Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเข้ากลุ่มครั้งที่ 2 สรีรวิทยาของการคลอดรกและ การทำคลอดรก การตรวจรก,…
สรุปเข้ากลุ่มครั้งที่ 2
สรีรวิทยาของการคลอดรกและ
การทำคลอดรก การตรวจรก
การตรวจรก
ลักษณะของรก
รกมีลักษณะกลมแบนหรือ
อาจเป็นรูปรี รกครบกำหนด
กว้างประมาณ15 - 20 ซม.
และมีความหนา 2 - 3 ซม.
มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม
ด้านมารดา
(maternal surface)
เมื่อรกคลอดออกมาแล้วจะเห็นก้อนเลือดติด
จะมองเห็นมีสีแดงเข้มเหมือนสีลิ้นจี่ ปกคลุม
ด้วย Decidua ลอกติดออกมาพร้อมกับรก
มองเห็นเป็นแผ่นเดียวกันตลอด หรือมองเห็น
ก้อน เรียกว่า Cotyledon คลุมอยู่บนเยื่อหุ้ม
ทารกชั้น Chorion ถ้ามีการฉีกขาดเกิดขึ้น
ทำให้เปิดเห็นโพรงของ Intervillous space
หรือ Marginal sinus
ด้านทารก
(fetal surface)
มีสีเทาอ่อนและเป็นมัน เนื่องจากมีเยื่อหุ้ม
ทารกชั้น amnion คลุมอยู่ ด้านสายสะดือ
ติดอยู่ ปกติติดอยู่ตรงกลาง chorionic
plate เมื่อลอก amnion ออกไป จะลอก
ถึงตำแหน่งที่สายสะดือเห็นเส้นเลือดเส้น
นูนประมาณ 1 - 2 ซม.
เยื่อหุ้มทารก
(Fetal Membranes)
ชั้น Chorion
เป็นเยื่อชั้นนอกที่ติดกับ
ผนังมดลูก เป็นผืนเดียวจากขอบรกมี
ความหนาเพราะมี Decidua ลอกติด
ออกมา ได้แก่ Decidua capsularis
และ Decidua vera ทำให้มองเห็น
Chorion มีลักษณะไม่ใสและไม่เรียบ
ฉีกขาดได้ง่าย อาจหลุดค้างในโพรงมดลูก
การตรวจรกต้องตรวจชั้น Chorion การฉีก
ขาดแหว่งหายไปอาจจากส่วนของรก
ที่เจริญผิดปกติหลงเหลืออยู่ในโพรงมดลูก
ชั้น Amnion
เยื่อหุ้มทารกชั้นในห่อหุ้ม
ตัวทารก สายสะดือและน้ำคร่ำติดอยู่กับรก
ด้านเด็ก หรือด้าน Chorionic plate ลอก
Amnion แยกออกจาก chorion ได้ตลอด
และลอกออกจาก Chorionic plate จนถึง
ที่เกาะของสายสะดือ เพราะต่อจากนี้ Amnion
ไปห่อหุ้มเป็นผนังของสายสะดือ เยื่อชั้น
Amnion นี้มีลักษณะเป็นมันสีขาวขุ่น เหนียว
สายสะดือ
(Umbilical cord)
ยาวประมาณ 35 - 100 ซม. บิดเป็นเกลียว
ทำให้สายสะดือไม่หักพับ ถ้ามีการงอ ทำให้
ทารกขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จะมองเห็นเส้น
เลือดบนสายสะดือ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 3 เส้น
คือ Vein 1 เส้น และ Artery 2 เส้น Umbilical
vein จะเห็นได้ชัดเจน เพราะมีขนาดใหญ่
:check:
หากขดเป็นกระจุกเป็นปม เรียกว่า
False vascular knot สายสะดือผูกกันเป็น
ปมเหมือนผูกเชือกจากทารกมีการเคลื่อนไหว
ในครรภ์ ทำให้ตัวลอดสายสะดือไปมาจน
ผูกเป็นปม ถ้าเกิดขึ้นทารกมักจะตายในครรภ์
เลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวกและไม่เพียงพอ
ตำแหน่งการเกาะ
ของสายสะดือบนรก
สายสะดือเกาะบน Chorionic plate 3 แบบ
:check:Insertio centralis หรือ Central insertion
สายสะดือติดอยู่กลาง Chorionic plate
:check:Insertio lateralis หรือ Lateral
insertion สายสะดือติดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
บน Chorionic plate
:check:Insertio marginalis หรือ Marginal
insertion สายสะดือจะติดอยู่ที่ริมขอบรก
ทำให้มองดูเหมือนแรกเก็ต รกที่มีสายสะดือ
เกาะมีอีกชื่อหนึ่งว่า Battledore placenta
สรีรวิทยาของการคลอดรก
กลไกการลอกตัวของรก
การลอกตัวของรก (Mechanism
of placenta separation)
โดยอาศัยการหดรัดตัว (Contraction)
และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆ
ของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนบน ภายหลัง
ทารกคลอดออกมา ทำให้ผนังมดลูกหนา
ขึ้นและโพรงมดลูกจะมีขนาดเล็กลงมาก
ในขณะที่รกมีขนาดเท่าเดิมทำให้เกิดไม่สมดุล
พื้นที่ของรก และพื้นที่ของผนังมดลูกเกิด
การดึงรั้ง ฉีกขาดของหลอดเลือดที่ผนังมดลูก
บริเวณที่รกเกาะ เลือดไหลซึมอยู่ข้างหลังรก
:check: เรียกว่า retroplacental bleeding
การลอกตัวของรกเริ่มตรงกลางรก
การคลอดรก
ระยะที่ 1 รกผ่านจากโพรงมดลูก
หลังรกลอกตัวได้หมดรกจะยังค้างอยู่ภายใน
โพรงมดลูก จนกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัว
ครั้งต่อไป การหดรัดตัวจะเริ่มที่ยอดมดลูกแล้ว
ลุกลามต่อมายังบริเวณมดลูกส่วนล่าง จึงเป็น
การผลักไล่รกที่ลอกตัวหมดแล้ว ให้เคลื่อนต่ำ
ลงมาผ่านพ้นโพรงมดลูกส่วนบนลงมาอยู่ใน
มดลูกส่วนล่าง หรือบางครั้งผ่านลงมาถึง
บริเวณส่วนบนของช่องคลอดได้
ระยะที่ 2 รกคลอดออกมาภายนอก
อาศัยธรรมชาติ
ผู้ทำคลอดให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ
หลังเด็กคลอด มดลูกมีขนาดแบนใหญ่
เพราะมีรกที่ยังไม่ลอกตัวค้างอยู่ภายใน
ระดับของยอดมดลูกจะอยู่ต่่ำกว่าระดับสะดือ
รกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว และเคลื่อนลง
มาอยู่ในส่วนล่างของมดลูก ถ่างบริเวณที่
ย่นยู่ให้โปุงออกและดันให้มดลูกส่วนบน
ซึ่งจะมีขนาดเล็กลงให้ลอยสูงขึ้นไปเหนือ
ระดับสะดือ อยู่ค่อนไปทางขวา
รกคลอดออกมาแล้ว มดลูกจะกลมเล็กลง
และตำแหน่งอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 นิ้วมือ
ชนิดของการลอกตัวของรก
Schultze’s method
การลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นตรงกลาง
ของรก
ทำให้มีเลือด
ออกอยู่ด้านหลังรก
(Retroplacental bleeding) จึงทำให้ไม่มีเลือด
ออกมาให้เห็นทางช่องคลอด (Vulva sign)
ซึ่งมีลอกตัวได้สมบูรณ์เร็วขึ้น ลักษณะ
ที่เห็นขณะรกคลอด จะเห็นรกด้านทารก
(Fetal surface)ออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
และเยื่อหุ้มทารก (Amnion)
Matthews duncan’s method
การลอกตัวของรกจะเกิดขึ้นโดยเริ่มที่
บริเวณริมรกก่อนส่วนอื่นและเลือดที่เกิดจาก
การฉีกขาดของผนังมดลูกจะไหลซึมออก
มาภายนอก (Vulva sign) ในระหว่างที่
การลอกตัวยังไม่สมบูรณ์
ไม่มีเลือด
การควบคุมการเสียเลือด
รกลอกตัวและคลอดออกมาแล้ว จะมีแผล
เกิดขึ้นที่ผนังมดลูกบริเวณที่รกเคยเกาะอยู่
เรียก Placental site จึงมีเลือดออกจาก
รอยแผลนี้ธรรมชาติมีกลไกที่ป้องกันมิให้มี
การตกเลือดหลังคลอด มีการหดรัดตัวและ
คลายตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
(มี Contraction และ Retraction) เป็นการผูกรัด
เส้นเลือดตามธรรมชาติ “Living ligatures”
อาการแสดง
ว่ารกลอกตัว
Uterine sign
มดลูกภายหลังจากรกลอกตัวแล้ว มดลูก
หดตัวแข็งเปลี่ยนจากแบนเป็นกลม มดลูก
จะดันมาข้างหน้า คลำบริเวณ Fundus
เห็นมดลูกเอียงไปทางขวามือ
Cord sign
จะมีการเคลื่อนต่ำของสายสะดือประมาณ
8 - 10 ซม. สายสะดือจะเหี่ยวและไม่มี
Pulsation เมื่อโกยมดลูกส่วนบนขึ้นไป
สายสะดือจะไม่ตามขึ้นไป
Vulva sign
มีเลือดไหลออกให้เห็นทางช่องคลอด
ประมาณ 50 ซีซี. อาการนี้แสดงว่ารก
มีการลอกตัว แต่รกอาจจะยังลอกตัว
ไม่สมบูรณ์ ในรายที่รกลอกตัว
แบบ Matthews duncan จะเห็น
เลือดออกทางช่องคลอด
การทำคลอดรก
ให้คลอดเองตามธรรมชาติ
มารดาเบ่ง (bearing down effort)
1.ตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว ใช้
มือซ้ายคลึงมดลูกให้แข็งแล้วจับมดลูก
เลื่อนจากด้านขวามาอยู่ในแนวกลาง
2.ให้มารดาเบ่ง เมื่อรกผ่านช่องคลอด
ออกมาใช้มือขวารองรับรกไว้ มือซ้าย
โกยมดลูกส่วนบนขึ้น
ผู้ทำคลอดช่วยเหลือ
ให้รกคลอดมี 3 วิธี
Medified crede Maneuver
:warning:หลักการคืออาศัยมดลูกส่วนบนที่หดตัวแข็ง
1) ต้องตรวจพบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
โดย Cord sign, Uterine sign
2) มดลูกหดรัดตัวแข็งแล้ว ให้จับมดลูก
ให้อยู่ในอุ้งมือนั้นโดยหงายมือ เอานิ้ว
ทั้งสี่สอดเข้าไปทางหลังของยอดมดลูก
ส่วนนิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านหน้าของมดลูก
3) จับมดลูกแล้วให้ใช้อุ้งมือดันมดลูก
ที่หดตัวแข็งลงมาที่ทาง Promontory กระดูก
Sacrum กดลงทีมุม 30 องศากับแนวดิ่ง
4) เมื่อรกผ่านช่องคลอดออกมา ให้ใช้มือ
ที่เหลือรองรับไว้ และเปลี่ยนมือที่ดันมดลูกมาโกย
มดลูกส่วนบนขึ้น เป็นการช่วยรั้งให้เยื่อหุ้มทารก
ที่เกาะอยู่บริเวณส่วนล่างมดลูกมีการลอกตัว
Brandt-Andrews Maneuver
ทดสอบการลอกตัวของรกว่ารกลอกตัว
สมบูรณ์แล้วหรือไม่ ใช้มือที่ไม่ถนัดจับสาย
สะดือให้ตึง ใช้มือที่ถนัดโกยมดลูกสวนขึ้น
ทางสะดือ
ทำคลอดรก ใช้มือที่ถนัดดันมดลูกส่วนบน
ขึ้นไปเล็กน้อยแล้วเปลี่ยนมากดที่บริเวณท้อง
น้อยเหนือรอยต่อกระดูกหัวหน่าว ดันลงล่าง
เพื่อผลักรกที่อยู่ในมดลูกส่วนล่างให้ออกมา
จนเห็นรกโผล่
Controlled cord traction
เป็นการดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอดออกมา
ทดสอบว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว โดยใช้มือ
ที่ไม่ถนัดโกยมดลูกส่วนบนขึ้นไปทางสะดือ
มือที่ถนัดจับสายสะดือ หากรกลอกตัวสมบูรณ์
ใช้มือที่ไม่ถนัดคลึงมดลูกส่วนบนให้แข็ง
นมดลูกส่วนบนขึ้นไปทางสะดือ มิให้เคลื่อนลงมา
มือที่ถนัดที่จับสายสะดือดึงลงก่อนแล้วดึง
เอารกและเยื่อหุ้มทารกหลุดออกมา
นางสาวสุธิตา หมื่นนันทะ เลขที่ 141 รหัสนักศึกษา 612401144 ชั้นปีที่ 2