Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาต…
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ พ.ศ.2545
คำจำกัดความ
สถานบริการ
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน เเละของสภากาชาดไทย หน่วยบริการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ เเละสถานบริการสาธารณสุขอื่น ที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม
หน่วยบริการ
สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
บริการสาธารณสุข
บริการด้านการเเพทย์เเละสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงเเก่บุคคลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล เเละการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพเเละการดำรงชีวิต
เครือข่ายหน่วยบริการ
หน่วยบริการที่รวมตัวกันเเละขึ้นทะเบียน หรือเครือข่ายหน่วยบริการตามพระราชบัญญํตินี้
ค่าบริการ
เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้เเก่หน่วยบริการในการรับบริการสาธารณสุขเเต่ละครั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา 5
บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเเละมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6
บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจำ
มาตรา 38
ให้จัดตั้งกองทุนหนึ่งในสำนักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ เรียกว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ
เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน เเละส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงเเละมีประสิทธิภาพ
มาตรา 42
ในกรณีผู้รับบริการเกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้เเต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้เเก่ผู้รับบริการไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาเเก่ผู้กระทำผิดได้
มาตรา 60
เป็นการกระทำผิดร้ายเเรงหรือเกิดซ้ำหลายครั้ง
สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการนั้น
เเจ้งต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อพิจารณา ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เเจ้งต่อรัฐมนตรีผู้กำกับดูเเลเพื่อให้มีการดำเนินการทางวินัยเเก่ผู้บริหารของหน่วยบริการในกรณีที่เป้นสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
เเจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนเเละวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งมีส่วนรับผิดชอบในการกระทำผิดของหน่วยบริการเเละให้มีการดำเนินการทางวินัยในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ พ.ศ.2550
คำจำกัดความ
ปัญญา
ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันเเละความเข้าใจอย่างเเยกได้ในเหตุผลเเห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์เเละความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงานเเละเอื้อเฟื้อเผื่อเเผ่
ระบบสุขภาพ
ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
สุขภาพ
ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา เเละทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
บริการสาธารณสุข
บริการต่างๆอันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันเเละควบคุมโรคเเละปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยเเละบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย เเละการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว เเละชุมชน
บุคลากรด้านสาธารณสุข
ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดรองรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข
ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
สมัชชาสุขภาพ
กระบวนการที่ให้ประชาชนเเละหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้เเละเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอเเนะนโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบเเละอย่างมีส่วนร่วม
สิทธิเเละหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา 5
บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งเเวดล้อมเเละสภาพเเวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา 6
สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศเเละสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจำเพาะ ซับซ้อนเเละมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริมเเละคุ้มครองอย่างสอดคล้องเเละเหมาะสม
สุขภาพของเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคม เเละกลุ่มคนต่างๆที่มีความจำเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้รับการสร้างเสริม เเละคุ้มครองอย่างสอดคล้องเเละเหมาะสมด้วย
มาตรา 7
ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
เว้นเเต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
เเต่ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายเเก่ผู้รับบริการ ผู้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นเเต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายเเรง
มิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเเละมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ เเละไม่อาจเเจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ เเล้วเเต่กรณี รับทราบข้อมูลในขณะนั้นได้
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพเเห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย เเละอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
5.การป้องกันเเละควบคุมโรคเเละปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
6.การบริการสาธารณสุขเเละการควบคุมคุณภาพ
4.การสร้างเสริมสุขภาพ
7.การส่งเสริม สนับสนุน การใช้เเละการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการเเพทย์แผนไทย การเเพทย์พื้นบ้านเเละเเพทย์ทางเลือกอื่นๆ
3.การจัดให้มีหลักประกันเเละความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
8.การคุ้มครองผู้บริโภค
2.คุณลักษณะที่พึงประสงค์เเละเป้าหมายของระบบสุขภาพ
9.การสร้างเเละเผยเเพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
1.ปรัชญาเเละเเนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
10.การเผยเเพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
11.การผลิตเเละการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
12.การเงินการคัลงด้านสุขภาพ
นางสาวภัทราภรณ์ ครโสภา เลขที่14 รุ่น 36/2