Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอด, นางสาวจรรยา กุลสุพรรณรัตน์ เลขที่ 19 รหัสนักศึกษา 612401020…
การคลอด
การประเมิณสุขภาพทารกแรกเกิดทันที
APGAR Score
A = Appearance = สีผิว
P = Pulse = Heart rate = อัตราการเต้นของหัวใจ
G = Grimace = Reflex irritability =การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
A = Activity = Muscle tone = ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
R = Respiration =Respiratory effort = การหายใจ
คะแนน 8-10 (No asphyxia)
ทารกในกลุ่มนี้ถือว่าปกติไม่ต้องให้การช่วยเหลือพิเศษ ใดๆ นอกจากสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและให้ความอบอุ่นแก่ทารกก็เพียงพอ
คะแนน 5-7 (Mid asphyxia)
ทารกมีการขาดออกซิเจนอย่างอ่อนเกิดขึ้นเป็นช่วง ระยะเวลาสั้นๆ ก่อนคลอด หรือถูกกดจากยาที่มารดาไต้รับก่อนคลอดเพียงเล็กน้อย
คะแนน 3-4 (Moderate asphyxia)
ทารกกลุ่มนี้การขาดออกซิเจนและมีความเป็น กรดมากกว่าหรือลูกกดจากยามากกว่า ทารกมีอาการเขียวทั้งตัว การหายใจอ่อนมาก ความตึง ตัวของกล้ามเนื้ออ่อนมาก และอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็น สัญญาณว่าทารกต้องไต้รับการช่วยการหายใจ
คะแนน 0-2 (Severe asphyxia)
ทารกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนอย่างมาก มีความเป็นกรด สูงทารกมีลักษณะเขียวคลํ้ามาก ไม่หายใจหรือหายใจเฮือก ทารกต้องไต้รับการช่วยเหลือการ หายใจท้นทีที่คลอดเสร็จ
การทำคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ
ประเภทของการคลอด
การคลอดผิดปกติ
(Abnormal labor)
อายุครรภ์ครบกำหนด ดือ อายุครรภ์37 - 42 สัปดาห์
ทารกออกมาด้วยท่าท้ายทอยอยู่ด้านหน้าของเชิงกราน (occiput anterior)
กระบวนการคลอดสิ้นสุดได้เอง (Spontaneous)โดยไม่มีการช่วยเหลือเกินความ จำเป็นไม่ได้ใช้สูติศาสตร์ห์ตถการในการช่วยคลอด
ระยะเวลาของการคลอดทั่ง 3ระยะรวมกัน ไม่นานเกินกว่า 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ที่เกี่ยวกับการคลอด เช่น ระยะการคลอดยาวนาน มี เลือดออกก่อนคลอด ตกเลือดหลังคลอด หรือรกค้าง เป็นต้น
การคลอดปกติ
(Normal labor)
การผ่าท้องทำคลอด
การคลอดโดยใช้ เครื่องสุญญากาศ
การคลอดโดยใช้คีม (Forceps Extraction ย่อ F/E)
องค์ประกอบของการคลอด
Power แรงของการคลอด
แรงผลักดันนี้ประกอบด้วยแรงจาก 2 ส่วนคือ
แรงเบ่งของมารดา (maternal force)
แรงจากการหดรัดคัวของมดลูก (Uterine contraction)
Passage ช่องทางคลอด
มี 2 ส่วน
ส่วนที่เป็นกระดูก (bony part)
ส่วนนี้เป็นส่วนที่ยืดขยายได้ น้อยมากหรือเกือบไม่มีการยืดขยายเลย
ส่วนที่เป็นเนื้ออ่อน
ส่วนนี้ไม่ค่อยทำให้เกิดการคลอดผิดปกติมาก เนื่องจากสามารถยืดขยายได้
Passenger สิ่งที่ผ่านออกมา
Psychological ภาวะทางจิตใจของมารดา
ความหวาดกลัววิตกกังวลต่อการคลอด
ทัศนคติต่อการคลอด
Position ท่าของผู้คลอด
มีผลต่อความก้าวหน้าการคลอด
Physical condition สภาพร่างกายของผู้คลอด
หากผู้คลอดมี่สภาพร่างกายไม่แข็งแรงจะส่งผลต่อผู้คลอดและทารก
การทำคลอดปกติ
เตรียมผู้คลอด
ประเมินว่าผู้คลอดควรคัดฝีเย็บหรือไม่
ช่วยขยายช่องทางออกให้เหมาะสม กับส่วนนำที่จะเคลื่อนผ่านออกมา ลดอันตรายอันอาจเกิดจากการฉีกขาดเอง
ช่วยคลอดศีรษะ
ช่วยคลอดไหล่
ช่วยคลอดลำตัว
ตัดสายสะดือ
ประเมินสภาพทารกแรกคลอด (APGAR score)
สังเกตความผิดปกติทั่วไปอย่างรวดเร็วและอุ้มทารกให้มารดาดู บอกเพศและให้ทารกนอนกับมารดาโดยเร็ว
ทำคลอดรก
ตรวจดูการฉีกขาดของฝีเย็บ ช่องคลอดและปากมดลูก
บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ทำคลอด
1)ช่วยจัดทำผู้คลอด
2)เตรียมและดูแลเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำคลอดให้เรียบร้อย
3)ดูแลให้ผู้คลอดเบ่งอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจผู้คลอดในการเบ่งคลอด
4)วัดสัญญาณชีพผู้คลอดทุก 15 นาที
5)ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 5 นาที
6)ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาที โดยรายปกติและทุก 5 นาที ในรายที่ ทารกเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน
7)ดูแลความสุขสบายทั่วไปของผู้คลอด เช่น ใช้ผ้าชุบนํ้าเย็นเช็ดหน้า หรือช่วย นวดบริเวณต้นขาให้ผู้คลอด
8)สังเกตอาการของผู้คลอดและบันทึกรายงานให้เรียบร้อย
9)รายงานหัวหน้าเวรกรณีที่มีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น
10)บันทึกเวลาการคลอด
11)เขียนและผูกป้ายข้อมือทารก
12)วัดความดันโลหิตภายหลังรกคลอดทันที และฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของ มดลูก ได้แก่ methergin หรือ syntocinon
13)นำทารกไปให้มารดาสัมผัสเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
14)ชั่งน้ำหนักทารก
สรีรวิทยาการคลออดรกและการทำคลอดรก
การตรวจรก
การตรวจรกเมื่อรกคลอด
ตรวจว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบหรือไม่ถ้าค้างอยู่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
ตรวจลักษณะต่อไปนี้
1.การเกาะของสายสะดือบนรก
2.การตรวจรกด้านทารก
3.การตรวจเยื่อหุ้มทารก
4.การตรวจรกด้านแม่
5.ตรวจสายสะดือ
6.วัดและชั่งน้ำหนักรก
วิธีการคลอดรก
Modified crede maneuver
1.ใช้อุ้งมือข้างที่ถนัดคลึงมดลูก
2.ใช้อุ้งมือโอบยอดมดลูกและผลักลงมาหา Promontory of sacrum
3.เมื่อเห็นรกคลอดออกมา 2/3เปลี่ยนจากผลักเป็นโกย
4.ขณะผลักมือข้างที่ไม่ถนัดพยุงรองรับรก
5.เมื่อรกคลอดใช้มือหมุนรกไปรอบๆทางเดียวกันจนเยื่อหุ้มรกคลอดหมด
6.บันทึกเวลารกคลอดและคลึงมดลูก
Brandt- and rews maneuver
1.ใช้มือข้างที่ถนัดกดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า
2.ผลักไล่รกออกมาจนโผล่ที่ปากช่องคลอดแล้วหยุด
3.ดันยอดมดลูกกลับขึ้นบนเพื่อดึงรั้ง
4.อีกมือดึงสายสะดือ พอตึงช่วยดึงรกเบาๆ
Controlled cordtraction
1.ประเมินให้ชัดเจนว่ารกรอดตัวสมบูรณ์
2.วางมือข้างที่ไม่ถนัดเหนือหัวเหน่าดันมดลูกส่วนบน
3.ใช้มือข้างที่ถนัดดึงสายสะดือเบาๆออกมาตามแนวช่องคลอด
สรีรวิทยาในระยะที่สามของการคลอด ระยะที่สามของการคลอดหรือระยะคลอดรก
เริ่มนับหลังจากทารกคลอดครบจนถึงรกและเยื่อ หุ้มทารกคลอดครบ
การลอกตัวของรกจากผนังมดลูก (placental eparation)
ปัจจัยที่ทำให้รกลอกตัว
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
การฉีกขาดในชั้น spongiosa ของ decidua basalis
Retroplacental blood clot
อาการแสดงของรกลอกตัว
Uterine sign
Cord sign
Vulva sign
ชนิดของการลอกตัวของรก
Schulze's method
Matthews Duncan's method
การขับดันรกออกจากโพรงมดลูก (placental expulsion)
การควบคุมการสูญเสียเลือดจากบริเวณที่รกเกาะ (control of bleeding)
การป้องกันการตกเลือดระยะที่ 3
ของการคลอด
Active management of 3rd stage of labor
(AMTSL)
การบริหารยา uterotonic drugs เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
เป็นขั้นตอนแรกของ AMTLS แนะนําให้บริหารยาเมื่อคลอดไหล่
หน้าของทารกหรือเมื่อคลอดรก
การทํา controlled cord traction เพื่อคลอดรก
ทำการ clamp สายสะดือ ตำแหน่งที่ใกล้ต่อปากช่องคลอดแล้วใช้มือหนึ่งจับไว
วางอีกมือหนึ่งไว้บริเวณเหนือต่อกระดูกหัวเหน่า แล้ว stabilized มดลูกเอาไว้เพื่อที่จะออกแรง counter pressure กับแรงดึงของอีกมือหนึ่งขณะทำ controlled cord traction
ขึงมือที่ตรึงสายสะดือเอาไว้แล้วรอให้เกิดการหดตัวของมดลูก
เมื่อมีการหดตัวของมดลูก กระตุ้นให้มารดาเบ่ง พร้อมกับดึงสายสะดือลงในแนว downward อย่างนุ่มนวลในจังหวะเดียวกับที่อีกมือหนึ่งทำ counter pressure
หลังจากทำ controlled cord traction แล้ว 30 – 40 วินาทีหากไม่มีการเคลื่อนต่ำลงของรกให้หยุดทำหัตถการแล้วตรึงสายสะดือเอาไว้รอจนกว่ามีการหดตัวของมดลูกในครั้งถัดไป
เมื่อการหดตัวของมดลูกเกิดขึ้นใหม่ ให้กระทำหัตถการเหมือนเช่นเดิมอีกครั้ง
ขณะที่มีการหดตัวของมดลูก ห้ามทำการดึงสายสะดือโดยไม่มี counter traction โดยเด็ดขาด
เมื่อรกคลอดให้ประคองด้วยสองมือแล้วหมุนจนเยื่อหุ้มเด็กเป็นเกลียวพร้อมกับดึงรกเพื่อให้คลอดออกมาอย่างนุ่มนวล
หากมีการขาดของเยื่อหุ้มเด็กขณะคลอดรกให้ทำการตรวจภายในช่องคลอดและปากมดลูกด้วยวิธีปลอดเชื้อ หากมองเห็นเศษเยื่อหุ้มเด็กให้ใช้ sponge forceps คีบออก
ทำการตรวจรกอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่ารกคลอดออกมาครบ หากตรวจพบว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของรกขาดหายไปให้สงสัยว่ามีภาวะรกค้างให้ปฏิบัติตามกรณีรกค้างต่อไป
uterine massage ภายหลังการคลอดรก
ทําการนวดคลึงมดลูกบริเวณยอดมดลูกผ่านทาง
หน้าท้องทันทีจนมดลูกมีการหดรัดตัวด
ตรวจสอบการหดรัดตัวของมดลูกทุกๆ 15 นาที และทำการนวดคลึงมดลูกซ้ำหากตรวจพบว่ามีการหดรัดตัวที่ไม่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
หากจะหยุดนวดคลึงมดลูก ต้องมั่นใจว่าการหด
รัดตัวของมดลูกอยู่ในเกณฑ์ดีแล้ว
นางสาวจรรยา กุลสุพรรณรัตน์ เลขที่ 19 รหัสนักศึกษา 612401020 ชั้นปีที่ 2
จากเว็บไซต์
https://sites.google.com/site/karphyabalmardathark
จากเว็บไซต์
http://www.phraehospital.go.th/saiyairakphrae/saiyairak/data/dr.pitsanu/PPH%20copy.pdf