Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มอดุล 2 ชนิดและหน้าที่ของจิ๊กฟิกซ์เจอร์], นางสาวรัตนาพร อยู่คอน TIE2N รหัส…
มอดุล 2 ชนิดและหน้าที่ของจิ๊กฟิกซ์เจอร์]
2.1ความหมายของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์
เป็นเครื่องมือพิเศษที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการกำหนดตำแหน่งจับยึดชิ้นงานและยังเป็นตัวนำทางของเครื่องมือตัด (Cutting Tools) เช่นในการเจาะรูเเละคว้านรู
2.1.1 จิ๊ก (Jig)
จิ๊กจะเป็นปลอกนำทางซึ่งอัดติดแน่นอยู่เสมอปลอกนำทางนี้จะทำด้วยเหล็กพิเศษที่ผ่านการชุบแข็งมาแล้ว
2.1.2 ฟิกซ์เจอร์ (Fixture)
เป็นเครื่องมือสำหรับการผลิตที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งยึดจับและรองรับชิ้นงานให้อยู่คงที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่
2.2 ชนิดของจิ๊ก
จิ๊กคว้านรู
จิ๊กคว้านรูนั้นถูกใช้งานสำหรับการคว้านรูซึ่งมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะทำการเจาะด้วยดอกสว่านได้
จิ๊กเจาะรู
จิ๊กเจาะรูนั้นจะถูกใช้สำหรับการเจาะรูทำรูเรียบ ทำเกลียว ลบมุมคม ทำรูมุมฉาก
แบบเปิด (Open Jigs) จิ๊กแบบเปิดจะใช้ในการทำงานแบบง่าย ๆ
แบบปิด(Close Jigs) จิ๊กแบบปิดจะถูกใช้สำหรับชิ้นงานที่ถูกกระทำจากเครื่องจักรมากกว่าหนึ่งด้านขึ้นไป
2.3 ประเภทของจิ๊กและฟิกซ์เจอร์
2.3.1 จิ๊กแบบเทมเพลท
ใช้สำหรับงานที่ต้องการให้ชิ้นงานมีความละเอียดถูกต้อง
มากกว่าที่จะผลิตชิ้นงานได้รวดเร็ว
2.3.2 จิ๊กแบบแผ่น
ใช้สำหรับจับยึดชิ้นงาน จิ๊กแบบแผ่นสามารถที่จะทำขึ้นมาได้โดยมีปลอกนำา
ทางหรือไม่มีก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของชิ้นงานที่ถูกกระทำ
2.3.3 จิ๊กแบบแซนวิช
จิ๊กชนิดนี้จะถูกใช้กับชิ้นงานที่มีลักษณะบางและอ่อน ซึ่งอาจจะโค้งหรือบิดงอได้ระหว่างการเจาะ
และจิ๊กแซนวิชนี้จะใช้ปลอกนำทางหรือไม่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นงานที่จะถูกกระทำเช่นกัน
2.3.4 จิ๊กแบบแผ่นมุมฉาก
ใช้สำหรับจับยึดชิ้นงานที่จะถูกกระทำ เช่น เจาะรูใน
ตำแหน่งที่ตั้งฉากกับตัวกำหนดตำแหน่งตัวอย่างงานที่ใช้ตัวกำหนดตำแหน่งแบบมุมฉากได้แก่ ลูกรอก ปลอกเหล็กและเฟือง เป็นต้น
2.3.5 จิ๊กแบบกล่อง
เป็นจิ๊กที่ถูกทำขึ้นมามีลักษณะครอบคลุมชิ้นงานทั้งหมด จิ๊กแบบนี้ใช้กับชิ้นงานที่ถูกตกแต่งผิวหน้ามาทุกด้านเรียบร้อยแล้ว
2.3.6 จิ๊กแบบแชลแนล
เป็นจิ๊กที่มีแบบเป็นธรรมดาง่ายๆ มากที่สุดในบรรดาชนิดของแบบกล่อง ชิ้นงานจะถูกจับยึดไว้ระหว่างด้านของจิ๊กสองด้าน และงานจะถูกกระทำจากด้านที่สาม ในบางกรณี ถ้าเรามีการติดขาเข้าไปด้วยก็จะสามารถกระทำกับจิ๊กได้ทั้งสามด้าน
2.3.7 จิ๊กแบบฝาปิด
เป็นแบบกล่องชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมีฝาปิด-เปิดได้ ทำให้ง่ายต่อการเอาชิ้นงานใส่เข้าไปและเอาชิ้นงานออกได้อย่างสะดวก
2.3.9 จิ๊กแบบแคร่
ใช้สำหรับงานที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ หรือมีรูปร่างเฉพาะอย่าง ซึ่งจะถูกรองรับน้ำหนักด้วยแคร่ จิ๊กชนิดนี้เหมาะกับงานที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
2.3.10 จิ๊กแบบปั้ม
เป็นจิ๊กที่ถูกผลิตขึ้นมาทางด้านการค้าซึ่งผู้ใช้จะต้องนำไปดัดแปลงให้ใช้ได้กับ ชิ้นงานที่ต้องการ สำหรับแผ่นคานงัดภายในทำให้จิ๊กชนิดนี้มีความรวดเร็วในการจับยึดและคลาย ชิ้นงานออกทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก
2.3.8 จิ๊กแบบหัวแบ่ง
ใช้สำหรับการเจาะรูหรือตกแต่งอย่างอื่นบนชิ้นงานที่ต้องการให้มีระยะห่างของการกระทำนั้นห่างเท่า ๆ กัน
2.3.11 จิ๊กแบบหลายตำแหน่ง
เป็นจิ๊กที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานได้หลาย ๆ อย่างจนเสร็จ เรียบร้อยสิ่งที่สำคัญสำหรับจิ๊กชนิดนี้คือการวางตำแหน่งของชิ้นงานขณะที่ตำแหน่งที่หนึ่งได้รับการ เจาะรูในตำแหน่งถัดไปก็จะถูกทำรูเรียบ ส่วนอีกตำแหน่งหนึ่งก็จะถูกคว้านทำรูฉากและในตำแหน่ง สุดท้ายเป็นการเอาชิ้นงานออกและใส่ชิ้นงานเข้าไปใหม่
2.4 ประเภทของอุปกรณ์ฟิกซ์เจอร์ตามลักษณะการใช้งานของเครื่องจักร
2.4.2 ฟิกซ์เจอร์แบบแผ่นตั้งฉาก
การทำงานก็คือ ชิ้นงานจะถูกกระทำใน ทิศทางตั้งฉากกับตัวกำหนดตำแหน่งของฟิกซ์เจอร์ ปกติแล้วฟิกซ์เจอร์แบบแผ่นตั้งฉากจะถูกทำมุม 90 องศา แต่ก็มีบางครั้งจำเป็นที่จะต้องใช้มุมอย่างอื่นที่ไม่ใช้มุม 90 องศา
การทำงานการผลิตที่ใช้ฟิกซ์เจอร์ด
งานทำร่อง
งานเพลนนี่ง
งานกัด
งานเจาะ
งานคว้าน
งานเเลปปิ้ง
งานประกอบ
งานกลึง
งานทดสอบ
งานขึ้นรูป
งานปั๊ม
2.4.3 ฟิกซ์เจอร์แบบปากกา
ใช้สำหรับการทำงานที่มีขนาดเล็กฟิกซ์เจอร์ชนิดนี้จะมีปากกาส าหรับจับ
ชิ้นงานที่เป็นมาตรฐาน จึงสามารถที่จะเปลี่ยนปากกาส าหรับจับชิ้นงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2.4.4 ฟิกซ์เจอร์แบบหัวแบ่ง
ใช้สำหรับการทำงานกับชิ้นงานที่จะต้องการตกแต่งให้มีช่องว่างหรือระยะห่างเท่า ๆ กัน
2.4.1 ฟิกซ์เจอร์แบบแผ่น
ถูกสร้างมาจาก แผ่นเรียบ ๆ ซึ่งมีตัวจับยึดชนิดต่าง ๆ กัน ติดอยู่และยังมีตัวกำหนดตำแหน่งอยู่ด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่ใน การจับยึดและกำหนดตำแหน่งความที่เป็นฟิกซ์เจอร์แบบธรรมดาและง่ายๆ
2.4.5 ฟิกซ์เจอร์แบบหลายตำแหน่ง
นำมาใช้เมื่อต้องการๆผลิตที่ต้องการความรวดเร็วและมีปริมาณมาก ๆ
ในขณะที่การทำงานของเครื่องจักรจะต้องทำงานเป็นจังหวะต่อเนื่องกันไปตลอด
2.4.6 ฟิกซ์เจอร์แบบโปรไฟล์
ใช้เป็นตัวนำทางสำหรับการทำงานที่กระทำตามเส้นรอบรูปที่ เครื่องจักรไม่สามารถไปตามทิศทางปกติได้ สำหรับเส้นรอบรูปนี้อาจจะเป็นเส้นรอบรูปภายในหรือ ภายนอกก็ได้เช่น แสดงการทำลูกเบี้ยว
นางสาวรัตนาพร อยู่คอน TIE2N รหัส 61322110001-0