Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 เทคนิคการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ - Coggle Diagram
บทที่ 5 เทคนิคการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
การเจรจาต่อรอง
กระบวนการที่บุคคลระหว่าง ๒ คน หรือมากกว่าขึ้นไป มีการติดต่อสื่อสารกลับไปกลับมาเพื่อหารือความต้องการ หรือผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันหรือบรรลุความต้องการและเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
องค์ประกอบ
๑ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีความคิดเห็น หรือความต้องการที่แตกต่างกัน
๒ กระบวนการ การเจราจาต่อรองเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ วางแผน และช่วงเจรจา
๓ ความพยายามที่จะแก้ปัญหา เรื่องที่จะเจรจา คือจุดประสงค์ของการที่ทั้งสองฝ่ายต้องประชุมตกลงกัน
๔ ความแตกต่าง แต่ละฝุายต้องตระหนักว่าทั้งคู่มีความแตกต่างกัน หรือมีสิ่งที่แตกต่างกันจะเสนอ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในแต่ละฝ่ายก่อน
กระบวนการเจรจาต่อรอง
๑ ขั้นเตรียมการและวางแผน ( preparation and planning)
๒ ขั้นกำหนดกฏกติกาพื้นฐาน (definition of ground rules)
๓ ขั้นทำความชัดเจนและหาเหตุผลสนับสนุน (clarification and justification)
๔ ขั้นการต่อรองและแก้ปัญหา ( bargaining and problem solving)
๕ ขั้นจบการเจรจาและนำไปสู่การปฏิบัติ (closure and implementation)
เทคนิคการเจรจาต่อรอง
การต่อลองแบบนุ่มนุ่ม ผู้ต่อรองยินดีเสนอและยินยอมคู่เจราจาในบางประเด็น
การต่อลองแบบแข็ง ผู้เจรจายึดจุดยืนของตนเป็นหลัก
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา
เป็นกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีการคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อเลือกทางเลือกซึ่งมีอยู่หลายทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากรบุคคล มีการสั่งการเพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการ
ขอบเขตการตัดสินใจ
๑ การตัดสินใจโดยอาศัยขอบเขตตามระเบียบข้อบังคับ
๒ การตัดสินใจโดยอาศัยขอบเขตทางสังคม
กระบวนการตัดสินใจ
Newman, Lummer และ Warren
๑ ระบุปัญหา
๒ เลือกทางเลือกต่างๆ
๓ วิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ
๔. ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
Herbert A. simon
๑ ขั้นตอนแรกพยายามกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆ (intelligence activity)
๒ ขั้นการค้นคิดและพัฒนา (design activity) วิเคราะห์หนทางต่างๆ เพื่อกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจ
๓ ขั้นของการตัดสินใจเลือก (choice activity) เลือกทางเลือกที่พอใจที่สุด ให้ผลตอบแทนมากที่สุด
การบริหารเวลา
ขั้นตอน
๑ การกำหนดความสำคัญ (Set Priorities)
๒ การวางแผน (Planning
๓ การปฏิบัติตามตารางเวลาที่กำหนด (Protecting Schedule Times)
เทคนิคการบริหารการใช้เวลาที่มีประสิทธิภาพ
๑ จดบันทึกการใช้เวลาประจำวันไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการสูญเสียเวลา
๒ วิเคราะห์สาเหตุของการรบกวนเวลาเพื่อหาข้อบกพร่องและสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียเวลาโดยไม่จำเป็น
๓ ปรับปรุงข้อบกพร่องหรือสาเหตุที่ทำให้เสียเวลาตามที่วิเคราะห์ได้
การบริหารความขัดแย้ง
ประเภทของความขัดแย้ง
๑ ความขัดแย้งตามแนวตั้ง (Vertical Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับสายงานบังคับบัญชานับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงขององค์การจนถึงผู้ปฏิบัติงาน
๒ ความขัดแย้งตามแนวนอน (Horizontal Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน
๓ ความขัดแย้งตามแนวทแยงมุม (Diagonal Conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานต่างระดับต่างสายงานบังคับบัญชา
สาเหตุการขัดแย้ง
๑ ผลประโยชน์
๒ บทบาทไม่ชัดเจน
๓ เป้าหมายการทำงาน
๔ อำนาจ
๕ การเปลี่ยนแปลง
การแก้ปัญหาความขัดแย้งของฟอลเลต
๑ การชนะ – แพ้ (Domination) คือ การแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นการใช้อำนาจในการแก้ปัญหา
๒ การประนีประนอม (Compromise) หมายถึง การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยที่ต่างฝ่ายต่างได้เพียงบางส่วนที่ต้องการเท่านั้น
๓ การประสานประโยชน์ (Integrated Solution) หมายถึง การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เน้นความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่มีการแพ้–ชนะ
การเสริมพลังอำนาจ
เป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคคลโดยผู้บังคับบัญชา ถ่ายโอนอำนาจ ให้อิสระในการตัดสินใจ และจัดหาทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และส่งเสริมให้บุคคลเกิดความสามารถในทำงานและ แก้ปัญหาต่างๆได้บรรลุผลสำเร็จของตนเองและองค์กร
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารการพยาบาล
๑ ระบบโครงสร้างองค์กร
๒ วัฒนธรรมองค์กร
๓ ผู้บริหารองค์กร
๔ บุคลากร
๕ ความไว้วางใจในองค์กร
๖ ลักษณะงาน
๗ สัมพันธภาพระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง