Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา - Coggle Diagram
การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่
(พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สมศ.ยุคใหม่
การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา
ประเมินต้องมีความรู้อย่างรอบด้านและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในคณะกรรมการประเมินเพื่อการตัดสินให้ระดับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์การประเมินตามสภาพบริบทของสถานศึกษาเอง
การประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาเป็นการตัดสินระดับคุณภาพตามหลักการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment)
ไม่มีการตัดสินผลการประเมินว่า “ได้-ตก”
หลักการและแนวคิดสำคัญ
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดที่จะต้องรับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษาและร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น(Accountability)
การประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีความท้าทายและช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาสู่สากล
ให้เป็นไปตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศบรรลุเป้าหมายทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ (Empowerment)
หลักการสำคัญในการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์
การประเมินคุณภาพภายนอก นำมาสู่แนวคิดส าคัญ 4 ประการ
เน้นการประเมินเพื่อยืนยันคุณภาพของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมีความพร้อมในการแข่งขันในระดับสากล
ให้ความสำคัญกับการประเมินที่มุ่งสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต และสถานศึกษามีขีดสมรรถนะสูง สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ใช้กลไกการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิดพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ
เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสร้างความโดดเด่นเฉพาะทาง หรือเป็นต้นแบบในการพัฒนาในระดับภูมิภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ
นิยามศัพท์
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
รายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาซึ่งถือว่า เป็นรายงานประเมินตนเองที่สถานศึกษาเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก
บุคคล หรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับต่างๆ ตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่ สมศ.กำหนดโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
เป็นแบบอย่างที่ดี (Best-Practice)
รูปแบบวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ
การรับรองรายงานการประเมิน
การรับรองรายงานประเมินคุณภาพภายนอกฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่ สมศ.กำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพพ.)
นวัตกรรม (Innovation)
แนวคิดหรือวิธีการที่นำาใช้ในการปฏิบัติแก้ปัญหาการพัฒนา ซึ่่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กรอย่างเห็นได้ชัด
การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก
ประสิทธิผล (Effectiveness)
ผลที่เกิดขึ้นของการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อันเป็นผลที่เกิดต่อผู้เรียนต่อองค์กร ต่อวงวิชาการซึ่งผลการดำเนินงานมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี
คณะผู้ประเมิน
ผู้ประเมินภายนอกตามจ านวนและองค์ประกอบที่ สมศ.กำหนด ที่ได้รับการรับรองให้ทำการประเมินภายนอกสำหรับสถานศึกษา
คณะกรรมการพัฒนาระบบ
คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพพ.)
รายงานการประเมิน
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเป็นไปตามที่ สมศ. กำหนด
ความเชื่อถือได้ (Validity / Credibility)
กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษา ที่เกิดจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและมีคุณภาพ
ความเป็นระบบ (Systematic)
กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการคิดอย่างเป็น
กระบวนการ โดยพิจารณาจากตัวอย่าง เช่น กระบวนการ 5W1H หรืออาจจะเป็นกระบวนการ PDCA
ความเหมาะสม/เป็นไปได้(Propriety / Feasibility)
การกำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ความสำเร็จของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ประหยัด และคุ้มค่า
กฎกระทรวงฯ
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559 - 2563)
ส่วนที่ 1 การประเมินคุณภาพมาตรฐานขั้นพื้นฐาน
เป็นการประเมินตามพันธกิจและบริบทของสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน และประเด็นที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
มีระดับคุณภาพ 5 ระดับ
ระดับดี
สถานศึกษาดำเนินการตามเกณฑ์ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมเป็นไปได้ กระบวนการ และผลการประเมินคุณภาพมีความเชื่อถือได้ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพผู้เรียน
ระดับพอใช้
สถานศึกษาดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เป็นไปได้กระบวนการและผลการประเมินคุณภาพมีความเชื่อถือได้เป็นไปตามเกณฑ์แต่ไม่ครบถ้วนในบ้างประเด็น
ระดับดีมาก
สถานศึกษาดำเนินการตามเกณฑ์ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมเป็นไปได้กระบวนการ และผลการประเมินคุณภาพมีความเชื่อถือได้ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพผู้เรียน และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
ระดับปรับปรุง
สถานศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่
ระดับดีเยี่ยม
สถานศึกษาดำเนินการตามเกณฑ์ครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมเป็นไปได้กระบวนการ และผลการประเมินคุณภาพมีความเชื่อถือได้ส่งผลต่อ
การยกระดับคุณภาพผู้เรียน และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย และมีนวัตกรรมหรือแบบอย่างที่ดี
แนวทางการพิจารณาและการตัดสินระดับคุณภาพ
ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
หรือด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษากําหนด
ความเชื่อถือได้
พิจารณาจากกระบวนการและผลการประเมินที่สถานศึกษาประเมินตนเองกับผลการตรวจสอบจากสภาพจริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์โดยใช้ข้อมูลหลายแหล่งในเชิงตรวจสอบยืนยัน แล้วพิจารณาความสอดคล้องของผลการตัดสินว่าสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด
ประสิทธิผล
พิจารณาจากผลของการบริหารและการจัดการสถานศึกษาทีครอบคลุมในด้านการเป็นผู้นำการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา ข้อมูลสารสนเทศหลักสูตรสถานศึกษา ระบบการแนะแนว ฯลฯ ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่สถานศึกษากำหนด
ความเป็นระบบ
พิจารณาจากกระบวนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่องยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสําคัญ หรือด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษากําหนด
ความเชื่อถือได้
พิจารณาจากกระบวนการและผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูกับผลการตรวจสอบจากสภาพจริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์โดยใช้ข้อมูลหลายแหล่งในเชิงตรวจสอบยืนยัน แล้วพิจารณาความสอดคล้องของผลการตัดสินว่าสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด
ประสิทธิผล
พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของครูที่ครอบคลุมในด้านการจัดการเรียนการสอนการบริหารจัดการชั้นเรียนการพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่สถานศึกษากำหนด
ความเป็นระบบ
พิจารณาจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและชุมชนตามความสนใจของผู้เรียน
ด้านคุณภาพของผู้เรียน หรือ
ด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษากําหนด
ความเชื่อถือได้
พิจารณาจากกระบวนการและผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนกับผลการตรวจสอบจากสภาพจริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์โดยใช้ข้อมูลหลายแหล่ง
ประสิทธิผล
พิจารณาจากผลการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้นและบริบทของสถานศึกษา โดยผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้น เมื่อเทียบระหว่างปีการศึกษา หรือสามารถรักษาระดับคุณภาพที่สูงอยู่แล้วให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน
ความเหมาะสม เป็นไปได้
พิจารณาจากการกำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์ในการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพจริงของผู้เรียน
ส่วนที่ 2 การประเมินความโดดเด่นเฉพาะทาง
เป็นแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาสามารถเลือก
ความโดดเด่นเฉพาะทางได้ตามศักยภาพและความสมัครใจ
ความสามารถเฉพาะทางที่สําคัญ
ผลงานนักเรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทักษะวิชาชีพ (การเกษตร การเป็นผู้ประกอบการ) ด้านกีฬา ดนตรีศิลปะ ทักษะด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีหรืออื่น ๆ เช่น การเป็นผู้น า สมรรถนะการด าเนินชีวิต (Literacy/ Living/ Life/Career Skills) เป็นต้น
การบริหารจัดการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาสําหรับเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ (Special needs/ Gifted/ Vulnerable)
การมีนวัตกรรมการเรียนรู้ที่โดดเด่น การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของชุมชนที่โดดเด่น การได้รับการรับรองคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับมาตรฐานนานาชาติเป็นต้น
ความสามารถในการใช้ภาษา และการสื่อสาร
การพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น
อื่น ๆ ตามที่สถานศึกษาประกาศเป็นเอกลักษณ์
รายการเอกลักษณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษากำหนด ที่มีการวางแผนและดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบจนประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาค ระดับชาติหรือนานาชาติ
ความสามารถด้านวิชาการควบคู่คุณธรรม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการให้ดีขึ้น มีพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียนใน 3 ปี
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจของสํานักงานประเมินและ
รับรองสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พันธกิจ (Mission)
บริหารจัดการให้การรับรองรายงานและการรับรองมาตรฐานสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและศูนย์พัฒนาเด็กตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
บริหารจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับงานประเมินเพื่อท าเป็นข้อมูล ชุดข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ประกอบการปฏิบัติงาน
บริหารจัดการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ * และศูนย์พัฒนาเด็ก
งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ การพัฒนากรอบแนวทางการประเมินผลของการประกันคุณภาพของสถานศึกษา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
การศึกษาปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็ก)
โรงเรียนนานาชาติที่ประเมินมาตรฐานร่วมกับองค์กรต่างประเทศ
(JointAccreditation)
สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษในความรับผิดชอบมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็นการศึกษาในระบบ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
ความพิการทางการเห็น
ความพิการทางการได้ยิน
ความพิการทางร่างกาย
ความพิการทางสติปัญญา
โรงเรียนทางเลือก
โรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์และขับร้อง
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
โรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์
โรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนนานาชาติที่ประเมินมาตรฐานร่วมกับองค์กรต่างประเทศ (Joint Accreditation)
โรงเรียนนานาชาติที่ไม่ได้รับการประเมินมาตรฐานจากองค์กรต่างประเทศ (Non - Joint Accreditation)
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็นการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
ศูนย์การศึกษาพิเศษ
บ้านเรียน (Home School)
วิสัยทัศน์ (Vision)
ภารกิจประเมินและรับรองสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักประเมินและรับรองสำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เป็นกลุ่มงานที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและศูนย์พัฒนาเด็ก มีระบบประเมินผลการจัดการศึกษาที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ สามารถสะท้อนผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และสามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาของประเทศได้
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน สมศ. รอบสี่
(พ.ศ.2559 - 2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การให้ระดับคุณภาพ
ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน/ สังคม(10 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 13 การให้ความร่วมมือที่ส่งผลต่อชุมชน/สังคม
ตัวบ่งชี้ที่ 14 การให้ความร่วมมือกับชุมชน/สังคมที่ส่งผลต่อสถานศึกษา
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและ วัฒนธรรม(10 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 15 การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 16 การพัฒนาสุนทรียภาพ
ด้านการบริหารและธรรมาภิบาล
ของสถานศึกษา (20 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 10 การดำเนินงานของผู้อำนวยการ
ตัวบ่งชี้ที่ 11 การบริหารความเสี่ยง
ตัวบ่งชี้ที่ 9 การด าเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 12 การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
ด้านอัตลักษณ์/เอกลักษณ์ (10 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 17 อัตลักษณ์ผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 18 เอกลักษณ์สถานศึกษา
ด้านคุณภาพครู/อาจารย์ (20 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ครู/อาจารย์สร้างสรรค์ห้องเรียน/แหล่งเรียนรู้คุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ครู/อาจารย์มีผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ครู/อาจารย์เป็นคนดี มีความสามารถ
ตัวบ่งชี้ที่ 8 ครู/อาจารย์ได้รับการเพิ่มพูนความรู้/ประสบการณ์
ด้านมาตรการส่งเสริม (10 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 19 มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่20 มาตรการส่งเสริม (ภายนอกสถานศึกษา)
ด้านคุณภาพศิษย์(20 คะแนน)
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนเป็นคนดี
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนมีทักษะชีวิต