Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปรียบเทียบรายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย (case study) โรค UTI Urinary…
การเปรียบเทียบรายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย (case study)
โรค UTI Urinary Tract Infection
โรค UTI Urinary Tract Infection
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) คือการตอบสนองของการอักเสบของเยื่อ บุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกัน ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมดและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบ ซึ่งมักสัมพันธ์กับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) และปัสสาวะเป็น หนอง (pyuria)
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียซึ่งเชื้อเหล่านี้จะมีอยู่มาก ที่บริเวณรอบทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัแบบสอดหรือการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เช่น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การใช้ยา การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะ บ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ น้ำปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน และปวดท้องน้อย ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน แต่ถ้าการติดเชื้อนั้น ลามขึ้นไปตามท่อไตจนถึงไต ผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง บริเวณสีข้าง และถ้าเป็นรุนแรงมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำ ซึมลงและหมดสติได้ บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ
การวินิจฉัยและการรักษาที่ได้รับ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ, ตรวจร่างกาย,ผลตรวจห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยโรคที่ผู้ป่วยเป็น
การรักษา
โดยการให้สารน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอเพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายปัสสาวะเป็นเวลานาน
การพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะกระปริดกระปรอย หรือปัสสาวะบ่อยครั้งหรือไม่
2.วัดสัญญาณชีพ ทุก 4ชั่วโมง
3.ประเมินลักษณะของปัสสาวะ สี ขุ่น-ใส,จำนวนครั้งการปัสสาวะ
4.แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามข้อจำกัดของโรคไต
5.ดูแลทำความสะอาดบริเวณ perineum ให้ถูกวิธีด้วยการเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อนกลับ
6.ดูแลให้ Urine bag อยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับเข้าไปในสายสวนปัสสาวะ
7.บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะออก ทุก 8 ชั่วโมง
8.ดูแลทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปของผู้ป่วย ไม่ให้เกิดการอับชื้น
9.แนะนำผู้ป่วยและญาติขณะทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม สบู่ที่มีสารทำให้เกิดการระคายเคือง
10.แนะนำผู้ป่วยและญาติในเรื่อง การสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาล
11.เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดูแลความสะอาดสายสวนปัสสาวะ
กรณีศึกษา
ประวัติผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทย Admit 03/03/2563
อายุ 81ปี
แพทย์ Dx.UTI with hematuria
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
มาด้วยปัสสาวะเป็นเลือดมา 2 วัน
เคย admit เรื่อง UTI D/C เมื่อ26/02/63
U/S-KUB= upper abdomen Rt renal parenchymal disease
U/D DM, DLP,UTI,CKD
สาเหตุ
ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยเคย admit เรื่อง UTI D/C เมื่อ26/02/63 และได้On F/Cไว้ ขณะที่ผู้ป่วยD/Cกลับบ้านผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ตามปกติ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง เช่น การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อขาอ่อนเพลียไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้ จึงจำเป็นต้องใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และดูแลทำความสะอาดได้ไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะขึ้น
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ขณะที่ถ่ายปัสสาวะรู้สึกเจ็บบริเวณท้องน้อยและถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ไม่มีไข้ มีอาการซึมลงอย่างเห็นได้ชัด
การวินิจฉัยและการรักษาที่ได้รับ
การวินิจฉัย
ซักประวัติ, ตรวจร่างกาย,ผลตรวจห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยโรคที่ผู้ป่วยเป็นและU/S-KUB เนื่องจากผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดและมีค่าผลตรวจปฏิบัติการ
BUN=29.1 mg/dl, Creatinine=2.08
การรักษา
โดยการให้สารน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอเพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำ เนื่องจาก ความสามารถในการดูแลตัวเองลดลง
การพยาบาล
2.วัดสัญญาณชีพ ทุก 4ชั่วโมง
3.ประเมินลักษณะของปัสสาวะ สี ขุ่น-ใส,จำนวนครั้งการปัสสาวะ
4.แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามข้อจำกัดของโรคไต
5.ดูแลทำความสะอาดบริเวณ perineum ให้ถูกวิธีด้วยการเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อนกลับ
6.ดูแลให้ Urine bag อยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับเข้าไปในสายสวนปัสสาวะ
7.บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะออก ทุก 8 ชั่วโมง
8.ดูแลทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปของผู้ป่วย ไม่ให้เกิดการอับชื้น
9.แนะนำผู้ป่วยและญาติขณะทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม สบู่ที่มีสารทำให้เกิดการระคายเคือง
10.แนะนำผู้ป่วยและญาติในเรื่อง การสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาล
11.เน้นย้ำถึงความสำคัญในการดูแลความสะอาดสายสวนปัสสาวะ
1.ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะกระปริดกระปรอย หรือปัสสาวะบ่อยครั้งหรือไม่
2.เกิดแผลกดทับ เนื่องจาก ความสามารถการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยลดลง
การพยาบาล
1.ประเมินสภาพผิวของผู้ป่วยโดยการดูว่ามีรอยแดงตามผิวหนังหรือไม่
2.พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
3.ใช้หมอนสูง Support บริเวณที่อาจจะเกิดแผลกดทับเพิ่ม เช่น ข้อเข่า, ส้นเท้า, ก้นกบ เป็นต้น
4.กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวให้ได้มากที่สุด เช่น การAmbulate บนเตียง
5.ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดการ เสียดสี อาจทำให้ผิวหนังถลอกได้
6.ดูแลผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอ
7.ดูแลการขับถ่ายไม่ให้ผู้ป่วยนอนแช่อุจจาระ, ปัสสาวะ เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุกครั้งเมื่อเปียกชุ่ม หรืออับชื้น
8.ดูแลแผลกดทับของผู้ป่วยที่มีโดยการทำความสะอาดแผลและทาครีมซิงค์ ออกไซด์
3.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เนื่องจาก การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยบกพร่อง
การพยาบาล
1.ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
2.ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวตามลำพัง
3.จัดสิ่งแวดล้อม สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แก้วน้ำ ทิชชู ไว้ในที่ที่ผู้ป่วยหยิบได้สะดวกต่อการใช้งาน
4.นำไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง หลังให้การพยาบาล
5.จัดท่านอน ให้ผู้ป่วยในท่าที่สุขสบาย
6.แนะนำผู้ป่วยใช้ nurse call เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
นางสาว อัจฉรา พาณิชย์กุล 61122230118