Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๗ เครื่องมือทางการวิจัย, บทที่๘ การเก็บรวบรวมข้อมูล, นางสาว โยษิตา …
บทที่ ๗ เครื่องมือทางการวิจัย
การวัด หมายถึงการกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์โดยใช้กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ค่าที่เป็นตัวเลขซึ่งมีความหมายเชิงปริมาณเพื่อทดแทนคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัดผลจาก การวัดทำให้ได้ค่าสังเกต
เครื่องมือวิจัย หมายถึงเครื่องมือชนิดต่างๆที่ใช้ในการวิจัยโดยครอบคลุมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นแบบสอบถามแบบทดสอบแบบสัมภาษณ์แบบสังเกตเครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องชั่งน้ำหนักเป็นต้นความสำคัญของเครื่องมือวิจัย
ความสำคัญของเครื่องมือ
2.เป็นตัวเชื่อมระหว่างปัญหาวัตถุประสงค์และสมมุติฐานในการวิจัยกับข้อมูลที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐาน
ช่วยให้การรวบรวมข้อมูลกระชับตรงประเด็นต่อเนื่องเป็นขั้นตอนช่วยลดความผิดพลาดของการรวบรวมข้อมูล
ใช้ในการรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการวัดการประเมินตัวแปรในการวิจัย
ช่วยในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้การวิเคราะห์ง่ายขึ้นเช่นการจัดหมวดหมู่ข้อมูลการสร้างรหัสข้อมูลและคู่มือลงรหัสและการวางแผนการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประเภทความคาดเคลื่อนจากการวัด
ความคาดเคลื่อนแบบสุ่ม (random error) คือความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีแบบแผนไม่คงที่ผลของความคาดเคลื่อนแบบสุ่มไม่ทำให้การวัดเกิดความคาดเคลื่อนแต่อาจทำให้ผลการวัดแต่ละครั้งไม่เท่ากันจึงมีผลต่อค่าสังเกตปัจจัยที่ก่อให้เกิดความคาดเคลื่อนแบบสุ่ม ได้แก่
3.ปัจจัยด้านการบริหารเครื่องมือ
4.ปัจจัยด้านผู้ใช้เครื่องมือ
2.ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
5.ความผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินการกับข้อมูล
ปัจจัยส่วนบุคคล
ระดับของการวัด หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่กำหนดให้แก่ข้อมูลที่ได้
ของตัวแปรโดยแบ่งการวัดเป็น 4 ระดับ
มาตรานามบัญญัติ
มาตราเรียงลำดับ
มาตราอันตรภาค
มาตราอัตราส่วน
ประเภทเครื่องมือวิจัย
1.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับทดลองชิ้นงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้น
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นิยมใช้
แบบสอบถามปลายปิด ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นชุดข้อคำถามที่มีการระบุชุดคำตอบสำหรับให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบ เช่น
2.แบบจัดลำดับ
แบบมาตรประมาณค่า
แบบสำรวจรายการ
4.มาตรวัดชนิดเส้นตรง
แบบสอบถามปลายเปิด เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ โครงสร้างของคำถามกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ แบบสอบถามปลายเปิดมักใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลในกรณีที่ผู้วิจัยต้องการได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ประสบการณ์ การให้ความหมายของเหตุการณ์ ทัศนคติ ความคิดเห็นโดยเฉพาะในบุคคลที่อาจมีปัญหาในการอ่านและเขียน
แบบการสังเกต เป็นเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.แบบการสังเกตแบบมีการกำหนดโครงสร้าง
2.แบบการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง
เครื่องมือวัดทางชีวสรีรวิทยา เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวสรีระของกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือวัดทางชีวสรีรวิทยาที่ใช้ในงานวิจัยทาง
การพยาบาล แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
1.เครื่องมือวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างโดยข้อมูลที่วัดจะต้องอยู่ในลักษณะที่สามารถแปลผลได้ เครื่องมือที่ใช้ เช่น เทอร์โมมิเตอร์เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว เป็นต้น
2.เครื่องมือวัดตัวแปรในห้องทดลอง เมื่อเก็บตัวอย่างทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางห้องทดลอง
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
ความเที่ยงตรงหรือความตรง หมายถึงความสามารถของเครื่องมือในการวัดสิ่งที่ต้องการจะวัด เช่น นักวิจัยต้องการวัดความวิตกกังวล เมื่อสร้างเครื่องมือวัดความวิตกกังวล หรือนำเครื่องมือที่มีอยู่แล้วมาวัดความวิตกกังวล เครื่องมือนั้นสามารถวัดความวิตกกังวลได้จริง
ความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ หมายถึงความสม่ำเสมอหรือความคงที่ของค่าที่ได้จากการวัด หรือเครื่องมือเมื่อนำมาใช้วัดซ้ำแล้วได้ค่าเหมือนเดิมเช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อชั่งน้ำหนักครั้งที่ 1 ได้ 50กก. ชั่งน้ำหนักครั้งที่ 2 หรือชั่งกี่ครั้งก็ได้ 50 กก. แสดงว่าเครื่องชั่งมีความเที่ยง หรือเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเช่น แบบวัดความรู้ หากมีการวัดซ้ำโดยที่ผู้ป่วยยังไม่ได้รับการสอนเพิ่มเติม คะแนนความรู้ควรจะเท่าเดิม
บทที่๘ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยมีหลายวิธี แต่จำแนกได้ ๓ ประเภท
การสังเกต (Observation) การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตใช้กับงานวิจัยทุกประเภท โดยเฉพาะงานวิจัยภาคสนาม งานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ หรืองานวิจัยเชิงทดลองซึ่งส่วนใหญ่ใช้ร่วมกับการใช้ประสาทสัมผัสเช่น การสัมผัส การดมกลิ่น การฟังและการลิ้มรสในทางการพยาบาลใช้วิธีการสังเกตกับข้อมูล
การวัดทางชีวสรีรวิทยา (Biophysiologic Measures) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประเมินจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวสรีระของกลุ่มตัวอย่างซึ่งการวัดตัวแปรทางชีวสรีระทางการพยาบาลส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกระทำและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางจิตสังคมกับตัวแปรทางสรีระศึกษาประสิทธิผลของดนตรีบำบัดต่อการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยประเมินความวิตกกังวลจากอัตราการหายใจ และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต
การรายงานข้อมูลด้วยตนเอง เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการถามคำถามกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างตอบสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่ถูกประเมินด้วยตนเอง โดยการตอบแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ ซึ่งการรายงานข้อมูลด้วยตนเองเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้อย่างมากในการวิจัยทางการพยาบาล
ประเภทของการวัดตัวแปรทางชีวสรีระ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
การวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต
การวัดตัวแปรในห้องทดลอง
นางสาว โยษิตา รัตนะลัย
รหัสนักศึกษา 613101070