Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารก - Coggle Diagram
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารก
Bonding (ความผูกพัน)
หมายถึงกระบวนการผูกพันทางอารมณ์ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีต่อทารกฝ่ายเดียวเกิดขึ้นตั้งแต่วางแผนตั้งครรภ์ทราบว่าตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อรับรู้ว่าลูกดินและเพิ่มสูงสุดเมื่อทารกคลอดออกมา
Attachment (สัมพันธภาพ)
หมายถึงความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างทารกกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นพิเศษและคงอยู่ถาวรจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อยจากความใกล้ชิดห่วงใยอาทรเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความผูกพันทางใจจะใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
การพัฒนาสัมพันธาภาพในระยะหลังคลอด
คือ มารดาจะแสดงความรักความผูกพันกับลูกตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอดจนกระทั่งถึง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด (Sensitive period) และทารกมีความตื่นตัวจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ก่อให้เกิดความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาทารก
เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เหมาะสมต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 1 การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3 การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4 การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5 การยอมรับว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ขั้นที่ 2 การยืนยันการตั้งครรภ์
ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ขั้นที่ 6 การสนใจดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7 การมองดูทารก
ขั้นที่ 8 การสัมผัสทารก
ขั้นที่ 9 การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกในระยะแรกเกิด
การสัมผัส (touch, tactile sense)
ความสนใจของมารดาในการสัมผัสบุตรโดยจะเริ่มสัมผัสบุตรด้วยการใช้นิ้วสัมผัสแขนขาจากนั้นจะบีบนวดสัมผัสตามลำตัวทารกจะมีการจับมือและดึงผมมารดาเป็นการตอบสนอง
การประสานสายตา (eye-to-eye contact)
เป็นสื่อที่สำคัญต่อการเริ่มต้นพัฒนาการด้านความเชื่อมั่นความไว้วางใจและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมารดาจะรู้สึกผูกพันใกล้ชิดมากขึ้นเมื่อทารกลืมตาและสบตาตนเองมารดาส่วนใหญ่จึงพยายามมองอย่างเผชิญหน้า (Face to face position) เพื่อให้ประสานสายตากับทารกได้ดีขึ้นระยะที่ทารกสามารถมองเห็นมารดาได้ชัดเจนคือ 8-12 นิ้ว
การใช้เสียง (voice)
การตอบสนองเริ่มท้าทารกเกิดมารดาจะรอฟังเสียงทารกร้องครั้งแรกเพื่อยืนยันภาวะสุขภาพของทารกและทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อระดับเสียงสูง (High pitch voice) ได้ดีกว่าเสียงต่ำ (Deep loud voice)
การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด (entrainment)
ทารกจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดาเช่นขยับแขนขายิ้มหัวเราะเป็นต้น
จังหวะชีวภาพ (biorhythmcity)
หลังคลอดทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจากในครรภ์ของมารดามารดาจะช่วยทารกให้สร้างจังหวะชีวภาพได้โดยขณะที่ทารกร้องให้มารดาอุ้มทารกไว้แนบอกทารกจะรับรู้เสียงการเต้นของหัวใจมารดาซึ่งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์ทำให้ทารกมีความรู้สึกมั่นคงยิ่งขึ้น
การรับกลิ่น (odor)
มารดาจำกลิ่นกายของทารกได้ตั้งแต่แรกคลอดและแยกกลิ่นทารกออกจากทารกอื่นได้ภายใน 3-4 วันหลังคลอดส่วนทารกสามารถแยกกลิ่นมารดาและหันเข้าหากลิ่นน้ำนมมารดาได้ภายในเวลา 6-10 วันหลังคลอด
การให้ความอบอุ่น (body warmth หรือ heat)
มีการศึกษาพบว่าหลังทารกคลอดทันทีได้รับการเช็ดตัวให้แห้งห่อตัวทารกและนำทารกให้มารดาโอบกอดทันทีทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อนและทารกจะเกิดความผ่อนคลายเมื่อได้รับความอบอุ่นจากมารดา
การให้ภูมคุ้มกันทางน้ำนม (T and B lymphocyte)
ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันในนมแม่ ได้แก่ T lymphocyte, B lymphocyte และ Immunoglobulin A ช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
การให้ภูมคุ้มกันทางเดินหายใจ(bacterianasal flora)
ขณะที่มารดาอุ้มโอบกอดทารกจะมีการถ่ายทอดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ (normal flora) ของมารดาสู่ทารกเกิดภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะตั้งครรภ์
ยอมรับการตั้งครรภ์
ครอบครัวคอยให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดามารดา
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ระยะคลอด
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
ส่งเสริมให้การคลอดผ่านไปอย่างปลอดภัย
ให้ข้อมูลเป็นสื่อกลางระหว่างผู้คลอดและครอบครัว
ระยะหลังคลอด
ส่งเสริมให้มารดาสัมผัสโอบกอดทารกทันทีหลังคลอดใน 50% sensitive period
Rooming in โดยเร็วที่สุด
ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร
ตอบสนองความต้องการของมารดา
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับทารก
เป็นตัวแบบในการสร้างสัมพันธภาพกับทารก
ให้มารดาทารกบิดาได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง
การพยาบาลอาการไข้จากการตอบสนองของร่างกาย
(Reactionary fever)
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงและสังเกตและติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกาย
กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวันเพื่อทดแทนการสูญเสียสารน้ำจากการคลอด
ให้มารดาหลังคลอดพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น
ปรับกิจกรรมการพยาบาลให้เป็นระบบรบกวนมารดาหลังคลอดให้น้อยที่สุดเพื่อให้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดมดลูก (After pain)
อธิบายกลไกความปวดมดลูกเป็นอาการปกติที่พบได้ 1-2 วันแรกหลังคลอดโดยเฉพาะมารดาที่เคยผ่านการคลอดมาก่อนจะปวดมากกว่าครรภ์แรก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง
แนะนำให้นอนคว่โดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกดเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวและน้ำคาวปลาไหลสะดวก
ไม่ควรประคบด้วยความร้อนบริเวณหน้าท้องในวันแรกเพราะจะทำให้มดลูกคลายตัวอาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
ให้รับประทานยาแก้ปวดก่อนให้นมบุตรอย่างน้อย 30 นาทีหากมีอาการปวดมากหรือปวดระหว่างให้นมบุตร
รายงานแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาถ้ามีอาการปวดมดลูกผิดปกติคือปวดนานมากกว่า 72 ชั่วโมงหรือปาดรุนแรงเพราะอาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือก้อนเลือดค้างในโพรงมดลูก
การพยาบาลบรรเทาอาการไม่สุขสบายจากการปวดแผลฝีเย็บ
การวางถุงน้ำแข็ง (ice pack)
ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดหากมีอาการปวดฝีเย็บหรือแผลฝีเย็บบามโดยประคบ ice pack นาน 15-20 นาทีทำให้เนื้อเยื่อบริเวณฝีเย็บชารู้สึกสุขสบายมากขึ้น
การนั่งแช่ก้น (Sitz bath)
ใช้บรรเทาอาการปวดแผลฝีเย็บและบรรเทาอาการปวคริดสีดวงทวารควรทำหลังคลอด 24 ชั่วโมงมี 2 วิธี
การนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่น (Hot sitz bath)
ใช้อุณหภูมิน้ำประมาณ 38-41 องศาเซลเซียสทำวันละ 2 ครั้งเช้า – เย็นครั้งละ 20 นาทีจะทำให้การไหลเวียนโลหิตดีส่งเสริมการหายของแผลฝีเย็บและลดการอักเสบของริดสีดวงทวารช่วยให้สุขสบายมากขึ้น
การนั่งแช่กันในน้ำเย็น (Cool sitz bath)
ปัจจุบันนิยมทำ cool sitz bath เพิ่มขึ้นเพราะช่วยลดอาการปวดและบวมของแผลฝีเย็บโดยให้นั่งแช่ก้นในน้ำเย็นธรรมดาแล้วค่อยๆใส่ก้อนน้ำแข็งลงในอ่างจนกระทั่งมารดาหลังคลอดรู้สึกสุขสบาย
การใช้ยาแก้ปวดมารดาหลังคลอดที่มีอาการปวดแผลฝีเย็บมากอาจให้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวดตามแผนการรักษา
การอบแผลฝีเย็บด้วย infra red light ช่วยลดอาการบวมของแผลฝีเย็นกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตช่วยให้แผลแห้งและหายเร็วส่งผลให้สุขสบายมากขึ้น
การลดแรงกดที่แผลฝีเย็บท่านอนตะแคงจะช่วยป้องกันแรงกดที่แผลฝีเย็บหากนั่งควรนั่งลงน้ำหนักที่แก้มก้นใดแก้มก้นหนึ่งหรือนั่งพับเพียบเพื่อไม่ให้แผลโดนน้ำหนักตัวกดนอกจากนี้การให้มารดาหลังคลอดนั่งบนหมอนโดนัทหรือห่วงยางพบว่าช่วยลดอาการปวดแผลฝีเย็บได้
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจุดประสงค์สำคัญคือการทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงลดปัญหาปัสสาวะเล็ดหลังคลอดนอกจากนั้นยังทำให้มารดาหลังคลอดมีอาการปวดบริเวณแผลฝีเย็บลดลงอย่างชัดเจนและอาการปวดหายไปได้ภายหลังคลอดประมาณ 3 เดือนเช่นการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดฝีเย็บและทวารหนัก (Kegel's exercise) ประมาณ 50-100 ครั้งต่อวันและบริหารต่อเนื่องนาน 2-3 เดือน
การใช้สมุนไพรปัจจุบันมีการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดอาการปวดแผลฝีเย็บโดยนำมาใช้ในรูปของครีมน้ำมันหรือในรูปของสมุนไพรประคบโดยเชื่อว่าน่าจะปลอดภัยเพราะเป็นสารจากธรรมชาติ แต่ข้อมูลจากการศึกษายังมีไม่มากพอ
การพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขอาการท้องผูก
กระตุ้นให้มีการ Early ambulation และบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้รับประทานผักผลไม้เพิ่มกากใยส่งผลให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวันหรือมากกว่า 2,500 ซีซีต่อวัน
แนะนำวิธีการบรรเทาอาการไม่สุขสบายจากปวดแผลฝีเย็บและอาการปวดจากริดสีดวงทวารอักเสบเพื่อให้มารดากล้าเบ่งถ่ายอุจจาระได้มากขึ้น
กรณีมีอาการท้องผูกหลายวันเช่น 3-4 วันขึ้นไปรู้สึกแน่นอึดอัดมากรายงานแพทย์พิจารณาให้ยาระบายอ่อน ๆ ให้ยาเหน็บทางทวารหนักหรืออาจสวนอุจจาระ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดริดสีดวงทวารอักเสบ
กระตุ้นให้มีการ early ambulation และบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้รับประทานผักผลไม้เพิ่มกากใยส่งผลให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวันหรือมากกว่า 2,500 ซีซีต่อวัน
ดูแลทำ hot sitz bath เพื่อทำให้การไหลเวียนโลหิตดีลดการอักเสบของริดสีดวงทวาร
กรณีมีอาการท้องผูกหลายวันเช่น 3-4 วันขึ้นไปรู้สึกแน่นอึดอัดมากรายงานแพทย์พิจารณาให้ยาระบายอ่อน ๆ ให้ยาเหน็บทางทวารหนักหรืออาจสวนอุจจาระ
แนะนำให้นอนในท่านอนตะแคงถึงคำ (Sim s position) ลดการกดทับริดสีดวงทวารและส่งเสริมให้สุขสบายมากขึ้น
การส่งเสริมและช่วยเหลือการขับถ่ายปัสสาวะของมารดาหลังคลอด
ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ความไวในการอยากถ่ายปัสสาวะจะลดลงควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดขับถ่ายปัสสาวะทุก 4-6 ชั่วโมงเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอดควรปัสสาวะแล้วเนื่องจากมีปัสสาวะมากพอสมควร
หากภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด
ปัสสาวะออกน้อยปัสสาวะไม่สุดปัสสาวะไม่ออกหรือกระเพาะปัสสาวะโป่งตึงควรให้การช่วยเหลือดังนี้ 1.สวนปัสสาวะทิ้งและติดตามการขับปัสสาวะ 2. กรณีสวนปัสสาวะแล้วพบว่าปัสสาวะค้าง (Residual urine) มากกว่า 50 มิลลิลิตรอาจได้รับพิจารณาสวนปัสสาวะคาไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงเพื่อช่วยให้แรงดึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเป็นปกติและเริ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ครบ 24 ชั่วโมงหลังใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้
ทดลองเอาสายสวนปัสสาวะออกให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำให้เพียงพอและสังเกตการถ่ายปัสสาวะอีกภายใน 6 ชั่วโมงหลังถอดสายสวนร้อยละ 90 ของมารดาหลังคลอดจะกลับมาถ่ายปัสสาวะได้เองปกติ
กรณีที่ยังไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
แพทย์อาจพิจารณาใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ 48 ชั่วโมงหากยังไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะเองได้หลังถอดสายสวนปัสสาวะอาจส่งปรึกษาศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ