Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดสัมมนา : - Coggle Diagram
การจัดสัมมนา :
ความหมาย
หมายถึง การประชุมเพื่อ แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์หรือการศึกษาในเรื่องเดียวกัน รวมทั้งร่วมวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางแก้ไข และหาข้อสรุป
ร่วมกัน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมร่วมกัน
การสอนวิชาสัมมนา เป็นกระบวนการหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้
ศึกษา ค้นคว้า โดยวิธีการต่างๆ เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ปัญหา และการเสนอแนวทางแก้ไข การแสดงออกโดยการพูด การสนทนา การอภิปรายที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องนั้นๆ เพื่อให้ได้
ข้อสรุปของแนวทางที่มีความเป็นไปได้ โดยวิธีการปรึกษาหารือร่วมกัน
การสัมมนาเป็นการรวมกลุ่มของผู้ที่สนใจหรือมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งมีการเตรียมตัวล่วงหน้าของการสัมมนาครั้งนี้ ในการอธิปรายเเต่ละครั้ง ต้องมีการสรุปประเด็นสำคัญของวิทยากรเเต่ละบุคคล ( Jim Harnish,1995)
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มพูนและเติมเต็มความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ทั้งด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาโดยตรง
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันและกันของผู้เข้าร่วมสัมมนากับ วิทยากรหรือผู้เชียวชาญในเรื่องหรือสาขาวิชาเฉพาะทางนั้นๆ
เพื่อค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติร่วมกัน
เพื่อให้ได้แนวทางสรุป ประกอบการตัดสินใจ หรือหาแนวทางการแก้ปัญหา
หรือกำหนด นโยบายของหน่วยงาน องค์กรบางประการ
เพื่อสร้างความตระหนักหรือกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา นำหลักการวิธีการเรียนรู้หรือแนวทางปฏิบัติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน้าที่และภาระงานที่ปฏิบัติหรือรับผิดชอบต่อไป
ประโยชน์
1.ประโยชน์ของการสัมมนาและฝึกอบรมทั่วไป
1.เปิดโอกาสให้สมาชิกมีการรับผิดชอบร่วมกันในการดาเนินงานเพราะถ้าผู้หนึ่งผู้ใดตัดสินใจตามลฎพังและเกิดผิดพลาดขึ้น ผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด แต่ถ้าเป็นมติของที่ประชุมทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2.เป็นเครื่องมือสาคัญในการกระจายข่าวสารต่างๆ ไปได้ทุกทิศทาง โดยแจ้งให้ผู้เข้าประชุมทราบแล้วนำไป ถ่ายทอดต่อไป
3.ช่วยให้การตัดสินใจรอบคอบยิ่งขึ้น เพราะการวินิจฉัยคนเดียวอาจทาให้เกิดความผิดพลาดเนื่องจากข้อจากัดทางความรู้ ความคิด ประสบการณ์และอื่นๆ
4.ผู้เข้าสัมมนาหรือฝึกอบรมได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ตนเองมีทัศนะ
ที่กว้างขวางขึ้น
5.เป็นโอกาสดีที่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาและฝึกอบรมจะได้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมแรงร่วมใจ สร้างความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานและช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดีในโอกาสต่อไป
6.ช่วยส่งเสริมทัศนคติต่อองค์การ
7.ช่วยลดการสิ้นเปลืองต่างๆ ลดต้นทุน
ประโยชน์ต่อตนเอง
1.ช่วยเพิ่มทักษะ ความรู้ความสามารถ นาไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
2 ช่วยให้สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
3 ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
4 ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมที่จะทำงาน กล้าเผชิญปัญหา
5 ช่วยให้เป็นผู้รู้จักศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กรและประเทศชาติ
6 ช่วยให้รู้จักบุคคลหรือมิตรมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานการทำงานให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้
ประโยชน์ต่อองค์กร
1 ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานของบุคลากรและเป็นที่พึงประสงค์ของหน่วยงาน
2 ช่วยเสริมสร้างขวัญกาลังใจในการทางานแก่ผู้ปฏิบัติงาน
3 ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ปฏิบัติงาน โดยการเพิ่มคุณภาพของผู้ปฏิบัติงานที่มีอยู่จำกัดแทน การเพิ่มงบประมาณ หรือเพิ่มจานวนผู้ปฏิบัติงาน
4 ช่วยยกระดับความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามทิศทาง เป้าหมาย และนโยบาย
ขององค์การ
5 ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นได้
6 ช่วยประหยัดงบประมาณรายจ่าย
7 ช่วยให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์โดยมีผลกระทบต่องานที่ปฏิบัติ
8 ทำให้เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน การสัมมนา และการฝึกอบรมจะทาให้บุคลากรมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันละกัน ช่วยให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
9 ช่วยเพิ่มผลผลิตในการบริหารจัดการ
องค์ประกอบ
ด้านเนื้อหา
1.1 ชื่อเรื่อง หรือชื่อโครงการที่นามาจัดสัมมนา
1.1.1 ควรเป็นเรื่องที่ต้องการศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับงานหรือเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่และเป็นเรื่องที่ตนเองถนัด รู้แจ้ง รู้ลึกซึ้งเป็นอย่างดี
1.1.2 มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาการณ์ปัจจุบัน
1.1.3 สามารถกำหนดปัญหา หาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
1.1.4 เป็นเรื่องที่ไม่กว้าง ไม่แคบจนเกินไป ควรเป็นเรื่องที่มีขอบเขตเฉพาะเรื่องสามารถกำหนดปัญหา และแนวทางการดาเนินการจัดสัมมนาได้ชัดเจน
1.2 จุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนา
1.2.1 เพื่อศึกษาและสำรวจปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในความสนใจ
1.2.2 เพื่อให้ได้วิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
1.2.3 เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
1.2.4 เพื่อเรียนรู้ และมีการแลกเปลี่ยนผลของการศึกษาค้นคว้าวิจัยระหว่างผู้เรียนที่เรียนร่วมกัน
1.2.5 เพื่อร่วมพิจารณาหาข้อสรุปผลรายงานการศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ
1.3 กาหนดการสัมมนา
1.3.1 ชื่อกลุ่มสาระวิชา กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการ หรือผู้รับผิดชอบจัดสัมมนา
1.3.2 ชื่อเรื่องสัมมนา
1.3.3 วัน เดือน ปี ที่จัดสัมมนา
1.3.4 สถานที่จัดสัมมนา
1.4 ผลที่ได้จากการสัมมนา
เป็นสิ่งที่ผู้จัดสัมมนาได้คาดหวังว่าการจัดสัมมนา จะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับผลประโยชน์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
2.ด้านบุคลากร
2.1 บุคลากรฝ่ายจัดสัมมนา
หรือคณะกรรมการจัดสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ คณะกรรมการอาจแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ประธาน รองประธาน เลขานุการ ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายเอกสาร ฝ่ายเหรัญญิก ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายอาคารสถานที่ บุคคลากรที่จัดให้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับความจำเป็นความ สามารถของบุคคล
2.2 วิทยากร
คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยาย ผู้นำอภิปราย และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็น
บุคคลที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องที่ใช้ในการสัมมนานั้นๆ
2.3 ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ได้แก่ บุคคลที่มีความสนใจใฝ่รู้ในปัญหา หรือประสบปัญหาต้องการแสวงหาแนวความคิดใหม่ๆ หรือมีความมุ่งหมาย ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้และมีปัญหาที่สนใจจะศึกษาคล้ายคลึงกัน
ด้านสถานที่
3.1 ห้องประชุมใหญ่
หมายถึง ห้องประชุมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการสัมมนา กาหนดที่นั่ง สามารถบรรจุผู้เข้าร่วมสัมมนาได้จานวนมาก ควรระบุสถานที่ตั้ง และการเดินทางเข้าถึงสถานที่จัดสัมมนา
3.2 ห้องประชุมขนาดกลางหรือขนาดเล็ก
อาจมีมากกว่าหนึ่งห้อง ควรอยู่ในพื้นที่ใกล้กัน หรือบริเวณเดียวกันกับห้องประชุมใหญ่
3.3 ห้องรับรอง
เป็นห้องที่ใช้สาหรับรับรองวิทยากร แขกพิเศษ เพื่อให้พักผ่อนหรือเตรียมตัวก่อนการสัมมนา
3.4 ห้องรับประทานอาหารว่าง
เป็นพื้นที่จัดไว้สำหรับให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้มาพักรวมทั้งเป็นจุดพักรับประทานอาหารว่าง
3.5 อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์
ชุดไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง เครื่องฉาย โปรเจกเตอร์โน้ตบุ๊ค และอุปกรณ์ไฟฟ้าเกี่ยวกับเครื่องเสียง สี แสง และอื่นๆ
3.6 ห้องรับประทานอาหาร
เป็นห้องที่อำนวยความสะดวก จัดไว้สำหรับให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมรับประทานอาหาร
3.7 อุปกรณ์เครื่องมือ
ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้นเตอร์ และวัสดุอื่นๆ ทเอกสารประกอบคำบรรยาย เอกสารสรุปการจัดสัมมนา ที่ใช้ในการสัมมนา
3.8 อุปกรณ์ด้านเครื่องเขียนเครื่องใช้
สำนักงานที่มีความจำเป็นมีไว้ใช้
ได้แก่ ดินสอ ปากกา ปากกาสำหรับเขียนกระดานไวท์บอร์ด
ป้ายชื่อติดหน้าอกผู้เข้าร่วมสัมมนาหรือคณะกรรมการแต่ละฝ่าย
4.ด้านเวลา
4.1 ระยะเวลาสาหรับการเตรียมการ
ผู้จัดสัมมนาควรวางแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจนว่างานแต่ละอย่างแต่ละประเภทที่ต้องทำนั้นจะใช้เวลานานเท่าใดจึงจะแล้วเสร็จ จนถึงวันที่จะต้องจัดสัมมนา
เช่น การประชุมวางแผนจัดทาโครงการ การวางแผนศึกษา
ดูงานนอกสถานที่ประกอบการสัมมนา วางแผนเกี่ยวกับวิทยากร การจัดสถานที่ งบประมาณ และการวางแผน
การประเมินผล
4.2 การเชิญวิทยากร
เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผู้จัดสัมมนา ควรจะวางแผนให้ดี เพราะวิทยากรบางท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากมักจะไม่ว่างบางท่านต้องติดต่อล่วงหน้าในบางครั้ง หากวิทยากรที่ได้เชิญไปไม่มา
ควรเปลี่ยน วิทยากรที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงแทน
4.3 วัน เวลา ที่ใช้ในการสัมมนา
ขึ้นอยู่กับเรื่องที่สัมมนาว่ามีขอบเขตกว้างมาน้อยเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจ ความจำเป็นของเรื่องที่ต้องการรู้ หรือขึ้นอยู่กับปัญหา
5.ด้านงบประมาณ
5.1 จัดประมาณการค่าใช้จ่าย
แต่ละฝ่ายที่ทาหน้าที่รับผิดชอบงาน จัดประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จ่ายทั้งหมดของฝ่ายตนเองออกมา ในรูปของบัญชี
ค่าใช้จ่าย นำเสนอฝ่ายเหรัญญิกและที่ประชุม เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมสาหรับค่าใช้จ่ายแต่ละรายการของแต่ละฝ่าย
5.2 ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องจัดซื้อ ควรมีรายการราคาตามท้องตลาด กาวางแผนค่าใช้จ่ายจึงควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้โดยอาจนำไปใส่ในค่าใช้จ่ายอื่นๆ
5.3 จัดทำงบประมาณรวม
การวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายเห็นชอบจากที่ประชุม แล้วจึงจัดทำงบประมาณรวมทั้งโครงการ แล้วเสนอผู้รับผิดชอบหรือเสนอฝ่ายบริหารอนุมัติกรณีที่เป็นการสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์กร
ลักษณะการสัมมนาที่ดี
1.กำหนดวัตถุประสงค์ของการสัมมนาอย่างชัดเจนและแจ้ง
ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนทราบ
2.จัดให้มีการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เข้าสัมมนา
3.เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้และ
ความคิดได้ค้นคว้าหรือได้แก้ปัญหาร่วมกัน
ผู้เข้าสัมมนาทุกคนใช้ปัญญาหรือใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาต่างๆร่วมกัน
5.ผู้เข้าสัมมนามีบุคลิกภาพตามแบบประชาธิปไตย เช่น เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของการสัมมนากระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นๆ มีมารยาทในการพูดและฟังเป็นต้น
6.ผู้เข้าสัมมนามีทักษะในการฟังและการพูด ฟังแล้วจับใจความได้ถูกต้องตรงตามเนื้อหาเหมาะสมแก่เวลาและผู้สรุปได้ถูกต้อง
7 ผู้เข้าสัมมนามีเจตคติที่ดีต่อหัวข้อสัมมนาและมีใจเป็นกลางจึงทำให้
การสัมมนาได้ผล
8 มีผู้นำที่ดีทั้งในการเตรียมการและในการดำเนินการสัมมนา
10 มีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วนและมีคุณภาพ
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการสัมมนาที่ดี
ผู้เข้าร่วมสัมมนามีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา ข้อเท็จจริง ผู้เข้าร่วมสัมมนา และตนเอง
ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องใช้ความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหา
ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้พูดที่ดี
ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการประชุมสัมมนา เพื่อให้
งานสัมมนาบรรลุเป้าหมาย
การจัดสัมมนารูปแบบต่างๆ
Symposium Discussion
เป็นการอภิปรายทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้โดย
ผู้อภิปรายแต่ละคนจะเตรียมค้นหาความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดของเรื่องมาอภิปรายตามที่ได้ตกลงกันไว้
ผู้อภิปรายแบบนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชานาญการในด้านใด
ด้านหนึ่ง ส่วนผู้ดำเนินการอภิปรายจะมีหน้าที่เชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ให้ต่อเนื่องประสานกันให้เป็นไปด้วยดี
หน่วยงานที่ใช้การอภิปรายแบบนี้กันมาก ได้แก่
หน่วยงานทางการศึกษา แพทย์ ทหาร และธุรกิจการจัดสถานที่
ตัวอย่าง
ผู้อภิปราย1—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับประถม
ผู้อภิปราย2—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับมัธยม
ผู้อภิปราย3—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับอุดมศึกษา
ผู้อภิปราย4—พูดเรื่อง—การสอนภาษาเพื่องานวิจัย
วิธีการดำเนินการอภิปราย
1) พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย จากนั้นแนะนำหัวข้อที่บรรยายและแนะนาพิธีกรภูมิหลังของวิทยากรแต่ละท่าน
2) เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธานจะเป็นผู้เชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านและสรุปบางตอนที่มีเนื้อหาประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้
3) การจัดที่นั่งสาหรับผู้บรรยาย ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟังเพื่อให้
ผู้ฟังมองเห็นผู้บรรยายอย่างชัดเจน
2.Panel discussion
การอภิปรายแบบนี้จะให้สมาชิกประมาณ 3 คน 6 คน หรือ 8 คน ผู้พูดจะมีความรู้โดยทั่วไป อภิปรายหรือพูดในปัญหาอย่างเดียวกัน
ผู้พูดเป็นผู้ที่ศึกษาหาความรู้ค้นคว้าหาหลักฐานข้อเท็จจริงมาพูดต่อหน้าผู้ฟัง เป็นการสนทนาอย่างเป็นกันเอง โดยมีผู้ดำเนินการเป็นผู้เชิญให้
ผู้อภิปรายแสดงความรู้ ความคิดและให้ข้อเสนอแนะ
วิธีการดำเนินการอภิปราย
1) พิธีกรดำเนินการการตามกำหนดการ โดยเชิญประธานเปิดการสัมมนา หลังจากนั้นพิธีกรแนะนำหัวข้อที่จะดำเนินการสัมมนาและผู้ร่วมดำเนินการอภิปรายทุกคน
2) เริ่มดำเนินการอภิปราย โดยเปิดโอกาสให้ผู้อภิปรายแสดงความคิดเห็นของตน
อย่างอิสระ หลังจากนั้นพิธีกรอาจจัดช่วงเวลาสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
ผู้อภิปรายด้วยกันเอง โดยพิธีกรเป็นผู้สรุปในแต่ละตอน
3) การจัดสถานที่การสัมมนา ควรจัดเวทียกพื้นและมีโต๊ะสำหรับการวางเอกสารและวัสดุต่าง ๆ ให้แก้ผู้อภิปรายโดยจัดเป็นลักษณะแถวเดี่ยวหรือรูปโค้งเล็กน้อย
ตัวอย่าง
หัวข้อการอภิปรายเรื่อง “ปัญหายาเสพติด”
ผู้อภิปรายคนที่1 -- พูดเรื่อง—สาเหตุ
ผู้อภิปราย2—พูดเรื่อง—พฤติกรรม
ผู้อภิปราย3—พูดเรื่อง—การป้องกันและแก้ไข
ผู้อภิปราย4—พูดเรื่อง-- ข้อสเนอแนะ
3.Role Play
ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสแสดงบทบาทสมมติ ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เหมือนในสภาพความเป็นจริง โดยเน้นลักษณะของปัญหาที่ต้องเผชิญและขบวนการแก้ปัญหาในลักษณะต่าง ๆ
ผู้จัดประชุมเป็นผู้กำหนดโครงเรื่องให้คร่าว ๆ และให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความรู้สึกออกมาตามบทบาทสมมติที่ได้รับ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้มีโอกาสพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของตนให้ดียิ่งขึ้น
วิธีดำเนินการ
ประธานและเลขานุการต้องทราบและเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน โดยประธานและเลขานุการเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสมชิกที่เข้าร่วมประชุม
ประธานจะเลือกผู้ที่จะแสดงในแต่ละบทบาทที่ได้รับการสสมมุติขึ้น ซึ่งควรใช้วิธีการจับสลากและการเลือกตัวบุคคลไม่ควรบอกให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ซึ่งในการแสดงบทบาทสมมุตินี้ควรให้สมาชิกมีเวลาเตรียมตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ประธานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงบทบาทของตนอย่างเต็มที่
ประธานจะดำเนินการอภิปรายหลังจากที่การแสดงจบ โดยการอภิปรายควรเน้นผลที่ได้รับจากการแสดงในแต่ละบทบาท
Group discussion
ใช้วิธีการโดยที่ผู้นาอภิปราย 1 คน ต่อผู้ร่วมอภิปรายทั้งห้องประชุม
ผู้นำอภิปรายจะหน้าที่ประสานงานหรือดำเนินการอภิปราย (Moderator) สมาชิกผู้ร่วมประชุมจะเป็นผู้ร่วมอภิปราย หรืออาจใช้วิธีการโดยการแบ่งกลุ่มผู้ร่วมอภิปรายออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 – 6 คน
วิธีดำเนินการ
กำหนดหัวข้อเรื่องเดียวสาหรับทุกกลุ่ม ผู้นาอภิปรายอาจ
กำหนดชื่อหัวหน้ากลุ่มบนกระดาน แล้วให้บุคคลอื่นเลือกเข้ากลุ่มตามความสนใจต่อตัวบุคคล
2.กำหนดหัวข้อเรื่องหลาย ๆ หัวข้อตามจำนวนกลุ่มที่แบ่ง
การกำหนดสถานที่อภิปราย ควรอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อ
ผู้นำอภิปรายจะได้ทำหน้าที่ดูแลและแนะนำประสานแนวคิด
ได้อย่างใกล้ชิด ลักษณะการนั่งอภิปราย นิยมนั่งเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม
3.เมื่อการอภิปรายจบลงแล้ว ควรสรุปผลการอภิปราย โดยให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาเสนอรายงานสรุปผลการอภิปรายของกลุ่ม และผู้นำอภิปรายจะทาหน้าที่สรุปผลการอภิปรายโดยภาพรวม
Round Table
นิยมจัดโดยให้สมาชิกที่มาประชุมทุกคนนั่งรอบโต๊ะกลมด้วยกัน แล้วสมาชิกมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อมูล รายละเอียดในเรื่องที่สนทนาสู่กัน บรรยากาศในการประชุมมักเป็นแบบค่อนข้างจะเป็นกันเอง
การประชุมโต๊ะกลม เป็นเรื่องระหว่างสมาชิกในโต๊ะประชุมเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นมาฟังด้วยและบรรยากาศในการประชุม การพูดจากัน มีลักษณะแบบเป็นกันเอง สมาชิกทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเสรี อย่างสบายใจ แสดง
ความคิดเห็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับ
Workshop
เป็นวิธีการประชุมที่ต้องการให้สมาชิกได้รับความรู้
ความสามารถและเกิดประสบการณ์ โดยเน้นในการนำ
เอาไปใช้มากกว่าการฟังการบรรยายหรือการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะต้องมีการฝึกปฏิบัติ สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหลักสำคัญ
หลักสำคัญของการประชุมแบบนี้คือ การเรียนรู้ – ฝึกปฏิบัติ – แล้วนำไปปฏิบัติในการปฏิบัติงานจริง
การจัดการประชุมแบบนี้ จึงต้องมีเอกสาร มีหนังสือ มีรายละเอียดและข้อมูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เพื่อประกอบการศึกษาและเพื่อการฝึกปฏิบัติ
ตัวอย่าง
การประชุมครูเพื่อทำโครงการสอน
ลักษณะเฉพาะของการประชุม
มีการกำหนด เรื่องของการประชุมเชิงปฏิบัติการชัดเจน กำหนดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ ไว้เห็นได้ชัด และมีกำหนดการ หรือตารางดำเนินงานในการประชุมและการฝึกหัด ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จัดประชุม 2. มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ที่การเพิ่มพูนทักษะ ความรู้และประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในเรื่องที่จัดประชุมปฏิบัติการนั้น ๆ โดยตรง 3. มีการเตรียมในด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ เอกสาร ข้อมูลที่จำเป็นให้พร้อม เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติสำหรับสมาชิกโดยเฉพาะ
มีการฝึก / ทดลองปฏิบัติการ หรือ มีการฝึกปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องที่จัดประชุม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการประชุม
จุดเน้นของการประชุมปฏิบัติการนี้ อยู่ที่การเตรียมคนให้มีความพร้อมสูง ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในเรื่องที่จัดประชุม และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้
Brainstorming
เป็นกิจกรรมกลุ่มที่มีผ้ร่วมอภิปราย 5 – 15 คน การดำเนินการอภิปรายจะมีผู้นำเป็นประธานกลุ่ม มีเลขานุการกลุ่มจดบันทึกการประชุม
เป็นการอภิปรายที่ใหผ้อู้ภิปรายทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยการระดมความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากการอภิปรายทุกคนนา มารวบรวมแล้ว
จัดลำดับและผสมผสานเป็นแนวทางในการหาคำตอบให้ได้ความรู้ใหม่หรือหาแนวทางปฏิบัตัหรือแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อนำไปใช้หรือเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
Circular Response
เป็นการอภิปรายที่มีผู้ร่วมอภิปราย 5 – 20คน ผู้อภิปรายนั่งเป็นวงกลมและให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นตามลำดับไปจนครบ ้โดยเริ่มต้น จากประธานก่อน จะเวียนซ้ายหรือขวาก็ได้วิธินี้จะช่วยให้ทุกคน ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้ อย่างทั่วถึง
Conference
เป็นการประชุมเพื่อหาแนวทางหรือข้อยุติ เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ
ผเ้ข้าร่วมประชุมจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อแถลง
ผลงานให้ที่ประชุมทราบหรือให้ความรู้เพิ่มเติมแก่
ผู้เข้าร่วมประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนกับผู้อื่นที่เข้าร่วมประชุม
ขั้นตอน
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
การเตรียมการก่อนการประชุมสัมมนา
สํารวจประเด็นปัญหาและความต้องการในการประชุมสัมมนา
1.1 ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทาำงาน หรือปัญหาที่
เกิดขึ้นในหน่วยงาน
1.2 ความต้องการของบุคลากร โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสํารวจความคิดเห็นแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
1.3 ใช้การจัดประชุมสัมมนาช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานเข้าใจ นโยบายของหน่วยงานและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการจัดประชุมสัมมนา
2.1 หาหัวข้อเรื่องที่จะใช้ในการประชุมสัมมนา โดยการรวบรวม และแยกแยะในประเด็น ปัญหาต่าง ๆ
2.2 พิจารณาบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเชิญเข้าร่วมการประชุมสัมมนา
2.3 พิธีเปิด พิธีปิดการสัมมนา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายต่าง ๆ
2.4 พิจารณาแผนการและจัดเตรียมขั้นตอนในการดำเนินการ ว่า ช่วงใดควรจะจัดการอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมจัดให้พิธีการต่าง ๆ ในแต่ละช่วงนั้นได้อย่างเหมาะสม
2.5 พิจารณาแนวทางในการประชาสัมพันธ์วิธีการประเมินผล ตลอดจนการเผยแพร่ รายงานผลการประชุมสัมมนา หรือผลสรุปของการประชุมสัมมนาได้อย่างเหมาะสม
2.6 พิจารณาและเสนอการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ตั้งแตเ่ริ่มเตรียมงานจนกระทั่ง สิ้นสุดการประชุมสัมมนา
2.7 พิจารณาปัญหาอื่น ๆ ที่คาดว่า อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะการเตรียมงาน
ขั้นดำเนินการประชุมสัมมนา และขั้น หลังการดำเนินการสัมมนา
2.8 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
เขียนโครงการประชุมสัมมนา
เพื่อกำหนดความชัดเจนของการดำเนินงาน
ขั้นตอนต่าง ๆ
ประกอบด้วหัวข้อ ดังต่อไปนี้
ชื่อโครงการ ผู้รบผิดชอบโครงการ หลักการและ
เหตุผล วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา วิทยากร สถานที่
วิธีการประชุมสัมมนา งบประมาณ การประเมินผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดการประชุมสัมมนา
ขั้นดําเนินงานเตรียมการจัดประชุมสัมมนา
4.1 การประชาสัมพันธ์การประชุมสัมมนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
4.2 ติดต่อ เชิญวิทยากร ที่จะมาให้ความรู้แก่ผู้เข้าประชุมสัมมนา
4.3 เชิญผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา
4.4 การเตรียมการ ด้านสถานที่เเละอุปกรณ์
4.5 เตรียมการด้านการลงทะเบียน
4.6 เตรียมการด้านเอกสารแจกผเู้ข้าร่วมการประชุมสัมมนา
4.7 เตรียมการสําหรับพิธิเปิด–พิธีปิดการประชุมสัมมนา
การดําเนินการระหว่างการประชุมสัมมนา
การต้อนรับผู้เข้าประชุมสัมมนา ได้เเก่ ประธานในพิธีแขกผู้มีเกียรติวิทยากรและผู้เข้าสังเกตการณ์
การลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทุกคน จะต้องเซ็นชื่อในบัญชีรายชื่อที่ทางคณะกรรมการฝ่ายทะเบียนจัดเตรียมไว้ พร้อมกับรับเอกสารการประชุมสัมมนา
พิธีเปิดการประชุมสัมมนา ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมสัมมนาจะเป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาของการจดัการประชุมสัมมนาพร้อมกล่าวเชิญประธาน เพื่อกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา
จัดประชุมกลุ่มใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ตรงนั้น ให้เเก่ผู้เข้าร่วม
จัดประชุมกลุ่มย่อย หลังจากที่ได้ร้ความรู้ ให้เเบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็นกลุ่มย่อยตามลกัษณะของปัญหาและความสนใจ
จัดประชุมรวม เพื่อรายงานผลการประชุม แนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มย่อย
พิธีปิดการประชุมสัมมนา ประธานในพิธีปิดการสัมมนา
การดําเนินการหลังการประชุมสัมมนา
วิเคราะห์การประเมินผลการประชุมสัมมนา โดยผู้จ้ดการประชุมสัมมนาต้องติดตามผล ทั้งทางฝ่ายสมาชิกผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและฝ่ายคณะกรรมการดำเนินงานทั้งหมด
รายงานผลการประชุมสัมมนาต่อผู้บังคับบัญชา ผู้จัดประชุมสัมมนาต้องรายงานผลการประชุมสัมมนาให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นลาย-
ลักษณ์อักษร ภายหลังจากการประชุมสัมมนา
ทำหนังสือแจ้งผลการประชุมสัมมนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่หน่วยงานั้นๆ จะได้ใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคลากร
ต่อไป
ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผู้จัดการประชุมสัมมนาจะต้องดำเนินการ เบิก-จ่ายให้เป็นที่เรียบร้อย
ติดตามผลและวิเคราะห์การติดตามผลการประชุมสัมมนา ภายหลัง จัดการประชุมสัมมนาควรจะติดตามผลว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการประชุมสัมมนาไปใช้ปรับปรุงงานในหน้าที่ได้ผลเพียงใด และต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ดูว่าสิ่งใดที่เป็น
ประโยชน์และสิ่งใดที่ควรแกไ้ข