Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิชา การจัดการสุขภาพชุมชน, นางสาวพรนิภา มะโนนึก เลขที่ 40 รหัส 600842044 …
วิชา การจัดการสุขภาพชุมชน
บทที่ 5
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายชุมชน
เทคนิคการสร้างและพัฒนาเครือข่ายชุมชน
รู้จักจังหวะ
การทำกิจกรรมชุมชนต้องเลือกจังหวะเวลาที่เหมาะสม บางเรื่องเมื่อถึงจังหวะจับให้มั่นก็ต้องจับ แต่เมื่อถึงเวลาคลายก็ต้องปล่อย ค่อยเรียนค่อยรู้เราจะเข้าใจคน เข้าใจชุมชน
สำหรับการทำงานกับชุมชน คนที่จะเข้าไปทำในชุมชน และคนในชุมชนที่จะมาร่วมกันทำ ทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับสัญญาณไฟเขียวจากครอบครัว งานจึงจะเดินต่อได้
ทำใจยอมรับ
บ่อยครั้งที่เราวาดหวังว่าเรื่องราว ความตั้งใจ ความปรารถนาดีที่เรามีต่อชุมชนออกมาตรงกันข้าม ชุมชนไม่ยอมรับ ไม่เห็นผลงาน ไม่เกิดแนวร่วม เราก็ต้องทำใจยอมรับให้ได้
เมื่อมีปัญหาอุปสรรคมากมาย ที่ทำได้คือปลอบใจตนเองมันเป็นเช่นนี้เองก็ต้องปล่อยให้ผ่านไป เรียนรู้นำมาเป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง เป็นครู
สร้างความหวังร่วม
เมื่อเรามีความหวังร่วมกันพลังในการทำงานก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ชุมชนหวังว่าทำเรื่องนี้แล้วชุมชนจะดีขึ้น พัฒนาขึ้น แก้ทุกข์ร้อนของชุมชนได้
เจ้าหน้าที่ก็หวังว่าทำแล้วยั่งยืน มีประโยชน์
เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานกับชุมชน
ทบทวนตัวเอง
ต้องมีเวลาใคร่ครวญเรื่องราวทั้งที่ผ่านมา ที่กำลังทำอยู่ และอนาคต
มองแบบเป็นกลาง อย่าลำเอียง ประเมินผลให้คะแนนตัวเอง เสนอแนะวิพากษ์ตังเองบ้าง เพื่อพัฒนา
ข้อคิดสำหรับการทำงานชุมชน
รอบด้าน
การจับไม้จับมือกันทำงานทั้งที่เหมือน ต่างกัน ใกล้เคียงกัน อยู่คนละพื้นที่ แต่การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างมุมมองที่รอบด้าน กว้างกว่า ถือว่าเราเป็นหูเป็นตาแก่กัน ทำให้กิจกรรมในพื้นที่มั่นคงสานกันแน่นหนา ยากต่อการโค่นล้ม
กระตือรือร้น
การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เกิดการเรียนรู้ คิดค้น หาสิ่งที่ดีกว่า ขยัน ก้าวพัฒนาอยู่เสมอ จากการเห็นกิจกรรมของกันและกัน เมื่อนำจากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่ง ก็จะเกิดการเรียนรู้ใหม่และต่อยอดเสมอ
เรียนลัด
การที่เราได้เรียนรู้การทำงานกับเพื่อนร่วมเครือข่าย รู้งานเขา เห็นข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย เราสามารถนำมาปรับใช้กับงานของเราได้เป็นอย่างดี เราไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ในทุกเรื่อง
สร้างงานให้มั่นคง
เช่น ในพื้นที่เราปลูกผักปลอดสารพิษ แต่พื้นที่อื่นใช้ผักที่มีสารฆ่าแมลงมาปรุงอาหารขายในพื้นที่ของเรา ปัญหาก็ยังมีอยู่ เลยชักชวนกันเรียนรู้สร้างเครือข่ายคุ้มครองจาก 1 หมู่ เป็น 2 หมู่ เป็น 3 หมู่ เป็นตำบล เป็นอำเภอ งานคุ้มครองก็กว้างขึ้น เป็นปึกแผ่นมั่นคง เรียนรู้เท่าทันกันทุกเรื่อง ชุมชนก็ปลอดภัยในการบริโภค
พลัง
การทำงานในชุมชนเพียงคนเดียวกลุ่มเดียวมีข้อจำกัดมาก แรงเคลื่อนน้อย พลังน้อย บางครั้งอ่อนล้า เหนื่อยหน่ายและเหงา เมื่อมีเพื่อนร่วมกิจกรรมเป็นแรงหนุนเสริมกัน เขามาช่วยเรา เราไปช่วยเขาไปนั่งเป็นเพื่อนก็ยังดี กำลังใจ พลัง มามากมาย
ปัจจัยที่หนุนเสริมการก่อรูปเครือข่าย
เกิดจากผลที่กลุ่มต่าง ๆ ทำกิจกรรมร่วมกันมีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายเป็นเครือข่ายขึ้นมา
เครือข่ายที่เกิดจากวิถีวัฒนธรรมของการเกื้อกูลช่วยเหลือกันของผู้คนในชุมชน ในจังหวัดสงขลาหรือใกล้เคียง ช่วงประมาณเดือนเมษายนของทุกปี ในชุมชนไทยพุทธ มีประเพณีการทำบุญป่าช้า ทำบุญกระดูก อุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษของผู้ตายในแต่ละชุมชน
การที่ผู้คนมีความสนใจในประเด็นร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกันตามความสนใจ
เครือข่ายที่เกิดจากการส่งเสริม สนับสนุน หรือการจัดตั้งโดยหน่วยงานภายนอก เช่น เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
เมื่อมีสถานการณ์ เรื่องราว เหตุการณ์ที่ไปมีผลทำให้ผู้คน บุคคล คณะบุคคลต้องมาเผชิญรับปัญหาร่วมกัน และจำต้องดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ จะทำให้มีคณะบุคคลรวมตัวกัน ก่อให้เกิดเครือข่ายตัวตนขึ้นมา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชน
ก. กองทุน
หลายเครือข่ายมีวิธีการได้มาของทุนหรือกองทุน ทั้งการเปิดรับบริจาคทั่วไป การเขียนโครงการขอทุนเพื่อเมาทำกิจกรรม
บทเรียนของกองทุนหรือทุนที่ได้จากการ ลงขัน สะสม หากันเองของสมาชิกเครือข่ายจะมีความต่อเนื่อง หนักแน่นและโอกาสสูญหายมีน้อยกว่าการได้รับทุนสนับสนุนจากภายนอก
ก. กำไร
มองในมุมมองของคนทำงานเครือข่าย จะพบว่า เมื่อพูดถึงกำไร หาใช่จะเป็นที่ตัวเงินเพียงอย่างเดียว
ความรู้ประสบการณ์ที่ดี ๆ ประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในกรณีต่าง ๆ ของเครือข่ายที่เกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นกำไรทางความรู้เช่นกัน
เครือข่ายที่มีกิจกรรมทางด้านธุรกิจ สมาชิกจะให้ความสำคัญกับกำไรที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม
หัวใจสำคัญของการจัดการกำไรอยู่ที่การคืนกลับให้สมาชิกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินปันผลของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์
ก. กิจกรรม
เครือข่ายที่ประสบความสำเร็จจะเริ่มต้นจากการทำกิจกรรมที่ง่ายไปสู่ยาก
กิจกรรมบางอย่างมีความสลับซับซ้อน ทั้งเวลาและกระบวนการที่ใช้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
กิจกรรมมีฐานะเป็นเครื่องมือทดสอบความแข็งแรงของเครือข่าย
ก. การเรียนรู้
การทำงานของเครือข่าย ย่อมเกิดการเรียนรู้หากการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารของเครือข่ายเป็นทั้งการสร้างความเข้าใจ และพัฒนาทักษะที่คลี่คลายปมประเด็นปัญหาหรือความขัดแย้งที่อาจมีอยู่ในเครือข่าย
จากการได้สัมผัสพบว่าหลายเครือข่ายมีการพูดถึงการเรียนรู้ องค์ความรู้ การเรียนรู้ที่ทำให้เครือข่ายเข้มแข็ง พบว่า การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติจริงเป็นสิ่งสำคัญ
ก. กฎเกณฑ์
หลายเครือข่ายอยู่ในรูปของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับแล้วแต่จะตกลงกัน การได้มาของกฎเกณฑ์
บางเครือข่ายได้จากการระดมความคิดเห็นจากเวทีสมาชิกแต่บางเครือข่ายได้มาจากการยกร่างของคณะทำงาน หรือกรรมการแล้วให้สมาชิกเห็นชอบ
ก. การมีส่วนร่วม
ระดับของการมีส่วนร่วม จะมีตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมกันทำ ไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายร่วม ร่วมติดตาม และประโยชน์ร่วม
มีข้อสังเกตอยู่ว่าทางภาคใต้ผู้นำเครือข่ายหลายคนบอกว่าการร่วมกันทำจะไม่สอดคล้องกับจริตคนปักษ์ใต้ จะต้องเป็นการร่วมกันคิด แต่แยกกันทำโดยมีจุดเป้าหมายสู่ที่เดียวกัน
เป็นเสมือนการทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วม
ชุมชนเราจะพบเครือข่ายอยู่มากมายและหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองในด้านใด
ก. แกนนำ
แกนนำเหล่านี้จะต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกเครือข่ายซึ่งดูได้จากการเลือกตั้งหรือเลือกสรร หรือได้รับฉันทานุมัติของสมาชิกเครือข่าย
แกนนำที่ดีจะต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งมีการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน
องค์ประกอบและความสำคัญของเครือข่ายชุมชน
กิจกรรมของเครือข่าย
การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายควรเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ทำแล้วสำเร็จผล แล้วจึงยกระดับเข้าสู่ความยากสูงขึ้นในขั้นต่อไป
กิจกรรมของเครือข่ายแต่ละประเภทน่าจะแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภารกิจและการคิดค้นของเครือข่ายนั้น ๆ
เปรียบเหมือนกับเป็นแบบฝึกหัดการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายให้แข็งแรง
ระบบการสื่อสาร
การสื่อสาร เรื่องราว สาระ ข้อมูล ในระหว่างแกนนำเครือข่ายและสมาชิกเครือข่าย อย่างหลายรูปแบบ
หลายเครือข่ายขาดกระบวนการสื่อสาร เรื่องราว และท้ายสุดนำไปสู่ความแตกร้าวของเครือข่าย
แกนนำเครือข่าย
แกนนำที่ดีต้องมีความมุ่งมั่น เข้าใจงานเครือข่าย
มีแกนนำทั้งเชิงความคิดและแกนนำเชิงปฏิบัติงาน
พบเห็นได้ในรูปของคณะกรรมการเครือข่าย หรือคณะทำงานเฉพาะด้าน
สมาชิกเครือข่าย
การเข้ามาเป็นสมาชิกของเครือข่ายบางเครือข่ายในหลักของการเข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่ต้องยื่นเรื่องการสมัครเป็นสมาชิก
บางเครือข่ายใช้หลักการยื่นใบสมัคร ทั้งนี้แล้วแต่จะตกลงกัน สิ่งสำคัญอยู่ที่การยอมรับของสมาชิกเครือข่าย
สมาชิกเครือข่ายเป็นฐานสำคัญ
แผนแม่บทชุมชน : แผนแห่งการพึ่งพาตนเอง
หัวใจของกระบวนการทำแผนแม่บทชุมชน
3.การจัดเวทีต่อเนื่องในชุมชน
5.การร่วมมือและช่วยกันระบบข้อมูล
4.ความพิถีพิถันในการจัดเก็บข้อมูลของชุมชน ตลอดจนการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
6.การสลายความเกรงใจกันเองของผู้นำชุมชน (ทีมหลายคน) ในเวทีวิเคราะห์แผนแม่บทชุมชน
2.ทีมหรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานต่อเนื่องในชุมชน
7.สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าแผนที่เกิดขึ้นคือแผนของชุมชน
1.ความพร้อมของผู้นำชุมชน
กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน
การวิเคราะห์จัดทำแผนแม่บทชุมชน
นำความคิดสู่ชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยน
รวบรวมจัดหมวดหมู่ลำดับความสำคัญ
ประมวลความเชื่อมโยงปัญหา วิธีแก้ปัญหา การบริหารจัดการเข้ากับข้อมูลศักยภาพ (ต้องมีวิทยากรนำ)
พัฒนาสู่โครงการ / กิจกรรม
เมื่อได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยชุมชนแล้ว ก็จะนำเอาข้อมูลที่ได้มาพัฒนาสู่โครงการหรือกิจกรรม
โดยพิจารณาตามความสำคัญของปัญหา ความเร่งด่วนของแหล่งทุน และการดำเนินการโดยไม่ต้องหางบประมาณ เป็นต้น
2.กระบวนการจัดเก็บข้อมูล
ให้ชุมชนได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเขาเอง เพื่อให้เขารู้จักชุมชนของตนเอง / ชุมชนอื่น ภูมิประเทศ ธรรมชาติ ผลผลิต สภาพความเป็นอยู่ วัฒนธรรมความเชื่อ กิจกรรมการพัฒนาในชุมชน การแสวงหาผู้นำที่ชุมชนมีความเชื่อถือ
ชี้แจงและชักชวน ซึ่งจะต้องเป็นผู้นำกิจกรรมผู้มีประสบการณ์ มีความคล่องตัว มีความรอบรู้ และมีความกระตือรือร้น
สิ่งที่ต้องไม่ละเลย และเป็นกรอบของการจัดทำโครงการ / กิจกรรมของชุมชน
การพึ่งพาตนเองของชุมชนลดการพึ่งพาจากภายนอกชุมชนให้มากที่สุด
คือ แผนแม่บทชุมชนอย่างแท้จริง
1.การจัดเวทีแลกเปลี่ยน
การจัดเวทีแลกเปลี่ยน หรือการพูดคุยปรึกษาหารือ
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน หาจุดร่วมความเต็มใจตั้งใจของชุมชน และแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่าง ๆ เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพระสงฆ์ เป็นต้น
บทที่ 2
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
ศิลปะ ดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่น การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร
เป็นความรู้ความสามารที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมา
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป ให้กลับมามีประโยชน์
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
การอนุรักษ์ คือการบำรุงรัษาสิ่งที่ดีงามไว้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกผัก
การบริหารร่างกายด้วยภูมิปัญญาไทย
การบริหารร่างกายโดยใช้ไม้พลอง
การบริหารร่างกายโดยใช้กะลามะพร้าว
ความหมายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา
มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธ์
ภูมิปํญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่นซึ่งได้มาจากประสบการณ์ สืบทอดรุ่นสู่รุ่น
การนวดแผนไทย
ประโยชน์
ช่่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้ดี
ระบบภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น
ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ข้อแนะนำสำหรับผู้รับการนวด
ไม่ควรนวดขณะหิวจัดหรือรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
ควรบอกอาหารที่จะรักษาอย่างละเอียดเพื่อผู้นวดจะได้แก้อาการได้ถูกต้อง
อาการที่ไม่ควรนวด
มีไข้ หน้าแดง
กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกเปราะ
บวม ที่ใบหน้าและลำตัว
สมุนไพร
ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งไม่ได้ผสม หรือแปลสภาพ
ส่วนของพืชที่นำมาใช้เป็นสุนไพร
ลำต้น
ใบ
ราก
ดอก
ผล
วิธิใช้สมุนไพร
ยาชง ชงน้ำดื่มเหมือนกับชงชา
ยาลูกกลอน นำยามาผสมกับน้ำหรือน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นรูปกลม
ยาผง นำมาบดให้เป็นผง
ยาเม็ด กลืนกิน แล้วดื่มน้ำตาม
ยาต้ม มักเรียก ยาหม้อ
นำมาใช้สดๆ เช่น ทาแผลแก้พิษ
การประคบและอบสมุนไพร
การประคบ นำสมุนไพรมารวมในห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ แล้วนำมานึ่ง
ประโยชน์
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ทำให้เส้นเลือคลายความตึง
ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ข้อระวัง
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อาจมีความรู้สึกช้าถ้าใช้ความร้อนมาเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้
อย่าวางรูปประคบที่ร้อนเกินไปบนผิวหนังที่อ่อน
ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
การอบสมุน
ช่วยในการรักษาโรคหรือล้างพิษได้
โรคหรืออาการที่สามารถรักษาได้ด้วยการอบสมุนไพร
โรคภูมิแพ้ หอบหืด
อบหลังการคลอดบุตร
อัมพฤกษ์ อัมพาต
เครียด
ประโยชน์
ช่วยคลายความเครียด
ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ช่วยให้หญิงคลอดบุตรมดลูกหดตัวเร็วขึ้น
ช่วยบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในระยะแรก
บทที่ 3
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ค่านิยมที่เหมาะสม ที่จะพัฒนาตนเอง ให้เกิดความสมดุล
การพึ่งตนเองการขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ เป็นการฝึกตนเองในความรับผิดชอบ การใช้จ่ายของตนเองและครอบครัว การหารายได้ที่เหมาะสม
การประหยัดและอดออม เป็นการฝึกฝนตนเองเรื่องการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับฐานะ
การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา หลักศาสนามุ่งให้ทุกคนทำความดี มีความเมตตากรุณาในแก่นแท้ของศาสนา คือการให้ทุกคนรู้จักวิเคราะห์วิจารณญาณ เพื่อให้เข้าใจวิถีและธรรมชาติของชีวิต
การมีระเบียบวินัย และการเคารพกฎหมาย เป็นการฝึกฝนตนเองในการเคารพกฎ และกติกา ไม่ละเว้นปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อให้ตนเองสบาย
ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ชาติหมายถึง กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกันมาอยู่รวมกัน ชาติจึงเป็นสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนต้องรักและหวงแหนการรวมกันเป็นชาติ การเลือกนับถือศาสนา
คุณลักษณะของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลในอีกระดับหนึ่งซึ่งมีแนวทางในการพัฒนา ดังต่อไปนี้
พัฒนาทางความคิด เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีความต้องการที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดค้นหาวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาทั้งหลาย ให้ตัวเองได้ดำรงชีพอยู่อย่างสุขสบาย
พัฒนาทางจิตใจ เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อชุมชน เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางใจ มีความมั่นใจว่าชีวิตนี้มีคุณค่า
พัฒนาทางสังคม เพื่อมุ่งให้เป็นคนที่มีเกียรติ ได้รับการยกย่อง เคารพนับถือการยอมรับ
พัฒนาทางปัญญา เพื่อมุ่งให้เป็นคนมีความเฉลียวฉลาด สามารถคิดพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งปัญญาจะแตกฉานในบุคคลได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการศึกษาเล่าเรียนมีความสนใจเอาใจใส่ต่อวิชาความรู้ที่ครูอาจารย์อบรมสั่งสอน
พัฒนาทางอารมณ์ เพื่อมุ่งให้อารมณ์มีความสนุกสนานร่าเริง ไม่มีความเครียดหรือวิตกกังวลต่อการเรียน
พัฒนาทางวินัย เพื่อมุ่งให้เป็นคนมีระเบียบวินัยในตนเอง สามารถเคารพและปฏิบัติต่อภาระหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้อยู่ในกรอบของข้อบังคับของกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดขึ้น ไม่ประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง
พัฒนากาย เพื่อมุ่งให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และความพิการใด ๆ
การพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนา
ลักษณะที่ 2 พฤติกรรมสลายทุกข์ (การแก้ปัญหา) เมื่อคนเราเกิดความทุกข์จะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการแก้ปัญหาคือสร้างปัญญา และฉันทะ เพื่อให้เกิดการศึกษา รู้วิธีการในการแก้ปัญหาจากพฤติกรรมดังกล่าว
แนวทางในการพัฒนาตน
ขั้นที่ 1 นำสู่สิกขา คือ ขั้นของการฝึกฝนตนเองในการศึกษา การฝึกฝนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ
1.ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆษะ) คือ การกลั่นกรองรับเอาคำอบรมสั่งสอนจากพ่อ แม่ พี่ น้อง สื่อมวลชนต่าง ๆซึ่งเป็นพื้นฐานในการรับเอาความรู้ สังคม และวัฒนธรรมที่ดีในการพัฒนาตนเองต่อไป
2.ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) คือ การรู้จักเลือกปฏิบัติ เลือกหากัลยาณมิตร ซึ่งคนมองเห็นประโยชน์และสามารถตีคุณค่าได้
ขั้นที่ 2 ไตรสิกขา เป็นขั้นการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์แบบ และในขั้นนี้ต้องมีการศึกษาเรื่องศักยภาพของมนุษย์
2) สมาธิ เป็นการฝึกด้านจิต ฝึกด้านคุณธรรม ความมีจิตเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3) ปัญญา เป็นการฝึกในด้านการรู้ การพิจารณา การไตร่ตรองหาเหตุผล
1) ศีล เป็นการฝึกพฤติกรรม โดยมีวินัยเป็นเครื่องมือในการฝึก
ลักษณะที่ 1 พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์ เกิดจากการไม่รู้หรืออวิชาตัณหา เช่น ความโลภอยากได้ของคนอื่นเกิดการลักขโมย เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์
การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ฝึกนิสัยประหยัด อดออม เพราะการใช้จ่ายที่ถูกวิธีและสมควรแก่ฐานะนั้น เป็นการสร้างระเบียบวินัย
หัดคิดในมุมสร้างสรรค์ เป็นการคิดเชิงบวก คิดแต่เรื่องที่ดีงาม มองปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องเล็กที่สามารถ แก้ไขได้ การหัดเปิดมุมมองใหม่ ๆ กับสิ่งต่าง ๆ
ขจัดความขี้เกียจ เพราะความขี้เกียจนี้แหละเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อปล่อยให้ ความขี้เกียจเข้ามาเยือนแล้วก็ยากเหลือเกินที่จะสลัดมันออกไป
ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เปรียบเสมือนกับบททดสอบบทหนึ่ง ที่จะนำทางเราสู่ความ สำเร็จ เมื่อเราคิดจะลงมือทำการสิ่งใด ควรตั้งรับและเตรียมใจไว้ว่า “ทางเดินสู่ความสำเร็จนั้น ย่อมต้องมี อุปสรรคขวากหนามเป็นเพื่อนร่วมเดินทางด้วยเสมอ” ปัญหาทุกปัญหาจึงมาพร้อม ๆ กับความสำเร็จ
วางแผนล่วงหน้า เพราะความสำเร็จที่ได้มาส่วนใหญ่มักจะมาจากแผนงานที่ชัดเจน มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กำหนดระยะเวลา รูปแบบของกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน
เคารพตนเอง โดยเชื่อมั่นในความสามารถ ให้โอกาสตนเองในการกล้าลองผิดลองถูก
การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุม 4 มิติ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการ หมั่นฝึกให้ทานเป็นต้น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม เป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ หรือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เป็นต้น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูก สุขลักษณะและครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง อาทิ การอ่านหนังสือ การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
คุณภาพชีวิต
หมายถึง
การมีชีวิตที่มีความสุข
เป้าหมายหลัก
คือการให้มีความสามารถในการ “พึ่งพาตนเอง”
บทที่ 4
การสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังอำนาจชุมชน
สุขภาพองค์รวม
สุขภาวะทางจิต : มีจิตใจแจ่มใส เบิกบาน มีความสุขสงบในจิตใจ
สุขภาวะทางสังคม : มีความสัมพันธ์ที่ดี (เป็นมิตรและเกื้อกูล) ต่อผู้อื่น ต่อครอบครัว ต่อชุมชน ต่อสังคม
สุขภาวะทางกาย : มีร่างกายที่แข็งแรง มีพลานามัยดี ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (ปัญญา) : มีปัญญา เข้าใจความจริงของโลกและชีวิต มีความมั่นคงทางอารมณ์ (วุฒิภาวะ) มีศรัทธาในความดีและยึดมั่นในวิถีชีวิตที่ดีงาม
ที่มาและความหมายของ Empowerment
ความหมายอย่างกว้างของ Empowerment
สร้างเสริมพลังให้ใคร?
สร้างเสริมให้กันได้ตั้งแต่ ให้ตนเอง ให้บุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน หรือองค์กร
พลังอะไร?
พลังกาย พลังใจ พลังความคิด พลังปัญญา พลังทางการบริหาร พลังทางเศรษฐกิจ พลังทางการเมือง พลังทางสังคม พลังทางจิตวิญญาณ
การสร้างเสริมพลัง คืออะไร?
การทำให้เกิด ทำให้มี ทำให้ตระหนัก ทำให้เชื่อมั่น ทำให้ได้ใช้ ได้พัฒนา "ศักยภาพ" ที่มีอยู่ในตน ให้แปรรูปออกมาเป็นพลังที่สร้างสรรค์
สร้างเสริมพลังไปทำไม?
ให้เกิดมีพลังทำในสิ่งที่ควรทำอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ และมีพลังที่จะพัฒนาพลังนั้นให้งอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป
ที่มา
เกิดจากการรวมตัวของคำ 2 คำ คือคำว่า em และคำว่า power
คำว่า em (หรือ en) เป็นคำอุปสรรค (คำเสริมนำหน้าคำเพื่อให้เกิดความหมายใหม่) ที่ให้ความหมายถึง "การทำให้เกิดขึ้น"
เมื่อนำมารวมกับคำว่า power ที่แปลว่า "พลัง" จึงเกิดคำว่า "empower" ซึ่งมีความหมายว่า "ทำให้เกิดพลัง" หรือ "สร้างเสริมพลัง"
"Empowerment" เป็นคำนามของกริยา empower จึงแปลว่า "การสร้างเสริมพลัง"
ความหมายอย่างเจาะจงของ Empowerment
การพูดถึงการเสริมพลังในขอบเขตเนื้อหา และกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้น
การสร้างเสริมพลังอำนาจ" (แนวคิดแบบตะวันตกมักออกแนว "อำนาจนิยม")
การสร้างกระบวนวิธีที่ทำให้คนทำงานในองค์กรได้ดึงเอาความสามารถของตนออกมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
เน้นไปที่พลังอำนาจที่ใช้ในการบริหารจัดการงานในหน่วยงานหรือองค์กรเป็นหลัก ปัจจุบันนี้หน่วยงานทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุขของไทย ก็ได้เริ่มให้ความสนใจเรื่องนี้กันมากขึ้นแล้ว
การเสริมพลังสร้างสุขภาพ (Health Empowerment)
เพื่อป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือปัญหาด้านสุขภาพองค์รวมที่ร้ายแรง ที่อาจจะเกิดตามมาจากการใช้ชีวิตที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง
เปรียบได้กับการใช้รถยนต์โดยไม่เคยใส่ใจตรวจเช็กสภาพเครื่อง ไม่เคยเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไม่เคยเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ไม่เคยตรวจเช็กน้ำมันเบรก ก็รับประกันได้เลยว่า รถก็จะมีอายุการใช้งานที่สั้นลงมาก ๆ มีปัญหาขึ้นมาก็ต้องเข้าอู่ซ่อมกันนาน ๆ
เป็นกลไกที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของแนวทาง "สร้าง" นำ "ซ่อม" ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งทางด้านสุขภาพองค์รวม
แนวทางสร้างเสริมสุขภาพ-คนธรรมดาคือพระเอก
พระเอกต้องฉลาด
พระเอกจะคิดเป็น รู้จักสังเกตเรียนรู้ เชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ มองเห็นภาพรวม รู้เท่าทันผู้ร้าย มองเห็นปัญหาและทางแก้ปัญหา (ในขณะที่คนอื่นมองไม่ออกหรือคิดไม่ถึง)
พระเอกต้องมีบทบาทนำ
เป็นคุณสมบัติข้อสำคัญที่สุดของการเป็นพระเอก
พระเอกต้องมีความเชื่อมั่นที่จะ "พึ่งพาตนเอง" แก้ปัญหาด้วยตนเอง แสดงศักยภาพ ใช้ความสามารถที่มี ทำสิ่งที่ควรทำ แก้ไขสิ่งที่ควรแก้ อย่างรวดเร็วและไม่รั้งรอ
พระเอกต้องมุ่งมั่น
ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากสภาพที่ต่ำต้อย ยากลำบาก หรือมีอุปสรรคขวากหนามใด ๆ คนเป็นพระเอกจะไม่ท้อแท้หรือท้อถอย จะดำรงจิตใจที่มุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคทั้งมวล อย่างไม่ครั่นคร้ามลังเล
คนเป็นพระเอกจะใช้คุณสมบัติทุกข้อเพื่อที่จะบากบั่นพากเพียร ดำเนินภารกิจต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง (แม้อาจจะต้องล้มแล้วล้มอีกกี่ครั้งก็ตาม) จนบรรลุถึงความสำเร็จได้อย่างน่าชื่นชม
แนวคิดเรื่อง "พลังอำนาจ"
อำนาจสมมุติ
อำนาจที่ได้รับการมอบหมาย แต่งตั้ง สถาปนา (หรือยึดอำนาจ) ขึ้น จากคน กลุ่มบุคคล เช่น ตำรวจมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย
ลักษณะชั่วคราวไม่ยั่งยืน มีอยู่ได้ใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่นานก็แปรเปลี่ยนไป และที่สำคัญ ต้อง "ขึ้นอยู่กับผู้รับรองอำนาจ" นั้นด้วย
อำนาจที่แท้จริง
เป็นอำนาจตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง (สำนวนจีนว่าเป็น "อำนาจของฟ้าดิน") มีพลัง มีความมั่นคงและยั่งยืน มากกว่าอำนาจสมมุติหลายร้อยหลายพันเท่า
ตัวอย่างของอำนาจชนิดนี้ ก็คือ "อำนาจของความรัก" ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการสร้างความรักความศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตใจคนได้ ทำให้คนรักใคร่ ชื่นชม นับถือ และพร้อมที่จะปฏิบัติตาม
บทที่ 1 แนวคิด หลักการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม
สุขภาพแบบองค์รวม
(Holistic Health)
องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม มี 4 มิติ
2.มิติทางจิตใจ (Psychological dimension) เป็นมิติที่บุคคลมีสภาวะทางจิตใจที่ไม่มีความกังวล
3.มิติทางสังคม (Social dimension)
1.มิติทางกาย (Physical dimension)
เป็นมิติทางร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
4.มิติทางจิตวิญญาณ (Spiritual dimension)
องค์ประกอบของชุมชน
2.ความสนใจร่วมกันของคน (Common interest) เช่น เครือข่าย กลุ่มสถาบัน
3.อาณาบริเวณ (Area)
1.คน (People)
4.การปฏิบัติต่อกัน (Interaction)
ประเภทของชุมชน
ชุมชนเมือง เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิเป็นความสัมพันธ์ที่มีแบบแผน
ชุมชนชนบท เป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก คนในชุมชนมีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิเป็นความสัมพันธ์ชนิดไม่มีแบบแผน
5.ความสัมพันธ์ (Relationship)
การสร้างเสริมสุขภาพ
(Health Promotion)
"กฎบัตรออตตาวา" (Ottawa Charter)
ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์สร้างสุขภาพ 5 ประการ
3.การสร้างเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง
4.การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
2.การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ
5.การปรับเปลี่ยนระบบสุขภาพ
1.การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
ประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2548 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร มีสาระสำคัญของกฎบัตรกรุงเทพ ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ
(Bangkok Charter for Health Promotion) โดยเน้นประเด็นหลักหรือแนวทางไว้ 5 ประการ
แนวคิดหลักการเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม
การสนับสนุน "ประชาชนพึ่งตนเอง"
การพัฒนาสุขภาพจึงมีหลักในการทำงาน ดังนี้
3.ประสานงาน การพัฒนาสุขภาพจะประสบผลสำเร็จ เมื่อมีการประสานงานเป็นอย่างดีจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4.การนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ กิจกรรมหรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาสุขภาพ
2.ประชาธิปไตย การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจะต้องมาจากมติความเห็นชอบของชุมชน
5.การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากสิ่งที่ง่าย การพัฒนาสุขภาพเพื่อเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพในชุมชน
1.ประชาชน**
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องยึดเป็นแนวทางในการพัฒนา โดยใช้หลักการ ดังนี้
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงาน
สนับสนุนให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง
ยึดประชาชนเป็นหลัก
กิจกรรมควรเป็นความคิดริเริ่มของประชาชน
มุ่งทำงานกับประชาชน
วัตถุประสงค์การจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม
3.ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ
2.ปรับปรุงและส่งเสริมให้ชุมชนมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น
5.ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงาน
6.ส่งเสริมให้ชุมชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคม และการศึกษาที่ดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของนักพัฒนาสุขภาพ
2.นักพัฒนาสุขภาพต้องมีพื้นฐานทางจิตใจที่มั่นคง
มีเหตุผลในการทำงาน
3.ต้องทำงานแบบเบ็ดเสร็จได้ เราควรสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ที่มีความสามารถแก้ปัญหา
1.เราต้องพัฒนาตนเองก่อนที่จะพัฒนาผู้อื่น
4.สามารถวางแผนบริหารจัดการ
บทที่ 6
การสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
แนวคิดการสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
1.การส่งเสริมกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต
โดยพัฒนาศักยภาพให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรักษาผลประโยชน์ของชุมชนด้วยตนเอง
ห้ความสำคัญกับการปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน ของบุคลากรภาครัฐ จากการเป็นผู้สั่งการ เป็นผู้สนับสนุนในการจัดการและแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง
การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้”
การพัฒนาสวัสดิการสังคมและสวัสดิภาพของชุมชน การฟื้นฟูอนุรักษ์และจัดการทัพยากรธรรมชาติของชุมชน การค้นหาศักยภาพและการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตลอดจนการจัดทำแผนความต้องการของชุมชน รวมทั้งการสร้างประชาคมภายในชุมชนและการสร้างเครือข่ายของชุมชน
เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนได้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน
ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง
4.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินสถานการณ์ของชุมชนกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมคิด ตัดสินใจ ดำเนินงาน ติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชนผ่านกระบวนการชุมชน
5.สมาชิกชุมชนเกิดการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมในกระบวนการของชุมชน
3.มีกระบวนการของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของผู้นำองค์กรชุมชน ในลักษณะเปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วม โปร่งใส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
6.มีแผนของชุมชนที่ประกอบด้วยการพัฒนาทุก ๆ ด้านของชุมชน ที่มุ่งการพึ่งตนเอง เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คนและมุ่งหวังการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
2.สมาชิกของชุมชนพร้อมที่จะร่วมกันจัดการกับปัญหาของตนและชุมชน
7.การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก เป็นการพึ่งเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุดไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
1.สมาชิกของชุมชนมีความเชื่อมันในศักยภาพของตนและชุมชน ที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
8.มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา อาจเป็นหมู่บ้านชุมชนอื่น ๆ ท้องถิ่น ภาคราชการ องค์กรเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ และอื่น ๆ ในลักษณะของการมีความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน
เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
กระบวนการ AIC
แนวคิดของกระบวนการ AIC
เป็นศิลปะของการพัฒนาที่เน้นการคิดหาวิธีการให้บรรลุเป้าหมายมากกว่าการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาเป็นการปฏิบัติร่วมกันด้วยความรักหรือการเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน
เป็นการคิดทางบวก (Positive Thinking) จึงทำให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกอิ่มใจ สนุก เห็นใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ป็นระบบการสร้างทีมด้วยการเอาคนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) มาอยู่ด้วยกัน มองอนาคตด้วยกัน หาจุดร่วมที่เป็นคุณค่าหรืออุดมการณ์ร่วมกันแล้ววางแผนเพื่อดำเนินการร่วมกัน
จุดแข็งของกระบวนการ AIC
ทุกคนได้ความเป็นผู้นำและรู้ว่าใครควรแสดงออก
สามารถประสานความแตกต่าง ความถือตัวของแต่ละคน เป็นพลังในการจัดการ ดำเนินการประเมินผลงานอย่างสร้างสรรค์ได้
เกิดความร่วมมือกันทั้งด้านสติปัญญาและทรัพยากร ทำให้มีพลัง
เป็นเครื่องมือของการจัดการเพื่อวางแผนกลวิธี หาวิธีแก้ปัญหา ลดความขัดแย้งของคนที่ มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องเดียวกัน
ความหมายของกระบวนการ AIC
Influence = I แปลว่าอิทธิพล อำนาจชักจูง เพราะการที่บุคคลเข้ามารวมด้วย พลังจะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
Control = C แปลว่าการควบคุม การกำกับการบงการ ให้เกิดการปฏิบัติการไปตามวิถีทางหรือแบบที่วางไว้
Appreciation = A หยั่งรู้ความพอใจและความชื่นชอบเป็นเรื่องของความรักความเมตราเห็นคุณค่าให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะก่อให้เกิดพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ บางครั้งเรียกพลังเมตตา
จุดอ่อนของกระบวนการ AIC
อิทธิพลที่ได้รับจากการอภิปรายกับผู้อื่นในขั้นตอนต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสถานะ ของตนเองจึงต้องชั่งใจเอง ยอมรับสภาพความพร้อมและยอมรับผู้อื่นซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
ทำแผนร่วมกับผู้อื่นหลายระดับงาน และต่างประสบการณ์จะต้องเชื่อผู้อื่นบ้างจึงยากที่ผู้ที่เคยชินการทำแผนกับคนพวกเดียวกันจะยอมเปลี่ยนแปลง
กระบวนการนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องในหน่วยงานจึงจะสัมฤทธิ์ผล และทุกคนมีความพึงพอใจกับงานไม่มีการตัดสินใจว่าจะให้ใครทำอะไร ผู้ประชุมเป็นผู้ที่เลือกเองว่าตนเองมีศักยภาพจะทำอะไรได้บ้าง
กระบวนการ PLD (Participatory Learning Development)
องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การสะท้อนความคิดและอภิปราย (Reflex and Discussion) อาสามัคร/แกนนำชุมชนช่วยให้สมาชิกได้มีโอกาสแสดงออกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง
เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด (Understanding and Conceptualization) สมาชิกเกิดความเข้าใจและนำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอด
ประสบการณ์ (Experience) อาสาสมัคร/แกนนำชุมชนช่วยให้สมาชิกนำประสบการณ์เดิมของตนมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้
การทดลองหรือ ประยุกต์แนวคิด (Experiment/Application) สมาชิกเอาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติของสมาชิกเอง
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนปฏิบัติการและคัดเลือกประเด็นการพัฒนาชุมชนน่าอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติการชุมชน
ขั้นตอนที่ 3 การก่อรูปวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ชุมชนน่าอยู่
ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล การสรุปบทเรียนและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในและภายนอกชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินและวิเคราะห์สมรรถนะชุมชนและชุมชนน่าอยู่
ขั้นตอนที่ 1 การแสวงหาบุคคล/กลุ่มผู้ริเริ่ม และพันธมิตรการทำงาน
การจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (PLD)การจัดกิจกรรมดังกล่าว เน้นสมาชิกเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และกระบวนการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning Development) มุ่งเน้นให้สมาชิกได้ร่วมกันอภิปราย แลกเปลี่ยนและฝึกทักษะต่าง ๆ โดยมีหลักการดังนี้
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง และระหว่างสมาชิกกับอาสาสมัคร/แกนนำชุมชน
ปฏิสัมพันธ์ที่มีทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง
ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนรู้ที่เรียกว่า Active Learning
มีการสื่อสารโดยการพูด หรือการเขียน เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์ของสมาชิก
องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
5.มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
6.มีการเรียนรู้ เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกันหลายรูปแบบ
4.มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ
7.มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3.มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเอง รักษาเอื้ออาทรต่อกัน และมีความรักท้องถิ่น รักชุมชน
8.มีการจัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
2.มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
9.มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายของชุมชนสืบทอดกันตลอดไป
1.บุคคลหลากหลายที่รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชนอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม
นางสาวพรนิภา มะโนนึก เลขที่ 40
รหัส 600842044