Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abnormality of Phychological Condition ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอ…
Abnormality of Phychological Condition
ความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด
ผู้คลอดที่มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียขาดน้ำหรือมีความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดีมีความสามารถในการเผชิญความเจ็บปวดลดลงมีแรงเบ่งน้อยและระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
อายุโดยเฉพาะรายที่มีอายุมากกว่า 35 ปีหรือน้อยกว่า 17 ปีรายที่มีอายุมากส่งผลให้เกิดการคลอดยากหรือตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีส่วนรายที่มีอายุน้อยส่งผลให้เกิดการคลอดยากจากภาวะซ่องเชิงกรานแคบ
ผู้คลอดที่มีน้ำหนักตัวผิดปกติโดยเฉพาะรายที่น้ำหนักมากกว่า 80 กิโลกรัมส่งผลให้เกิดการคลอดยากเนื่องจากมักมีภาวะช่องเชิงกรานแคบ
ผู้คลอดมีโรคทางอายุรกรรมเช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืดโรคตับโรคไต หรือผู้คลอดมีกาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมเช่น ภาวะความดันโลหิสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด มักส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้นหรือเกิดอันตรายต่อมารดาและทารกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดหรือเมื่อเบ่งคลอด
ผู้ตลอดที่มีความสูงน้อยกว่าปกติโดยเฉพาะรายที่มีความสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตรส่งผลให้เกิดการคลอดยากเนื่องจากมักมีภาวะซ่องเชิงกรานแคบ
มีประวัติได้รับอุบัติเหตุของกระดูกเชิงกรานหรือความพิการผิดรูปส่งผลให้เกิดการคลอดยากเนื่องจากมักมีภาวะของเชิงกรานแคบ
กระบวนการพยาบาลผู้คลอตที่มีความผิดปกติของสภาพร่างกายของผู้คลอด
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดหมู่เลือดตามแผนการรักษาในรายที่จำเป็น
ประเมินสภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดทุก 30 นาทีใน active phase ทุก 1 ชั่วโมงใน latent phase และทุกครั้งที่มดลูกคลายตัวในระยะที่ของการคลอดเพื่อเฝ้ารังวังกาวะ fetal distress และเตรียมอุปกรณ์และทีมงานการซ่วยกู้ชีพทารกไว้ให้พร้อม
กระตุ้นให้เบ่งคลอดอย่างถูกวิธีในระยะที่ 2 ของการคลอดในรายที่ไม่มีข้อห้าม
ตรวจภายในเป็นระยะ ๆ ทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการเปิดขยายความบางของปากมดลูกลักษณะถุงน้ำการก้มการหมุนและการเคลื่อนของทารกของส่วนน้ำหากไม่ก้าวหน้าต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม
รายที่มีโรคหัวใจโรคไตหอบหืดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ต้องไม่ให้เบ่งแจ้งและนานเกินไปคือไม่เกินครั้งละ 6 วินาทีเพื่อป้องกันอันตรายจากการเบ่งคลอด
วัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้คลอด
ดูแลช่วยคลอดหรียช่วยแพทย์ทำสูติศาสตร์หัตถรช่วยคลอดตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของข้อวินิจฉัยที่ 1 ผู้คลอดปลอดภัยทุกระยะของการคลอดไม่เกิดอันตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรมหรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
วัตถุประสงค์ของข้อวินิจฉัยที่ 2 ผู้คลอดปลอดภัยไม่เกิดอันตรายจากการเบ่งคลอดเนื่องจากมีโรคทางอายุรกรรมหรือภาวะแทรกซ้อนสูติกรรม
วัตถุประสงค์ข้อวินิจฉัยที่ 3 ไม่เกิดการคลอดยากหรือคลอดยาวนาน
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
คลอดและทารกได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรมหรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
ผู้คลอดมีโอกาสได้รับอันตรายจากการเบ่งคลอดเนี่องจากมีโรคทางอายุรกรรมหรือภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
มีโอกาสเกิดการคลอดยากเนื่องจากช่องเชิงกรานผิดปกติหรือทารกตัวใหญ่
การประเมินสภาพ
การซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัวโรคทางอายุรกรรมการได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องเชิงกราน
การตรวจร่างกายเกี่ยวกับน้ำหนักตัวความสูงภาวะขาดน้ำและอิเล็กโทรไลต์ภาวะกระดูกเชิงกรานผอดรูปพิการหรือการได้รับอุบัติเหตุ