Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารกใรระยะที่ 4,…
สรุปการประเมินภาวะสุขภาพการดูแลช่วยเหลือมารดาและทารกใรระยะที่ 4
การตรวจรก การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
การตรวจรก
1. ลักษณะของรก
1.1 รกด้านมารดา
ด้านที่ติดกับผนังมดลูก
มีสีแดงเข้มเหมือนสีลิ้นจี่ปกคลุมด้วย Decidua บาง ๆ
จะมีก้อนๆ แต่ละก้อนเรียกว่า Cotyledon และปกติจะมีประมาณ 15-20 cotyledons
cotyledon จะแยกจากกันโดยมีร่องที่เรียกว่า Placental sulcus
ความลึกของ intervillous space เราเรียกว่า decidual septum ซึ่งจะแบ่งขอบเขตของ intervillous space แต่ละช่องที่แต่ละ cotyledon ของรกจุ่มในเลือดมารดา
เมื่อ decidual septum ฉีกขาดไปก็จะเห็น placental sulcus
ที่บริเวณ sulcus นี้จะเห็นเนื้อ chorionic villi ส่วนที่ไม่มี decidua ปกคลุม มีสีแดงคล้ำกว่าบนผิวของ cotyledon ที่มีส่วนของ decidua คลุมอยู่
Decidue ที่ปกคลุมอยู่บนรกด้านมารดาจะเห็นติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่คลุมอยู่บนเยื่อหุ้มทารกชั้น Chorion
1.2 รกด้านเด็ก
สีเทาอ่อนและเป็นมันเนื่องจากมีเยื่อหุ้มทารกชั้น amnion คลุมอยู่ด้านนี้มีสายสะดือติดอยู่ด้วย ซึ่งปกติติดอยู่ตรงกลาง หรือค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
เมื่อลอก amnion ไปจนถึงตำแหน่งที่สายสะดือติดอยู่จนเห็น chorionic plate จะมีลักษณะเรียบเทา และเห็นเส้นเลือดแผ่ออกเป็นรัศมี และสิ้นสุดที่ประมาณ 1-2 cm
วงสีขาวโดยรอบซึ่ง เป็นบริเวณที่ขอบของ Decidua vera มาเชื่อมกับDecidua capsularis เรียกว่า Closing ring of wrinker waldeyer
จะเห็นเนื้อรกกระจายแผ่ออกไปอีกเล็กน้อย คือส่วน Extrachorionic tissue
2. เยื่อหุ้มทารก (Fetal membranes)
2.1 ชั้น Chorion เป็นเยื่อชั้นนอกที่ติดกับผนังมดลูก มีลักษณะไม่ใสและไม่เรียบ ฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งอาจหลุดค้างในโพรงมดลูก
2.2 ชั้น Amnion คือ เยื่อหุ้มทารกชั้นในเป็นเยื่อที่ห่อหุ้มตัวทารกสายสะดือและน้ำคร่ำไว้ติดอยู่กับรกด้านเด็ก หรือด้าน Chorionic plate สามารถลอก Amnion แยกออกจาก chorion ได้โดยตลอด และลอกออกจาก Chorionic plate ได้จนถึงที่เกาะของสายสะดือ
3. สายสะดือ (Umbilical cord)
มีความยาวประมาณ 35-100 ซม. หรือโดยเฉลี่ย 50 ซม.
บิดเป็นเกลียว ทำให้สายสะดือไม่หักพับ ถ้ามีการงอของสายสะดือเกิดขึ้น อันจะเป็นการทำให้ทารกขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ทั่วไปจะมี 3 เส้น คือ Umbilical Vein 1 เส้น และUmbilical Artery 2 เส้น
ฉีดยาเข้าเส้นเลือดในทารกเกิดใหม่ หรือในรายที่จะทำการถ่ายเลือด (blood exchange) จะฉีดเข้าทาง Umbilical vein
Umbilical vein นี้จะนำเลือดดีเข้าสู่ตัวทารก
บนสายสะดืออาจเห็น Wharton jelly หนาขึ้นเป็นปม เรียกว่า False jelly knot หรือเห็น Varicose ขดเป็นกระจุกเป็นปม เรียกว่า False vascular knot สำหรับ True knot ซึ่งหมายถึง สายสะดือผูกกันเป็นปมเหมือนผูกเชือกอันเกิดจากทารกมีการเคลื่อนไหวในครรภ์
4. ตำแหน่งการเกาะของสายสะดือบนรก
4.1 Insertio centralis หรือ Central insertion สายสะดือติดอยู่กลาง Chorionic plate
4.2 Insertio lateralis หรือ Lateral insertion สายสะดือติดไปทางด้านใดด้านหนึ่งบน Chorionic plate
4.3 Insertio marginalis หรือ Marginal insertion สายสะดือจะติดอยู่ที่ริมขอบรกทำให้มองดูเหมือนแรกเก็ต รกที่มีสายสะดือเกาะ จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Battledore placenta
การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด
First degree tear เป็นการฉีกขาดบริเวณ Fourchette ผิวหนังบริเวณด้านหน้าของฝีเย็บ เยื่อบุช่องคลอดเท่านั้น แต่ Fascia และกล้ามเนื้อของ Perineal body ไม่มีการฉีกขาด
Second degree tear เป็นการฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงกล้ามเนื้อของ Perineal body แต่ไม่ถึง anal sphincter
Third degree tear เป็นการฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงหูรูดทวารหนัก (Anal sphincter) บางครั้งถึงผนังหน้าของทวารหนัก (Rectal mucosa) ซึ่งเรียกว่า Complete tear หรือ Fourth degree
การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
ส่วนใหญ่มดลูกจะเข้าอู่ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด
หมอจะใช้นิ้วสอดเข้าไปภายในช่องคลอด และใช้อีกมือคลำบริเวณหน้าท้อง หากพบว่ามีก้อนที่หน้าท้องแสดงว่ามดลูกเข้าอู่ช้าซึ่งถ้าอยากให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ๆ การบริหารร่างกายและการให้ลูกดูดนมแม่ก็จะช่วย
ใช้มือคลำบริเวณหน้าท้อง เหนือหัวหน่าว จะมีลักษณะก้อนกลมๆแข็งๆ ถ้ามดลูกเข้าอู่แล้วก็จะไม่สามารคลำได้
การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บ
1. การตัดฝีเย็บ
ความหมาย
การตัดฝีเย็บ คือการตัดเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบางส่วนของช่องคลอดและฝีเย็บ เพื่อขยายทางคลอดให้กว้างขึ้นศีรษะและไหล่ของทารกจะได้ผ่านออกมาโดยสะดวกซึ่งเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่ถูกตัด
สาเหตุของการตัดฝีเย็บ
ความไม่สมดุลระหว่างศีรษะทารกกับฝีเย็บ ได้แก่ ทารกตัวโตเกินไป ฝีเย็บยืดขยายไม่ดี Subpubic arch แคบทารกท่าผิดปกติ ฝีเย็บสูง และเคยทำการซ่อมตกแต่งช่องคลอดและฝีเย็บมาก่อน
การคลอดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝีเย็บถูกยืดขยายอย่างรวดเร็ว (ripid delivery) เนื่องจากแรงผลักดันมาก มดลูกหดรัดตัวแรงเกินไปมารดาเบ่งแรงรีบเอาศีรษะออกในรายที่คลอดท่าก้นโดยไม่ระวังฝีเย็บ
คลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ โดยเฉพาะการใช้คีม เพราะความกว้างของ shank หรือการตัดเอาทารกออกเป็นส่วนๆ (Decapitation) โดยไม่ระวังฝีเย็บ
ประโยชน์ของการตัดฝีเย็บ
ลดอันตรายต่อสมองทารก จากการที่ศีรษะทารกถูกกดกับบริเวณปากช่องคลอดนาน ๆ ส่วนมากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสมองทารกได้แก่ ภาวะเลือดออกภายในสมอง
ป้องกันการฉีกขาดของ Perineal body, External anal sphincter และผนังของ rectum
ป้องกันการฉีกขาดหรือการยืดหย่อนของ Pelvic floor
สะดวกแก่การซ่อมแซมฝีเย็บ จะทำให้ขอบแผลเรียบ ง่ายต่อการเย็บ แผลหายเร็ว ถ้าปล่อยให้เกิดการฉีกขาดเองขอบแผลจะกะรุ่งกะริ่งเย็บซ่อมแซมได้ยากกว่า
ช่วยลดระยะที่ 2 ของการคลอด
ข้อบ่งชี้ในการตัดฝีเย็บ
ผู้คลอดครรภ์แรก
ผู้คลอดครรภ์หลังที่เคยเย็บฝีเย็บมาแล้ว
การคลอดท่าก้น
การคลอดทารกก่อนกำหนด
ทารกมีขนาดใหญ่
ทารกที่คลอดโดยเอาท้ายทอยอยู่ทางด้านหลัง
ในรายที่ต้องทำสูติศาสตร์หัตการ
ในรายที่เคยฉีกมีการขาดจนถึง Rectum ในการคลอดครั้งก่อนๆ
ฝีเย็บแคบ สูง หรือหนา
ชนิดการตัดฝีคลอด
Lateral episiotomy
เป็นการตัดจาก posterior fourchette ไปทางด้านข้างขนานกับแนวราบ ไม่ควรตัดเฉียงขึ้นไปมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการตัด Bartholin’s gland วิธีนี้ไม่นิยมทำ เนื่องจากเสียเลือดมาก แผลหายช้า หลังจากแผลหายแล้วรูปร่างของช่องคลอดมักผิดปกติ และอาจตัดโคนท่อ Bartholin’s gland (5)
Median episiotomy
เป็นการตัดจาก posterior fourchette ลงไปตามแนวดิ่ง และควรหยุดห่างจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักอย่างน้อย 1 ชม. เป็นวิธีที่นิยมทำ เนื่องจากเสียเลือดน้อย การเย็บซ่อมแซมทำได้ง่าย และไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลภายหลังคลอดเท่ากับแบบ Medio - Lateral แต่มีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้มากกว่าแบบ Medio - Lateral episiotomy (1)
Medio - Lateral episiotomy
เป็นการตัดจากจุด posterior fourchette ลงไป โดยทำมุมกับแนวดิ่ง 45 องศา เป็นวิธีที่นิยมทำอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากมีโอกาสฉีกขาดลุกลามไปถึง rectum ได้น้อยกว่าแบบ median แต่การเย็บซ่อมแซมยากกว่า median (4)
เพิ่มเติม
J incision
ซึ่งเป็นการตัดฝีเย็บที่มีจุดตั้งต้นจาก posterior fourchetteโดยตัดตรงลงมาก่อนแล้วจึงตัดโค้งออกไปทางด้านข้างคล้ายรูปตัว"J" จุดประสงค์เพื่อรวมข้อดีของทั้ง median episiotomy คือ ซ่อมแซมได้ง่ายกว่า และ mediolateral episiotomy คือ ทำให้เกิด Third-fiurth degree tears น้อยกว่าและเพิ่มความกว้างของช่องทางคลอดได้มากกว่า อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมและยังไม่มีงานวิจัยที่แน่นอนรองรับ (3)
Inverted T incision
เป็นการตัดฝีเย็บที่มีทำหลังการตัดวิธี Median episiotomy เพื่อเพิ่มความกว้างของช่องทางคลอด ซึ่งไม่เป็นที่นิยม (2)
อ้างอิง:เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ.(2562). Technique of episiotomy.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. จาก:
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/62/block_html/content/2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%942%20%282560%29.pdf?fbclid=IwAR0fSHtWyjqOW48n1faLsAcUCdzQYkfJ6H0YHdors0CvtVYPGfL4IDB69PE
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/images/stories/Lectures/ResidentTopic/Jitlada/Lacerate4.jpg
เวลาที่เหมาะสมในการตัดฝีเย็บ
ในกรณีที่คลอดปกติ เวลาที่เหมาะสมในการตัดฝีเย็บ คือ ขณะที่ผู้คลอดเบ่งเห็น perineum โป่งตึง บาง เป็นมันใส และเห็นส่วนนำโผล่ที่ปากช่องคลอดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 – 5 ซม. ตัดระหว่างที่ มีการหดรัดตัวของมดลูก และเมื่อตัดแล้วคาดว่าศีรษะทารกจะคลอดภายในเวลาที่มดลูกหดรัดตัวอีก 2 – 4 ครั้ง
ในรายที่ใช้เครื่องมือช่วยคลอด ควรใส่เครื่องมือให้เรียบร้อย และลองดึงประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าส่วนนำมีการเคลื่อนต่ำลงมาจึงตัดฝีเย็บ้เพื่อปูองกันการเสียเลือดมาก รวมทั้งบางรายอาจไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ต้อง C/S ผู้คลอดจะได้ไม่เจ็บแผล 2 แห่ง
ในกรณีที่ช่วยคลอดท่าก้นทางช่องคลอด ควรตัดขณะที่ก้นทารกโผล่ออกมาให้เห็นเล็กน้อย
วิธีการตัดฝีเย็บ
ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะตัด โดยแทงเข็มฉีดยาเป็นรูป Fan – shaped แห่งละไม่เกิน 3 ซีซี ห่างกัน 1 ซม. เพื่อไป Block Perineal nerve และ Inferior hemorrhoidal nerve ยาชาที่ใช้ เช่น 2 % Xylocaine c adrenaline 1 : 80,000, 1 % Xylocaine เป็นต้น
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้าย (ผู้ที่ถนัดขวา) สอดระหว่างฝีเย็บและส่วนนของทารกแล้ว จึงสอดกรรไกรเข้าไปตัด เพื่อปูองกันไม่ให้ปลายกรรไกรไปทำอันตรายกับส่วนนำของทารก การตัดควรตัดเพียงครั้งเดียว เพราะถ้าตัดหลายครั้งขอบแผลจะไม่เรียบและต้องคาดคะเนขนาดให้พอดี ตัดให้กว้างพอกับจุดประสงค์ของการตัด ถ้าเป็นการตัดแบบ Medio – lateral ปลายกรรไกรจะต้องชี้ไปทางตรงกันข้ามกับ ทวารหนักเสมอ (ปลายโค้งชี้ขึ้นด้านบน)
ตัดฝีเย็บผ่านผิวหนังและกล้ามเนื้อภายใน superficial perineal compartment ตามชนิดที่ต้องการตัด
เพื่อความสะดวกในการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ ควรเริ่มตัดให้ตรงกับกึ่งกลางของ Fourchette เพราะถ้าตัดไม่ตรงกับกึ่งกลางกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากช่องคลอด (Bulbocavernosus) จะดึงรั้งขอบแผล ทำให้ระดับไม่เสมอกันยากต่อการซ่อมแซมให้คงลักษณะรูปร่างของปากช่องคลอดตามเดิม 1.8
2. การซ่อมแซมฝีเย็บ (Perineorrhaphy)
ความหมาย
เป็นการเย็บซ่อม Fascia และกล้ามเนื้อ ด้วยไหมละลาย No 2/0 - 3/0 ให้ขอบแผลเชื่อม กันเหมือนเดิม
ระดับการฉีกของฝีเย็บ
First degree tear
เป็นการฉีกขาดของผิวหนังที่ฝีเย็บและชั้นเยื่อบุผนังช่องคลอด
Second degree tear
เป็นการฉีกขาดของชั้นผิวหนัง เยื่อบุพังผืด และกล้ามเนื้อของช่อง คลอดและฝีเย็บ
Third degree tear
เป็นการฉีกขาดเช่นเดียวกับ Second degree tear และกล้ามเนื้อเนื้อหู รูดทวารหนัก
Fourth degree tear
เป็นการฉีกขาดเช่นเดียวกับ Third degree tear และมีการฉีกขาดต่อ จากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักจนถึงผนังของ Rectum
ชนิดของการเย็บแผล
Interrupted simple suture
คือ การเย็บแผลทั้งสองข้างให้มาบรรจบกันตรงกลางแล้วผูก ปม การเย็บควรใช้เข็มตักให้ห่างจากขอบแผลประมาณ 1 เซนติเมตร และลึกลงข้างใต้แผลประมาณ 1 ซม. หรือมากกว่า แล้วแต่ความลึกของแผล เพื่อปูองกันไม่ให้เหลือช่องว่างใต้แผล
Horizontal figure-of-eight suture
(การเย็บรูปเลข 8 ) ใช้เย็บจุดเลือดออก เย็บ rectus sheath และแผลอื่น ๆ แทนการเย็บแบบที่ 1 ได้
Continuous non-locking
ใช้ไหมเส้นเดียวเย็บตลอดความยาวของแผลแล้วจึงผูกปม วิธีนี้ทำได้ง่าย เสร็จแล้ว ใช้เย็บเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการแรงยึดมากนัก เช่น เนื้อเยื่อและไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้น
Continuous lock
วิธีเย็บคล้ายกับแบบ simple suture แต่ใช้ไหมเส้นเดียวกันเย็บตลอดความยาวของแผล ใช้เย็บในรายที่ต้องการให้ส่วนที่เย็บตึงมากกว่าวิธีที่ 3 เป็นการช่วยให้เลือดหยุด ใช้เย็บ เยื่อบุผนังช่องคลอด กล้ามเนื้อของช่องคลอดและฝีเย็บ
Subcuticular stitch
ใช้เย็บชั้นใต้ผิวหนัง เริ่มต้นจากมุมแผล แล้วใช้เข็มแทงใต้ผิวหนังเข้าไปห่างจากขอบอย่างน้อย 0.3 เซนติเมตร เข้าและออกในขอบแผลทั้งสองข้าง ที่ระดับเดียวกันจนถึงมุมแผลอีกข้าง จึงผูกปม
การประเมินและการพยาบาลผู้คลอด 2 ชั่วโมงหลังคลอด
การประเมินสภาพร่างกายทั่วไป
รวบรวมข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดของครรภ์ปัจจุบัน
การวัดสัญญาณชีพ ทั้งอุณหภูมิ ชีพจร ความดันโลหิต และการหายใจเพราะจะเป็นสัญญาณที่บอกความปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
มดลูก ให้ประเมินสภาพการหดรัดตัวของมดลูก ดูขนาด ตำแหน่ง และความสูงของ มดลูก มดลูกที่หดรัดตัวดีจะมีลักษณะกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ ถ้ามดลูกนิ่มลอยอยู่เหนือสะดือ อาจทำให้ เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจะต้องรีบประเมินว่ามีก้อนเลือด รก หรือกระเพาะปัสสาวะเต็มหรือไม่
กระเพาะปัสสาวะ ควรจะประเมินสภาวะของกระเพาะปัสสาวะว่าเต็มหรือว่าง เพราะถ้ามีปัสสาวะคั่งค้าง จะทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
น้ำคาวปลา (Lochia) ในระยะนี้จะมีลักษณะสีแดงสด (Bleeding) ต้องคาดคะเนปริมาณโลหิตที่ออกจากช่องคลอดว่า เป็น Normal bleeding หรือ Active bleeding
Perineum ควรประเมินสภาพของช่องทางคลอดและแผลฝีเย็บว่ามีภาวะ Hematoma บวมช้ำหรือความเจ็บปวดมากน้อยเพียงใด ระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ
ประเมินอาการอ่อนเพลีย ความเจ็บปวดและการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังคลอด เพราะมารดาบางรายได้รับยาระงับอาการปวดทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าน้อยลง
2. การประเมินสภาวะด้านจิต-สังคม
มารดาจะอ่อนเพลียมาก ไม่ควรรบกวนมารดามากเกินไปและดูแลให้พักผ่อนเต็มที่
ควรประเมินความรู้สึกต่อการคลอดหรือ สังเกตุปฏิกิริยาที่แสดงออกกับทารก
3. การดูแลมารดาหลังคลอด 2 ชั่วโมง
3.1
จัดให้มารดานอนหงายราบในท่าที่สบาย ให้นอนหนีบขาเข้าหากัน เพื่อให้แผลที่เย็บไม่ตึงเกินไป
3.2
ดูแลร่างกายของมารดาให้สะอาด โดยเปลี่ยนผ้าที่เปียกและเปรอะเปื้อนออกไป เช็ดตัวให้แห้งสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าให้
3.3
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที ใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และทุกสามสิบนาทีในชั่วโมงที่สอง ถ้ามีก้อนเลือด เลือดค้างอยู่ภายในโพรงมดลูกก็จะเป็นสาเหตุทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีเกิดการตกเลือดได้ และถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ควรจะคลึงมดลูก เพื่อช่วยในการหดรัดตัว แต่ถ้ามดลูกแข็ง ไม่ควรกระตุ้นอีก อาจทำให้กล้ามเนื้อมดลูดเมื่อยล้า เป็นผลให้ตกเลือดหลังคลอดได้
3.4
สังเกตจำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกทาช่องคลอด หากมีเลือดออกมาจำนวนเกิน 500 cc. ขึ้นไป มารดาอาจมีอาการ Anrmia ถ้าน้อยกว่า 500 cc. ก็อาจทำให้มารดาเสียชีวิตได้
3.5
ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะให้ว่างอยู่เสมอ ภายหลังคลอดจะมีการขับถ่ายน้ำออกจากร่างกายมาก ระยะ 1 - 2 ชั่วโมง หลังคลอดอาจพบกระเพาะปัสสาวะเต็มได้ โดยจะดันให้มดลูกลอยตัวสูงขึ้นและเอียงไปทางขวา ซึ่งจะขัดขวางต่อการหดรัดของมดลูก ควรกระตุ้นให้มารดาถ่ายปัสสาวะ หรือถ้าถ่ายไม่ออกอาจต้องสวนปัสสาวะให้
3.6
วัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรกหลังคลอด แล้ววัดทุก 30 นาที ถ้าความดันโลหิตสูงกว่าปกติ ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการชักในระยะหลังคลอดได้
3.7
วัดอุณหภูมิ ภายหลังคลอดอุณหภูมิอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ถ้าสูงกว่า 37.7 องศาเซลเซียส เรียกว่า Reactionary fever เนื่องจากมารดาอ่อนเพลียเสียเลือดและเสียน้ำมากในระหว่างการคลอด
3.8
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของมารดา โดยการห่มผ้าเพื่อป้องกันอาการหนาวสั่นในระยะหลังคลอด
3.9
หลังการคลอดมารดาส่วนใหญ่จึงกระหายน้ำ ดังนั้นจึงควรให้มารดาดื่มน้ำ ซึ่งอาจเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ก็ได้ การดื่มน้ำมากเกินไปและเร็วไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ และอาเจียนได้ หลังคลอดให้รับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้ทันที สำหรับในรายที่ดมยาสลบไม่รู้สึกตัวหรือนอนหลับจะต้องงดน้ำและอาหารไว้ก่อน
3.10
มารดามักมีความอ่อนเพลียจากการคลอด ดังนั้นพยายามให้มารดาได้พักผ่อนนอน หลับเต็มที่ และควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบ ไม่มีแสง และเสียงรบกวนมากนัก
3.11
มารดาที่มีแผลที่ฝีเย็บ หรือมีการหดรัดตัวของมดลูกที่รุนแรง จะมีผลให้มารดา เจ็บปวดมาก ควรให้ยาแก้ปวดหรือยานอนหลับ เพื่อให้มารดาได้พักเต็มที่
3.12
สังเกตดูแผลที่ฝีเย็บว่า มีการฉีกขาดของแผลที่เย็บไว้หรือไม่ มีอาการบวมหรือไม่ สังเกตดูอาการคั่งของเลือดคือ เกิด Hematoma เมื่อพยาบาลใช้ sterile gauge แตะที่แผลเบา ๆ มารดาจะปวดมาก ควรรายงานแพทย์ทันที
3.13
เขียนรายงานการคลอด ควรจะทำให้เสร็จพร้อม ๆ กับกระบวนการคลอดสิ้นสุดลงเวลาย้ายมารดาออกไปหน่วยหลังคลอดจะต้องส่งรายงานการคลอดไปพร้อมกันด้วย
3.14
ตรวจดูมดลูก จะต้องแข็งมีการหดรัดตัวดี อยู่ต่ำกว่าระดับสะดือ คลึงมดลูกให้หดตัวเต็มที่ และดันไล่ก้อนเลือดออกจากโพรงมดลูก กระเพาะปัสสาวะจะต้องว่าง ถ้าปัสสาวะเต็มต้องกระตุ้นให้มารดาถ่ายปัสสาวะ ถ้าถ่ายเองไม่ได้อาจจำเป็นต้องสวนให้ ก่อนย้ายออกจากห้องคลอด
4. หลัการประเมินระยะหลังคลอด อื่นๆ
1. หลักการประเมิน 5B
Black ground and Body condition
คือ การตรวจสอบประวัติการคลอด เพื่อประเมินปัจจัย เสี่ยงในระยะคลอด
Breast and Lactation
คือ การประเมิน ลักษณะของเต้านม หัวนม และการไหลของน้ำนม เพื่อประเมินความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และนำทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมมารดาโดยเร็วและดูดบ่อยทุก 2- 3 ชั่วโมง
Bladder and Uterus คือ Bladder
เป็นการประเมินกระเพาะปัสสาวะว่ามีโปุงตึง มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างหรือไม่ เพื่อการมีน้ำปัสสาวะคั่งค้างจะทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
Bleeding ,Lochia and Episiotomy
คือ ประเมินลักษณะ และปริมาณของเลือดหรือน้ำคาวปลาที่ออกจากช่องคลอด ในระยะแรกรับให้มารดาใส่ผ้าอนามัย เพื่อประเมินลักษณะและ ปริมาณของเลือดที่ออกทางช่องคลอด
Bottom
คือ การประเมินทวารหนักและอวัยวะโดยรอบ ว่ามีอาการปวด บวม แดง หรือมีเลือดคั่งหรือไม่ ซึ่งต้องระวัง เพราะรายที่มีการตกเลือดอาจเกิดจากการมีเลือดคั่งที่แผลฝีเย็บ ทำให้ฝีเย็บบวม และการบวมอาจเซาะไปจนถึงทวารหนัก ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดมาก
2. หลักการประเมิน 13 สำหรับมารดาหลังคลอด
1) Black ground
2) Body condition
3) Body temperature and blood pressure
4) Breast and lactation
5) Belly and fundus
6) Bowel movement
7) Bladder
8) Bleeding and lochia
9) Bottom
10) Blues
11) Baby
12) Bonding and attachment
13) Belief
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบิดา มารดา ทารกและสมาชิกในครอบครัว
มารดาและทารก
ให้ทารกดูดนมมารดามีความสำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นการสื่อถึงความรัก ความอบอุ่นและความสบาย
อุ้มทารกแนบชิดกับลําตัวหรือทรวงอก เป็นการแสดงถึงความผูกพันและอบอุ่น
บิดาและทารก
อธิบายให้สามีและญาติเข้าใจ ถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลง
สนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้พูดคุยกับสามีและญาติ
จัดให้บิดามารดาและ ทารกมีโอกาสอยู่ด้วยกันตามลำพัง
สร้างความคุ้นเคยระหว่างพ่อแม่ลูก เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ความรัก ความผูกพันนอกจากการเปลี่ยนแปลงความเครียดทางจิตใจของบิดา
รับรู้ความสนใจเอาใจใส่และการช่วยเหลือจากสามีทั้งด้านการเงินและงาน บ้าน การยอมรับจากสามีและความพึงพอใจด้านเพศสัมพันธ์
บุตรคนโตและทารก
อธิบายเข้าบุตรคนโตเข้าใจถึงการมีน้อง
ให้บุตรคนโตได้สัมผัสสร้างความคุ้นเคยกับน้อง
ไม่ตำหนิบุตรคนโตเมื่อเรียกร้งความสนใจ แต่ให้อธิบายให้บุตรคนโตเข้าใจถึงการมีน้อง
การคาดคะเนการตกเลือด
1.ผู้รับบริการคลอดนอนรอคลอดอยู่บนเตียงคลอด เมื่อปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร ผู้ทำคลอดทำความสะอาดร่างกายบริเวณอวัยวะเพศ ต้นขา ที่ก้นมารดาด้วยน้ำยา Providine Scrub
2.เมื่อเด็กคลอดให้ปูถุงรองรับเลือดทันที เพื่อแยกน้ำคร่ำไม่ให้รวมกับเลือด เนื่องจากขณะมารดาเบ่งคลอดจะมีน้ำคร่ำออกมาพร้อมเด็กด้วย วิธีการปูให้คลี่ถุงรองรับเลือดออก โดยให้ด้านยาวของปากถุงอยู่ทางด้านใน ติดกับผู้ทำคลอด และด้านสั้นหันออกด้านนอก
3.สอดมือทั้งสองเข้าไปในช่องที่พับไว้ที่ปากถุง กางมือออกให้พอดีกับปากถุง เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสอดปากถุงไปใต้ก้น ของผู้รับบริการคลอด ให้ผู้รับบริการคลอดยกก้นขึ้นสอดถุงรองรับเลือดเข้าไปบริเวณใต้ก้นจนถึงบริเวณเอว
อ้างอิง
: บุษรา ใจแสน.(2014). การพัฒนาประสิทธิภาพการวัดปริมาณเลือดโดยถุงรองเลือดในผู้คลอดทางช่องคลอด.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563. จาก:
http://km.hpc3.org/?wpfb_dl=90
นางสาวอริสรา ทาแล เลขที่ 157 รหัส 612401160 ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 29