Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 12 การวิจัยแบบผสมผสานในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร,…
-
การใช้เทคนิควิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาร่วมกันศึกษาหาคำตอบของงานวิจัยในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือในระหว่างขั้นตอนภายในเรื่องเดียวกัน การผสมผสานกันสำหรับดำเนินงานวิจัยจึงเป็นแค่เพียงการผสมผสานในทางเทคนิควิธีการที่ใช้สำหรับการกำหนดปัญหาวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์วิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันเท่านั้น
เป็นการใช้วิธีการทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการหาคำตอบในเรื่องเดียวกัน ในเวลาพร้อมๆ กัน แต่แยกการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หลังจากนั้นจึงนำผลการวิจัยที่ได้มาเปรียบเทียบกันว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่คล้ายกับแบบแผนสามเส้า: รูปแบบลู่เข้า ในแง่ที่ใช้วิธีการทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแยกจากกันในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แต่มีความแตกต่างเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นเสร็จแล้วจะแปลงข้อมูลที่ได้จากวิธีการวิจัยแบบหนึ่งไปสู่ข้อมูลการวิจัยอีกแบบหนึ่ง หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ข้มูลทั้ง 2 ชุดใหม่อีกครั้ง เพื่อทำการเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุดนั้น แล้วตีความผลการวิจัยที่ได้ภายหลังการ่วิเคราะห์ข้อมูล 2 ชุดนี้
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้แบบสำรวจ หรือแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ในส่วนที่เป็นคำถามปลายปิด แล้วข้อมุูลเชิงคุณภาพจะใช้ส่วนที่เป็นคำถามปลายเปิด แล้วนำข้อมูลที่ได้จากแต่ละส่วนไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
เป็นการดำเนินงานวิจัยที่ใช้วิธีการแตกต่างกัน ทำการเก็บข้อมูลในประเด็นเดียวกันไปพร้อมๆ กันแต่ผู้ให้ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือองค์กรลดหลั่นกันไปตามระยะต่างๆ ของการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าหากใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันจากผู้ให้ข้อมูลที่ต่างกันนั้น ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเมื่อนำมาวิเคราะห์ ตีความสรุปแล้วจะทำให้ได้ข้อค้นพบหรือความจริงของประเด็นที่ศึกษามีความลึกซึ่งรอบด้านมากขึ้น
เป็นแบบแผนกา่รวิจัยแบบ 2 ระยะต่อเนื่องกัน ที่เริ่มต้นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณก่อนเสมอ แล้วตามด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ
เป็นแบบแผนการวิจัยแบบ 2 ระยะต่อเนื่องกัน โดยเริ่มต้นการศึกษาระยะแรกด้วยวิธีการเชิงคุณภาพก่อนเสมอแล้วตามด้วยวิธีการเชิงปริมาณ การวิจัยแบบแผนขั้นตอนเชิงสำรวจนิยมใช้ค้นหาตัวแปรหรือสร้างกรอบทฤษฎีสำหรับการวิจัย ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัดตัวแปร
-