Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, นางสาว…
หน่วยที่ 4 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
ทฤษฎีชีวภาพ (Biological theory)
ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทต่างๆ
norepinephine และ serotonin น้อยเกินไป
ซึมเศร้า
epinephrine เพิ่มขึ้น
อาการแพนิค
norepinephine และ serotonin มากเกินไป
ีอาการ mania คลุ้ม คลั่ง อาละวาด ก้าวร้าว
epinephrine และ norepinephine ทำงานมากเกินไป
์วิตก กังวล (ผู้ป่วยโรควิตกกังวล)
Dopamine สูงผิดปกติ
พฤติกรรมก้าวร้าว หลงผิด ประสาท หลอน (มักพบในผู้ป่วยจิตเภท)
ความไม่สมดุลระหว่าง excitatory action ของ acetylcholine กับ inhibitory action ของ dopamine
และ gamma-amino butyric acid และมีความไม่สมดุลระหว่าง dopamine และ serotonin
ก้าวร้าว วุ่นวาย หลงผิด ประสาทหลอน หรือ วิตกกังวล ซึมเศร้า มีปัญหาการ นอนหลับและการตื่น
แนวทางประยุกต์ทฤษฎีชีวภาพในการบำบัดรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช
การวางแผนทางการพยาบาล (Nursing Planning)
วัตถุประสงค์ที่สามารถเห็นเปลี่ยนแปลงระบบชีวภาพของผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)
เน้นให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองทางด้าน ร่างกาย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
กำหนดปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ
การประเมินผลการพยาบาล (Nursing Evaluation)
การประเมินสภาพผู้ป่วย (assessment)
ประวัติการดูแลสุขภาพทั่วไป
การดำเนินชีวิตประจำวัน
โครงสร้างหน้าที่ของสมอง (Brain)
สมองส่วนหลัง (Hindbrain)
Medulla (oblongata)
ควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ ทำหน้าที่เกี่ยวกับสัญญาณ ชีพต่างๆ ของร่างกาย
Pons
่เหมือนสะพานในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆจาก Cortex เพื่อช่วย ในการควบคุมการเคลื่อนไหว และ ทำหน้าที่ในการควบคุมการหลับและการตื่น การตอบสนองทางกายและ ทางอารมณ์ต่อความเครียด , ระบบการรับสัมผัส
Cerebellum (สมองน้อย)
ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การทรงตัวและ ให้เกิดภาวะสมดุลในการเคลื่อนไหว
สมองส่วนหน้า (Forebrain)
Diencephalon
Epithalamus
pineal gland ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงภายในระบบต่อมไร้ท่อ และผลิตฮอร์โมน melatonin จาก serotonin เมื่อมีแสงสว่างน้อยหรือไม่มี
Amygdala
ความทรงจำทางด้านอารมณ์ที่ รวบรวมอารมณ์ในช่วงเวลาแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลว ความหวังและความกลัว ความหดหู่ท้อถอยหรือความ สับสน
Hypothalamus
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความหิว สมดุลของน้ำ วงจรการหลับ-ตื่น ระบบ ประสาทอัตโนมัติและการทำงานของร่างกาย และยังเป็นศูนย์ควบคุมหลักของต่อมไร้ท่อ
Hippocampus
บความจำจากการรับรู้ตามที่เป็นจริง หรือความจำที่อธิบายไดด้้วย เหตุผลและความจำที่เกิดจากการเรียนรู้สิ่งใหม่
Thalamus
ตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลเกี่ยวกับการรับสัมผัส (ยกเว้นการได้กลิ่น) จากส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อไปยั้ง cerebral cortex
Basal Ganglia
ควบคุมความตึงของกล้ามเนื้อ (Muscle Tone) และประสานงานด้านการเคลื่อนไหว (Coordination of Movement) ปรับการเคลื่อนไหวของร่างกายให้สมดุล
เกี่ยวข้องกับ Limbic system มี บทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้อาศัยรางวัล (reward)
Cerebrum
frontal lobes
บุคลิกภาพ การวางแผน การแก้ปัญหา การ ควบคุมสติสัมปชัญญะ แรงจูงใจ ความคิด สติปัญญา ความจำ การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมการควบคุมหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาคำพูด ลักษณะและความเร็วในการพูดและการออกเสียง
Parietal lobes
รับข้อมูลจากการสัมผัส การควบคุมการ รับสัมผัสทางกายและการแยกการรับความรู้สึกสัมผัสต่างๆ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา
Cerebral Cortex
ภาษา ความคิดนามธรรม การรับสัมผัส การเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจของจิตใจ
Central Sulcus
Corpus Callosum
Temporal lobes
ที่รับและประเมินข้อมูลที่จากการรับกลิ่น การได้ยิน ความเข้าใจภาษาที่ได้ยิน อารมณ์ การเรียนรู้และทำหน้าที่สำคัญในด้านความจำ การระลึกได้
Nondominant Hemisphere
ซีกขวาของสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะทางดนตรี และงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับรูปทรง
Lateral Fissure
Dominant Hemisphere
่ซีกซ้ายของสมอง ทำ หน้าที่เกี่ยวกับความเข้าใจภาษา ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิด เชิงตรรกะ
Occipital lobe
รับและ แปลผลขล้อมูลจากการมองเห็น
Pituitary Gland
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
Oxytocin กระตุ้นให้มดลูกหดตัวเป็นระยะ ๆ ซึ่งช่วยให้เกิดกระบวนการคลอด, การดูดนมของทารกจะเป็นการกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซิน, ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เนื่องจากมีการหดตัวของมดลูก
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
Tropic Hormone
Thyroid stimulating hormone กระตุ้นต่อม ไทรอยด์ให้สร้าง Thyroid hormone
Gonadotrophin hormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบ พันธ์และควบคุมลักษณะทางเพศ
Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) มีผลในการควบคุมต่อม หมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex)
Peptide Hormone
Growth hormone: GH ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
Prolactin or memotropin เริ่มมีการสร้างน้ำนมเมื่อคลอดลูกแล้ว
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
Ventral Tegmental Area (VTA)
Limbic System (Mesolimbic Tract) มีความเกี่ยวข้องกับระบบรางวัลของสมอง สารสื่อประสาท dopamine และ serotonin
Reticular Formation
หน้าที่เกี่ยวกับการรู้สึกตัว (Consciousness) ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย
Substantia Nigra
หากเสียหายอาจทำให้เกิดอาการสั่น (Tremor) และการแข็งทื่อ (Rigidity) ได้
Raphe Nuclei
ควบคุมการนอน (Sleep Regulation) และการควบคุมอารมณ์เศร้าและพฤติกรรมก้าวร้าว (The Control of Mood and Aggressive Behavior)
แหล่งกำเนิด เดียวของ serotonin
ทฤษฎีทางจิตสังคม
ทฤษฎีมนุษยนิยม ( Humanistic Theory )
การนำทฤษฎีมนุษยนิยมมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลจิตเวช
เป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ ทางด้านสุขภาพซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง และเป็นการตัดสินใจอย่างเสรีภาพ
พยาบาลควรสนใจปัญหาของผู้ป่วยเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นปัญหาในปัจจุบันซึ่งพยาบาลต้อง ช่วยเหลือในฐานะมนุษย์
จะต้องไม่คำนึงถึงอดีต ความดีความเลวของเขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ
กระบวนการพยาบาลเป็นกระบวนการของการแก้ไขปัญหา
พยาบาลมีความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา และความต้องการของตนเอง จะช่วยให้พยาบาลสามารถประเมิน ความต้องการของผู้ป่วยได้
กำหนดเป้าหมายของการพยาบาล การ ช่วยเหลือจึงต้องครอบคลุม “บุคคลทั้งคน” เสมอ
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยยังช่วยให้ผู้ป่วยลดความวิตก กังวล และความกลัวต่างๆ อันเกิดจากความเจ็บป่วย
การเคารพผู้ป่วยในฐานะบุคคล
กลุ่มปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
เซอร์เรน คีร์เคอร์การ์ด (Soren Kierkegaard)
มนุษย์ทุกคนควรสร้างปรัชญาของตนเองจากประสบการณ์ ไม่มีความจริงนิรันดร์ให้ยึดเหนี่ยวตายตัว ความจริงแท้คือภาวะของมนุษย์ (human condition) ในแต่ละ ขณะ ไม่มีกฎศีลธรรมมาตรฐาน
แต่ว่ามนุษย์แต่ละคนจะต้องตัดสินใจเลือกการกระทำในแต่ละกรณีที่จะต้อง เผชิญหน้า ความประพฤติดี คือการกล้าตัดสินใจในแต่ละสภาพชีวิต ความประพฤติที่เลว คือ การที่หลีกเลี่ยง การตัดสินใจ
จีน ปอล ซาร์ล (Jean Paul Sartre)
เสรีภาพ แนวคิดนี้เชื่อว่าจุดอ่อนของผู้ป่วยโรคจิตคือ ความกลัวที่จะเผชิญกับ อนาคต ทำให้ยึดมั่นอยู่กับวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ จากในอดีต แม้ว่าบางครั้งจะไม่เหมาะสมก็ตาม
ความสัมพันธ์กันบุคคลอื่น เชื่อว่าบุคคลจะรู้สึกว่าเป็นตัวของตัวเองชัดเจนที่สุด เมื่อเราอยู่ท่ามกลางคนอื่น ๆ และการที่คนตระหนักในความเป็นตัวเอง
คุณค่าของตนเอง (Individual) เน้นคุณค่าการดำรงชีวิตของคนอย่างเสรี
เป้าหมายการบำบัดของทฤษฎีอัตภาวะนิยม
ช่วยให้ผู้รับบริการมี ประสบการณ์รับรู้ถึงความมีอยู่ของตนเอง และศักยภาพที่ตนมีอยู่ มีเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง รับผิดชอบและนำชีวิตตนเอง และเปิดโอกาสให้ตนเองพัฒนาไปให้เต็มศักยภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยนหาความหมายในการมีชีวิตอยู่ของตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยกล้าเผชิญกับปัญหา และ สามารถตัดสินใจเลือกได้
และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
กลุ่มปรัชญาฮิวแมนนิสติก (Humanistic Philosophy)
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow ‘s Hierarchy of Needs)
ความต้องการการยอมรับยกย่อง (accept and recognition need)
ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (belongingness and love need)
ความต้องการความปลอดภัย (safety need)
ความต้องการด้านร่างกาย (physical need)
ความต้องการเป็นตนเองอย่างแท้จริง (self-actualization need)
ความต้องการที่จะรู้และเข้าใจ (desire to know)
ความต้องการสุนทรียะ (asthetic need)
เน้นศักดิ์ศรีและคุณค่าในตนเอง
เป้าหมายในการบำบัด ตามแนวคิดของ Maslow
เน้นการตอบสนองความ ต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์อย่างเพียงเพอ เพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะทำสิ่งดีต่อไป
ทฤษฎีเกี่ยวกับตัวตนของโรเจอร์ (Roger’s Self Theory )
จุดรวมของประสบการณ์ (the organism)
สร้างสถานการณ์อันทำให้ผู้รับการบำบัดพัฒนาความสามารถในการสื่อสารประสบการณ์ เฉพาะตนของเขาต่อตัวเขาและต่อผู้อื่นได้ สามารถรับรู้และเข้าใจได้ อันเป็นแนวทางหนึ่งในการนำไปสู่ความ เข้าใจตนเอง
เป้าหมายในชีวิตของบุคคล
มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความปรารถนารู้จักตน พอใจในตนและเป็นคนดี มนุษย์ ไม่มีธรรมชาติใฝ่ต่ำ แต่เพราะสถานการณ์แวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เขาได้แสดงธรรมชาติแห่งความใฝ่วัฒนะ ออกมา เขาจึงไม่ได้ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวตนของบุคคล (self)
ตัวตนที่ตนมองเห็น (self-concept) กับตนตามความเป็นจริง (real self) มีความแตกต่างกันมากหรือมีข้อขัดแย้งมาก
เป้าหมายหลักในการบำบัด คือ การคลี่คลายความซับซ้อนใน กลไกทางจิตให้กับผู้ป่วยจนทำให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นส่วนของตัวตนที่เป็นจริง และส่วนของตัวตนที่ตน มองเห็น และปรับตัวตนทั้ง 2 แบบนี้ให้สามารถผสมผสานกลมกลืนกันได้
การบำบัดโดยให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางให้หลักพื้นฐาน
การยอมรับทางบวกโดยปราศจากเงื่อนไข (unconditional positive regard)
ความเข้าใจในความรู้สึก (empathy)
ความสอดคล้องกลมกลืน (congruence)
เป้าหมายในการบำบัด ตามแนวคิดของ Roger
เน้นผู้รับบริการ หรือผู้ป่วยเป็น ศูนย์กลาง
พยาบาลต้องช่วยให้ผู้ป่วยได้รู้จักและยอมรับตนเองตามความเป็นจริง เข้าใจในตนเอง สามารถ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ เลือกเป้าหมายชีวิตและรับผิดชอบตนเองได้
ทฤษฎีจิตสังคมหรือจิตพัฒนาการทางสังคม
(Psychosocial Theory/ psychosocial developmental stage)
ขั้นตอนพัฒนาการทางด้านจิตสังคมของบุคคล
ขั้นที่ 4 ขั้นความขยันหมั่นเพียร : ความรู้สึกมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
ขั้นที่ 5 ขั้นการรู้เอกลักษณ์ของตนเอง : สับสนในบทบาท (Identity vs Role confusion)
ขั้นที่3 ขั้นความคิดริเริ่ม : ความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
ขั้นที่ 6 ขั้นความผูกพันใกล้ชิด : การรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy vs Isolation)
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง : ความสงสัยไม่แน่นอน (Autonomy vs Shame and doubt)
ขั้นที่ 7 ขั้นการทำประโยชน์ให้สังคม : การคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ : ไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ขั้นที่ 8 ขั้นความมั่นคงทางจิตใจ : ความสิ้นหวัง (Integrity VS Despair)
การประยุกต์แนวคิดจิตสังคม(จิตพัฒนาการของอิริคสัน) มาใช้ในการพยาบาลจิตเวช
จะช่วยให้พยาบาลเข้าใจบุคคลว่าพัฒนาการในช่วงวัยต่างๆ มีความสำคัญในการ พัฒนาตัวตนของบุคคล พัฒนาบุคลิกภาพ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยให้ เหมาะสม และสามารถพัฒนาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะและบุคลิกภาพของบุคคลได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
พฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมที่กระทำด้วยความตั้งใจ
มีจุดมุ่งหมาย (goal-directed behavior)
เมื่อมีความต้องการ (needs) โดยแสดงออกหรือมีการเปลี่ยนแปลงภายในสรีระ ร่างกาย
มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย แสดงออกมาภายนอก
พฤติกรรมที่กระทำหรือแสดงออกเมื่อมีความคับข้องใจ (behavior as response to frustration)
พฤติกรรมที่กระทำโดยอัตโนมัติ (reflex action)
แสดงออกมา ทันทีทันใดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น ไม่สามารถควบคุมให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ได้
แนวคิดหลักของนักพฤติกรรมนิยม
ความผิดปกติของพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยุ่งยากภายในจิตใจมนุษย์ และเป้น เพียงพฤติกรรมอย่างหนึ่งในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกอย่างเหมาะสมจะได้รับการเสริมแรงทางบวก และ ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมนั้นๆอีก
พฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้การเรียนรู้ใหม่ที่ เหมาะสมและให้การเสริมแรงอย่างถูกต้อง
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้ อธิบายได้และควบคุมได้
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์การวางเงื่อนไขและการเรียนรู้ในอดีต
มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีความซับซ้อนที่ระบบการคิด ภาษา และความเข้าใจ
การนำทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลจิตเวช
ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นในแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
พัฒนาทักษะที่เหมาะสมของผู้ป่วยด้วยการใช้การเสริมแรงที่เหมาะสม
รวมถึงการวางเงื่อนไขของพฤติกรรมต่างๆ
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่อย่างเหมาะสม มีแบบอย่างในการปฏิบัติ
จัดกิจกรรมเพื่อการบำบัด โดยการสร้างสถานการณ์ และการวางเงื่อนไขที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม หรือลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง
ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยความเข้าใจ
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม (Rational-Emotive Behavior Therapy: RET)
เน้นเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม จะสอนให้บุคคลหยุดการตำหนิ ตนเองและยอมรับตนเองอย่างที่เป็นตนเองซึ่งมีข้อบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แบบ แยกปัญหาจากความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีปัญญานิยมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พยาบาลจะต้องชี้ให้ ผู้ป่วยเห็นถึงความเป็นจริงโดยสะท้อนพฤติกรรมทางบวกที่เป็นอยู่
ช่วยโดย การเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล และช่วยให้มีการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทฤษฎีทางปัญญาของเบค (Beck’s Cognitive Theory
กระบวนการทางปัญญา (cognitive process)
เหตุการณ์ทางปัญญา (cognitive event)
แสดงออกเป็นความคิดอัตโนมัติ (autonomic thought)
โครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory)
Sigmund Freud
โครงสร้างของจิตใจ
Ego ส่วนที่ทำหน้าที่อยู่ทั้ง 3 ระดับของจิตใจ
Superego ส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม ควบคุมพฤติกรรมของบุคคล
ID (อิด)
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
Anal stage
Libido จะเคลื่อนไปที่ บริเวณทวารหนัก
มีพัฒนา autonomy อย่าง เหมาะสม เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยไม่คอยขัดขวางหรือยอมตามผู้อื่นในทุกเรื่อง
คนดื้อต่อต้าน ย้ำคิดย้ำทำ เจ้าระเบียบ ชอบเก็บ รักสะอาดมากเกินไป ยึดมั่นกฎเกณฑ์โดยไม่ยืดหยุ่น ขี้เหนียว มากผิดปกติ
จุกจิก หรืออาจกลายเป็นคนสองจิตสองใจ ไม่มีระเบียบวินัย สุรุ่ยสุร่ายอย่างไม่มีเหตุผล และ แสดงความก้าวร้าวอย่างไม่เหมาะสม
Phallic stage
Libido จะไปรวมที่ อวัยวะเพศ
เด็กจะพึงพอใจ และผ่านพัฒนาการขั้นนี้ไปได้
สับสนในการเลือกเลียนบทบาททางเพศที่เหมาะสม เด็กชายอาจเลียนแบบจากแม่ เด็กหญิงอาจ เลียนแบบพ่อ
Oral stage
Libido จะติดกับอวัยวะปาก (oral fixation)
เด็กรู้สึกไว้วางใจต่อแม่และจะพัฒนา ความสามารถในการรับและให้ได้อย่างเหมาะสม
มีพฤติกรรมชอบรับประทานตลอดเวลา รับประทานจุบจิบ ชอบสูบบุหรี่ กัดเล็บ ดูดนิ้ว หรืออาจใช้ปากในการพูดจาเยาะเย้ย ถากถางผู้อื่นเสมอ
Latency stage
Libido ยังไม่เคลื่อนไปที่อวัยวะใดโดยเฉพาะ
คบเพื่อนที่เหมาะสม เข้ากับเพื่อนเพศเดียวกันได้และพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การคบเพื่อนต่างเพศในวัยรุ่นได้ พัฒนาบุคลิกภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ
ไม่ยืดหยุ่น บางครั้ง อาจมีย้ำคิดย้ำทำ หรือเคร่งครัดในกฎเกณฑ์บางอย่างมากเกินไป
Genital stage
Libido จะเคลื่อนไปอยู่ที่อวัยวะเพศ
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับเพศที่แท้จริงของเขา
ความขัดแย้งทางบทบาททางเพศ ของตนเอง จะแสดงบทบาททางเพศตรงข้ามกับเพศจริงของตนเอง
ระดับของจิตใจ (level of mind)
ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious level)
ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level)
ระดับจิตสำนึก (Conscious level)
การประยุกต์แนวคิดจิตวิเคราะห์มาใช้ในการพยาบาลจิตเวช
การประเมินโดยใช้แนวคิดนี้เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้ป่วย
พยาบาลควรซักถาม เกี่ยวกับประวัติการเลี้ยงดูและวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาที่ผ่านมาให้ชัดเจนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์คาม บกพร่องทางพัฒนาการ บุคลิกภาพ พฤติกรรมไม่เหมาะสมและกลไกป้องกันตัวเองทางจิตของผู้ป่วย
ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคม (Social cognitive learning theory)
อัลเบิร์ต แบนดูรา
ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคมและมีปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้บทบาท และ พฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
การฝึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยใหม่ให้ เหมาะสม ด้วยให้ดูตัวอย่างพฤติกรรมที่เหมาะสมผ่านสื่อต่างๆ และการใช้บทบาทสมมุติในสถานากรณ์ที่ คล้ายคลึงกัน
เป็นแบบอย่าง (Modeling) ที่ดีให้กับผู้ป่วยในการแก้ปัญหาและการใช้ชีวิต อย่างหมาะสม
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal theory)
แนวคิดทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Sullivan
การสร้างภาพบุคคล (Personification)
กระบวนการคิด (Cognitive Process)
พาราทาซิก (Parataxic) เมื่อเด็กพัฒนาความคิดสูงขึ้นจะเริ่มเข้าใจถึง ความสัมพันธ์ระว่างสิ่งต่างๆ ทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้างปนกันไป
ซินทาซิก (Syntaxic) เมื่อเด็กมีความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้นถึงขั้นใช้ สัญลักษณ์แล้ว สภาพความเป็นจริงกับความจริงมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ สื่อสารกับผู้อื่นได้ เข้าใจ
โปรโตทาซิก (Prototaxic) เป็นกระบวนการคิดของทารกที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง
การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)
ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad Me)
ภาพตนเองที่ว่า “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me)
ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี” (Good Me)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ใช้ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจสร้าง บรรยากาศแห่งการยอมรับ และเพิ่มโอกาสในการแก้ไขความบกพร่องในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และ พัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลให้แก่ผู้ป่วย
เน้นการสร้างสัมพันธภาพทางการพยาบาล และการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ ปลอดภัย ผ่อนคลาย ลดความวิกลกังวล
นางสาว สิริกัญญา จำอินถา 6031901092