Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดพื้นฐานในการบำบัดรักษาทางจิต, นางสาวณิชา ถาวรวงษ์ 36/1 612001042…
แนวคิดพื้นฐานในการบำบัดรักษาทางจิต
การใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
:red_flag:
คือ การใช้ตนเองเพื่อการบำบัดทางจิตการพยาบาลผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต มีเป้าหมายเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขให้ผู้ป่วยมีความคิดและการกระทำที่เหมาะสม และกลับมาอยู่ในขอบเขตของความเป็นจริง
มโนมติพื้นฐาน 3ประการ
1. อัตตาหรือความเป็นตัวตนของตนเอง (self)
หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดของบุคคล
2. อัตมโนทัศน์ (self-concept)
เป็นความคิดการรับรู้และการประเมินผลที่บุคคลมีต่อตนเองซึ่งอาจจะตรงกับความเป็นจริงหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
2.1 ตัวตนด้านร่างกาย
(physical self) หมายถึงการรับรู้เกี่ยวกับร่างกายของตนเอง
2.2 ตัวตนส่วนบุคคล
(personal self) หมายถึงการรับรู้คุณค่าของตนเอง แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
ตัวตนด้านศีลธรรมจรรยา (moral-ethical self)
ตัวตนด้านความสม่ำเสมอแห่งตน (self-consistency)
ตัวตนด้านปณิธานหรือความคาดหวัง (ideal self or self-expectation)
ตัวตนด้านการยอมรับนับถือตนเอง (self-esteem)
3. ความตระหนัก รู้ในตนเอง (Self-awareness)
เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกตัว ของตนเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว ณ ขณะนั้นรู้ว่าตนเองเป็นใครคิดและรู้สึกอย่างไรกำลังทำอะไรอยู่
คุณสมบัติที่จำเป็นในการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
1.บุคคลทุกคนมีคุณค่า (Positive regard) ต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยเชื่อว่าบุคคลทุกคนมีศักดิ์ศรีและศักยภาพที่จะจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของตน
2.ไม่ตัดสินผู้อื่น (Nonjudgmental) คุณสมบัติที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือ การไม่นำค่านิยมหรือมาตรฐานสังคมของพยาบาลไปตัดสินพฤติกรรมหรือการกระทำของผู้ป่วย
3.ให้การยอมรับ (Unconditioning positive regard) คือการยอมรับในตัวบุคคลที่ผู้ป่วยเป็นแต่ไม่ได้หมายถึงการยอมรับในพฤติกรรมของผู้ป่วย
4.เข้าใจความรู้สึก (Empathy) คือการพยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น หรือตระหนักรู้ว่าขณะที่ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร
5.ความจริงใจ (Genuine) โดยทั่วไปพยาบาลทุกคนต้องมีความจริงใจต่อผู้ป่วย แต่พยาบาลจิตเวชจำเป็นต้องเน้นมาก
6.ความสอดคล้อง (Congruency) คือการสอดคล้องทั้งคำพูดและการกระทำ โดยเฉพาะการสื่อความหมายกับผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยมักจะรับรู้ได้เร็วจากการกระทำของพยาบาล
7.ความอดทน (Endurance) คือการอดทนที่จะให้เวลา และโอกาสสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพัฒนาตนเอง
8.ให้ความเคารพ (Respect) เมื่อพยาบาลพิจารณาว่าบุคคลมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีและมีศักยภาพในตัวของตนเอง
9.เชื่อถือได้ (Trustworthiness) การมีลักษณะของความน่าเชื่อถือ หรือความน่าไว้วางใจซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้บุคคลเกิดความไว้วางใจ
10.การเปิดเผยตัวเอง (Self-disclosure) มีทักษะในการเปิดเผยตัวเองในขอบเขตวิชาชีพพยาบาลสามารถบอกความรู้สึกความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวเองให้ผู้ป่วยรับรู้ได้
11.มีความรู้ (Knowledge) พยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจสาเหตุกลไกการเจ็บป่วยทางจิตและพฤติกรรมต่าง ๆที่แสดงออก
12.มีความสม่ำเสมอ (Consistency) ทั้งด้านอารมณ์ และพฤติกรรม ทั้งต่อบุคคล ต่อการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้ วางใจและมีความเชื่อถือพยาบาล
การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัด
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด:red_flag:
ระยะการสร้างสัมพันธภาพ(Phase of therapeutic relationship)
2.ระยะเริ่มต้นของสัมพันธภาพ (Initiating phase)
เป็นระยะที่พยาบาลและผู้ป่วยพยายามทําความรู้จักกัน ระยะนี้เริ่มเมื่อพยาบาลพบผู้ปุวยครั้งแรก และสิ้นสุดเมื่อผู้ปุวยสามารถสํารวจตนเองและบอกปัญหาของตนเอง เป็นระยะที่ต้องการให้ผู้ป่่วยไว้วางใจ
สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติ
การเตรียมสถานที่และบรรยากาศให้น่าไว้วางใจ
เมื่อพบหน้ากันควรกล่าวทักทายด้วยท่าทางเป็นมิตร พูดคุย เเนะนำตัว บอกวัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ เพื่อเพิ่มความไว้วางใจ
กําหนดของตกลงในการสร้างสัมพันธภาพ
สร้างความไว้วางใจ แสดงถึงการยอมรับ ความเข้าใจ การเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ป่วย ความสม่ําเสมอ
การค้นหา หรือระบุปัญหาที่แท้จริง
ปัญหาที่พบในระยะนี้
ความวิตกกังวล
วิตกกังวลว่าพยาบาลเป็นคน
แปลกหน้า ไม่เคยชินกับสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพยาบาล
การทดสอบ
ผู้ปุวยไม่เคยชินกับสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพยาบาล อาจทดสอบว่าพยาบาลมีความต้องการ อะไรที่ซ่อนเร้นอยู่
การต่อต้าน
ผู้ป่วยไม่รับรู้ และไม่มีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพยาบาล อาจเป็นเพราะประสบการณ์เรื่องมนุษยสัมพันธ์ในอดีตของผู้ป่วย
3.ระยะแก้ไขปัญหา (Working phase)
ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่พยาบาลต้องมีข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยมากพอที่จะเข้าใจสภาพปัญหาของผู้ป่วย จึงเป็นเวลาที่ผู้ป่วยควรได้พูดคุยปัญหาของตนเอง และมีแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง
สิ่งที่พยาบาลควรปฏิบัติ
รักษาสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ค้นหาสาเหตุปัญหา โดยให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และ
พยาบาลต้องรับฟัง ยอมรับ เข้าใจ
ประเมินการเจ็บป่วยว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้างกับชีวิต
ร่วมกับผู้ป่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ ิธีแก้ไขปัญหา
สนับสนุนด้านจิตใจ เช่น การให้เวลา ให้กําลังใจ ให้ข้อมูล
ปัญหาที่พบในระยะนี้
ความวิตกกังวลของพยาบาล
มีความรู้สึกร่วมกับผู้ป่วย
เป็นความรู้สึกที่พยาบาลเข้าไปร่วมกับความรู้สึกของผู้ป่วย
การถ่ายโยงความรู้สึกของผู้ป่วยไปสู่พยาบาล
ปฏิกิริยาและความรู้สึกทุกชนิดที่ผู้ป่วยมีต่อพยาบาล มีทั้งทางบวกเเละลบ
การถ่ายโยงความรู้สึกของพยาบาลไปสู่ผู้ป่วย
กระบวนการรักษา
พยาบาลต้องใช้การตระหนักรู้ในตนเองเพื่อเกิดความเข้าใจในที่มาของความรู้สึก
1.ระยะก่อนการสนทนา (Pre interacting phase
)
พยาบาลควรวางแผนและเตรียมตัวก่อน ซึ่งในระยะนี้พยาบาลยังไม่ได้พบผู้ป่วย
การพยาบาล
เตรียมตัวให้ชัดเจนในด้านเป้าหมายของการสร้างสัมพันธภาพ
วางแผนการสนทนาในแต่ละครั้ง ให้ข้อมูลต่าง ๆ กับทีมผู้รักษาได้ร่วมรับรู้
ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผู้ปุวยเกี่ยวกับแผนการรักษาที่ผ่านมา ภูมิหลัง
ตรวจสอบสภาพด้านร่างกายและจิตใจของตนเองให้มีความพร้อม ความรู้สึกในการเข้าไปสร้างสัมพันธภาพกับผู้ปุวย
4.ระยะยุติสัมพันธภาพ (Termination phase)
เป็นระยะที่ผู้ป่วยได้รับการคลี่คลายปัญหาแล้ว พยาบาลต้องพยายามให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยตนเองตัดสินใจและปรับตัวได้
การยุติสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดมีขั้นตอนดังนี้
1.การเตรียมผู้ป่วย
ควรบอกให้ผู้ปุวยทราบ ถึงระยะเวลาที่นักศึกษาจะยุติสัมพันธภาพกับผู้ป่วยล่วงหน้า
บอกให้ผู้ปุวยทราบว่าอาการอะไรที่ดีขึ้นของผู้ป่วยว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งอาการที่ยังต้องแก้ไข
บอกถึงประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการสนทนากับผู้ป่วย เเละประเมินประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ
ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการยุติสัมพันธภาพ
บอกแหล่งที่ผู้ป่วยสามารถขอความช่วยเหลือได้
2.กรณีที่ผู้ป่วยกลับบ้าน
บอกถึงอาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้น และอาการที่ต้องแก้ไข
แนะนําข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ
สรุปในส่วนที่ได้ร่วมแก้ปัญหากับผู้ป่วย ส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถที่จะช่วยตนเอง
. ประเมินปฏิกิริยาของผู้ป่วยในระยะยุติสัมพันธภาพ
ยุติหรือสิ้นสุดสัมพันธภาพ บอกผู้ปุวยให้ชัดเจนและเตรียมผู้ป่วยให้สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล
หมายถึง พยาบาลและผู้ป่วยได้มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อช่วยแก้ปัญหาและช่วยให้ฟื้นจากความเจ็บป่วยทางจิตด้วยความรู้ความสามารถของพยาบาล
เป้าหมายการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
1.ตระหนักในตนเอง ยอมรับตนเอง
รู้จักตนเองดีขึ้น และปรับปรุงตัวเองด้านความคิดและการแสดงออก
มีความสามารถที่จะสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้อื่น มีสัมพันธภาพเป็นผู้ให้และผู้รับ
ปรับปรุงการกระทําหน้าที่ในการดํารงชีวิต และเพิ่มความสามารถที่จะทําตามความต้องการ
5.ทําให้ผู้ปุวยเข้าใจปัญหาของตนเอง และเกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมได้
การสื่อสารเพื่อการบำบัด
:red_flag:
องค์ประกอบที่มีผลต่อการสื่อสาร
1. สถานที่ (place or setting)
ควรเป็นสถานที่ซึ่งไม่พลุกพล่านปราศจากสิ่งรบกวนและมีความเป็นส่วนตัว ควรมีความสบายปลอดโปร่ง ไม่ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด ทําให้การสื่อสารเป็นไปด้วยความราบรื่น สถานที่มีความจําเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่
2. ท่านั่ง (seating)
ท่านั่งที่เหมาะสมควรเป็นท่าที่ผ่อนคลาย ทั้งสองฝุายสามารถมองเห็นคู่สนทนาได้อย่างชัดเจน ไม่ควรนั่งเผชิญหน้ากัน เนื่องจากทําให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด ควรเป็นการจัดท่านั่งในลักษณะทํามุมระหว่างคู่สนทนา 45 องศาโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
3. ระยะห่างระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย (space)
การจัดระยะห่างให้เหมาะสมบางครั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ นกรณีที่ผู้ปุวยมีความคิดหวาดระแวง ม ระยะห่างของการสนทนาอาจต้องมีมากขึ้น ดำเนินไประยะหนึ่ง ควรปรับให้ใกล้ชิดมากขึ้น ระยะที่เหมาะสมอาจมีระยะห่างระหว่าง 4-12 ฟุต
4. เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด
เทคนิคการส่งเสริมให้ผู้ปุวยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
เทคนิคที่ช่วยพยาบาลกับผู้ปุวยเข้าใจให้ตรงกัน
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ปุวยพูดระบายความคิดความรู้สึก
เทคนิคช่วยส่งเสริมความเข้าใจในการปรับตัวผู้ปุวย
เทคนิคการกระตุ้นและส่งเสริมการสนทนา
หลักปฏิบัติในการสื่อสาร
ฟังทั้งเนื้อหาและเจตนาว่าผู้ป่วยพูดถึงอะไรหมายความว่าอย่างไร
ไม่เสนอข้อมูลมากเกินไปจนทําให้ผู้ปุวยสับสน เบื่อหน่าย
ไม่พูดถึงอดีตที่ปวดร้าวเกินไป ขณะที่ผู้ป่วยยังไม่พร้อม
สื่อสารที่เน้นเรื่องราวที่เป็นปัจจุบัน
ใช้หลักการสื่อสารที่ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสระบายความรู้สึก
ใช้หลักการต่างๆที่ง่ายๆ ชัดเจน ตรงไปมา
ให้สําคัญกับความสอดคล้องระหว่างเนื้อหา คําพูด ท่าทาง สีหน้า และน้ําเสียงของพยาบาล
อุปสรรคในการสื่อสาร
การดําเนินวิธีการสื่อสาร และใช้เทคนิคการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมเช่น
สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่น มีผู้ป่วยอื่นมาวุ่นวาย
ข้อจํากัดทางอาการของผู้ปุวย
ท่านั่ง ที่แสดงถึงความไม่สนใจผู้ป่วย
ระยะห่างระหว่างบุคคลมาหรือน้อยเกินไป
1.การใช้เทคนิคการสนทนาไม่เหมาะสม
การใช้คําปลอบโยน "อดทนไว้ เดี๋ยวก็ดีขึ้น"
การให้คําแนะนํา "คุณควรจะ….."
การแสดงการเห็นด้วย เช่น "คุณทําถูกแล้ว"
การแสดงความไม่เห็นด้วย เช่น"คุณไม่น่าทําแบบนี้"
การขอคําอธิบาย
การดูถูกความรู้สึกผู้ป่วย
:star::star:
ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดและวิธีแก้ไข
:star::star:
:star:1. ผู้ป่วยไม่มาตามนัด
วิธีแก้ไข
-ตามหาผู้ป่วย
-นัดหมายใหม่
-เตือนผู้ปุวยล่วงหน้าก่อนถึงวันนัด
-จดวัน เวลานัดให้ผู้ปุวยในใบนัด
:star:2.ผู้ป่วยมาพบตามนัด แต่
มาช้าเป็นประจํา
วิธีแก้ไข
-พิจารณาว่าผู้ปุวยรู้จักเวลาหรือไม่
-คุยเตือนกับผู้ปุวยเรื่องเวลานัดที่เคยตกลงไว้
-พยาบาลไปให้ตรงเวลา และรอผู้ป่วย ณ สถานที่นัดอย่างสงบ
-พูดคุยกับผู้ปุวยเรื่องเหตุผลที่มาพบช้า
-จบการสนทนาตามเวลาที่ได้กําหนดไว้
:star:3.พยาบาลเองเป็นฝ่ายมาช้า หรือต้องของเปลี่ยนเวลานัด
วิธีแก้ไข
-ให้แจ้งผู้ป่วยโดยตรง
-ขอโทษ และให้เหตุผล
-นัดหมายใหม่ให้เหมาะสม
:star:4.ผู้ป่วยขอให้การสนทนาจบเร็ว ๆ กว่าเวลาที่กําหนดไว้
วิธีแก้ไข
-สำรวจความต้องการ
-ปฐมนิเทศใหม่ถึงเรื่องเวลากําหนดการนัดตามที่ได้ตกลงกันไว้
-กําหนดการนัดหมายใหม่
:star:5ผู้ป่วยลุกออกไปจากการ
สนทนาอย่างกะทันหัน
วิธีแก้ไข
-ถามว่า “คุณกําลังจะไปไหน”
-บอกผู้ป่วย "ดิฉัน
จะนั่งรอคุณอยู่ที่นี่จนกระทั่งเวลา……..”
-รอการกลับของผู้ป่วยในห้องอย่างสงบ
:star:6.ผู้ป่วยปฏิเสธไม่ยอมให้ พยาบาลจดบันทึกข้อมูลการสนทนา
วิธีแก้ไข
-อธิบายความจําเป็นของการจดบันทึก
-คุยย้ําเรื่องการเก็บข้อมูลทุกอย่างเป็นความลับ
-หากผู้ป่วยยังคงไม่ยินยอม ยาบาล
ต้องงดการบันทึกแต่ให้สรุปการสนทนาทันที
:star:7ผู้ป่วยต้องการอ่าน
ข้อความที่บันทึก
วิธีแก้ไข
-อนุญาตให้อ่านได้ (ผู้ป่วยมีสิทธิจะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง)
:star:8.ผู้ป่วยตั้งคําถามว่าจะมีใครอ่านบันทึกที่พยาบาลบันทึกเกี่ยวกับตนบ้าง
วิธีแก้ไข
-อธิบายให้ชัดเจนว่าจะมีใครบ้างที่จะอ่านข้อมูลเหล่านี้
-อภิปรายย้ําเรื่องข้อตกลงที่ได้เคยสนทนากันมาก่อน
:star:9.บุคลากรอื่น ๆ ต้องการจะอ่านข้อมูลโดยละเอียดที่บันทึกไว้
วิธีแก้ไข
-อธิบายให้ทราบถึงผลการคืบหน้าของผู้ป่วย
-อธิบายให้บุคลากรเหล่านั้นได้ทราบถึงการที่ได้สัญญากับผู้ป่วย
:star:10.ผู้ป่วยซักไซ้เรื่องส่วนตัว
ของพยาบาล
วิธีแก้ไข
-ตอบคําถามอย่างสั้น ๆ เฉพาะที่เป็นความจริง
-สืบค้นในความต้องการซักไซ้ในข้อมูลส่วนตัวของพยาบาล
:star:11.ผู้ป่วยเรียกชื่อพยาบาล
โดยชื่อเฉย ๆ
วิธีแก้ไข
-อภิปรายเหตุผลกับผู้ป่วยในการกระทําเช่นนั้น
-ไม่ตอบโต้ผู้ป่วย ให้นิ่งและสงบ
:star:12.พยาบาลใหม่เรียกผู้ป่วย
โดยเรียกชื่อเฉย ๆ
วิธีแก้ไข
-อธิบายเรื่องสิ่งที่ควรปฏิบัติในสถาบันบริการ
-อภิปรายผลกระทบต่อความรู้สึกมีคุณค่า
:star:13.ผู้ป่วยไม่ต้องการพูดคุย
วิธีแก้ไข
-นั่งเงียบ ๆ ด้วยความสงบ
-มองผู้ป่วยโดยความสนใจและด้วยสีหน้าที่เป็นมิตร
-กล่าวย้ําเรื่องเวลาที่เหลืออยู่
:star:14..ผู้ปุวยกล่าวว่า “ฉันไม่มี
อะไรจะพูด
วิธีแก้ไข
-ลองตั้งคําถามใหม่
-ประเมินความรู้สึกของพยาบาลเองดูเมื่อได้ฟังคําพูดในลักษณะนี้จากผู้ป่วย
:star:15.ผู้ป่วยบอกพยาบาลไม่ให้เข้าใกล้
วิธีแก้ไข
-ให้ฟังอย่างสงบ
-ประเมินระดับความไม่เป็นมิตร
:star:16.พยาบาลเองตอบโต้กับผู้ป่วยในขณะสนทนาด้วยคําพูดซ้ํา ๆ
วิธีแก้ไข
-เผชิญหน้ากับการถูกปฏิเสธจากผู้ป่วย
-ให้ทบทวนข้อมูลที่ได้จดบันทึกไว้
-ฝึกให้ตนเองเป็นคนไวต่อการตอบโต้ที่ผิดพลาด
:star:17.คําถามของพยาบาลทํา
ให้ผู้ป่วยไม่พอใจ
วิธีแก้ไข
-ยกประเด็นขึ้นมาให้ชัดเจนอีกครั้ง
-พยาบาลพยายามแยกแยะปัญหาจากข้อมูลให้ละเอียด
นางสาวณิชา ถาวรวงษ์ 36/1 612001042 เลขที่41
นางสาวณัฐพร พวงอ่อน 36/1 612001040 เลขที่39