Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัดเยอรมัน (German measles/Rubella), ขึ้นผื่น, No Koplik’s spot,…
โรคหัดเยอรมัน
(German measles/Rubella)
ความหมาย
เป็นโรคติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ ไข้ ผื่นที่ผิวหนัง และต่อมน้ำเหลืองแถวคอโต ถ้าเป็นในเด็กอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นในหญิง มีครรภ์อ่อน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสพิการ คนที่เคยเป็นโรคหัดเยอรมันแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ไปตลอดชีวิต
เชื้อก่อโรค
โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัส measles ซึ่งอยู่ในตระกูล paramyxovirus เป็น enveloped RNA virus
การแพร่เชื้อ
ตั้งแต่เริ่มมีไข้ หรือ 2-3 วันก่อนผื่นขึ้นไปจนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น
อาการ
ทารก
สำหรับทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะมีโอกาสมีอวัยวะต่างๆ ผิดปกติได้ตั้งแต่กำเนิด ได้แก่
ความพิการทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหิน ความพิการที่หัวใจ หูหนวก ศีรษะเล็ก
โครงสร้างสมองผิดปกติ ตัวเล็ก พัฒนาการช้า
ตับโต ม้ามโต ตัวเหลือง มีจ้ำเลือดตามตัว และเกล็ดเลือดต่ำ
เด็กโต
อาการโรคหัดเยอรมันจะเริ่มจากต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู ท้ายทอยและด้านหลังของลำคอ มีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการคล้ายเป็นหวัด อาจเจ็บคอร่วมด้วย
เมื่อมีไข้ประมาณวันที่ 3 จึงเริ่มมีผื่นขึ้น ลักษณะผื่นจะแบนราบ สีชมพูจางๆ จะหายไปในเวลา 1 ถึง 2 วัน จากนั้นสีของผิวหนังจะกลับเป็นปกติ
การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน
ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจระดับของ Immunoglobulin โดยจะส่งตรวจระดับของ Ig M.Specific Antibodyซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังผื่นขึ้น และคงอยู่ 4-6 สัปดาห์ ก็จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้
วิธีทาง Serologic test : เพี่อตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ซึ่งบ่งชี้ภาวะการติดเชื้อ (recent infectionในเลือดจะเริ่มให้ผลบวกภายใน 1-2 วันหลังจากผื่นขึ้น และจะ อยู่นาน 1-2 เดือน
การตรวจทาง serology โดย paired serum measles IgG ควรส่ง serum 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 10 วันเพื่อดูค่า fourfold rising
การตรวจหารสารพันธุกรรม RNA ของเชื้อ ด้วยวิธี RT-PCR โดยเก็บ specimen จาก nasopharyngeal swab หรือ throat swab
ปัญหาและผลกระทบ
ข้ออักเสบ สมองอักเสบ จุดจ้ำเลือด
ไม่สุขสบายเนื่องจากไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดข้อ
ได้รับอาการและน้ำไม่เพียงพอ เนื่องจากมีไข้ เบื่ออาหาร และเจ็บคอ
โอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ในระยะ 7 วันก่อนและ 5 วันหลัง ผื่นขึ้น
มักหายได้เอง ไม่มีอันตราย ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ อาจอันตรายถึงทารก
ผู้ป่วยเด็กมักจะมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ท้ายทอย บริเวณหลังหู และบริเวณคอโต บางรายอาจมีม้ามโต
โรคแทรกซ้อน
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อนขณะติดเชื้อโรคหัดเยอรมัน โรคแทรกที่พบได้คือ สมองอักเสบ ข้อนิ้วมื้อนิ้วเท้าอักเสบ ผู้หญิงที่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีความพิการได้
การรักษา/การพยาบาล
. โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่ไม่มียาต้านไวรัส ถ้าเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่ตั้งครรภ์ ให้รักษาตามอาการ เช่น
กินยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ
พักผ่อนอย่างเพียงพอ แยกผู้ป่วย หายได้เอง 3-6 วัน
ใช้หลัก Droplet precautions จนกระทั่งผื่นขึ้นแล้ว 5 วัน เป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากละอองฝอย เสมหะ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน
วิธีปฏิบัติ มีดังนี้
ปฏิบัติตามหลัก Standard precautions ในการดูแลผู้ป่วย
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกจนพ้นระยะแพร่เชื้อ ห้องแยกควรมีอาการถ่ายเท และมีแสงแดดส่องถึง
ถ้าไม่มีห้องแยก จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วยอื่นที่ติดเชื้อโรคชนิดเดียวกัน
ให้แขวนป้าย Droplet precautions/สัญลักษณ์ไว้ที่หน้าห้องแยกหรือที่เตียงผู้ป่วย
ให้สวมผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด Surgical mask เมื่อต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยภายในระยะ 3 ฟุต
ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากห้องหรือหอผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายให้ ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ชนิด Surgical mask เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย และแจ้ง หน่วยงานที่รับย้าย
แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูกขณะไอ จาม และให้บ้วนเสมหะใน ภาชนะที่มีถุงพลาสติกรองรับและมีฝามิดชิด
ให้ Live rubella virus vaccine ครั้งเดียว ป้องกันได้ตลอดชีวิต อาจให้พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กอายุ 1 ปี หรือเด็กวัยรุ่น
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน สำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ สามารถฉีดเข็มแรกให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดเข็มที่สองเมื่อเด็กอายุ 4-6 ปี สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสหัดเยอรมันก็สามารถ ฉีดวัคซีนดังกล่าวได้
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์แนะนำให้ฉีดวัคซีน MMR ก่อนที่จะตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ห้ามฉีดวัคซีนชนิดนี้เด็ดขาด
นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ถ้าไอให้ใช้หน้ากากอนามัย และควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ
ข้อสำคัญ
การให้วัคซีนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ต้องแน่ใจว่าขณะนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์ และจะต้องไม่ตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนหลังฉีดทำให้ทารกพิการ 10-50%
การแยกผู้ป่วย
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน ต้องอยู่แยกจากผู้อื่นโดยเฉพาะเมื่อมีผื่นขึ้นแล้วต้องอยู่ห่างผู้อื่นจนครบ 7 วันหลังผื่นขึ้น
สำหรับทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเกิดออกมามีความพิการ ต้องแยกทารกออกจากเด็กอื่นเป็นเวลา 1 ปี หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัสภายในช่องจมูก ลำคอ และในปัสสาวะ
ขึ้นผื่น
No Koplik’s spot
ต่อมน้ำเหลืองโต