Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บ - Coggle Diagram
การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บ
การตัดฝีเย็บ
ชนิดของการตัดฝีเย็บ
Median episiotomy เป็นการตัดจาก posterior fourchette ลงไปตามแนวดิ่ง และควรหยุดห่างจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักอย่างน้อย 1 ชม. เป็นวิธีที่นิยมทำ เนื่องจากเสียเลือดน้อย การเย็บซ่อมแซมทำได้ง่าย และไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลภายหลังคลอดเท่ากับแบบ Medio - Lateral แต่มีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้มากกว่าแบบ Medio - Lateral episiotomy
Medio - Lateral episiotomy เป็นการตัดจากจุด posterior fourchette ลงไป โดยทำมุมกับแนวดิ่ง 45 องศา เป็นวิธีที่นิยมทำอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากมีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้น้อยกว่าแบบ median แต่การเย็บซ่อมแซมยากกว่า median
Lateral episiotomy เป็นการตัดจาก posterior fourchette ไปทางด้านข้าง ขนานกับแนวราบ ไม่ควรตัดเฉียงขึ้นไปมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการตัด Bartholin’s gland วิธีนี้ไม่นิยมทำเนื่องจากเสียเลือดมาก แผลหายช้า หลังจากแผลหายแล้วรูปร่างของช่องคลอดมักผิดปกติ และอาจตัดโคน ท่อ Bartholin’s gland
-
ข้อบ่งชี้ในการตัดฝีเย็บ
-
-
การคลอดทารกก่อนกำหนด เพื่อปูองกันไม่ให้ศีรษะทารกถูกกดดันมากเกินไป เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ง่ายกว่าทารกที่คลอดครบกำหนด
-
-
-
-
-
-
วิธีการตัดฝีเย็บ
-
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้าย (ผู้ที่ถนัดขวา) สอดระหว่างฝีเย็บและส่วนนำของทารกแล้ว จึงสอดกรรไกรเข้าไปตัด เพื่อปูองกันไม่ให้ปลายกรรไกรไปทำอันตรายกับส่วนนำของทารก การตัดควรตัด เพียงครั้งเดียว เพราะถ้าตัดหลายครั้งขอบแผลจะไม่เรียบ และต้องคาดคะเนขนาดให้พอดี ตัดให้กว้างพอกับ จุดประสงค์ของการตัด ถ้าเป็นการตัดแบบ Medio – lateral ปลายกรรไกรจะต้องชี้ไปทางตรงกันข้ามกับ ทวารหนักเสมอ (ปลายโค้งชี้ขึ้นด้านบน)
ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะตัด โดยแทงเข็มฉีดยาเป็นรูป Fan – shaped แห่งละไม่เกิน 3 ซีซี ห่างกัน 1 ซม. เพื่อไป Block Perineal nerve และ Inferior hemorrhoidal nerve ยาชาที่ใช้ เช่น 2 % Xylocaine c adrenaline 1 : 80,000, 1 % Xylocaine เป็นต้น
เพื่อความสะดวกในการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ ควรเริ่มตัดให้ตรงกับกึ่งกลางของ Fourchette เพราะถ้าตัดไม่ตรงกับกึ่งกลาง กล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากช่องคลอด (Bulbocavernosus) จะดึงรั้งขอบแผล ทำให้ระดับไม่เสมอกัน ยากต่อการซ่อมแซมให้คงลักษณะรูปร่างของปากช่องคลอดตามเดิม
ประโยชน์ของการตัดฝีเย็บ
-
สะดวกแก่การซ่อมแซมฝีเย็บ จะทำให้ขอบแผลเรียบ ง่ายต่อการเย็บ แผลหายเร็ว ถ้าปล่อยให้เกิดการฉีกขาดเองขอบแผลจะกะรุ่งกะริ่งเย็บซ่อมแซมได้ยากกว่า
ป้องกันการฉีกขาดของ Perineal body, External anal sphincter และผนัง ของ rectum
-
ลดอันตรายต่อสมองทารก จากการที่ศีรษะทารกถูกกดกับบริเวณปากช่องคลอดนาน ๆ ส่วนมากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสมองทารกได้แก่ ภาวะเลือดออกภายในสมอง
-
สาเหตุของการตัดฝีเย็บ
การคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝีเย็บถูกยืดขยายอย่างรวดเร็ว (ripid delivery) เนื่องจากแรงผลักดันมาก มดลูกหดรัดตัวแรงเกินไป มารดาเบ่งแรง รีบเอาศีรษะออกในรายที่คลอดท่าก้น โดยไม่ระวังฝีเย็บ
คลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ โดยเฉพาะการใช้คีม เพราะความกว้างของ shank หรือการตัดเอา ทารกออกเป็นส่วนๆ (Decapitation) โดยไม่ระวังฝีเย็บ
ความไม่สมดุลระหว่างศีรษะทารกกับฝีเย็บ ได้แก่ ทารกตัวโตเกินไป ฝีเย็บยืดขยายไม่ดี Subpubic arch แคบ ทารกท่าผิดปกติ ฝีเย็บสูง และเคยทำการซ่อมตกแต่งช่องคลอดและฝีเย็บมาก่อน
-
ความหมาย การตัดฝีเย็บ คือการตัดเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบางส่วนของช่องคลอดและฝีเย็บ เพื่อ ขยายทางคลอดให้กว้างขึ้น ศีรษะและไหล่ของทารกจะได้ผ่านออกมาโดยสะดวกซึ่งเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่ ถูกตัด ได้แก่ Perineal skin, Posterior wall ของ vagina, Balbocavernosus muscle, Superficial transverse perineal muscle, Deep transverse perineal muscle และ Pubococcygeus vator ani muscle
การพยาบาลขณะที่ตัดฝีเย็บ
-
สังเกตฤทธิ์ข้างเคียงของยาชา ซึ่งเกิดจากฉีดยาเข้าหลอดเลือด หรือ ให้ยาที่มีความเข้มข้นหรือ จำนวนมากเกินไป อาการเหล่านั้น ได้แก่ ซึม มีอาการกระตุกตามใบหน้า แขน ขา ชัก ทางเดินหายใจถูกกด การไหลเวียนของโลหิตไม่เพียงพอ
-
-
-
การซ่อมแซมฝีเย็บ
ระดับการฉีกขาดของฝีเย็บ
-
Fourth degree tear เป็นการฉีกขาดเช่นเดียวกับ Third degree tear และมีการฉีกขาดต่อ จากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักจนถึงผนังของ Rectum
-
-
ชนิดของการเย็บแผล
Continuous non-locking ใช้ไหมเส้นเดียวเย็บตลอดความยาวของแผลแล้วจึงผูกปม วิธีนี้ทำได้ง่าย เสร็จแล้ว ใช้เย็บเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการแรงยึดมากนัก เช่น เนื้อเยื่อและไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้น
Continuous lock วิธีเย็บคล้ายกับแบบ simple suture แต่ใช้ไหมเส้นเดียวกันเย็บตลอด ความยาวของแผล ใช้เย็บในรายที่ต้องการให้ส่วนที่เย็บตึงมากกว่าวิธีที่ 3 เป็นการช่วยให้เลือดหยุด ใช้เย็บ เยื่อบุผนังช่องคลอด กล้ามเนื้อของช่องคลอดและฝีเย็บ
Horizontal figure-of-eight suture (การเย็บรูปเลข 8 ) ใช้เย็บจุดเลือดออก เย็บ rectus sheath และแผลอื่น ๆ แทนการเย็บแบบที่ 1 ได้
Subcuticular stitch ใช้เย็บชั้นใต้ผิวหนัง เริ่มต้นจากมุมแผล แล้วใช้เข็มแทงใต้ผิวหนังเข้าไป ห่างจากขอบอย่างน้อย 0.3 เซนติเมตร เข้าและออกในขอบแผลทั้งสองข้าง ที่ระดับเดียวกันจนถึงมุมแผลอีกข้าง
Interrupted simple suture คือ การเย็บแผลทั้งสองข้างให้มาบรรจบกันตรงกลางแล้วผูก ปม การเย็บควรใช้เข็มตักให้ห่างจากขอบแผลประมาณ 1 เซนติเมตร และลึกลงข้างใต้แผลประมาณ 1 ซม. หรือมากกว่า แล้วแต่ความลึกของแผล เพื่อปูองกันไม่ให้เหลือช่องว่างใต้แผล การเย็บวิธีนี้ทำได้ง่ายและเร็ว ใช้เย็บเยื่อบุผนังช่องคลอด กล้ามเนื้อของช่องคลอดและฝีเย็บ
ความหมาย:เป็นการเย็บซ่อม Fascia และกล้ามเนื้อ ด้วยไหมละลาย No 2/0 - 3/0 ให้ขอบแผลเชื่อม กันเหมือนเดิม