Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปความรู้ที่ได้การเรียน - Coggle Diagram
สรุปความรู้ที่ได้การเรียน
เครื่องมือวิจัย
(Research instrument)
ความหมาย เครื่องมือวิจัย (Research instrument/ tool) หมายถึง เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัย โดยครอบคลุมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก
ความสำคัญของเครื่องมือการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ วิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เครื่องมือวิจัยต้องมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) เพื่อให้ผลการวิจัยที่ได้สะท้อนตามความเป็นจริงของสิ่งที่ศึกษา
ค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัด (error score: E) คือ ความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนจริงของสิ่งที่วัด (true score: T) กับค่าสังเกตที่ได้จากการวัด (observe score: O) ซึ่งมีค่าดังสมการ O = T + E
ลักษณะของความคาดเคลื่อนจากการวัดแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
ความคาดเคลื่อนแบบสุ่ม (random error) คือ ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีแบบแผน ไม่คงที่
ผลของความคาดเคลื่อนแบบสุ่มไม่ทำให้การวัดเกิดความคาดเคลื่อนแต่อาจทำให้ผลการวัดแต่ละครั้งไม่เท่ากัน
ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ความอ่อนล้า ความหิว ช่วงความสนใจ อารมณ์ แรงจูงใจ เป็นต้น
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิห้อง สิ่งรบกวน
ปัจจัยด้านการบริหารเครื่องมือ เช่น ลำดับของการแจกแบบสอบถาม
ปัจจัยด้านผู้ใช้เครื่องมือ เช่น ทักษะของผู้เก็บข้อมูล ผู้ใช้เครื่องมืออยู่ในสภาพไม่พร้อม
ความผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินการกับข้อมูล เช่น การลงรหัสข้อมูลผิดพลาด
ความคาดเคลื่อนแบบมีระบบ (systematic error) คือ ความคาดเคลื่อนในการวัดที่เกิดจากเครื่องมือ
ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกวัดทุกคน มีลักษณะเป็นแบบแผนเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการวัด สาเหตุเกิดจากการสร้างหรือเลือกเครื่องมือไม่ดี ไม่ครอบคลุม หรือไม่เหมาะสมกับตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการวัด
ระดับของการวัด (Levels or scale of measurement)
มาตรานามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตรการวัดระดับต่ำสุด ข้อมูลมีลักษณะเป็นกลุ่มตามการ
เรียกชื่อหรือจำแนกชนิด ไม่สามารถเปรียบเทียบค่าเป็นปริมาณมากหรือน้อยได้ เช่น เพศ สถานภาพสมรส ชื่อโรค
มาตรารียงลำดับ (ordinal scale) เป็นมาตรการวัดที่ค่าของข้อมูลที่ได้สามารถนำมาเรียงลำดับได้ แต่ไม่
สามารถบอกค่าที่แตกต่างได้ว่าแตกต่างกันเท่าไร และความแตกต่างของ 0 กับ 1 ไม่เท่ากับความแตกต่างของ 1 กับ 2 เช่น ระดับความรู้สึกตัว ความสามารถในการเคลื่อนไหว
มาตราอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตรการวัดที่สูงกว่ามาตราเรียงลำดับ ลักษณะข้อมูลเรียง
ลำดับได้และสามารถบอกระยะห่างระหว่างสองจุดของข้อมูลได้ โดยระยะห่างแต่ละหน่วยของการวัดจะมีระยะห่างเท่ากัน แต่หน่วยการวัดในมาตรานี้ไม่มีค่าศูนย์สัมบูรณ์หรือศูนย์แท้ (absolute zero point) เช่น ค่าอุณหภูมิ
มาตราอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตรการวัดระดับสูงสุด ข้อมูลมีระยะห่างของหน่วยวัด
เท่ากัน และมีค่าศูนย์สัมบูรณ์หรือศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ ข้อมูลในมาตรานี้มักเป็นตัวแปรทางชีวภาพหรือสรีรภาพมากกว่าตัวแปรทางจิตสังคม หรือสังคมศาสตร์
ประเภทของเครื่องมือวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับทดลอง หมายถึง ชิ้นงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่
พัฒนาขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถาม (Questionnaire instrument)
แบบสอบถามปลายปิด (Close-ended questionnaire) เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามปลายเปิด (Open-ended questionnaire) เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบ
ไว้ โครงสร้างของคำถามกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ
แบบสัมภาษณ์ (Interview instrument) เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลในกรณีที่ผู้วิจัย
ต้องการได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
แบบการสังเกต (observation instrument) เป็นเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทหนึ่ง
แบบการสังเกตแบบมีการกำหนดโครงสร้าง (Structured observation) ผู้วิจัยกำหนดเรื่องและ
ขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์อะไร
แบบสำรวจรายการ (Check list) ประกอบด้วยรายการที่ผู้สังเกตคาดว่าจะพบหรือปรากฏให้เห็นในขณะสังเกต
แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) เป็นแบบสังเกตที่เอื้อให้นักวิจัยบันทึกระดับความมากน้อย หรือระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่สังเกต
แบบการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured observation) เป็นแบบการสังเกตอิสระในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งมีการกำหนดการสังเกตไว้กว้างๆ ไม่มีรายละเอียดว่าจะสังเกตอะไร
เครื่องมือวัดทางชีวสรีรวิทยา (Bio-physiologic intrument) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวสรีระของกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต (In vivo measures) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือวัดตัวแปรในห้องทดลอง (In vitro measure) เมื่อเก็บตัวอย่างทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางห้องทดลอง
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
ความเที่ยงตรงหรือความตรง (Validity)
ความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ (Reliability)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การรายงานข้อมูลด้วยตนเอง (Self-Reports)
แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถาม
แบบสอบถามปลายปิด (Close-ended questionnaire) เป็นชุดข้อคำถามที่มีการระบุชุดคำตอบสำหรับให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบ หรืออาจเป็นการเติมคำสั้นๆ แบบสอบถามปลายปิด
ข้อดี
๑.คำถามมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้ผู้ตอบ ตอบได้เร็ว
๒.ตั้งคำถามได้มากข้อเพื่อให้ให้ครอบคลุมเนื้อหาได้ทั้ง หมดตรงตามวัตถุประสงค์
๓.ข้อมูลที่ได้ไม่กระจัดกระจายและง่ายต่อการวิเคราะห์
ข้อเสีย
๑. ข้อที่ให้เลือกอาจไม่ตรงกับความคิดเห็นของผู้ตอบ
๒. คำถามไม่ชัดเจน ผู้ตอบอาจตีความหมายผิด
๓. เป็นการกำจัดข้อมูลให้แคบลง
แบบสอบถามปลายเปิด (Open-ended questionnaire) เป็นแบบสอบถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ โครงสร้างของคำถามกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ แบบสอบถามปลายเปิดมักใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และนำความคิดเห็นมาวิเคราะห์เนื้อหา
ข้อดี
๑.ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ
๒.ช่วยในกรณีที่มีความรู้ในศาสตร์หรือข้อมูลในเรื่องที่สนใจศึกษามีน้อย
๓.ใช้ได้ดีเมื่อต้องการคำตอบที่มีแนวกว้างขวางเกินกว่าที่จะใช้คำถามปลายปิดและต้องการรายละเอียดมาก
ข้อเสีย
๑.ยากลำบากในการจดบันทึก
๒.คำตอบกระจัดกระจาย และอาจไม่ได้คำตอบที่ต้องการ
๓.กระบวนการวิเคราะห์ยุ่งยาก เช่น การแบ่งประเภทของคำตอบ การจัดเข้าตารางวิเคราะห์และการจัดหมวดหมู่
หลักการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
๑. แบบสอบถามที่นำส่งด้วยตนเอง ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลนำแบบสอบถามไปส่งมอบให้ผู้ตอบ ตอบ
แบบสอบถามด้วยตนเองแล้วรอรับแบบสอบถามกลับคืนทันทีที่ตอบเสร็จ
๒. แบบสอบถามที่นำส่งทางไปรษณีย์หรือทางจดหมายอิเล็คโทรนิค เป็นวิธีที่ประหยัดและสะดวกวิธีนี้
มักพบปัญหาอัตราได้รับแบบสอบถามคืนต่ำ ซึ่งอัตราการตอบคืนควรมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๕
ข้อดี
สามารถถามได้หลากหลาย และเป็นวิธีที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่วิธีอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ เช่น การสังเกต
ข้อเสีย
ความมั่นใจในความตรง และความแม่นยำของสิ่งที่รายงาน
การสังเกต (Observation)
การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตใช้กับงานวิจัยทุกประเภท โดยเฉพาะงาน วิจัยภาคสนาม งานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ หรืองานวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ร่วมกับการใช้ประสาทสัมผัสเช่น การสัมผัส การดมกลิ่น การฟังและการลิ้มรส ในทางการพยาบาลใช้วิธีการสังเกตกับข้อมูลต่อไปนี้
คุณลักษณะบุคลิกของบุคคล และสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น พฤติกรรมการตอบสนองต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วย
การติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คำพูด ผู้สังเกตจะสังเกตถึงเนื้อหาและน้ำเสียงที่พูดโดยวิเคราะห์จากคำพูดของผู้พูด
ภาษาท่าทาง เป็นการสังเกตปฏิกิริยาที่อาจแสดงทางสีหน้า ท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นสังเกตจากท่าเดิน ท่านั่ง
การกระทำกิจกรรมของบุคคล ซึ่งเป็นการปฏิบัติการพยาบาล เช่น การสอนนักศึกษาพยาบาลสวนปัสสาวะ แล้วประเมินผลการสอนว่านักศึกษาทำได้ถูกต้องตามเทคนิคเพียงใด
สภาพแวดล้อม สังเกตดูสภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆ เตียงผู้ป่วย อาจมีเสียงดังและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งรบกวนความสุขสบายของผู้ป่วย
ประเภทของการสังเกต
๑. แบ่งการสังเกตตามการมีส่วนร่วม นักวิจัยสามารถแบ่งได้ ๒ ชนิด
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) เป็นการสังเกตที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant observation) เป็นการสังเกตในลักษณะที่ผู้วิจัยทำการสังเกตโดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง สังเกตอยู่ห่างๆ ซึ่งสังเกตโดยให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้
๒. แบ่งการสังเกตตามการมีโครงสร้าง แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
การสังเกตแบบมีการกำหนดโครงสร้าง (Structured observation) ผู้สังเกตกำหนดเรื่องและ
ขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์อะไร
แบบสำรวจรายการ (Check list)
แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale)
การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured observation) เป็นการสังเกตอิสระในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้กว้างๆ ไม่มีรายละเอียดว่าจะสังเกตอะไร
ข้อดี
สามารถบันทึกเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมในขณะที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เครื่องมืออื่นร่วมด้วย
สามารถรวบรวมข้อมูลจากบุคคลที่ไม่สามารถให้คำตอบได้
ได้ข้อมูลจากบุคคลโดยตรง สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ได้ โดยสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและสามารถเริ่ม/หยุดสังเกตได้
ข้อเสีย
เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นนานๆครั้ง กำหนดเวลาที่เกิดขึ้นได้ไม่แน่นอน
ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนทุกแง่มุมของเหตุการณ์
เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นเร็วสังเกตไม่ทัน ทำให้แปลความหมายผิด
การวัดทางชีวสรีรวิทยา (Biophysiologic Measures)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ประเมินจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวสรีระของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการวัดตัวแปรทางชีวสรีระทางการพยาบาลส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกระทำ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางจิตสังคมกับตัวแปรทางสรีระ
การวัดตัวแปรในสิ่งมีชีวิต (In vivo measures) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่าง โดยข้อมูลที่วัดจะต้องอยู่ในลักษณะที่สามารถแปลผลได้ เครื่องมือที่ใช้ เช่น เทอร์โมมิเตอร์
เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
การวัดตัวแปรในห้องทดลอง (In vitro measure) เมื่อเก็บตัวอย่างทางชีวสรีระจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทางห้องทดลอง เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับน้ำตาล หรือฮีโมโกลบิล เอ วัน ซี
ข้อดี
มีความแม่นยำสูงเมื่อเทียบกับการวัดตัวแปรทางจิตสังคม
มีความเป็นปรนัยสูง
มีความเฉพาะเจาะจงในการวัดตัวแปรเป้าหมายสูง เช่น เทอร์โมมิเตอร์ใช้วัดอุณหภูมิ
ข้อเสีย
กระบวนการประเมินตัวแปรบางตัวอาจส่งผลต่อตัวแปรที่ศึกษา เช่นการใส่ตัวสื่อในเส้นเลือดอาจขัดขวางการไหลเวียน
เครื่องมืออาจสร้างคลื่นรบกวนส่งผลต่อการอ่านค่าตัวแปร
บางตัวแปรอาจมีค่าใช้จ่ายสูง