Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสาระที่ได้จากการเรียนรู้ - Coggle Diagram
สรุปสาระที่ได้จากการเรียนรู้
บทที่8 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การสังเกต (Observation)
การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตใช้กับงานวิจัยทุกประเภท
โดยเฉพาะงาน วิจัยภาคสนาม งานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยใน
ห้องปฏิบัติการ หรืองานวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ร่วมกับการใช้
ประสาทสัมผัสเช่น การสัมผัส การดมกลิ่น การฟังและการลิ้มรส
ประเภทของการสังเกต
แบ่งการสังเกตตามการมีส่วนร่วม
1.การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
(Participant observation)
เป็นการสังเกตที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยอาจเข้าไปมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์
โดยปกปิดบทบาทในฐานะที่เป็นผู้วิจัย
2.การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
(Non-Participant observation)
เป็นการสังเกตในลักษณะที่ผู้วิจัยทำการสังเกตโดยไม่เข้าไป
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง สังเกตอยู่ห่างๆ
แบ่งการสังเกตตามการมีโครงสร้าง
1.การสังเกตแบบมีการกำหนดโครงสร้าง
(Structured observation)
ผู้สังเกตกำหนดเรื่องและขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้า
ว่าจะสังเกตพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์อะไรสังเกต
แบ่งได้เป็น2 ลักษณะ
แบบสำรวจรายการ (Check list)
แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale)
2.สังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง
(Unstructured observation)
เป็นการสังเกตอิสระในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้กว้างๆ
ไม่มีรายละเอียดว่าจะสังเกตอะไร มีพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์อะไร
ก็สังเกตและบันทึกทั้งหมดเครื่องมือจึงมีเพียงกระดาษเปล่า
ปากกา หรืออาจใช้อุปกรณ์อื่นช่วย
การวัดทางชีวสรีรวิทยา
(Biophysiologic Measures)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประเมินจากการเปลี่ยนแปลง
ทางชีวสรีระของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ
การจัดกระทำ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทาง
จิตสังคมกับตัวแปรทางสรีระ
ประเภทของการวัดตัวแปรทางชีวสรีระ
การวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต (In vivo measures)
ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะทางชีวสรีระ
จากกลุ่มตัวอย่าง โดยข้อมูลที่วัดจะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่สามารถแปลผลได้
เช่น เทอร์โมมิเตอร์
เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก
การวัดตัวแปรในห้องทดลอง (In vitro measure)
เมื่อเก็บตัวอย่างทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว
จึงนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางห้องทดลอง
เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับน้ำตาล
หรือฮีโมโกลบิล เอ วัน ซี
การรายงานข้อมูลด้วยตนเอง (Self-Reports)
เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการถามคำถาม กลุ่มตัวอย่าง
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างตอบสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่ถูกประเมินด้วยตนเอง
โดยการตอบแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์
การรายงานข้อมูลด้วยตนเองเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้อย่างมาก
ในการวิจัยทางการพยาบาล ดังนี้
แบบสอบถาม (Questionnaire)
แบบสอบถามปลายเปิด
(Open-ended questionnaire)
เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ โครงสร้างของคำถามกำหนด
ไว้อย่างกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ
แบบสอบถามปลายปิด
(Close-ended questionnaire)
เป็นชุดข้อคำถามที่มีการระบุชุดคำตอบสำหรับให้ผู้ตอบแบบสอบถาม
เลือกตอบ หรืออาจเป็นการเติมคำสั้นๆ แบบสอบถามปลายปิด
การสัมภาษณ์ (Interview)
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ที่แน่นอนระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์
ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
นักวิจัยทางพยาบาลศาสตร์มีความคุ้นเคยและใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความยืดหยุ่นสูงและได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าวิธีการแบบอื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ มี 2 วิธีการ
สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) เป็นการสัมภาษณ์บุคคล
ที่มีความรอบรู้และมีประสบ การณ์ในประเด็นที่สัมภาษณ์
สามารถให้รายละเอียดของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง
การสัมภาษณ์เชิงลึกสามารถสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล หรือเป็นรายกลุ่มได้
การสนทนากลุ่ม (Focus group interviews) เป็นเทคนิคการรวบรวม
ข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มบุคคลที่มีภูมิหลังและ
คุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน ทั้งทางด้านสังคม ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่นำ มาสนทนาโดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะร่วมสนทนา
แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ในลักษณะการสนทนา
กระบวนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยสามารถลดความคลาดเคลื่อนจากการวัดแบบสุ่ม
ให้เกิดน้อยที่สุดได้ ดังนี้
1.ปัจจัยด้านผู้ใช้เครื่องมือ ผู้วัดจะต้องมีความพร้อมในการวัด
2.ปัจจัยด้านผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ต้อง
ตอบแบบสอบถาม
3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สถานที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
ควรเป็นส่วนตัว เงียบสงบ
4.ปัจจัยด้านการบริหารเครื่องมือ
ลำดับของแบบสอบถามที่แจกให้กลุ่มตัวอย่างทำ
5.ปัจจัยด้านการจัดการข้อมูล ผู้วิจัยต้องมีความ
รอบครอบในการบริหารจัดการข้อมูลที่เก็บมาได้
บทที่ 7 เครื่องมือวิจัย
(Research instrument)
ระดับของการวัด
(Levels or scale of measurement)
มาตรารียงลำดับ
(ordinal scale)
เป็นมาตรการวัดที่ค่าของข้อมูลที่ได้สามารถนำมาเรียงลำดับได่
ไม่สามรถบอกค่าแตกต่างได้ว่าแตกต่างกันเท่าไร
มาตราอันตรภาค
(interval scale)
เป็นมาตรที่สูงกว่ามาตรเรียงอันดีบ
สามารถบอกระยะห่างระหว่างสองจุดของข้อมูลได้ เช่น อุณหภูมิ
มาตรานามบัญญัติ
(nominal scale)
เป็นมาตรการวัดที่ต่ำที่สุด
ไม่สามารถเปรียบเทียบค่าเป็นปริมาณมากหรือน้อยได้
มาตราอัตราส่วน
(ratio scale)
เป็นมาตรวัดระดับสูงสุด
ข้อมูลมีระยะห่างชองการวัดเท่ากันและมีค่าศูนย์แท้
เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ
ความสำคัญ
เพื่อให้ผลการวิจัยที่ได้สะท้อนตามความเป็นจริงของสิ่งที่ศึกษา
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เครื่องมือวิจัยต้องมีความตรงเชิงโครงสร้าง
เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ดี
เครื่องมือที่นิยมใช้ คือ แบบสอบถาม
เป็นตัวเชื่อมระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์
และสมมุติฐานในการวิจัย กับข้อมูลที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐาน
ช่วยให้การรวบรวมข้อมูลกระชับ ตรงประเด็น
ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
ช่วยในการจัดเตรียมข้อมูล
เพื่อให้การวิเคราะห์ง่ายขึ้น
ความคลาดเคลื่อนจากการวัด
(Measurement error)
ค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัด (error score: E)
คือ ความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนจริงของสิ่งที่วัด (true score: T)
กับค่าสังเกตที่ได้จากการวัด (observe score: O)
ซึ่งมีค่าดังสมการ O = T + E
ประเภทของความคาดเคลื่อนในการวัด
1.ความคาดเคลื่อนแบบสุ่ม
(random error)
ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีแบบแผน ไม่คงที่
ผลของความคาดเคลื่อนแบบสุ่มไม่ทำให้การวัดเกิดความคาดเคลื่อนแต่
อาจทำให้ผลการวัดแต่ละครั้งไม่เท่ากัน
ผลต่อค่าสังเกต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความคาดเคลื่อนแบบสุ่ม
โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยภายนอก
2.คาดเคลื่อนแบบมีระบบ
(systematic error)
ความคาดเคลื่อนในการวัดที่เกิดจากเครื่องมือ
ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกวัดทุกคน
มีลักษณะเป็นแบบแผนเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการวัด
สาเหตุเกิดจากการสร้างหรือเลือกเครื่องมือไม่ดี ไม่ครอบคลุม
หรือไม่เหมาะสมกับตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการวัด
ความหมาย
การวัด
การกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์
โดยใช้กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ค่าที่เป็นตัวเลข
มีความหมายเชิงปริมาณ
การรวบรวมข้อคำถามหลายๆ ข้อเข้าด้วยกัน
มีการให้คะแนนในแต่ละข้อแล้วทำเป็นคะแนนรวม เพื่อใช้ในการวัดแนวคิดหรือทฤษฎี
ที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง
เครื่องมือวิจัย
(Research instrument/ tool)
อุปกรณ์หรือเทคนิคที่นักวิจัย
ใช้รวบรวมข้อมูลของตัวแปรที่ศึกษา
สรุปได้ว่า เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัย
โดยครอบคลุมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับ
ทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถาม
แบบทดสอบ
แบบสัมภาษณ์
แบบสังเกต
เครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
(Instrumentation)
ในการคัดเลือกเครื่องมือ หรือสร้างเครื่องมือใหม่
หรือวิธีการที่เหมาะสมในการวัดคุณลักษณะ
หรือคุณสมบัติของตัวแปรหรือสิ่งที่สนใจศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือ
ที่ใช้ในการกำกับทดลอง
ชิ้นงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่
พัฒนาขึ้น และยังครอบคลุมถึงรูปแบบหรือ
แบบจำลองที่พัฒนาขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับ
การวิจัยเชิงทดลองและรูปแบบการวิจัยและพัฒนา
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือหรือแบบที่ใช้วัดตัวแปรทางชีวภาพ
และตัวแปรที่มาจากมโนทัศน์ทางด้านจิตสังคม
และสังคมศาสตร์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
มีหลายประเภทในบทนี้จะนำเสนอเฉพาะ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้
แบบสอบถาม
(Questionnaire instrument)
แบบสอบถามปลายปิด
แบบจัดลำดับ (Rank order) แบบมาตรประมาณค่า (Rating scale)
มาตรวัดชนิดเส้นตรง (Visual analog scale: VAS)
มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale) มาตรวัดความแตกต่างเชิงความหมาย
(Sematic differential scale) แบบวัดความรู้หรือแบบทดสอบ (Test)
แบบสอบถามปลายเปิด
เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบ
โครงสร้างของคำถามกำหนดไว้อย่างกว้างๆ
เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ
แบบสัมภาษณ์
(Interview instrument)
แบบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interviews)
เป็นข้อมูลที่สัมภาษณ์ หรือการสนทนาจะใช้คำถามกว้างๆ
และปรับเปลี่ยนคำถามได้ตามความเหมาะสม
แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interviews)
ผู้วิจัยร่างแนวคำถามในการสัมภาษณ์ เพื่อให้ครอบคลุมสิ่งที่ศึกษา
โดยผู้สัมภาษณ์ต้องเอื้อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถามได้อย่างอิสระ
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure interview)
เนื้อหาของการสัมภาษณ์ มีการร่างและกำหนดข้อคำถามทุกข้อที่ใช้
ในการสัมภาษณ์ก่อนเริ่มต้นการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการกำหนด
การเรียงลำดับคำถามอย่างชัดเจนและดำเนินการสัมภาษณ์ตามลำดับ
นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลในกรณีที่ผู้วิจัย
ต้องการได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ประสบการณ์ การให้ความหมายของ
เหตุการณ์ ทัศนคติ ความคิดเห็น
โดยเฉพาะในบุคคลที่อาจมีปัญหาในการอ่านและเขียน
แบบการสังเกต
(observation instrument)
แบบการสังเกตแบบมีการกำหนดโครงสร้าง (Structured observation)
ผู้วิจัยกำหนดเรื่องและขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้า
ว่าจะสังเกตพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์อะไรซึ่งการสังเกตวิธีนี้จะมีเครื่องมือช่วยในการสังเกต และมีการบันทึกการสังเกต
แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ แบบสำรวจรายการ (Check list)
แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale)
แบบการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured observation)
เป็นแบบการสังเกตอิสระในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งมีการกำหนดการ
สังเกตไว้กว้างๆ เครื่องมือจึงมีเพียงกระดาษเปล่า ปากกา หรืออาจใช้
อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกวิดีโอ
เครื่องมือวัดทางชีวสรีรวิทยา
(Bio-physiologic intrument)
เครื่องมือวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต (In vivo measures)
ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะทางชีวสรีระจากกลุ่ม
ตัวอย่าง โดยข้อมูลที่วัดจะต้องอยู่ในลักษณะที่สามารถแปลผลได้
เครื่องมือวัดตัวแปรในห้องทดลอง (In vitro measure) เมื่อเก็บตัวอย่าง
ทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางห้อง
ทดลอง เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
ความเที่ยงตรงหรือความตรง (Validity)
ความสามารถของเครื่องมือในการวัดสิ่งที่ต้องการจะวัด
แนวทางการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา การตรวจความตรงตาม
เนื้อหาต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน หรือมากกว่านี้ก็ได้
เพื่อให้พิจารณาเนื้อหาว่าครอบคลุมแล้วหรือไม่
ความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ (Reliability)
ความสม่ำเสมอหรือความคงที่ของค่าที่ได้จากการวัด
หรือเครื่องมือเมื่อนำมาใช้วัดซ้ำแล้วได้ค่าเหมือนเดิม
การตรวจสอบความเที่ยง มี 4 วิธี
การหาความสอดคล้องภายใน (Internal consistency reliability) การ
หาความคงที่ (Stability) การหาความเท่าเทียกัน(Equivalencereliability)
และการหาความเที่ยงของแบบสังเกต (Interater reliability)