้
2.5 การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
ผลกระทบ
มารดา
ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการเสียเลือด ถ้ารอดมักจะมีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ทารก
ทารกมีโอกาสรอดน้อย แต่เกือบครึ่งที่รอดจะมีภาวะพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
ขณะเจ็บครรภ์คลอดไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป
การเจาะถุงน้ำคร่ำควรทำอย่างระมัดระวังไม่ให้ถูกปากมดลูก
กรณีที่เด็กตายในครรภ์มีการกระตุ้นการเจ็บเจ็บต้องระมัดระวังการใช้ Oxytocin drip และไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่่ำ
(stripping membranes) จากคอมดลูก
เพราะจะทำให้เลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำการตรวจภายในควรจะกระทำอย่างระมัดระวัง
ผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากเกินกำหนด ผู้คลอดพักได้น้อยควรรายงานแพทย์เวรทราบทุกครั้ง
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
จัดให้นอน Fowler ‘ s position
ให้ออกซิเจน 100%
ถ้ามีระบบการหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
ดูแลระบบการไหลเวียนเลือด
โดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก
โดยให้ยา oxytocin หรือ methergin ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าทารกยังไม่คลอดประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกและรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วน
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำ
เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
ประเมินเลือดออกจากช่องคลอด
การพยาบาล
1.เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุกกั้นหลอดเลือดในปอด
2.ถ้ามีอาการภาวะชักเกร็ง หรือมีภาวะตัวเขียว ปฏิบัติดังนี้
2.1จัดให้มารดานอนในท่า fowler
2.2ให้ออกซิเจน
2.3ให้สารน้ำและเลือดตามแผนการรักษา
2.4เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
2.5สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
2.6เตรียมช่วยเหลือโดยคีมหรือผ่าตัดทางหน้าท้อง
2.7เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายที่เกิดหัวใจล้มเหลว
2.8 ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก ภายใต้การดูแลในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก
2.9 ดูแลและให้กำลังใจครอบครัว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการตกเลือดอย่างรุนแรงและเกิดภาวะช็อค เนื่องจากการขาดกลไกการแข็งตัวของเลือด
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล:มารดาไม่เกิดภาวะตกเลือด และภาวะช็อค
เกณฑ์การประเมินผล
BP ไม่ต่ ากว่า 90/60 mmHg P 60-100 ครั้ง/นาที, R 16-20 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการแสดงของการตกเลือด ได้แก่ ใจสั่น ตัวเย็น ความดันโลหิตลดต่ำลง
ในระยะคลอดปริมาณเลือดออกจากช่องคลอดไม่เกิน 500 มิลลิลิตร
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้สารน้ำและให้เลือดตามแผนการรักษา
2.งดน้ำและอาหาร เตรียมช่วยเหลือการคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ
3.สังเกตอาการผิดปกติ เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น หน้ามืด ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ
4.เตรียมช่วยมารดาในภาวะฉุกเฉิน ทั้งด้านการหายใจ ตกเลือด
5.บันทึกจำนวนปัสสาวะ
6.บันทึกสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตทุก 15 นาที
เกิดภาวะขาดออกซิเจนทั้งมารดาและทารก เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดเลือดที่ปอดมารดา
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล:มารดาและทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจของมารดา 16-20 ครั้ง/นาที
FHR 110-160 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอน Fowler’s position
2.ให้ออกซิเจนให้เพียงพอ เพื่อปูองกันไม่ให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในมารดาและทารก
3.บันทึกสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที
4.ฟังและบันทึก FHS ทุก 15 นาที
5.ดูแลมารดาอย่างใกล้ชิดเพื่อประคับประคองจิตใจ